สัมผัสไข่มุกญี่ปุ่นเม็ดงามที่จับใจคนทั่วโลกที่ Kobe Pearl Museum

สัมผัสไข่มุกญี่ปุ่นเม็ดงามที่จับใจคนทั่วโลกที่ Kobe Pearl Museum

สัมผัสไข่มุกญี่ปุ่นเม็ดงามที่จับใจคนทั่วโลกที่ Kobe Pearl Museum
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ไข่มุกญี่ปุ่น โดดเด่นทั้งเรื่องความงดงามและคุณภาพ และเมืองโกเบ จังหวัดเฮียวโงะแห่งนี้ ก็คือเมืองที่รู้จักกันดีในฐานะผู้ผลิตไข่มุกเหล่านั้น วันนี้เราจะพาคุณมาสัมผัสเรื่องราวของไข่มุกจากเมืองโกเบ ตั้งแต่จุดกำเนิดไปจนถึงกระบวนการสุดท้าย


โกเบ ศูนย์กลางกระบวนการผลิตไข่มุกระดับโลก

Welcome to the City of Pearls in Kobe! The Tradition and Art of Pearl Processing

ไข่มุก ถือเป็นเครื่องประดับที่คนทั่วโลกหลงรัก ไม่ว่าจะในด้านความงามหรือความนิยมอันเป็นอมตะไม่เคยเสื่อมคลาย ถึงขนาดเคยมีบันทึกไว้ว่า อาณาจักรโรมและเปอร์เซียโบราณก็ใช้ไข่มุกเป็นเครื่องประดับเช่นเดียวกัน สำหรับในประเทศญี่ปุ่น ไข่มุก ได้รับชื่อว่าเป็น อัญมณีสีขาว และถูกใช้เพื่อเป็นหนึ่งในเครื่องบรรณาการที่มอบให้บรรดาเทพเจ้า

ญี่ปุ่นถือเป็นประเทศชั้นนำในการเพาะเลี้ยงและแปรรูปไข่มุก โดยเฉพาะที่เมืองโกเบ จังหวัดเฮียวโงะ (Hyogo) ที่เป็นผู้ครองส่วนแบ่งการส่งออกไข่มุกไปทั่วโลกประมาณถึงกว่า 70% และแหล่งผลิตก็คือสถานที่ที่ชื่อว่า City of Pearls

สำหรับในวันนี้ เราจะมาแนะนำในส่วนของ Kobe Pearl Museum ที่นี่คุณสามารถเข้ามาเรียนรู้เรื่องราวประวัติศาสตร์ของไข่มุก และผู้คนที่คอยดูแลอุตสาหกรรมการผลิตแห่งนี้

ทำไมโกเบจึงเป็นแหล่งผลิตไข่มุกชั้นดี

Welcome to the City of Pearls in Kobe! The Tradition and Art of Pearl Processing

เทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงไข่มุกนั้น ถูกค้นคิดขึ้นเป็นครั้งแรกที่อ่าวอะโก (Ago Bay) จังหวัดมิเอะ (Mie) ในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 ถึงต้นศตวรรษที่ 20 ทำให้สามารถผลิตไข่มุกได้เป็นจำนวนมาก และนับจากนั้น ญี่ปุ่นก็พัฒนาจนกลายเป็นผู้ส่งออกไข่มุกไปทั่วโลกได้อย่างรวดเร็ว

หอยมุกที่ชาวญี่ปุ่นเลือกนำมาใช้เพาะเลี้ยง ส่วนใหญ่เป็นสายพันธุ์ไบวาลเว (Bivalve) ที่มีชื่อว่า หอยมุกอโกย่า (Akoya Oysters) ซึ่งมีขนาดประมาณ 10 เซนติเมตรตามภาพด้านบน

Welcome to the City of Pearls in Kobe! The Tradition and Art of Pearl Processing

การเพาะไข่มุกนั้น ทำได้โดยการใส่วัสดุทรงกลมเล็กๆ ที่เรียกว่า นิวเคลียส (Nucleus) ลงไปในตัวหอย แล้วนำไปเลี้ยงไว้ในทะเลประมาณ 2 ปี โดยตลอดระยะเวลาดังกล่าว หอยมุกต้องได้รับการดูแลเป็นอย่างดีทุกวัน ตั้งแต่ทำความสะอาดเปลือกหอยไปจนถึงบำรุงรักษาน้ำทะเล จนกระทั่งไข่มุกค่อยๆ ก่อกำเนิดขึ้นภายในเปลือกหอย

การงมหอยมุกจะทำกันที่เมืองโกเบ ซึ่งเมื่องมขึ้นมาแล้ว ทั้งหมดจะถูกนำไปทำความสะอาดล้างเอาสิ่งสกปรกออก ก่อนนำไปผ่านกระบวนการต่างๆ เช่น การย้อมสี เหตุผลที่โกเบได้รับเลือกให้เป็นผู้ทำภารกิจนี้ก็เพราะว่า

  1. บริษัทของคุณยาสุอิเอะ โทโด (Yasuie Todo) ผู้ค้นพบเทคโนโลยีขจัดสิ่งสกปรกจากไข่มุกนั้น ก่อตั้งขึ้นที่เมืองโกเบแห่งนี้
  2. แสงอันนุ่มนวลที่สะท้อนมาจากพื้นผิวของภูเขาร็อกโค (Mt. Rokko) ของโกเบนั้น เหมาะกับการคัดแยกมุกเป็นที่สุด
  3. โกเบมีท่าเรือทำให้สะดวกในการขนส่งทั้งนำเข้าและส่งออก 

การคัดแยกด้วยมือ

Welcome to the City of Pearls in Kobe! The Tradition and Art of Pearl Processing

การแยกหมวดหมู่ไข่มุกนั้นต้องอาศัยความละเอียดอย่างมาก เพราะต้องตรวจสอบทั้งสี รูปร่าง ขนาด รอยตำหนิ ความแวววาว (ความเงา/ความสว่าง) เลเยอร์ (ความหนาที่ผลิตขึ้นจากหอยมุกแม่พันธุ์)

จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องใช้แสงอันนุ่มนวลจากทางทิศเหนือดังที่กล่าวมา เพื่อบ่งชี้ลักษณะของไข่มุก ดังนั้นห้องทำงานของกระบวนการคัดแยก จึงต้องมีหน้าต่างบานใหญ่ทางทิศเหนือ พร้อมกับชุดโต๊ะและเก้าอี้ทำงาน (Workbench) ตรงบริเวณนั้น เพื่อให้ผู้เชี่ยวชาญได้คัดแยกไข่มุกทุกเม็ดอย่างละเอียดโดยใช้สายตามนุษย์ทั้งหมด

Welcome to the City of Pearls in Kobe! The Tradition and Art of Pearl Processing

งานคัดแยกไข่มุกนี้ต้องใช้เวลาเรียนรู้กันเป็นปีๆ เพราะเป็นกระบวนการที่ต้องการความอดทนสูง กระนั้นขณะที่อยู่ภายในห้อง เราก็สามารถสัมผัสได้ถึงความอิ่มเอมและความภาคภูมิใจของพนักงาน ขณะที่กำลังตั้งสมาธิทำงานอยู่เงียบๆ พร้อมกับไข่มุกเส้นงามรอบคอของเธอ

Welcome to the City of Pearls in Kobe! The Tradition and Art of Pearl Processing

ไข่มุกที่ได้รับการคัดแยกว่ามีคุณภาพระดับเดียวกัน จะถูกร้อยไว้ด้วยกันเป็นเส้นอย่างประณีต เราเรียกเส้นนี้ว่า เร็น (Ren) หลังจากกระบวนการคัดแยกสิ้นสุดลง ไข่มุกทั้งหมดจะถูกส่งไปยังตลาดแลกเปลี่ยนทั่วโลก ที่นั่นเองที่ไข่มุกเหล่านี้จะถูกซื้อ เพื่อนำไปสร้างสรรค์ออกแบบ จนกระทั่งกลายเป็นเครื่องประดับและอัญมณีแสนสวย

รู้จักกับ Kobe Pearl Museum ให้มากขึ้น

Welcome to the City of Pearls in Kobe! The Tradition and Art of Pearl Processing

มาทำความรู้จักกับโลกที่ลึกซึ้งของไข่มุกด้วยกันที่ Kobe Pearl Museum อาคารตั้งอยู่สุดทางด้านตะวันออกของ Kyu-Kyoryuchi ซึ่งใช้เวลาเดินเพียง 12 นาทีจากสถานีรถไฟซันโนมิยะ (Sannomiya Station) ใจกลางโกเบ สามารถมาดูกันได้ฟรี ไม่มีค่าเข้าชม

ตัวพิพิธภัณฑ์ตั้งอยู่ที่ชั้น 1 ของอาคาร Japan Pearl Hall ที่สร้างมาตั้งแต่ปี 1952 ได้รับการจดทะเบียนเป็นทรัพย์สินทางวัฒนธรรมที่จับต้องได้ (Tangible Cultural Property) ของประเทศญี่ปุ่น ด้วยตัวอาคารที่ได้รับออกแบบอย่างมีเอกลักษณ์ในสไตล์สถาปัตยกรรมสมัยใหม่ (Modernist Architecture)

Welcome to the City of Pearls in Kobe! The Tradition and Art of Pearl Processing

ภายในพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ได้นำเสนอถึงขั้นตอนการเติบโตของหอยมุกหลากหลายสายพันธุ์ วิธีการที่อยู่เบื้องหลังการเพาะเลี้ยง และเรื่องอื่นๆ อีกมากมายที่นำเสนอให้เข้าใจแบบง่ายๆ ผ่านแบบจำลองหรือแม้กระทั่งของจริง

Welcome to the City of Pearls in Kobe! The Tradition and Art of Pearl Processing

นี่คือลักษณะของกรงที่ใช้ในการเพาะเลี้ยงหอยมุกอโกย่าไว้ในทะเล

Welcome to the City of Pearls in Kobe! The Tradition and Art of Pearl Processing

ส่วนนี่คือกระเป๋าที่ใช้งานจริง ทำจาก ดูราลูมิน (Duralumin) ซึ่งมีคุณสมบัติแข็งแรงคงทน เอาไว้ใช้ขนส่งไข่มุกไปยังที่ต่างๆ ร่องรอยบนพื้นผิวกระเป๋าแสดงให้เห็นว่า กระเป๋าเหล่านี้ต้องรับบทบาทหนักแค่ไหนในการขนส่งไข่มุกแต่ละครั้ง

Welcome to the City of Pearls in Kobe! The Tradition and Art of Pearl Processing

ระฆังที่ทำจากไข่มุกนี้ชื่อว่า Per La Vita (The Life of Pearls) จัดทำขึ้นเพื่อเป็นที่ระลึกเนื่องในโอกาสฟื้นฟูเมืองครบรอบสิบปีหลังจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวใหญ่ฮันชิง (Great Hanshin Earthquake) ในเดือนมกราคมปี 1995

Welcome to the City of Pearls in Kobe! The Tradition and Art of Pearl Processing

ต้นไม้แห่งไข่มุก (Pearl Tree) ที่อยู่ท่ามกลางของที่จัดแสดงนั้น เป็นงานศิลปะที่ใช้ไข่มุกมาประกอบกันถึงประมาณ 10,000 เม็ด ร้อยด้วยมือเข้าด้วยกัน กลายเป็นความสวยงามที่ไม่ว่ามองมุมไหนก็น่าตื่นตา

ไข่มุกแต่ละสายพันธุ์ก็มีเสน่ห์ต่างกันไป

Welcome to the City of Pearls in Kobe! The Tradition and Art of Pearl Processing

นอกเหนือจากหอยมุกอโกย่าแล้ว ก็ยังมีไข่มุกอีกหลายสายพันธุ์ที่เพาะเลี้ยงในต่างประเทศ แต่ถูกนำมาผ่านกระบวนการต่างๆ ที่โกเบ จากรูปด้านบนนี้ เปลือกหอยมุกด้านซ้ายเป็นหอยมุกอโกย่า แต่เปลือกหอยด้านขวามาจากหอยมุกขอบสีเงิน (Silver-lipped Oyster) ที่เก็บจากทะเลใต้

นอกจากสีขาวที่เราๆ คุ้นตาแล้ว ยังมีไข่มุกที่มีสีตามธรรมชาติเป็นสีอื่นๆ อีกมากมาย ไม่ว่าจะชมพู ทอง หรือฟ้า ปรากฏการณ์น่าฉงนที่เปลี่ยนสีของไข่มุกได้อย่างน่าอัศจรรย์นี้ ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ อย่างเช่น สิ่งแวดล้อมของทะเลที่เลี้ยงหอยมุกไว้ก็ส่งต่อสีของมันเช่นกัน

Welcome to the City of Pearls in Kobe! The Tradition and Art of Pearl Processing

อย่างภาพด้านบนนี้ ไข่มุกเส้นด้านซ้ายเป็นไข่มุกสีทองจากหอยมุกขอบสีเงิน ขณะที่เส้นด้านขวาเป็นไข่มุกสีทองจากหอยมุกอโกย่า แม้จะเป็นไข่มุกทองเหมือนกันแต่สีก็แตกต่างกันพอสมควรทีเดียว

Welcome to the City of Pearls in Kobe! The Tradition and Art of Pearl Processing

นี่คือแหวน Tsushima Blue ไข่มุกที่อยู่บนหัวแหวนนั้นเป็นไข่มุกทรงบารอค (Baroque Pearls) คือไข่มุกธรรมชาติที่มีรูปทรงไม่สม่ำเสมอ แต่ละเม็ดแตกต่างกันไป ไม่ใช่ไข่มุกทรงกลมอย่างชนิดอื่น

ไข่มุกของ Tsushima Blue นั้นมีสีคล้ายใต้ทะเลลึก ถูกเพาะเลี้ยงที่เกาะสึชิมะ (Tsushima) ซึ่งตั้งอยู่ระหว่างภูมิภาคคิวชูกับคาบสมุทรเกาหลี

Welcome to the City of Pearls in Kobe! The Tradition and Art of Pearl Processing

เสน่ห์ของไข่มุกอยู่ที่สีและความแวววาว ซึ่งทำให้ผู้สวมใส่ดูหรูหรา มีเปล่งประกายราวกับชนชั้นสูง แต่ก็นุ่มนวลและอ่อนโยนไปพร้อมกัน

ไข่มุกมักถูกเลือกสวมใส่ในโอกาสที่ค่อนข้างเป็นทางการ แต่เราอยากแนะนำให้คุณลองสวมสร้อยไข่มุกกับเสื้อสเว็ตเตอร์สบายๆ ให้ลุคที่สวยง่ายๆ ได้ทุกวัน

มาซื้อไข่มุกเป็นของที่ระลึกกันดีกว่า

Welcome to the City of Pearls in Kobe! The Tradition and Art of Pearl Processing

Welcome to the City of Pearls in Kobe! The Tradition and Art of Pearl Processing

แม้ไข่มุกจะมีภาพลักษณ์ที่ติดตัวมาตลอดว่าเป็น “ของแพง” แต่จริงๆ แล้วก็ยังมีไข่มุกที่ออกแบบมาเป็นชิ้นเล็กๆ ซึ่งสามารถใช้ได้ทุกวันด้วย

ลองหาของที่ระลึกสักชิ้นเพื่อเก็บไว้เป็นอนุสรณ์การมาท่องเที่ยวที่ Kobe Pearl Souq ดูสิ ร้านแห่งนี้ ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของอาคารเดียวกับพิพิธภัณฑ์นี่เอง

ลองดูสร้อยที่มีจี้ชิ้นเล็กๆ ก็ดูสุภาพดี

Welcome to the City of Pearls in Kobe! The Tradition and Art of Pearl Processing

อย่างแรกที่เราแนะนำก็คือ จี้มุกอโกย่า ขนาด 7.7.5 มิลลิเมตร สามารถใส่ได้ไม่จำกัดอายุ ราคาอยู่ที่ 3,240 เยน (ประมาณ 940 บาท) รวมภาษีแล้ว

เข็มกลัดสำหรับคนรักดนตรี

Welcome to the City of Pearls in Kobe! The Tradition and Art of Pearl Processing

ของอย่างที่สองเป็นเข็มกลัด ทำจากวัสดุหลักที่คล้ายกระดองเต่า ตกแต่งด้วยไข่มุกแท้เม็ดเล็กๆ ออกแบบเป็นเครื่องดนตรีถึง 5 ชนิดให้เลือก ราคาชิ้นละ 3,240 เยน (ประมาณ 940 บาท) รวมภาษีแล้ว ช่วงที่ออกโปรโมตในสื่อเคยได้รับความนิยมมากถึงขนาดสินค้าหมดมาแล้ว

Kobe Pearl Souq เปิดเวลา 11:00 – 16:00 น. ปิดวันเสาร์-อาทิตย์ และวันหยุดราชการ ยินดีรับบัตรเครดิต รวมถึง UnionPay

อุตสาหกรรมไข่มุกของประเทศญี่ปุ่นที่เราชื่นชม

ไข่มุกญี่ปุ่นถือเป็นของขวัญอันแสนสวยจากธรรมชาติ จนกระทั่งได้รับการชื่นชมไปทั่วโลก ขณะเดียวกันก็ยังเป็นของขวัญซึ่งถือกำเนิดจากเวลาและความรักของผู้ที่เลี้ยงดูด้วย ดังนั้นเราจึงอยากชื่นชมไปอีกนานแสนนาน ทั้งในฐานะวัฒนธรรมและอุตสาหกรรมของญี่ปุ่น

 

โดยความร่วมมือจาก Japan Pearl Exporters’ Association, Japan Pearl Hall, Kobe City Hall, MIZUKI PEARL Co. Ltd, Kitamura Pearls Co., Ltd, Trading Co., Ltd, Japan External Trade Organization

อัลบั้มภาพ 19 ภาพ

อัลบั้มภาพ 19 ภาพ ของ สัมผัสไข่มุกญี่ปุ่นเม็ดงามที่จับใจคนทั่วโลกที่ Kobe Pearl Museum

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook