The Outpost วีรกรรมผู้กล้ากับมหาสงครามนองเลืองตะวันออกกลาง

The Outpost วีรกรรมผู้กล้ากับมหาสงครามนองเลืองตะวันออกกลาง

The Outpost วีรกรรมผู้กล้ากับมหาสงครามนองเลืองตะวันออกกลาง
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ภาพยนตร์สงครามเรื่องล่าสุด สร้างจากหนังสือขายดีที่ได้รับการยกย่องอย่างสูง เรื่อง"ดิ เอาท์โพสต์:เรื่องราวความกล้าหาญของชาวอเมริกันที่ไม่ถูกบอกเล่า" (The Outpost: An Untold Story of American Valor) มาก่อนนำแสดงโดยสก๊อต​ อีสต์วูด​ คาเลบ แลนดรี โจนส์ และออร์แลนโด้ บลูม

The Outpost คือบันทึกเรื่องจริงของทหารอเมริกัน 54 นาย ที่มีชัยต่อการโจมตีครั้งใหญ่โดยกลุ่มก่อการร้ายตอลิบานกว่า 400 คนเพียงไม่กี่วันก่อนที่พวกเขาจะถูกส่งออกจากพื้นที่เปราะบางของประเทศอัฟกานิสถาน   ตามที่รู้จักกันดีในนาม สมรภูมิคัมเดช (Battle of Kamdesh) ว่าเป็นการสู้รบของชาวอเมริกันที่นองเลือดที่สุดในสงครามอัฟกานิสถาน กองกำลังบราโว3-61 ซีเอวี(Bravo Troop 3-61 CAV)กลายเป็นหน่วยที่ได้รับเข็มกล้าหาญมากที่สุดท่ามกลางความขัดแย้งยาวนาน 19 ปี

หน่วยรบด่านนอกคีทติ้ง (Combat Outpost Keating) ซึ่งแต่เดิมสร้างขึ้นเพื่อให้ชาวบ้านมีส่วนร่วมในโครงการพัฒนาชุมชน ตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของอัฟกานิสถานด้านล่างของภูเขาสูงชันสามลูกห่างจากชายแดนปากีสถานเพียง14ไมล์ ต้องเผชิญกับภัยคุกคามอย่างต่อเนื่องจากการโจมตีโดยกลุ่มตอลิบาน ทำให้ทหารสหรัฐฯที่ประจำการอยู่ที่นั่นอยู่ในภาวะเสี่ยงภัยยิ่งยวดอย่างต่อเนื่อง

ในการต่อสู้ที่กล้าหาญที่สุดของอเมริกาในยุคนั้น พลทหารสองคน คือ จ่าสิบตรี คลินต์ โรเมชา และเจ้าหน้าที่เชี่ยวชาญ ไท คาร์เตอร์ ได้รับเหรียญเกียรติยศ  โดยนับเป็นครั้งแรกในรอบห้าสิบปีที่ทหารปฏิบัติภารกิจผู้รอดชีวิตสองนายได้รับการยอมรับด้วยรางวัลดังกล่าวในสมรภูมิเดียวกัน เมื่อเหล่าทหารระดับสูงตัดสินใจที่จะปิดฐานลงในที่สุด กลุ่มตอลิบานรู้เข้าและตัดสินใจประกาศศักดา โดยโจมตีด่านนอกด้วยอาวุธปืนขนาดเล็ก ระเบิดจรวด ปืนกลหนัก และปืนไรเฟิลบี-10แบบไร้แรงถอย สังหารทหารอเมริกันแปดนายและบาดเจ็บอีกหลายสิบนาย การโจมตีครั้งนี้เป็นการโจมตีกองกำลังด่านนอกของกองกำลังสหรัฐฯที่เลวร้ายที่สุดครั้งหนึ่งในช่วงสงคราม

 

ก่อนจะมาเป็นหนังยาวเรื่อง The Outpost

ขณะที่พอล ทามาซี่ ผู้อำนวยการสร้างของเรื่องกำลังกดเลื่อนช่องโทรทัศน์ไปเรื่อยๆในคืนหนึ่ง เขาก็ได้ชมสารคดีเรื่อง "ฮีโร่ชาวอเมริกัน:คลิ้นท์ โรเมชา(An American Hero: Clint Romesha) ที่ผลิตโดยซีเอ็นเอ็น เขาก็รู้ทันทีเลยว่า เรื่องราวของด่านนอกเล็กๆห่างไกลนี้จะเป็นภาพยนตร์เรื่องเยี่ยม

หลังจากค้นคว้าอย่างเร็ว เขาก็พบหนังสือ ดิ เอาท์โพสต์:เรื่องราวความกล้าหาญของชาวอเมริกันที่ไม่ถูกบอกเล่า โดย เจค แทปเปอร์ แห่งซีเอ็นเอ็น และติดต่อเจคเพื่อขอสิทธิ์ในเรื่องนี้  หนังสือบอกเล่าเรื่องราวในมุมที่ใหญ่กว่าครอบคลุมเวลาสามปีและมีตัวละครมากมาย  พอลและเอริครู้ดีว่าพวกเขามีความท้าทายอย่างมากในการจะกลั่นรวมเรื่องราวนั้นให้ให้เกียรติแก่บุคคลจำนวนมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ในช่วงเวลาสามปี ในขณะที่เน้นเรื่องราวส่วนตัวของทหารแปดนายที่เสียชีวิต

ตัวละครตัวหนึ่งที่โดดเด่นสะดุดตาคู่หูนักเขียนคือร.ท.เบ็น คีทติ้ง เขาเป็นที่ยกย่องของทุกคน ซึ่งไม่ใช่แค่ทหารของเขาเท่านั้นแต่ยังรวมถึงคนในพื้นที่ และเขามีอิทธิพลในหุบเขานั้นอย่างมาก  ปัญหาคือเขาอยู่ในเนื้อเรื่องส่วนแรกๆก่อนเรื่องราวของด่านนอกที่การต่อสู้เกิดขึ้นหลังเขาจากไปแล้วสามปี  ผู้เขียนรู้สึกว่า เพื่อจะให้รากฐานแก่ภาพยนตร์ พวกเขาจะต้องรวมเรื่องราวของคีทติ้งเข้าไว้ด้วย เนื่องจากเหล่าทหารให้เกียรติเขามากจนตั้งชื่อด่านตามเขา  พวกเขาตัดสินใจที่จะย่นเวลาสามปีเป็นหนึ่งปี ซึ่งหมายความว่า ร.ท.คีทติ้งจะอยู่ในกรอบเวลาเดียวกับคลินท์ โรเมชา ในขณะที่ในชีวิตจริงทั้งสองคนไม่เคยพบกัน

หนังสือเล่มนี้มีความยาว500หน้า และให้รายละเอียดเกี่ยวกับประสบการณ์ของทหาร4กองร้อยตั้งแต่ปี2549ถึง2552 ร็อดและผู้เขียนบทได้หยิบหนังสือที่มีรายละเอียดซับซ้อน และกลั่นเอาความจริงที่สำคัญออกมาเกี่ยวกับเหล่าทหารหาญผู้ปฏิบัติหน้าที่ที่ด่านนอกคีทติ้งและเหตุใดพวกเขาจึงไปอยู่ที่นั่น

 

การกำกับหนังสงครามครั้งแรก

ผู้กำกับชื่อดัง​ ร็อด​ ลูรีหลังจากจบการศึกษาจากเวสต์ พอยท์ (West Point) และเข้ารับราชการในกองทัพสหรัฐฯ ภูมิหลังทางทหารของลูรีจะผสมผสานอย่างลงตัวกับประสบการณ์ของเขาในฐานะผู้กำกับ และทำให้เขาเป็นตัวเลือกที่สมบูรณ์แบบสำหรับ The Outpost

ด้วยความที่ร็อด ลูรี ไม่เคยทำหนังที่พูดถึงเรื่องของกองทัพเลย ดังนั้นเมื่อได้รับหน้าที่ให้นำเสนอเรื่องราวของการต่อสู้ที่ยิ่งใหญ่และสำคัญที่สุดของสงครามอัฟกานิสถาน เขาจึงตัดสินใจกำกับทันที “ผมเป็นทหาร และผมรักเพื่อนทหารทั้งชายและหญิง” ลูรีกล่าวต่อ “สิ่งหนึ่งที่ทำให้ผมสนใจหนังเรื่องนี้มากกว่าหนังสงครามเรื่องอื่นๆก็คือ มันไม่ได้เกี่ยวกับหน่วยรบพิเศษ หน่วยจู่โจม หรือสายลับ  ไม่ได้เกี่ยวกับดาราดังหรือเจ้าหน้าที่พิเศษ  แต่เป็นเรื่องราวของชายหนุ่มกลุ่มหนึ่งที่ไม่ได้ผ่านการฝึกฝนพิเศษเพียงแค่ฝึกฝนระดับธรรมดาทั่วๆไป พวกเขาไม่ได้พร้อมที่จะต่อสู้ในระดับเดียวกับหน่วยรบพิเศษหรือหน่วยจู่โจม  เราเรียกพวกเขาว่ากลุ่มคำราม  กลุ่มคำรามนี้ต่อสู้กับการสู้รบครั้งนี้อย่างกล้าหาญและแข็งแกร่งไม่แพ้ใคร  กลุ่มชายธรรมดาเหล่านี้ได้รับแรงพลังจากความรักที่มีต่อกัน”

ร็อด ลูรีได้ตัดสินใจอย่างสร้างสรรค์ในช่วงแรกว่าจะทำการถ่ายทำส่วนใหญ่ในรูปแบบที่เรียกว่า“ออเนอร์ส”(oners) (หมายถึง ไม่มีการตัดต่อ) ซึ่งถูกต่อต้านในตอนแรก แต่สุดท้ายกลับกลายเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดสำหรับภาพยนตร์เรื่องนี้  หากพวกเขาทำสำเร็จ ผลลัพธ์สุดท้ายจะคงอยู่กับตัวละครผ่านทางประสบการณ์การต่อสู้อย่างสมจริง  “การตัดฉากในภาพยนตร์ทำให้เกิดความรู้สึกหลีกหนีห่างไกลจากประสบการณ์ความสมจริง” ลูรีอธิบาย  “เราไม่ต้องการให้ผู้ชมรู้สึกหลุดออกไปแบบนั้น  รูปแบบการถ่ายทำที่เราเลือกมีความเสี่ยงมากเนื่องจากอาจเกิดการผิดพลาดและอาจมีความล่าช้า  เรามีการวางแผนเยอะมากแต่กลับลงเอยเป็นว่าประหยัดเวลาและเงินดีเสียอีก  และในท้ายที่สุดผู้ชมก็ได้ความรู้สึกสมจริงเสมือนอยู่ในฉากนั่นเอง

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook