เรียนรู้ต้อนรับสงกรานต์! เดือน "เมษายน" ที่ญี่ปุ่นต่างจากเมืองไทยอย่างไรกันแน่

เรียนรู้ต้อนรับสงกรานต์! เดือน "เมษายน" ที่ญี่ปุ่นต่างจากเมืองไทยอย่างไรกันแน่

เรียนรู้ต้อนรับสงกรานต์! เดือน "เมษายน" ที่ญี่ปุ่นต่างจากเมืองไทยอย่างไรกันแน่
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

หากพูดถึงเดือน เมษายน ในเมืองไทยก็จัดเป็นเดือนที่ร้อนที่สุด แต่ในญี่ปุ่นยังคงเป็นช่วงที่อากาศยังคงเย็นสบาย เมษายนจัดว่าเป็นเดือนแห่งความสุขของคนไทยและญี่ปุ่น เรามาดูกันดีกว่าว่าในเดือนเมษายนของคนไทยและญี่ปุ่นนั้นมีอะไรที่แตกต่างกันบ้าง


ช่วงแห่งการบานของดอกไม้

ตั้งแต่ช่วงปลายมีนาคมไปถึงกลางเดือนเมษายน ตามภูมิศาสตร์ต่างๆ ในญี่ปุ่นก็จะมีการบานของดอกซากุระ หากมองไปทั่วๆ ก็จะเหมือนมองเห็นโลกเป็นสีชมพูสวยงาม พื้นที่ใต้ต้นซากุระในสวนสาธารณะจะถูกจับจองไว้เพื่อการนั่งดื่มกินและชมดอกซากุระหรือที่เรียกว่า Hanami นอกจากการนั่งชมดอกซากุระแล้ว ช่วงเดือนเมษายนยังเป็นช่วงของเทศกาลดอกทิวลิปที่เปิดโอกาสให้คนรักดอกไม้เข้าชมความสวยงามของดอกทิวลิปที่ปลูกไว้ในบริเวณกว้าง ส่วนในไทยช่วงเดือนเมษายนก็เป็นการบานของดอกไม้สวยงามไม่แพ้ญี่ปุ่น เช่น ดอกราชพฤกษ์ กัลปพฤกษ์ และ ตะแบก เป็นต้น บรรดาดอกไม้เหล่านี้ให้สีเหลืองอร่าม ขาวอมชมพู และสีม่วงตามลำดับ สร้างความสดชื่นท่ามกลางไอแดดที่ร้อนแรง ทั้งนี้หากมีการจัดการการปลูกที่มีระบบสวนสาธารณะที่เต็มไปด้วยต้นตะแบก ราชพฤกษ์ หรือกัลปพฤกษ์น่าจะสวยงามดึงดูดนักท่องเที่ยวได้ไม่แพ้ซากุระเลยทีเดียว

Apr2
การพบปะนั่งชมดอกซากุระ
April5
ทุ่งทิวลิป
April4
ดอกกัลปพฤกษ์
April11
ดอกราชพฤกษ์
april6
ดอกตะแบก

อากาศที่แตกต่างกัน

ในเดือนเมษายนญี่ปุ่นยังเป็นช่วงที่อากาศเย็นสบาย มีอากาศหนาวในช่วงกลางคืน และอุ่นในช่วงกลางวัน โดยอุณหภูมิเฉลี่ยไปตามพื้นที่ต่างๆ อยู่ในช่วง 10-25 องศาเซลเซียส ส่วนในไทยอากาศอาจร้อนจนใกล้ 40 องศาเซลเซียสจนต้องมีเทศกาลสงกรานต์เพื่อดับร้อน

ช่วงแห่งการเริ่มต้น

ในญี่ปุ่นต้นเดือนเมษายนเป็นช่วงการเริ่มต้น ไม่ว่าจะเป็นพิธีการเข้ารับการศึกษาของนักเรียนใหม่ในระดับต่างๆ การเปิดเทอมปีการศึกษาใหม่ และการเริ่มงานใหม่ ดังนั้นช่วงนี้จึงเป็นช่วงของความสุขปนความยุ่งจากการเริ่มต้น ส่วนเมืองไทย วันที่ 13 เมษายนเป็นวันขึ้นปีใหม่ไทย ตามด้วยวันครอบครัวซึ่งเป็นวันหยุดสำคัญที่คนไทยมีความสุขจากการพบปะคนในครอบครัว ญาติ และเพื่อนฝูง

April7
พิธีเข้ารับการศึกษาของเด็กประถมศึกษาปีที่ 1 ในญี่ปุ่นการมีวันหยุดหลายวัน

ส่วนในช่วงปลายเดือนเมษายนตั้งแต่วันที่ 29 เมษายน ไปจนวันที่ 5 พฤษภาคม ที่ญี่ปุ่นจะเป็นช่วงวันหยุดยาวที่เรียกว่า Golden week ซึ่งจะมีวันหยุดสำคัญ 4 วันที่ไม่ต่อเนื่องกัน แต่คนญี่ปุ่นส่วนใหญ่จะหยุดเพิ่มในวันที่เป็นช่องว่างระหว่างวันหยุด ทำให้ได้วันหยุดที่ยาวประมาณ 1 สัปดาห์ เพื่อการเดินทางไปท่องเที่ยวหรือเยี่ยมครอบครัว ส่วนในเมืองไทยนั้นแน่นอนว่า เดือนเมษายนจะมีวันหยุดและวันสำคัญหลายวัน แต่คนไทยเองก็จะได้หยุดยาวในช่วงสงกรานต์เพื่อพักผ่อนหย่อนใจ ร่วมรดน้ำดำหัวขอพรผู้ใหญ่เพื่อเป็นสิริมงคลให้กับชีวิต

April1
ประเพณีรดน้ำดำหัวผู้ใหญ่ในไทยกิจกรรมที่น่าสนใจในญี่ปุ่นช่วงเดือนเมษายน

นอกจากนั้นที่ญี่ปุ่นก็ยังมีกิจกรรมที่น่าสนใจตามแหล่งท่องเที่ยวสำคัญ เช่น การแสดงของคณะเกอิชา (Geisha) ที่เรียกว่า Miyako Odori ซึ่งเปิดให้รับชมกันทุกปีตั้งแต่วันที่ 1-30 เมษายน ที่โรงหนังประวัติศาสตร์ Kaburenjo จังหวัดเกียวโต และกำแพงหิมะบนเส้นทางทาเทยามะ คุโรเบะ (Tateyama Kurobe Alpine Route) ซึ่งเป็นเส้นทางตอนเหนือของเทือกเขาแอลป์ญี่ปุ่น ซึ่งเชื่อมต่อกันระหว่างเมืองโตยามา (Toyama) ในจังหวัดโตยามา กับเมืองโอมาจิ (Omachi) จังหวัดนากาโนะ (Nagano) จุดเด่นของเส้นทางทาเทยามะ คุโรเบะ คือทัศนียภาพอันงดงามของเทือกเขาทาเทยามะ โดยนักท่องเที่ยวจะเพลิดเพลินไปกับทัศนียภาพของธรรมชาติที่แตกต่างกันในแต่ละฤดูกาลตลอดปี ในฤดูใบไม้ผลิจะมีหิมะที่สะสมอยู่บนยอดเขา และกำแพงหิมะที่สูงถึง 20 เมตร การเปิดเข้าชมกำแพงหิมะและทัศนียภาพของเทือกเขาทาเทยามะจะเริ่มตั้งแต่กลางเดือนเมษายนจนถึงกลางเดือนมิถุนายน ซึ่งสามารถเข้าถึงได้โดยระบบขนส่งต่างๆ เช่น เคเบิ้ลคาร์ รถบัส และกระเช้าลอยฟ้า เป็นต้น

April10
การแสดงของคณะเกอิชา (Geisha) ที่เกียวโต
April9
กำแพงหิมะบนเส้นทางทาเทยามะ คุโรเบะ

เดือนเมษายนอาจเป็นเดือนที่ร้อนที่สุดในเมืองไทย แต่คนไทยทั้งประเทศก็มีโอกาสได้พักผ่อนจากวันหยุดยาวและพบปะสังสรรค์ญาติมิตร อันเป็นความสุขและความผูกพันของคนในชาติเรา ส่วนญี่ปุ่นเดือนเมษายนเป็นช่วงเวลาที่ดีๆ ที่น่าประทับใจเดือนหนึ่งของปี จากการสังเกตพบว่าคนไทยมาเที่ยวญี่ปุ่นในเดือนเมษายนเยอะมากๆ นั่นเองล่ะ

อัลบั้มภาพ 10 ภาพ

อัลบั้มภาพ 10 ภาพ ของ เรียนรู้ต้อนรับสงกรานต์! เดือน "เมษายน" ที่ญี่ปุ่นต่างจากเมืองไทยอย่างไรกันแน่

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook