3 กิจกรรมเครื่องปั้นดินเผา ไฮไลท์ประจำร้าน “HOTOKI” ในเกียวโต

3 กิจกรรมเครื่องปั้นดินเผา ไฮไลท์ประจำร้าน “HOTOKI” ในเกียวโต

3 กิจกรรมเครื่องปั้นดินเผา ไฮไลท์ประจำร้าน “HOTOKI” ในเกียวโต
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ขอแนะนำ “HOTOKI” ร้านเครื่องปั้นดินเผาที่ตั้งอยู่ภายในย่านที่อยู่อาศัยอันเงียบสงบห่างจากสถานีเกียวโตประมาณนั่งรถไฟใต้ดิน 20 นาที โดยเปิดโอกาสให้เราทั้งช้อปปิ้ง ลองใช้ และปั้นเครื่องดินเผาด้วยตัวเอง บางทีเราอาจได้พบกับเครื่องดินเผาที่ถูกใจก็ได้นะ


“HOTOKI” คือสถานที่แบบไหน?

HOTOKI outsideHOTOKI outside
เอื้อเฟื้อภาพโดย : HOTOKI

HOTOKI” ร้านค้าที่สามารถเพลิดเพลินกับภาชนะดินเผาได้ด้วยประสาทสัมผัสทั้ง 5 แห่งนี้ตั้งอยู่ตรงใจกลางย่านที่อยู่อาศัยอันเงียบสงบห่างจากสถานี "Kokusaikaikan" สาย Karasuma Line ประมาณเดินเท้า 7 นาที

ที่นี่ได้รับการรีโนเวทมาจากโรงงานควบที่อยู่อาศัยของช่างเครื่องปั้นดินเผา “คุณฮิซาชิ คิโยมิสึ” และเปิดทำการในปี ค.ศ. 2015

ในญี่ปุ่นก่อนหน้านั้น ช่างเครื่องปั้นดินเผาและลูกค้าไม่ค่อยมีโอกาสได้ติดต่อกันโดยตรงสักเท่าไหร่ เขาจึงตัดสินใจสร้าง โซนร้านค้า คาเฟ่ และห้องเรียนปั้นเครื่องดินเผาเอาไว้ด้วยกัน จากไอเดียที่ว่า “อยากให้ผู้คนหันมาหลงใหลในภาชนะกันมากขึ้นและได้สัมผัสกับภาชนะอย่างใกล้ชิด” เพื่อสร้างโอกาสให้ช่างฝีมือและลูกค้าได้ติดต่อกันมากยิ่งขึ้น

ในครั้งนี้เราจะมาแนะนำ 3 กิจกรรมที่สามารถเพลิดเพลินกับเวลาแสนผ่อนคลายและความสุดยอดของภาชนะได้ภายใน “HOTOKI” ร้านค้าที่สร้างขึ้นจากไอเดียเหล่านั้นกัน

 

1. สามารถช้อปปิ้งภาชนะสีโทนอบอุ่นได้อย่างจุใจ

HOTOKI shopHOTOKI shop
เอื้อเฟื้อภาพโดย : HOTOKI

ภายในร้านค้าสว่างไสวที่มีแสงอ่อนๆ สาดเข้ามาเรียงรายไปด้วยภาชนะออริจินอลที่ผลิตขึ้นโดย “HOTOKI” และภาชนะของร้านค้าเครือญาติ “โตกิโนะฮะ” มากมาย

สินค้าทุกชิ้นผลิตขึ้นด้วยมืออย่างพิถีพิถันแบบชิ้นต่อชิ้นจากความรู้สึกของช่างฝีมือที่ อยากช่วยเติมเต็มความสุขและรอยยิ้มในการใช้ชีวิตของผู้คนผ่านภาชนะ

โดยมีจุดสำคัญอยู่ที่เทคนิคอันหลากหลายในการผลิตเครื่องดินเผาด้วย ไม่ว่าจะเป็นเด็นโดโรคุโระ (เทคนิคการใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าเพื่อปั้นเครื่องดินเผา) เทะบิเนริ (เทคนิคการนวดเตรียมดินสำหรับนำมาปั้นเป็นเครื่องปั้นดินเผา) และ ทาทาระ (เทคนิคการปั้นโดยการสไลซ์ดินเหนียวเป็นแผ่นบาง ๆ บ้าง นวดด้วยท่อนไม้บ้าง หรือม้วนบ้าง)

tatara cuptatara cup
เอื้อเฟื้อภาพโดย : HOTOKI

แก้วทาทาระ” (ไซส์ L ราคารวมภาษี 3,240 เยน หรือประมาณ 940 บาท, ไซส์ M ราคารวมภาษี 2,700 เยน หรือประมาณ 780 บาท) นั้นเป็นสินค้าแนะนำของผู้เขียนเลยก็ว่าได้ โดยเป็นแก้วที่ผลิตขึ้นด้วยเทคนิค “ทาทาระ” สุดถนัดของคุณฮิซาชิ

นอกจากนี้ ลูกชายของคุณฮิซาชินั้นนำไอเดียของ “คุณโยจิ” ตัวแทนของ HOTOKI มาประยุกต์และออกแบบ รูปร่างกับสีที่ใช้ง่ายเหมาะกับชีวิตประจำวัน ขึ้นมา

สีที่นำมาผสมผสานกันอย่างเป็นเอกลักษณ์เพื่อให้ความรู้สึกอบอุ่นมีทั้งหมด 4 สีประกอบด้วย สีน้ำเงินเข้ม สีเหลือง สีฟ้าอ่อน และสีขาว เรียงจากซ้าย-ขวาตามลำดับ โดยเรียกว่า “HOTOKI คัลเลอร์” สีเหล่านี้นำไปใช้กับทั้งภาชนะอื่นๆ และที่วางตะเกียบด้วย

ishirin sashiichirin sashi
เอื้อเฟื้อภาพโดย : HOTOKI

TUKU” (ราคารวมภาษี 2,700 เยน หรือประมาณ 780 บาท) ที่แค่เห็นก็อยากซื้อกลับไปแต่งห้องชิ้นนี้ สามารถนำไปใช้ติดกำแพงได้ด้วยหมุดเพียงชิ้นเดียว เนื่องจากมีขนาดเล็กกะทัดรัด จึงเหมาะกับการซื้อกลับไปเป็นของฝากสุดๆ

คุณโยจิบอกว่า “ผมอยากให้ทั้งเด็กรุ่นใหม่ คนญี่ปุ่น และชาวต่างชาติรู้จักคุ้นเคยกับภาชนะดินเผามากยิ่งขึ้นผ่านผลิตภัณฑ์ของ HOTOKI ไม่ว่าจะเป็นภาชนะ แก้ว หรือ TUKU ถ้าเป็นอย่างนั้นได้ผมคงดีใจมากครับ

ผลิตภัณฑ์สะท้อนแนวคิดดังกล่าวที่มีจำหน่ายภายในร้านทุกชิ้นล้วนมีดีไซน์ใช้ง่ายเหมาะกับชีวิตประจำวันทั้งนั้น

 

2. สามารถใช้ภาชนะและแก้วที่ถูกใจได้ภายในคาเฟ่

HOTOKI cafeHOTOKI cafe
เอื้อเฟื้อภาพโดย : HOTOKI

ข้างๆ ร้านเป็นที่ตั้งของโซนคาเฟ่สไตล์ชั้นลอยที่สามารถชมโรงงานบนชั้น 1F ได้ เราสามารถลองใช้ภาชนะที่เลือกไว้ในร้านค้าหรือแก้วที่กำลังลังเลอยู่ว่าจะซื้อแบบไหนดีได้จริงๆ เลยล่ะ

เราจะได้เพลิดเพลินกับทั้งเครื่องดื่ม อาหารว่าง เค้ก และเหล้าภายในคาเฟ่ บอกเลยว่าเหมาะกับการแวะมาพักผ่อนพลางชมโรงงานข้างล่างสุดๆ

HOTOKI matchaHOTOKI matcha
เอื้อเฟื้อภาพโดย : HOTOKI

ส่วนเมนูแนะนำก็จะเป็นอะไรไปไม่ได้นอกจากเซ็ต “โอมัทฉะ (ชาเขียว)” (ราคารวมภาษี 1,080 เยน หรือประมาณ 310 บาท) นั่นเอง

โดยเป็นเซ็ตชาเขียวมัทฉะจากร้านน้ำชาเก่าแก่ในเกียวโต “ริวโอเอ็นชาโฮะ (Ryuuouen Chaho)” + ขนมญี่ปุ่นรูปภาชนะที่ทำขึ้นพิเศษโดยร้าน ขนมญี่ปุ่น “เซโย (Seiyou)”

ชาเขียวที่ดื่มจากภาชนะที่ผลิตขึ้นภายในอาคารเดียวกันเป็นอะไรที่พิเศษสุดๆ

 

3. ปั้น “ภาชนะ” เฉพาะของตัวเองจากกิจกรรมปั้นเครื่องดินเผา

HOTOKI taikenHOTOKI taiken
เอื้อเฟื้อภาพโดย : HOTOKI

ในวันที่เดินทางไปเก็บข้อมูล เรามีโอกาสได้เข้าร่วมกิจกรรม “ห้องเรียนเด็นโดโรคุโระ 15 นาที”(ราคารวมภาษี 2,160 เยน หรือประมาณ 630 บาท) ที่นักท่องเที่ยวสามารถเพลิดเพลินได้อย่างง่ายดายด้วย

ห้องเรียนสัมผัสประสบการณ์นี้มีครูผู้สอนคือ “คุณฮิซาชิ” ซึ่งคุณปู่ของคุณฮิซาชิเป็นถึง “คิโยมิสึโรคุเบรุ่นที่ 5” หรือปรมาจารย์ด้านงานฝีมือดั้งเดิมของตำหรับการทำเครื่องปั้นดินเผาสาย “คิโยมิสึยากิ” เลยทีเดียว เอาล่ะ ถึงเวลาเรียนงานฝีมือดั้งเดิมจากผู้เชี่ยวชาญกันแล้ว ส่วน “คิโยมิสึยากิ” คือ ภาชนะดินเผาที่ HOTOKI ก็มีผลิตและจำหน่ายเช่นเดียวกัน

กิจกรรมปั้นเครื่องดินเผาที่มีคุณฮิซาชิคอยให้คำแนะนำอย่างตั้งใจนี้ไม่ได้มีแค่เครื่องปั้นดินเผารูปร่างแบบดั้งเดิมให้ทำเท่านั้น แต่เรายังสามารถทำ "ภาชนะที่เข้ากับไลฟ์สไตล์ยุคปัจจุบัน" ได้ด้วย

ภาชนะและถ้วยสามารถทำได้ 3 ชิ้น / ท่าน นอกจากนี้ ถ้าเกิดเราทำภาชนะแล้วรู้สึกชอบก็ยังสามารถขอให้ทางร้านช่วยเผาให้จนเสร็จสรรพ เพื่อให้นำไปใช้ได้ ในราคา 1,000 เยน (ประมาณ 290 บาท) / ชิ้น ได้ (ไม่รวมค่าส่ง) อีกด้วย แต่ระวังเอาไว้นิดนึงว่า ขั้นตอนนี้ใช้เวลาตั้งแต่เผาเสร็จไปจนถึงวันส่งประมาณ 1 เดือน

HOTOKI at homeHOTOKI at home

ภาพด้านบนคือภาชนะที่ผู้เขียนเป็นคนปั้นเองกับมือจากคลาสเรียนนี้นั่นเอง การที่สามารถเลือกสีของภาชนะได้จากทั้งหมดถึง 5 สีนับเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของ HOTOKI แห่งนี้เลยก็ว่าได้ บอกเลยว่าไม่ว่าสีไหนก็สวยไปหมดจนต้องลังเลเลยล่ะ

นอกจากนี้ ถึงแม้ว่าจะกลับจากทริปท่องเที่ยวมาใช้ชีวิตตามปกติแล้ว แต่การที่เราได้ใช้ภาชนะที่ทำเองกับมือก็ทำให้หวนนึกถึงความทรงจำแสนสนุกที่ HOTOKI โดยไม่รู้ตัวเลยทีเดียว

กิจกรรมนี้สามารถเดินทางมาลงทะเบียนเข้าร่วมได้ในวันเดินทางเลยก็จริง แต่ก็ขอแนะนำให้กรอก แบบฟอร์มสำหรับติดต่อ จองเผื่อเอาไว้ล่วงหน้าจะปลอดภัยที่สุด พนักงานที่นี่สามารถสื่อสารภาษาอังกฤษง่ายๆ ได้ ไม่ต้องห่วงเลย

HOTOKI familyHOTOKI family
คุณโยจิ (ตัวแทน), คุณฮิซาชิ (ช่างฝีมือ), คุณโชโกะ (ภรรยาของคุณฮิซาชิ) จากซ้าย-ขวาตามลำดับ

จากภาพคือครอบครัวคิโยมิสึ ผู้บริหารกิจการ “HOTOKI” ทุกท่าน บรรยากาศที่เต็มไปด้วยรอยยิ้มของครอบครัวคิโยมิสึนั้นท่วมท้นไปทั้ง “HOTOKI” เลยทีเดียว

สำหรับใครที่มีโอกาสได้เดินทางมาเที่ยวเกียวโตก็อย่าลืมแวะมาปั้น “ภาชนะสุดพิเศษเฉพาะของตัวเอง” และสัมผัสเครื่องปั้นดินเผาอย่างใกล้ชิดที่ “HOTOKI” แห่งนี้กันนะ

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook