[ขุดหนังเก่ามารีวิว] The Butterfly Effect ยิ่งเปลี่ยนเท่าไหร่ ยังไงต้องมีคนต้องเจ็บ

[ขุดหนังเก่ามารีวิว] The Butterfly Effect ยิ่งเปลี่ยนเท่าไหร่ ยังไงต้องมีคนต้องเจ็บ

[ขุดหนังเก่ามารีวิว] The Butterfly Effect ยิ่งเปลี่ยนเท่าไหร่ ยังไงต้องมีคนต้องเจ็บ
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

 

The Butterfly Effect (2004) ผลงานการกำกับของอีริค เบรสและเจ. แมคกี้ย์ กรูเบอร์ถือเป็นหนังที่ประสบความสำเร็จทั่วโลก ท่ามกลางคำวิจารณ์ในแง่ลบ ซึ่งส่วนมากจะโจมตีไปยังนักแสดงนำอย่าง แอชตัน คุชเชอร์ที่โดนครหาว่าเขาคือตัวเลือกที่ผิดพลาดสำหรับหนังเรื่องนี้ แต่ในยุคสมัยนั้นก็คงปฏิเสธไม่ได้อยู่ดีว่าแอชตันนั้นเป็นนักแสดงดาวรุ่งที่สื่อแท็บลอยด์อเมริกาให้ความสนใจมากกว่าทักษะการแสดงของเขา

อันที่จริงบทบาทอีวาน ถือว่าเป็นบทที่สอดคล้องกับบุคลิกของแอชตัน ที่ไม่ได้ต้องการความเฉลียวฉลาด ที่มีบุคลิกของชายหนุ่มขี้แพ้ที่ดูหมดหวังในชีวิต แม้จะมีเส้นทางชีวิตที่ดีกว่าแต่เขาก็จะนำพาตัวเองไปสู่จุดที่เลวร้ายอยู่เสมอๆ ซึ่งเมื่อเราลองย้อนกลับไปวิเคราะห์ตัวละครอย่างอีวานและผองเพื่อนที่เขาเลือกคบนั้น จะพบว่าบรรดาตัวละครเดินเรื่องทั้งหมด อาทิเคย์ลีห์ (เอมี่ สมาร์ท) เลนนี่ (เอลเดน เฮนสัน) และ ทอมมี่ (วิลเลี่ยม ลี สก็อตต์) ล้วนแล้วแต่เป็นเยาวชนที่เติบโตมาท่ามกลางสภาพแวดล้อมที่ป่วยไข้ อาทิบ้านของเคย์ลีห์และทอมมี่ มีพ่อที่ชอบจับลูกมาล่วงละเมิดทางเพศ บ้านของเลนนี่ตามใจลูกและทำให้เขาขาดความมั่นใจ ส่วนอีวานมีอาการวูบและไม่สามารถจดจำเหตุการณ์วิกฤตในชีวิตอยู่บ่อยครั้ง ประกอบกับแม่ของเขาที่ต้องทำแต่งานเพื่อหาเงินมาเลี้ยงดู จึงไม่มีเวลาให้ความอบอุ่นกับลูกชายเท่าที่ควร

เมื่ออีวานเติบโตขึ้น มีชีวิตในรั้วมหาวิทยาลัยที่ไปได้สวย เมื่อเขาเดินทางกลับมายังบ้านเกิดเพื่อพบกับเคย์ลีห์ รักครั้งแรกของเขา อีวานไม่รู้เลยว่าการมาเธอนั้นจะเป็นชนวนที่ทำให้เคย์ลีห์ตัดสินใจฆ่าตัวตายเพื่อหนีความทุกข์ ไม่นานอีวานค้นพบว่าไดอารี่ที่เขามักจะจดบันทึกช่วงเวลาที่สำคัญต่างๆในชีวิต สามารถเป็นไทม์แมชชีนที่ทำให้เขาเดินทางย้อนเวลากลับไปแก้ไขเหตุการณ์ในอดีตได้ โดยที่เขาไม่รู้เลยว่าเมื่อเขาเปลี่ยนแปลงสิ่งหนึ่งในห้วงเวลา อนาคตทั้งหมดจะกลับตาลปัตร จากหน้ามือเป็นหลังมือทันที และในทุกความปรารถนาที่อีวานต้องการ มักจะต้องแลกมาด้วยความเจ็บปวดของใครสักคนในวงจรชีวิตของเขา

ความสนุกของ  The Butterfly Effect คือการที่ผู้ชมจะได้เฝ้ามองทางเลือกต่างๆที่อีวานปรารถนา แต่ในทุกครั้งที่เขาตัดสินใจแก้ไขสถานการณ์ต่างๆ เมื่อเราสังเกตให้ดีแล้ว เราจะพบว่า “วิธีการ” ที่เขาเลือกใช้ ล้วนแล้วแต่เป็นความรุนแรงที่สร้างบาดแผลให้กับคนอื่นๆรอบตัวไม่ว่าจะเป็นทางตรงหรือทางอ้อมอยู่ตลอดเวลา กระทั่งทางเลือกสุดท้ายที่เขาตัดสินใจในตอนจบด้วยก็ตาม ซึ่งอีวานอาจจะมองแล้วว่านั่นคือหนทางที่ “เจ็บปวด” น้อยที่สุดกับทุกคนก็เป็นได้

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook