5 วิธีเอาตัวรอดบนรถไฟของเหล่ามนุษย์เงินเดือนญี่ปุ่น!

5 วิธีเอาตัวรอดบนรถไฟของเหล่ามนุษย์เงินเดือนญี่ปุ่น!

5 วิธีเอาตัวรอดบนรถไฟของเหล่ามนุษย์เงินเดือนญี่ปุ่น!
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

พื้นที่เล็กแคบ ณ จุดนั้น เป็นที่สุมรวมของความเป็นญี่ปุ่นในหลายแง่ มีผู้คนมากหน้าหลายตา หลากหลายประเภทมาอยู่รวมกันเบียดเสียดในแบบที่บีทีเอสบ้านเราเทียบไม่ติดเลย

แล้วพวกเขามีวิธีในการเอาตัวรอด หรือ อยู่ร่วมกันในชั่วโมงเร่งรีบบนรถไฟที่คับแคบ แม้จะเป็นช่วงเวลาสั้น ๆ ของทุกเช้าเย็นได้อย่างไรกัน!!?? ไปศึกษากันดีกว่าครับ!

1. หันหลังเข้า แล้วดันให้สุดแรง!!!

rushtrain8

ขอเริ่มจากท่าขึ้นรถไฟ วินาทีที่ทุกคนรอรถนั้น เป็นเรื่องปกติที่จะต้องต่อแถวไปตามเส้นเหลืองอย่างมีมารยาท แต่วินาทีที่ประตูรถเปิด ทุกคนจะพร้อมใจกันกลับหลังหัน แล้วดันทุกส่วนของตัวเองโดยใช้ก้นนี่แหละครับ เบียดตัวเองและสัมภาระเข้าไปในรถให้ได้ เพราะเป็นทิศทางที่ประหยัดพื้นที่ และเป็นท่าที่พร้อมสำหรับการรับมือกับเพื่อนร่วมทางที่จะเข้ามาใหม่ที่สุด

ถ้ามีส่วนใดของร่างกาย หรือแม้แต่ปลายเชือกรองเท้าโผล่เลยขอบประตูออกมาก็ไม่ต้องกังวลไป “โอชิยะ” (押し屋) หรือเจ้าหน้าที่ประจำประตูรถที่มีหน้าที่ ผลักโดยเฉพาะ!! จะทั้งผลัก ทั้งยันด้วยเข่า ทุกวิถีทางเพื่อทำให้ประตูรถปิดได้ ออกแรงกันสุดพลัง จนแอบคิดว่าเขาเกลียดอะไรกันหรือเปล่า!!??

2. มือไม้ต้องระวัง!!

rushtrain7

ในรถไฟที่เบียดเสียด แม้แต่จะพลิกตัว พลิกมือ หรือยืดเส้นยืดสาย ก็แทบจะเป็นเรื่องเป็นไปไม่ได้ ถ้าไม่เตรียมพร้อมให้ดี บางครั้งอาจจะตกอยู่ในท่าทางที่ไม่สบายตัวไปจนถึงปลายทาง ที่แย่กว่านั้น อาจจะไปอยู่ในท่าที่ก่อให้เกิดการเข้าใจผิดได้ ทางที่ดีที่สุดคือต้องเตรียมตัวให้ดี มือควรแนบชิดลำตัวเอาไว้ หรือยกให้อยู่ในตำแหน่งที่สูงสักนิด ไม่ให้ไปอยู่ในจุดที่สุ่มเสี่ยงจนอาจจะไปสัมผัสจุดที่ไม่ควรของเพื่อนร่วมทางเอาได้

3. อดทนให้มาก เราก็อาจจะพลาดได้!!

rushtrain5

การขึ้นรถไฟญี่ปุ่นในเวลาเร่งรีบต้องใช้ความอดทนอย่างมาก บางครั้งรถไฟเบรกแรงหรือเข้าโค้ง จนบังเอิญมีใครมาเหยียบเท้าคุณเข้า ก็อย่าได้อารมณ์เสียไปนะครับ เพราะคุณก็มีโอกาสจะเหยียบเท้าเขาได้เหมือนกัน เพราะทุกคนอยู่ในกรอบคิดเดียวกันว่าพื้นที่สาธารณะที่ต่างใช้อยู่ร่วมกันนี้ ต่างคนล้วนมีสิทธิ์เท่ากัน แม้จะเบียด จะโดนเหยียบก็ตามแต่ การจะปริปากร้องบ่นนั้น พลอยแต่จะแสดงออกซึ่งความเห็นแก่ตัว และไม่เคารพสิทธิ์เพื่อนร่วมทาง ซึ่งเป็นการกระทำที่ไม่สมควรอย่างมาก

4. ทำตัวเป็นสายลม โอนอ่อนไปตามแรงของผู้คน

ruchtrain9

เมื่อขึ้นมาบนรถไฟได้แล้ว ในขณะที่รถไฟวิ่ง อาจมีช่วงเข้าโค้ง หรือ ช่วงที่รถไฟเบรกเพื่อจอดตามสถานีต่าง ๆ จึงควรหาที่จับให้มั่น ลงน้ำหนักที่ขาให้หนักแน่น แต่สิ่งสำคัญคือ ลำตัว!! ต้องปล่อยไปตามแรงของเพื่อนร่วมทาง อย่าได้ออกแรงฝืนเชียวนะครับ เพราะจะทำให้เรายิ่งเหนื่อย จนอาจจะเคล็ดขัดยอกได้เลยทีเดียว ผู้คนจะหลับตาพริ้ม พลิ้วไหวไปซ้ายทีขวาที ไม่นานก็ถึงที่หมายแล้ว!

5. ดูแลสัมภาระ อย่าให้เป็นภาระ!!

rushtrain10

มนุษย์เงินเดือนญี่ปุ่น หรือ ไม่ว่าใคร ๆ มักจะมีกระเป๋าติดตัวไปไหนมาไหนเสมอเป็นเรื่องปกติ แต่ของเหล่านั้นต้องไม่ไปรบกวนผู้อื่น เพราะลำพังแค่ผู้คน ก็มากมายเบียดเสียดอยู่แล้ว ในเวลาเร่งรีบจึงต้องมีมารยาทสำหรับการพกสัมภาระอยู่ดังนี้ครับ

  • ท่านั่ง…กระเป๋าขนาดเล็กควรวางไว้บนตัก ไม่วางไว้ด้านข้าง หากเป็นกระเป๋าเดินทาง ให้วางไว้ด้านหน้า โดยให้กินที่น้อยที่สุด
  • ท่ายืน…กระเป๋าต้องไม่สะพายหลัง แต่ให้เอามาถือไว้ด้านหน้า หรือระหว่างขา

ที่สำคัญเลยคือ ไม่ควรวางกระเป๋าไว้บนที่วางเหนือศีรษะ เพราะการเบียดเสียดอาจทำให้เราถูกดันไปยืนที่อื่น เมื่อถึงเวลาจะลง เราก็อาจจะไม่สามารถเดินไปหยิบกระเป๋ากลับมาได้เลยนะครับ

รถไฟญี่ปุ่น เป็นพื้นที่ที่สะท้อนความรู้สึกนึกคิดของคนญี่ปุ่นได้เป็นอย่างดีเลยนะครับ จาก 5 ข้อนี้ เพื่อน ๆ ก็คงจะเห็นได้ชัดเจน ว่าคนญี่ปุ่นให้ความสำคัญกับการอยู่ร่วมกันในพื้นที่สาธารณะอย่างมากเลยทีเดียว ดังนั้นแล้ว ถ้ามีโอกาสไปขึ้นรถไฟในชั่วโมงเร่งรีบ ก็อย่าลืมนำ 5 ข้อนี้ไปใช้เพื่อเอาตัวรอดร่วมกับมนุษย์เงินเดือนญี่ปุ่นกันนะครับคนหยาบช้าในวันวานของญี่ปุ่น

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook