เกร็ดน่ารู้จาก The Princess and the Frog

เกร็ดน่ารู้จาก The Princess and the Frog

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ความสนุกสนานแบบอ๊บๆ อนิเมเตอร์และศิลปินฝ่ายพัฒนาวิชวลได้เชิญฝูงกบจริงๆ มาสตูดิโอเพื่อทำความเข้าใจกับสิ่งที่ทำให้กบเป็นกบ เจ้าหญิงคนที่เก้าของดิสนีย์ เทียนา เจ้าหญิงคนล่าของดิสนีย์ ได้ขึ้นเทียบชั้นกับสโนว์ไวท์, เจ้าหญิงนิทรา, ซินเดอเรลลา, เบลล์, แอเรียล, แจสมินและมู่หลาน โดย The Princess and the Frog เป็นภาพยนตร์เจ้าหญิงเรื่องแรกของดิสนีย์นับตั้งแต่ Mulan ซึ่งลงโรงในเดือนมิถุนายน ปี 1998 ช้าๆ ได้พร้าเล่มงาม อนิเมเตอร์คนหนึ่งใช้เวลาประมาณ 20 นาทีในการวาดภาพหนึ่งภาพใน The Princess and the Frog ทีมอนิเมเตอร์ใช้เวลา 20-40 ชั่วโมงในการสร้างรากฐานของซีนหนึ่งๆ ในเรื่อง และทีมงานก็ต้องใช้เวลาสองถึงสามเดือนในกระบวนการสร้างซีนๆ นั้น ก่อนที่มันจะกลายเป็นซีนที่มีสีสันสมบูรณ์ ฝนห่าใหญ่ รอน เคลเมนท์กำลังอยู่ในงานเทศกาลนิวออร์ลีนส์ แจ๊ส แอนด์ แฮร์ริแทจ ในตอนที่เขาเจอฝนตกห่าใหญ่เข้าจนต้องหลบใต้โต๊ะ ภายหลัง เคลเมนท์ได้เพิ่มซีนในที่ราบลุ่มน้ำ ซึ่งเทียนาและเจ้าชายนาวีนติดฝนเข้าไปด้วย เจอไอ้เข้ เชฟชื่อดัง เอเมอริล ลาแก๊ส ให้เสียงพากย์จระเข้มาร์ลอน เป่าปี่ด้วยตัวเอง เทอร์เรนซ์ บลังชาร์ด นักดนตรีแจ๊สและนักทรัมเป็ตในตำนานชาวนิวออร์ลีนส์เป็นผู้เล่นส่วนที่เป็นทรัมเป็ตทั้งหมดของหลุยส์ในภาพยนตร์เรื่องนี้ และเขายังพากย์เสียงหัวหน้าวง เอิร์ล ในวงดนตรีบนเรือล่องแม่น้ำอีกด้วย ลองนึกดูสิ ทีมผู้สร้างถ่ายภาพทิวทัศน์สำคัญๆ กว่า 50,000 ภาพเพื่อใช้เป็นข้อมูลอ้างอิงและแรงบันดาลใจ ซึ่งมันรวมทั้งอาคารบ้านเรือน ร้านอาหารและเขตการ์เดน ดิสทริคด้วย ทุกคนรักพาเหรด ทีมผู้สร้างได้รับคำเชิญให้ร่วมงานมาร์ดิกราสบนขบวนแห่ ในตอนจบของเรื่อง มีภาพล้อเลียนผู้กำกับที่หว่านเม็ดลูกปัดลงจากขบวนแห่ระหว่างพาเหรดงานเลี้ยงแต่งงานด้วย งานบุญ ระหว่างที่อยู่ในนิวออร์ลีนส์ ผู้กำกับรอน เคลเมนท์และจอห์น มัสเกอร์ รวมถึงผู้อำนวยการสร้างพีท เดล เวโค ได้อาสาช่วยองค์กรแฮบิแทท ฟอร์ ฮิวแมนิตี้ ในการช่วยฟื้นฟูนิวออร์ลีนส์ขึ้นมาใหม่ คนกันเอง ตัวละครแบ็คกราวน์บางตัวยทำเองนี่แหละ ผู้ชายขี่ม้าในตอนซีเควนซ์เปิดเรื่องมีต้นแบบจากซูเปอร์ไวซิง อนิเมเตอร์ อีริค โกลด์เบิร์ก ตัวละครที่มีหน้าตาเหมือนกับผู้อำนวยการสร้างปีเตอร์ เดล เวโคเต้นแทงโก้อยู่กลางฟลอร์ในงานเลี้ยงแฟนซี สาวๆ ที่ปลื้มเจ้าชายนาวีนได้ต้นแบบจากสมาชิกในทีมงานสร้าง มาร์ลอน เวสต์ (ซูเปอร์ไวเซอร์ฝ่ายเอฟเฟ็กต์) และบรูซ สมิธ (ซูเปอร์ไวซิง อนิเมเตอร์) เป็นแรงบันดาลใจให้กับเพื่อนๆ ของเทียนาในคาเฟ และตัวละครที่เหมือนมือเขียนบท ร็อบ เอ็ดเวิร์ดส์ก็เป็นส่วนหนึ่งของวงดนตรี ดอน ฮอลล์ หัวหน้าฝ่ายเรื่องราว ให้เสียงพากย์ ดาร์เนล ส่วนศิลปินสตอรีบอร์ด พอล บริกสพากย์เสียง ทู ฟิงเกอร์ส คนเก่งประจำถิ่น ทรอมโบน ช็อร์ตตี้ นักดนตรีท้องถิ่นที่โด่งดัง เป็นผู้เล่นเพลง Down in New Orleans และอัล เฮบรอน ไกด์ประจำท้องถิ่นของทีมผู้สร้างก็ถูกทาบทามให้พากย์เสียงกัปตันเรือล่องแม่น้ำ

มากพรสวรรค์ เทอร์เรนซ์ ไซมอน นักดนตรีเจ้าของรางวัลแกรมมี อวอร์ด เล่นแอ็คคอร์เดียน, รับ บอร์ด, ไทรแองเกิลและสควีซบ็อกซ์ในเพลงไซเดโคที่มีชื่อว่า "Gonna Take You There." แสงสว่างจากภายใน แรนดี้ นิวแมน พากย์เสียงหิ่งห้อยแรนดี้ ที่เป็นตัวล้อเลียนนักประพันธ์เพลงชื่อดังผู้นี้เอง จริงๆ แล้ว นิวแมนก็ได้พากย์เสียงตัวละครหลายตัวในภาพยนตร์เรื่องนี้ ซึ่งรวมถึงตัวแร็คคูนและเต่าด้วย แต่มีหิ่งห้อยเท่านั้นที่รอดพ้นจากการโดนตัดทิ้ง เล่นอีกสิ หนึ่งในฉากที่น่าตื่นเต้นที่สุดสำหรับผู้กำกับรอน เคลเมนท์คือตอนที่แรนดี้ นิวแมนเล่นเพลงแรกให้เขาฟังเป็นการส่วนตัว เคลเมนท์มาถึงก่อนเวลาสำหรับเซสชันบันทึกเสียงที่บ้านของนิวแมน และนิวแมนก็ได้เล่นเพลงแรกที่เขาแต่งขึ้นเพื่อภาพยนตร์เรื่องนี้ให้เคลเมนท์ฟัง ไพเราะเสนาะหู ดนตรีมีบทบาทสำคัญต่อวิถีชีวิตชาวนิวออร์ลีนส์มากเสียจนทีมผู้สร้างรู้สึกว่าเป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องสะท้อนถึงความหลากหลายนั้นลงในภาพยนตร์ คอมโพสเซอร์เจ้าของรางวัลออสการ์ แรนดี้ นิวแมน (Cars, Monsters, Inc., Toy Story) ได้แต่งดนตรีประกอบภาพยนตร์นี้ขึ้นมาในสไตล์ที่หลากหลาย ซึ่งร บลูส์, กอสเปลและไซเดโค และมีเพลงเจ็ดเพลงใหม่ด้วย พฤติกรรมของสัตว์ ผู้กำกับจอห์น มัสเกอร์และรอน เคลเมนท์ ไปเยี่ยมชมสวนสัตว์นิวออร์ลีนส์ ออดูบอน เพื่อหาแรงบันดาลใจ พวกเขาได้เห็นจระเข้ท้องถิ่น ซึ่งเป็นแรงบันดาลใจสำหรับจระเข้ที่เล่นทรัมเป็ตได้ของเรื่อง และนกปากช้อน ซึ่งเป็นแรงบันดาลใจสำหรับนกในเพลงกอสเปลของมามา โอดี้ที่ชื่อ Dig A Little Deeper ฟังสิ ซาวน์ ดีไซเนอร์ โอเดน เบนิเตซ เดินทางไปยังจัตุรัสแจ็คสันในนิวออร์ลีนส์เพื่อบันทึกเสียงของระฆังจากโบสถ์และรถตามท้องถนน ตำนาน หนึ่งในการเดินทางไปนิวออร์ลีนส์ที่น่าตื่นเต้นที่สุดสำหรับผู้กำกับรอน เคลเมนท์และจอห์น มัสเกอร์คือตอนที่พวกเขาบันทึกเสียงดร.จอห์นและแรนดี้ นิวแมน ที่สตูดิโอบันทึกเสียงในท้องถิ่น เดอะ มิวสิค เช็ด (ซึ่งดูเหมือนกระท่อมเหล็กลอนลูกฟูกมากกว่า) นอกจากนี้ ยังมีการบันทึกเสียงคณะนักร้องประสานเสียงกอสเปลในสตูดิโอแห่งนั้น ซึ่งเป็นสถานที่บันทึกเสียงของศิลปินชื่อดังอย่างโรเบิร์ต แพลนท์, แฟ็ท โดมิโนและนอราห์ โจนส์อีกด้วย ทั้งดร.จอห์นและนิวแมนต่างก็มีความผูกพันกับนิวออร์ลีนส์อย่างแน่นแฟ้น การค้นคว้าเบื้องลึก ทีมผู้สร้างได้จับทัวร์ล่องแม่น้ำนานเชซเพื่อรับประกันความสมจริงของฉากเรือล่องแม่น้ำ นอกจากนี้ พวกเขายังออกทัวร์เพื่อสำรวจระบบรถรางในนิวออร์ลีนส์อีกด้วย

อัลบั้มภาพ 4 ภาพ

อัลบั้มภาพ 4 ภาพ ของ เกร็ดน่ารู้จาก The Princess and the Frog

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook