รีวิว Antebellum อดีตและปัจจุบันยังน่ากลัวไม่เคยเปลี่ยนแปลง

รีวิว Antebellum อดีตและปัจจุบันยังน่ากลัวไม่เคยเปลี่ยนแปลง

รีวิว Antebellum อดีตและปัจจุบันยังน่ากลัวไม่เคยเปลี่ยนแปลง
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

การที่หนังหยิบเอาประโยคของวิลเลียม ฟอล์คเนอร์ที่ว่า “the past is never dead. it’s not even past” นำมาเปรยเอาไว้ในช่วงก่อนที่หนังจะเข้าสู่เรื่องราว เพื่ออธิบายปรากฏการณ์บางอย่างที่จะเกิดขึ้นในหนังเรื่องนี้ อันที่จริงแล้วมันแทบจะเป็นคำอธิบายปรากฏการณ์ทั้งหมดที่เกิดขึ้นในหนังแทบทั้งเรื่องเลยด้วยซ้ำไป

 

เพื่อความปลอดภัยและอรรถรสในการรับชม ท่านที่ยังไม่ได้ชมภาพยนตร์กรุณาข้ามบทความนี้ไปก่อนนะครับ

 

เรื่องราวที่เกิดขึ้นใน Antebellum กล่าวถึงเอเดน (จาแนลล์ โมเน่) หญิงสาวที่ถูกจับมาเป็นทาสของคนผิวขาวในไร้ฝ้ายแห่งหนึ่ง ณ ที่นั่นเธอพบคนผิวสีอีกจำนวนมากมายที่ถูกใช้งานเยี่ยงกับสัตว์ เธอยังต้องรับมือกับนายจ้างผิวขาวที่ไร้ความปราณีและพร้อมจะใช้ความรุนแรงในทุกวิถีทางเพื่อกดขี่คนผิวสี

หนังใช้เวลากว่า 30 นาทีแรกในการเล่าเรื่องของนิคมไร่ฝ้าย เผยให้เห็นชีวิตความเป็นอยู่ของแรงงานทาส การถูกกดขี่ข่มเหงรวมไปถึงการถูกล่วงละเมิดทางเพศในแบบที่เราไม่อาจจะจินตนาการถึง ท่ามกลางการเผยให้เห็นความรุนแรงของสังคมไร่ฝ้ายแห่งนี้จุดเชื่อมโยงสำคัญคือเอเดน ที่เมื่อผ่านช่วงกลางเรื่องไปแล้ว ผู้ชมก็เริ่มสัมผัสได้ถึงความพิศวงและสิ่งเชื่อมโยงบางประการระหว่างเอเดนและหญิงสาวที่ชื่อเวโรนิก้า (จาแนลล์ โมเน่)

เวโรนิก้าคือนักเคลื่อนไหวทางสังคมที่ต่อสู้ในเรื่องของสิทธิของคนผิวสี เพศ และการถูกกดขี่ของคนผิวดำในประเทศอเมริกา เธอมีผลงานหนังสือในระดับเบสเซลเลอร์ ความสามารถรอบด้านของเธอในฐานะผู้หญิงเก่ง ที่คอยดูแลสามีและลูกน้อยแบบไม่มีขาดตกบกพร่อง จนกระทั่งวันหนึ่งเธอมีงานที่จะต้องบินไปบรรยายพิเศษที่รัฐนิวออร์ลีนส์ ณ ที่นั่นเองเธอเริ่มสัมผัสได้ถึงเหตุการณ์ประหลาดและการถูกคุกคามอย่างลึกลับจากผู้หญิงคนหนึ่งที่ชื่ออลิซาเบธ (จีน่า มาโลน) ผู้อ้างตัวว่าเป็นเอเจนซีในการจัดหางานที่เริ่มเข้ามาในชีวิตของเวโรนิก้าเพื่อจุดประสงค์บางอย่าง

ในแง่ของความระทึกขวัญสยองขวัญนั้น Antebellum จัดได้ว่าแทบจะปราศจากความรู้สึกแบบนั้นอย่างสิ้นเชิง แต่ในแง่ของประเด็นเรื่องดราม่าระหว่างผิวสีนั้น หนังจัดได้ว่าทำได้เข้มข้นและอำพรางร่องรอยที่นำไปสู่ช่วงเวลาแห่งการหักมุมได้อย่างแนบเนียน ปัจจัยหนึ่งคงต้องบอกว่าหนังเลือกใช้เทคนิคทางภาพยนตร์อย่าง “การตัดต่อ” เอามาหลอกคนดูได้อย่างเฉียบแหลม และหลายครั้งหนังก็พยายามชี้นำคนดูด้วยซ้ำไปว่านี่คือหนังแนว “การกลับชาติมาเกิด” หรือเปล่า อาทิการโคลสอัพรอยแผลเป็นจากการโดนตีตราของเอเดนและนำเสนออาการปวดหลังในจุดเดียวกันของเวโรนิก้า เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม Antebellum ก็ยังทำหน้าที่ในแนวทางหนังของตัวเองได้ไม่ค่อยดีเท่าไหร่ เพราะตัวหนังเองก็บกพร่องในแง่ของการเร้าอารมณ์ผู้ชม ช่วงแรกของหนังเนิบช้าจนเสียเวลาถ้าใครสมาธิไม่ค่อยจะสู้ดีอาจจะผล็อยหลับไปได้แบบง่ายๆเลยด้วยซ้ำไป

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook