"พระ" ในละครสะท้อนอะไร สภาพ! โดย แอดมินเพจกะเทยนิวส์

"พระ" ในละครสะท้อนอะไร สภาพ! โดย แอดมินเพจกะเทยนิวส์

"พระ" ในละครสะท้อนอะไร สภาพ! โดย แอดมินเพจกะเทยนิวส์
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

จริงๆ แล้วพระสงฆ์กับสังคมไทย ก็แทบไม่มีอะไรใหม่เลยนะเธอ ผูกจิตผูกพันกันมาแต่ไหนแต่ไร ไม่ว่าพระจะ Live สอนพระธรรมหรือไม่ ซึ่งในละครหรือซีรีส์ไทย ความพระ ความใดใด ก็เป็นส่วนช่วยในการสะท้อนภาพสังคมไทยที่มีต่อพระเช่นกันนะเธอ

สาธุ! บุคคล! เรามาดูเรื่องราวของพระในละครกันบ้าง

ศาสนาพุทธ และการบวชพระ เป็นสิ่งที่อยู่คู่สังคมไทยมานานมากแม่ นานแบบนานไม่ไหว กลมกลืนเป็นเนื้อเดียวกันมาตลอด และนี่คือสิ่งที่กะเทยจะลองแบ่งเป็นหัวข้อ ในสิ่งที่พระได้ปรากฏในละครไทยกันบ้างล่ะเธอ

 

  • บวชเรียน

ย้อนสมัยกลับไป การเป็นพระ บวชเรียน เป็นเสมือนโรงเรียนของอาณาจักรสยามมาแต่ก่อน เนื่องจากเราไม่มีโรงเรียน ลูกท่านขุนมูลนาย ต่างต้องส่งลูกชายเข้าบวชเรียนกันทั้งนั้น และการผ่านการบวชเรียนมากี่พรรษาก็แล้วแต่ ก็เป็นเครื่องยืนยันว่าชายเหล่านั้นสมชายมากแค่ไหน

ใน “วันทอง” ขุนแผนเป็นตัวละครที่บวชเรียนมามาก เก่งกล้าเรื่องวิชา และการบวชเรียนของขุนแผน ก็เป็นหนึ่งในเครื่องยืนยันการประสบความสำเร็จของชีวิต ถึงแม้จะเกิดการสึกเณรมาได้กับแม่วันทองกันกระทันหันก็ตามที ก็นับเป็นความสำเร็จของผู้ชายล่ะนะ

การบวชพระ เป็นพระ ก็เลยเป็นเครื่องยืนยันฐานะทางสังคมอย่างหนึ่งของสังคมไทยแหละเธอ

 

  • พระเพื่อปราบผี

หนึ่งในคอนเทนต์ละครไทยที่มีมานมนานแล้วเธอ ความผีไทยเนี่ย นางยืนหนึ่ง ยืนแรงมาตั้งแต่ไหนแต่ไรแล้ว ละครไทยทุกเรื่องที่เกี่ยวข้องความสยองขวัญ อย่างไรเสียก็ต้องมีพระมาปิดเกม มาเป็นที่พึ่งให้กับเรื่องราวนั้น หรืออาจจะถึงขั้นเคลียร์เรื่องราวต่างๆได้เลยในท้ายที่สุด

ต้นตำรับผีไทยหลายเรื่องถูกนำมาทำใหม่แล้ว “เปรต วัดสุทัศน์” ที่เคยขึ้นชื่อเรื่องความน่ากลัว เวียนว่ายตายเกิด ผีแค้นแล้วกลับมาทวงคืนทุกอย่าง ก็มีตัวละครเป็นพระ ที่คอยออกมาปราบให้สงบ ซึ่งการปราบของพระ จะมาปราบผีเหมือนกันไม่ได้ จะมาเป็นพ่อหมอมนต์ดำไม่ได้ ก็ต้องปรากฏกายในชุดผ้าเหลือง มาด้วยความสงบสำรวม และเชิญผีลงหม้อลงนรกไปเสีย 

บางเรื่องก็คือหลวงพี่มาแล้วได้ซีนกว่าพระเอกอีกนะเธอ บาปบุญ

 

  • พระเพื่อรับบทนางสอน

ในโลกของละครที่แสนวุ่นวาย ชิงดีชิงเด่น หรือแม้แต่มีปัญหาตั่งต่างมากมายในเส้นเรื่อง ตัวละครพระมักจะเติมรับเชิญเข้ามา เพื่อคอยให้คำปรึกษาให้ตัวละครนั้นๆสงบลงบ้าง เตือนสติบ้าง บ้างก็เตือนแล้วฟัง เตือนแล้วไม่ฟังก็แล้วแต่

ดังเช่น อาตง ลูกของแม่ย้อยใน “กรงกรรม” ในช่วงเวลาที่แม่ย้อยเต็มไปด้วยอคติจต่อเรณู แต่เวลาที่แม่ย้อยแวะมาวัด มาทำบุญกับลูกชาย หวังจะสึกลูกชายไปแต่งเมีย ตัวอาตงเองก็คอยเทศน์เตือนสติให้แม่ย้อยลดอคติลงบ้างนะแม่นะ

ในโลกจริงยิ่งแล้วใหญ่ หากจำกันได้ สมัยที่ละคร “ดอกส้มสีทอง” ที่ว่ามีเนื้อหาแรงๆ ออกอากาศตอนจบทีหนึ่ง ก็ต้องมีพระออกมาเทศน์ให้คนดูฟังอีกยก กลัวคนดูจะรับไม่ได้เชียวนะเธอ

 

  • บวชเพื่อหนีปัญหาและหลุดพ้น

เช่นเดียวกันกับการให้การบวชพระ กลายเป็นทางออก ทางจบของเรื่องราวตั่งต่าง เมื่อโลกอันวุ่นวาย ชิงดีชิงเด่น มันทำให้ตัวละครตั่งต่างนั้นเจ็บปวดรวดร้าวเสียไม่ปาน ก็คงได้เวลาที่ฉันจะละแล้ว เอาหัวใจถวายวัดเถอะเธอ ไม่เอาอีกแล้ว ไม่กลับสู่ถนนสายดราม่าอีกแล้ว

กฎเกณฑ์เงื่อนไขนี้ “นาคี” ก็นำเสนอออกมาให้เห็นเลย เมื่อทศพลไม่อาจจะครองรักกับคำแก้วได้อีก ทางออกก็คือไปบวชพระ เพื่ออุทิศส่วนบุญส่วนกุศลให้คำแก้วด้วยส่วนหนึ่ง และรักษาบาดแผลทางใจที่เจ็บช้ำด้วยนั่นเอง ซึ่งนอกจากนาคีแล้ว เหล่าเนื้อเรื่องที่เกี่ยวข้องกับผี ที่เคยรักกับพระเอกมาก่อน ตอนท้ายก็จบด้วยการที่พระเอกหนีบวชเช่นกัน

 

อย่างไรก็ตาม การหนีบวชนั้น ก็ไม่ใช่ว่าจะมีแต่ในฝั่งของพระเอก ตัวร้ายบางตัว ก็ใช้การหนีไปบวช เพื่อหลบเลี่ยงการตามล่าก็มีเหมือนกันนะตัวเธอว์

แม้ว่าบทบาทของพระในละครไทย จะไม่ได้ถอดภาพสิ่งที่พระไทยเป็นในสังคมออกมาได้ถูกต้องเป๊ะๆ แต่เราก็จะพอเห็นได้ว่าพระไทยตามแว่นของสื่อไทยนั้น มองพระเอาไว้ในรูปแบบไหนบ้าง ซึ่งมันก็ทำให้รู้ว่า ความพุทธไทยพระไทย บทบาทมันก็พอจะเดาทางได้อยู่นะเธอ

จะดีจะร้ายอย่างไร เราที่เป็นคนดู คงต้องลองใช้วิจารณญาณของเรา หมุนดูว่า “สภาพ” ของพระไทย มันขับชูอะไรให้คอนเทนต์บ้านเราบ้างนะเออ

 

เหยี่ยวเทย รายงาน

อัลบั้มภาพ 6 ภาพ

อัลบั้มภาพ 6 ภาพ ของ "พระ" ในละครสะท้อนอะไร สภาพ! โดย แอดมินเพจกะเทยนิวส์

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook