"รากบัว" กับทุกเรื่องควรรู้ และเคล็ดลับวิธีนำมาปรุงอาหารให้อร่อยแบบฉบับคนญี่ปุ่น

"รากบัว" กับทุกเรื่องควรรู้ และเคล็ดลับวิธีนำมาปรุงอาหารให้อร่อยแบบฉบับคนญี่ปุ่น

"รากบัว" กับทุกเรื่องควรรู้ และเคล็ดลับวิธีนำมาปรุงอาหารให้อร่อยแบบฉบับคนญี่ปุ่น
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

รากบัว หรือ Renkon (れんこん) เป็นหนึ่งในอาหารที่คนญี่ปุ่นชอบรับประทานและรู้จักเป็นอย่างดี ผู้เขียนได้ยินสำนวนที่ลูกชายพูดถึงรากบัวอยู่เสมอคือ หัวรากบัว ซึ่งคงมาจากการที่รากบัวมีรูรอบๆ ถึง 9 รู ที่ทะลุออกไปทั้งราก ทำให้มีการเปรียบเปรยเด็กที่สอนอะไรไปก็ไม่จำ และคงรุนแรงกว่าคำเปรียบเปรยเข้าหูซ้ายทะลุหูขวา เพราะรูหูมีเพียงแค่รูเดียว วันนี้เรามารู้จักประโยชน์ของรากบัวและเคล็ดลับการนำรากบัวมาปรุงอาหารให้อร่อยแบบญี่ปุ่นกันนะ


ประโยชน์ของรากบัว

รากบัวอุดมไปด้วยเส้นใย วิตามินบี วิตามินเอ วิตามินซี และแร่ธาตุต่างๆ ได้แก่ โพแทสเซียม ฟอสฟอรัส ทองแดง เหล็ก และแมงกานีส เป็นต้น ซึ่งมีประโยชน์ต่อร่างกายดังนี้ คือ เสริมสร้างภูมิคุ้มกันที่แข็งแรงของร่างกาย ช่วยเสริมสร้างสุขภาพที่แข็งแรงของผิว ผม และตา กระตุ้นการทำงานที่ดีของระบบไหลเวียนเลือด ป้องกันการเกิดโรคหัวใจ ช่วยลดความเครียด ช่วยควบคุมระดับความดันโลหิต และช่วยให้ระบบขับถ่ายเป็นปกติ เป็นต้น

วิธีการนำรากบัวมารับประทาน และเคล็ดลับการนำรากบัวมาปรุงอาหารให้อร่อย

รูปแบบการตัดหั่นรากบัวเพื่อวัตถุประสงค์การปรุงอาหารแบบต่างๆ ดังรูป

1 หั่นเป็นรูปครึ่งวงกลมความหนาประมาณ 2-3 มิลลิเมตรเพื่อนำมาใช้ผัดหรือทำเทมปุระ

2 หั่นเป็นชิ้นพอคำตามความชอบ เพื่อนำมาต้มแบบญี่ปุ่น

3 หั่นตามความยาว สำหรับการทอดและนำมาต้มเคี่ยว

4 หั่นเป็นแผ่นบางๆ สำหรับสลัด ทอดกรอบ และตกแต่งซูชิ

วิธีการชะลอหรือหยุดยั้งการเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลของรากบัว

โดยทั่วไปหากหั่นทิ้งไว้รากบัวจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล วิธีการชะลอหรือหยุดยั้งการเป็นสีน้ำตาลของรากบัวทำได้ง่ายๆ ดังนี้

แช่รากบัวหั่นเสร็จในน้ำ เป็นวิธีหนึ่งที่ใช้ในการชะลอการเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลของรากบัว สำหรับเมนูต้มหรือผัด

แช่รากบัวหั่นบางในน้ำ ผสมน้ำส้มข้าวหมัก เพื่อหยุดยั้งการทำงานของเอนไซม์ และเพื่อให้ได้รากบัวที่มีเนื้อสัมผัสกรุบกรอบ ทั้งนี้สามารถใช้น้ำส้มสายชูแทนน้ำส้มข้าวหมักได้เช่นกัน

น้ำส้มข้าวหมัก

ตัวอย่างการนำรากบัวมาปรุงอาหาร

รากบัวสำหรับสลัด

รากบัวที่ใช้เป็นส่วนผสมของสลัดมักจะเป็นรากบัวหั่นบางที่ผ่านการแช่น้ำส้มข้าวหมัก และต้มในน้ำเดือดผสมน้ำส้มข้าวหมักเล็กน้อย เป็นเวลาประมาณ 2-3 นาที แล้วจึงนำมาล้างในน้ำเย็น และใช้เป็นส่วนผสมของสลัด รากบัวที่ผ่านการต้มจะมีเนื้อสัมผัสที่กรุบกรอบและมีรสหวานตามธรรมชาติ

การนำมาผัด

การผัดรากบัวนั้นเริ่มจากการหั่นรากบัวเป็นชิ้นบางๆ และแช่ในน้ำประมาณ 5-10 นาที จากนั้นจึงเทน้ำทิ้งและพักทิ้งไว้ให้สะเด็ดน้ำ ก่อนนำมาผัดจนรากบัวเริ่มโปร่งแสงแล้วจึงเติมส่วนผสมของเครื่องปรุง ได้แก่ สาเก มิริน ซีอิ๊ว และน้ำตาล ผัดจนส่วนผสมเครื่องปรุงเปลี่ยนเป็นคาราเมลเคลือบรากบัว

นำมาต้มเคี่ยวแบบญี่ปุ่น

สำหรับคนที่ชอบรากบัวที่มีเนื้อสัมผัสคล้ายแป้งก็คงต้องนำรากบัวที่หั่นเป็นชิ้นพอคำที่ผ่านการแช่น้ำมาผัดรวมกับส่วนผสมต่างๆ ได้แก่ เนื้อไก่ รากบัว บุก แครอท หน่อไม้ และเห็ดหอม เป็นต้น จนเนื้อไก่สุกแล้วจึงเติมน้ำพอปริ่มวัตถุดิบๆ และเติมส่วนผสมเครื่องปรุง ได้แก่ ซีอิ๊ว สาเก มิริน ดาชิ เกลือ และน้ำตาล ต้มด้วยไฟกลางจนของเหลวในหม้อต้มเหลือประมาณ 20 เปอร์เซ็นต์ แล้วจึงปิดด้วยฟอยล์ และต้มต่อประมาณ 10 นาที จากนั้นจึงเอาฟอยล์ออก และต้มต่ออีกประมาณ 10 นาที ปรุงรสเพิ่มเติมตามชอบ เพื่อให้ได้เมนูที่มีรากบัวนิ่มเนื้อสัมผัสคล้ายแป้ง

ยังมีเมนูอีกมากมายจากรากบัว แต่คราวนี้ฝากให้นำไปลองทำดูแค่นี้ก่อน ลองปรับดูตามวัตถุดิบและเครื่องปรุงที่เรามี หวังว่าคงได้เมนูรากบัวถูกใจสมาชิกในครอบครัวกันนะ

อัลบั้มภาพ 8 ภาพ

อัลบั้มภาพ 8 ภาพ ของ "รากบัว" กับทุกเรื่องควรรู้ และเคล็ดลับวิธีนำมาปรุงอาหารให้อร่อยแบบฉบับคนญี่ปุ่น

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook