จาก "เพลิงพระนาง" สู่ "พม่าใหม่" โดย แอดมินเพจกะเทยนิวส์

จาก "เพลิงพระนาง" สู่ "พม่าใหม่" โดย แอดมินเพจกะเทยนิวส์

จาก "เพลิงพระนาง" สู่ "พม่าใหม่" โดย แอดมินเพจกะเทยนิวส์
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

สถานการณ์ที่เกิดขึ้นในพม่าเมื่อช่วงต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา ก็คงจะหนีไม่พ้นเหตุการณ์รัฐประหาร ที่ทำให้ชาวเราชาวเธอออกอาการตื่นตระหนกตกใจ แบบว่า เห้ยแกร เส้นเรื่องมันคุ้นหูคุ้นตากันไม่ปานเลยนะเออ แต่พอเรานึกถึงพม่าผ่านแว่นของละครไทย เราเห็นอะไรกันบ้าง วันนี้เทยเลยอยากจะขอเล่าเรื่องของประเทศเพื่อนบ้านของเราผ่านมุมมองของละครไทยกันหน่อยค่ะเธอ

ไปค่ะ ไปทัวร์ "พม่าใหม่" กันสักหน่อย

พอเราพูดถึง “พม่า” สิ่งที่สายละครไทยจะชอบหยิบยกกันมาให้เห็นถึงความเป็นพม่า จนเราๆ เธอๆ คุ้นชินตา ก็คือสงครามสมัยเสียกรุงศรีอยุธยา จะครั้งที่ 1 หรือ 2 ก็เถอะ ความละครไทยโบราณ ก็จะมีความหยิบคอนเซปต์นางรักชาติ มาเล่ากันกี่ครั้งต่อกี่ครั้งก็ไม่เบื่อ บวกเข้ากับนโยบายของความรักชาติ ที่รัฐนางหยิบยื่นมาให้ เราก็จะเออ เนี่ย พม่ารับบทนังตัวดี แกจะมาบุกตีเอาเอกราชของเราไปนะ ชิชะ เผากรุงตั่งต่าง ดังเช่นในละครเรื่องสายโลหิต ในทุกเวอร์ชั่น

ซึ่งในสมัยนั้น ความรู้สึกว่าเป็นชาติ มันยังไม่ได้เข้มแข็ง เพราะยังไม่มีระบบแผนที่หรือเขตแดน ฉะนั้น ความพม่ากับไทย มันเกิดขึ้นภายหลัง ก่อนหน้านั้น ก็มีเพียงความอาณาจักรอ่ะเธอ ความ Games of Throne ใดๆ ความหงสาวดี ความอโยธยาก็เท่านั้น

แต่เทยก็จะไม่เล่าอะไรมากกับความคร่ำครึ ที่ทุกคนคงจะคุ้นชินกันมาแล้ว แต่ขอเขยิบเวลาให้มันใกล้เข้ามาอีกหน่อย กับเรื่องราวของ “พม่ายุคหลัง” ก่อนที่จะไปสู่ “พม่าใหม่” อย่างที่เราน่าจะใกล้ตัวมากกว่า

 ละคร เพลิงพระนางละคร เพลิงพระนาง

หากไม่นับบทเรียนประวัติศาสตร์ ที่จะขอให้ทุกคนเป๊ะกับมันก็คงยาก ความพม่าที่เราเห็นกันได้ในหน้าสื่อที่พอจะหยิบยกมาได้ และเป็นที่รู้จักกันดี ก็คือ “เพลิงพระนาง” ที่แม้ว่าเนื้อเรื่องจะบอกว่าเป็น “เมืองทิพย์” แต่แน่นอนว่า ทุกคนรู้ แฟนคลับรู้ ว่ามันคือ “พม่า” นั่นเอง

เดิมทีบทละครโทรทัศน์ “เพลิงพระนาง” นั้น ทางกันตนา ดัดแปลงมากจากหนังสือ “เที่ยวเมืองพม่า” ซึ่งเป็นพระนิพนธ์ของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ และหนังสือ “พม่าเสียเมือง” ของหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช ซึ่งทั้งสองเล่ม เป็นเรื่องราวสมมติแย่งชิงอำนาจกันจนนำไปสู่ความล่มสลายของบ้านเมือง ซึ่งตรงกับข้อเท็จจริงในประวัติศาสตร์ ช่วงที่กษัตริย์พม่าล่มสลาย จนนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองของประเทศนั่นเอง

 เจ้านางอนัญทิพย์ - พระนางปิ่นมณี ละคร เพลิงพระนางเจ้านางอนัญทิพย์ - พระนางปิ่นมณี ละคร เพลิงพระนาง

ซึ่งจริงๆ แล้ว “เพลิงพระนาง” ไม่ใช่เพียงเรื่องเดียว ที่พูดเรื่องความฟุ้งเฟ้อ ความแย่งชิงอำนาจในราชวงศ์กษัตริย์พม่าเท่านั้น ตัวละครหลายตัวในเรื่องเพลิงพระนางนั้น มีอยู่จริงในประวัติศาสตร์ อย่าง "เจ้านางอนัญทิพย์" นั้น ก็มีที่มาจาก “พระนางอเลนันดอ” ซึ่งความกระหายในอำนาจของพระนาง ก็เป็นที่เลื่องลือทีเดียว ซึ่งก็ปรากฏตรงกันในละครทุกเวอร์ชั่น รวมไปถึงรุ่นลูกของนาง ที่มีความโหดร้าย ถึงขั้น จับสังหารหมู่ คนในพระราชวังในคราวเดียวถึง 500 ศพ ซึ่งก็คือ “พระนางปิ่นมณี” ซึ่งมีที่มาจาก “พระนางศุภลัต” ที่กระทำการป่าเถื่อนเพื่ออำนาจตรงกันในหน้าประวัติศาสตร์

เจ้านางปัทมสุดา จากละคร รากนาคราเจ้านางปัทมสุดา จากละคร รากนาครา

ช่วงเวลาหากเทียบกันกับประวัติศาสตร์ไทย ก็อยู่ที่ราวๆ รัชกาลที่ 5 นะคะกะเทย ซึ่งในช่วงเวลาเดียวกันนั้น ละครไทยที่ยืนพื้นไทม์ไลน์เดียวกัน ก็คือรากนครา นั่นเอง ซึ่งหากจำกันได้ “มิ่งหล้า” ที่เป็นเจ้านางของเมืองเชียงเงิน ซึ่งกำลังอยู่ในภาวะอยากเป็นเอกราชจากสยาม ก็จำต้องส่งมิ่งหล้าไปเป็นเจ้านางของเมืองพม่า ซึ่งก็ต้องไปเจอกับความโหดร้ายของ เจ้านางปัทมสุดา (พระนางศุภลัต) อีกที

 ละคร เพลิงพระนางละคร เพลิงพระนาง

ซึ่งจากละครที่อยู่ในช่วงเวลาเดียวกันนี้ ก็กล่าวตรงกันว่า ความใคร่หลงในอำนาจของเมืองพม่า ทำให้ราชวงศ์ต้องพ่ายแพ้ต่อจักรวรรดิอังกฤษ ต่อ “พวกฝรั่งดั้งขอ” ที่เข้ามารุกราน และ Reform ประเทศเสียใหม่ ซึ่งในตอนจบของเพลิงพระนาง พระราชวัง ถูกปรับเป็นพิพิธภัณฑ์ให้ศึกษา คนทั่วไป “ไม่อินกับระบบราชวงศ์” แถมไม่รู้ว่า “เจ้านางอนัญทิพย์” คือใครอีกแล้ว แม้แต่ “อีตองนวล” ก็เป็นแค่คนบ้า ที่ยังบ้านั่งเสลี่ยงอยู่หน้าพิพิธภัณฑ์ นั่นเอง

ซึ่งในยุคต่อมา เมื่อ “พม่าเสียเมือง” แล้ว กลุ่มคนก็แตกกระสานซ่านเซ็นไปทั่วเลยแม่ ละครในช่วงปลายๆ 90’s มา 2000 อย่าง “เมืองดาหลา” ของค่ายเอ็กแซ็กท์ก็มีการกล่าวถึง “ชนกลุ่มน้อย” ที่รวมตัวกันเป็นอาณาจักร ที่คั่นระหว่างไทย ลาว พม่า วางตัวอยู่ในแถบสามเหลี่ยมทองคำ แน่นอนว่าความชนกลุ่มน้อย ก็จะมีความอยากตั้งตัวเป็นอิสระ อยากจะประกาศเอกราชไปตามๆ กัน ซึ่งก็พัวพันอยู่กับเรื่องกองกำลังปกป้องตนเอง เพื่อไม่ให้รัฐใหญ่ๆ อย่างพม่าหลัก หรือเขตแดนอื่นๆ เข้ารุกราน และผนวกอาณาจักรน้อยๆ ของตัวเองไปก่อน 

แน่นอนว่าก็จะพัวพันอยู่กับการคอรัปชั่นกับนักการเมืองไทย และยาเสพย์ติด เธอๆ ก็คงจะได้ยิน ได้ผ่านตากันมาบ้างกับละครไทยในช่วงนั้น ที่มีการเฝ้าระวังเขตแดนกันมิหวาดไหว ละครที่เกี่ยวกับ “ตำรวจตระเวนชายแดน” ก็มักจะวนเวียนอยู่กับสิ่งนี้ รวมถึงเหตุการณ์จริงอย่าง กบฎก๊อตอามี่ ใดๆ นั่นแหละเธอ

พอมาในยุคใหม่ เข้าสู่สังคมใหม่ พม่าพัฒนาตัวเองเป็นประชาธิปไตย คืนอำนาจสู่ประชาชน แต่ก็มีการผ่านรัฐประหารมาหลายครั้ง จากข่าวของอองซาน ซูจีที่ถูกทหารควบคุมตัวในบ้านพรรคไปหลายปี ได้ออกมาชนะเลือกตั้ง และมีปัญหาเรื่องโรฮิงญา จนนำมาสู่การรัฐประหารรอบนี้ ก็เห็นว่าเป็นการเดินทางของพม่าใหม่ ที่ไกลและมีความเปลี่ยนแปลงขึ้นลงอยู่ตลอดเวลาเลยล่ะเธอ

แน่นอน ของไทยก็ยังวนเวียนอยู่กับมองพม่าในแว่นหงสาวดี หรือความฟุ้งเฟ้อของเจ้านางพม่าอยู่อ่ะเนอะ ความกะเทย ความไทย

 

หรือมันอาจจะสะท้อนว่า ประชาคมอาเซียนร่วมใจ นี่เราแทบไม่ได้ก้าวไปไหนไกลเลยนะเธอ

เศร้าเว่อ

เหยี่ยวเทย รายงาน

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook