ตำนานเลือด 47 โรนิน กับภาพสะท้อนวิถีแห่งบูชิโด

ตำนานเลือด 47 โรนิน กับภาพสะท้อนวิถีแห่งบูชิโด

ตำนานเลือด 47 โรนิน กับภาพสะท้อนวิถีแห่งบูชิโด
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

“ซามูไร” เป็นชื่อของกลุ่มคนที่ชาวไทยคุ้นหู ถือเป็นกลุ่มคนที่มีสถานะทางสังคมที่สูง ได้รับการเคารพนับถือ จัดได้ว่าเป็นชนชั้นที่มีเกียรติ พวกเขาเป็นกลุ่มคนที่มีบทบาทสำคัญทางประวัติศาสตร์ของสังคมญี่ปุ่นอย่างมิอาจปฏิเสธ มีตัวตนอยู่ในหลายบริบทเป็นที่รู้จักกันไปทั่วโลก แต่เรื่องราวต่างๆ มักมีสองด้าน ทั้งดี ทั้งร้ายปะปนกันไป เช่นเดียวกับตำนานของ 47 โรนินเหล่านี้ ที่ทั้งได้รับการยกย่อง และในทางกลับกันก็ถูกมองว่าเป็นรอยด่างทางประวัติศาสตร์ของชาติที่ยากจะลืมเลือน

“ชูชินกุระ” หรือ ตำนานเลือด 47 โรนิน

47ronin9The Night Attack
ซามูไรผู้ภักดีทั้ง 47

เป็นเรื่องราวที่เกิดขึ้นในสมัยเอโดะ ภายใต้อำนาจการปกครองของรัฐบาลนักรบตระกูลโตกุงะวะ ซึ่งตรงกับสมัยกรุงศรีอยุธยาของเรานั่นเอง

วิถีแห่งบูชิโด

ตำนานเรื่องนี้มักถูกหยิบยกขึ้นมาเป็นตัวอย่างในการบ่งบอกถึงคุณลักษณะสำคัญของ “ซามูไร” ตามวิถีแห่งบูชิโด ที่ให้ความสำคัญกับเรื่องความภักดี และรักษาไว้ซึ่งเกียรติกระทั่งตาย (Honor Unto Death) ว่ากันว่าเป็นพื้นฐานหัวจิตหัวใจในอุดมคติแบบญี่ปุ่นโดยแท้

Koji Tsuruta and Mifune in SAMURAI TRILOGY

เรื่องราวที่เกิดขึ้นจริงนี้มีอยู่ว่า ในสมัยเอโดะ มีระเบียบข้อห้ามเรื่องการพกดาบของซามูไร และการใช้ดาบในเวลาที่เหมาะสมกำหนดไว้อย่างเคร่งครัด ซามูไรทุกคนจะชักดาบออกจากฝักในปราสาทของโชกุนมิได้

การโจมตีของอะซะโนะ นะงะโนริ ต่อ คิระ โยชินะกะ ต้นเหตุแห่งตำนานเลือด

แต่แล้ววันหนึ่งในขณะที่ไดเมียว อะซะโนะ นะงะโนริ ซึ่งได้เดินทางไปประจำที่เอโดะ (โตเกียวในปัจจุบัน) ตามธรรมเนียมปฎิบัติในสมัยนั้น พร้อมด้วยซามูไรบริวารทั้งสิ้น 47 คน ถูกยั่วยุจากไดเมียวอริศัตรู คิระ โยะชินะกะ จนเกิดบันดาลโทสะ หลวมตัวชักดาบออกมาในเขตต้องห้าม จึงเกิดคดีฟ้องร้อง และถูกพิพากษาให้โทษถึงแก่ชีวิต แต่ละไว้ซึ่งเกียรติ ตามวิถีแห่งบูชิโด ไดเมียวนะงะโนริ จึงต้องเข้าสู่พิธีการทำเซปปุกุ หรือ ฮาราคีรี เพื่อปลิดชีพตนเองอย่างสมเกียรติ แสดงความรับผิดชอบต่อความผิดที่ได้กระทำไป

พิธีเซปปุกุ

การทำเซปปุกุในครั้งนั้น ส่งผลให้ซามูไรบริวารทั้ง 47 คน ต้องกำหนดชะตาชีวิตตนเองต่อจากนั้นใน 2 ทางเลือก ระหว่างการทำเซปปุกุตามเจ้านายไปเสีย กับการเลือกจะมีชีวิตอยู่ต่อไปในฐานะ “โรนิน” ซึ่งถือเป็นซามูไรไร้นาย เสื่อมเสียเกียรติ มิสามารถรักษาไว้ซึ่งชีวิตของเจ้านายได้ และการเปลี่ยนเจ้านาย หรือเลิกอาชีพ เป็นสิ่งไม่พึงปรารถนาในวิถีแห่งบูชิโด

ซามูไรทั้ง 47 คน กลับเลือกที่จะมีชีวิตอยู่ต่อไปในฐานะโรนิน และต่างแยกย้ายกันไป คลายความสงสัยของบ้านเมือง เก็บตัว อดทนเป็นเวลาหลายปี วางแผนอย่างรอบคอบ และเฝ้ารอเวลาเพื่อกลับมาชำระแค้นให้กับนายตนเองให้จงได้

การเข้าโจมตีคฤหาสถ์ของ คิระ โยะชินะกะ

เมื่อสบโอกาส จึงได้บุกเข้าโจมตีคฤหาสถ์ของไดเมียว คิระ โยะชินะกะ ตัดศีรษะอริศัตรูได้สำเร็จ พร้อมเดินแห่ศีรษะไร้ร่างของ คิระ โยะชินะกะ มาชำระล้างที่บ่อน้ำหน้าวัดเซนงะคุจิ ก่อนจะวางลงหน้าหลุมศพเจ้านาย เพื่อประกาศความสำเร็จที่ได้ชำระแค้นให้สมเกียรติ สะท้อนภาพความจงรักภักดีต่อนาย และการรักษาไว้ซึ่งเกียรติของตนจนวินาทีสุดท้าย ก่อนมอบตัวรับโทษ ทำพิธีเซปปุกุพร้อมกันทั้ง 47 คน กลายเป็นเหตุการณ์อันยิ่งใหญ่ ทิ้งร่องรอยไว้เป็นประวัติศาสตร์ ที่ศาลของโรนินในวัดเซนงะกุจิ เมืองโตเกียวในปัจจุบัน

บ่อน้ำที่ใช้ชำระล้างศีรษะ ณ วัดเซนงะกุจิ
หลุมศพของ 47 โรนิน ณ วัดเซนงะกุจิ

แม้เหตุการณ์ครั้งนั้นจะสะท้อนภาพจิตใจแบบบูชิโดอย่างลึกซึ้งให้เป็นที่ประจักษ์ก็ตามที แต่ในอีกมุมก็ถือเป็นอาชญากรรมครั้งยิ่งใหญ่ เป็นรอยด่างทางประวัติศาสตร์ซามูไร สร้างความวิตกกังวลแก่สังคมในสมัยนั้นไม่น้อย

เพื่อระลึกถึงเหตุการณ์ดังกล่าว วัดเซนงะกุจิ ยังคงจัดงานเทศกาลประจำปีสืบมากระทั่งปัจจุบัน ซึ่งจะจัดขึ้นในช่วงกลางเดือนธันวาคมของทุกปี ตรงกับวันที่เหล่าโรนินสามารถชำระแค้นได้สำเร็จ ทุกๆ ปีจึงมีผู้สนใจเข้าร่วมขบวนแห่เป็นจำนวนมาก

47 Ronin Festival

ใครมีโอกาสได้ไปในช่วงนั้น อย่าลืมแวะไปซึมซับความขลังของขบวนแห่โรนินทั้ง 47 คนที่ถูกจำลองขึ้นกันได้

อัลบั้มภาพ 9 ภาพ

อัลบั้มภาพ 9 ภาพ ของ ตำนานเลือด 47 โรนิน กับภาพสะท้อนวิถีแห่งบูชิโด

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook