ไม่สนเสียงวิจารณ์ "วอร์เนอร์" ส่ง Wonder Woman 1984 เข้าชิงออสการ์หลายสาขา

ไม่สนเสียงวิจารณ์ "วอร์เนอร์" ส่ง Wonder Woman 1984 เข้าชิงออสการ์หลายสาขา

ไม่สนเสียงวิจารณ์ "วอร์เนอร์" ส่ง Wonder Woman 1984 เข้าชิงออสการ์หลายสาขา
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ตามนั้นเลยครับ ไม่ใช่แค่ว่าภาคนี้ทำออกมาได้ขัดใจบรรดานักวิจารณ์แต่ยังได้เสียงตอบรับจากผู้ชมส่วนใหญ่ที่ค่อนข้างผิดหวังกับภาคนี้ที่หนังค่อนข้างยาวแต่กลับมีฉากแอ็คชั่นที่น้อย ยิ่งถ้าพิจารณาถึงสถานะหนังที่มีคุณสมบัติเพียบควรค่าต่อการเข้าชิงตำแหน่ง ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม แล้วยิ่งห่างไกล แต่กระนั้นวอร์เนอร์ก็มั่นอกมั่นใจกับหนังของตัวเอง ไม่สนเสียงวิพากษ์วิจารณ์ใด ๆ ทั้งสิ้น เดินหน้าพร้อมเสนอชื่อ Wonder Woman 1984 เป็นตัวแทนสตูดิโอปีนี้เข้าชิงรางวัลในเวที อคาเดมี่ อวอร์ด ครั้งที่ 93 นี้ รางวัลที่จะเข้าชิงมีดังนี้ครับ ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม, ผู้กำกับยอดเยี่ยม, นักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม, บทภาพยนตร์ดัดแปลงยอดเยี่ยม, และทีมนักแสดงยอดเยี่ยม

ลงรายละเอียดในสาขานักแสดงที่วอร์เนอร์ตั้งใจจะเสนอชื่อเข้าชิงมีดังนี้

  • กัล กาด็อต ในสาขานักแสดงนำฝ่ายหญิงยอดเยี่ยม
  • คริสเต็น วิก, โรบิน ไรต์ และคอนนี นีลเซ็น ในสาขานักแสดงสมทบฝ่ายหญิงยอดเยี่ยม
  • คริส ไพน์ และเพโดร พาสคาล ในสาขานักแสดงสมทบฝ่ายชายยอดเยี่ยม
    ยังไม่หมดครับยังมีอีกหลายสาขาที่วอร์เนอร์จะส่งเข้าชิง
  • แมทธิว เจ็นเซ็น ในสาขา ถ่ายภาพยอดเยี่ยม
  • ริชาร์ด เพียร์สัน ในสาขา ตัดต่อภาพยอดเยี่ยม
  • ลินดี เฮมมิง ในสาขาออกแบบเครื่องแต่งกายยอดเยี่ยม
  • ฮาน ซิมเมอร์ ในสาขาดนตรีประกอบยอดเยี่ยม

ก็นับว่าการตัดสินใจของวอร์เนอร์ครั้งนี้สร้างความประหลาดใจต่อผู้ที่ได้ทราบข่าวอย่างมาก เพราะถ้าวอร์เนอร์ตัดสินใจแบบนี้กับ Wonder Woman ภาคแรกเมื่อปี 2017 ก็จะไม่ประหลาดใจเท่านี้ แต่กับ Wonder Woman 1984 นี้นั้นเพิ่งสร้างสถิติหนังจากจักรวาลดีซีที่ได้คะแนนต่ำสุดในเว็บไซต์ IMDB ไปหมาด ๆ แล้วเมื่อไม่กี่วันนี้คะแนนใน rottentomatoes ก็ดิ่งไป 59% ได้ตรามะเขือเทศเน่าไปครู่หนึ่ง ก่อนจะกลับมาที่ 60% แล้วได้ตรามะเขือเทศสดกลับคืนมา

ผู้กำกับ แพตตี้ เจนกินส์ผู้กำกับ แพตตี้ เจนกินส์

หลังจาก Wonder Woman 1984 ออกฉายในโรงภาพยนตร์ทั่วโลกและสตรีมมิ่งผ่าน HBO MAX ไปเมื่อ 25 ธันวาคม นี้ เสียงตอบรับในทางลบก็กลับมาเข้าหูผู้กำกับ แพตตี้ เจนกินส์ พอควรถึงความผิดหวังที่ภาคนี้ไม่เข้มข้นและฉากแอ็คชั่นน้อยกว่าที่คาดมาก ทำให้แพตตี้ต้องออกมาอธิบายถึงการตัดสินใจที่เธอทำเช่นนี้ไว้อย่างสวยหรูว่า

"ฉันตัดสินใจทำ 2 สิ่งกับหนังเรื่องนี้ ซึ่งเป็นสิ่งที่ทุกคนคัดค้าน อย่างแรกคือ ไม่มีใครตาย และอีกอย่างก็คือวันเดอร์วูเมนเอาชนะวายร้ายด้วยคำพูด นั่นคือวิธีการแบบม้าโทรจันของฉันที่สอดแทรกไว้ ที่จริงฉันก็อยากทำตามที่ทุกคนต้องการเห็นในหนังซูเปอร์ฮีโร่หรอกนะ แต่ด้วยสัตย์จริงแล้วฉันเองนี่ล่ะที่หวังว่าเราน่าจะเลิกพูดเรื่องการทำลายล้างกันในหนังเสียที แต่สิ่งที่ฉันอยากจะสื่อกับผู้ชมรุ่นเล็กที่มาดูหนังซูเปอร์ฮีโร่เหล่านี้คือ ‘พวกเธอจะต้องเรียนรู้ถึงความเป็นวีรบุรุษที่สอดแทรกไว้ในเนื้อหา’ ต่อให้เราพากันไปถล่มทุกประเทศบนโลกนี้กันให้หมด มันก็ไม่สามารถยับยั้งชะตากรรมที่เราจะต้องเผชิญในอีก 40 ปีข้างหน้านี้ได้หรอก นั่นคือประเด็นที่ฉันต้องการสื่อในหนัง"

ถ้าพิจารณาตามเจตนาที่ แพตตี้ เจนกินส์ ต้องการสื่อออกมาก็นับว่าเป็นเจตนาที่ดี น่ายกย่องที่หวังจะเปลี่ยนแปลงรูปแบบการนำเสนอในหนังซูเปอร์ฮีโร่ ด้วยความห่วงใยที่มีต่อผู้ชมรุ่นเล็ก ที่เธอไม่อยากให้เห็นการใช้ความรุนแรงกันในหนัง แต่กระนั้นแฟน ๆ ก็ยังชี้นิ้วไปอีกจุดใหญ่ในหนังที่ค่อนข้างเป็นกระแสโจมตีรุนแรงในช่วงที่ผ่านมาเร็ว ๆ นี้คือ วิธีการที่หนังนำเอา สตีฟ เทรเวอร์ กลับมาในหนัง ด้วยการดึงวิญญาณเขากลับมาสิงอยู่ในร่างชายอื่นโดยพลการทั้งที่เจ้าของร่างไม่ได้เห็นชอบยินยอม เพียงเพื่อตอบสนองความต้องการของไดอานาเพียงผู้เดียว และนับว่าจุดนี้ก็เป็นอีกประเด็นหลักที่พาให้บรรดานักวิจารณ์ไม่ปลื้ม และไม่เห็นชอบว่าหนังควรค่าต่อการเข้าชิงรางวัลออสการ์

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook