มาดูกฎบ๊องๆ ของออสการ์
หมดสิทธิ์เข้าชิงรางวัลออสการ์ไปหนึ่งสาขาซะแล้ว สำหรับ The Dark Knight เมื่อคณะกรรมการตัดสินออกมาประกาศว่า ดนตรีประกอบของหนังเรื่องนี้ ผิดกฏของออสการ์ เพราะว่ามีชื่อผู้แต่งมากเกินไป! อันที่จริงเครดิตคอมโพเซอร์ใน The Dark Knight นั้นเป็นของ ฮานส์ ซิมเมอร์ และ เจมส์ นิวตัน โฮเวิร์ด แต่ในปกซีดีซาวด์แทร็คมีชื่อผู้แต่งถึง 5 คน สงสัยออสการ์จะคิดว่าถ้าเกิดหนังได้รางวัลขึ้นมา คงไม่รู้จะแจกรางวัลให้ใครดีนี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่ออสการ์ตัดสิทธิ์การเข้าชิงรางวัลด้วยเหตุผลแปลกๆ ที่ผ่านมามีหนังหลายเรื่องโดนข้อหาที่คนทั่วไปไม่สามารถเข้าใจได้ และนี่คือรายชื่อหนังที่โชคร้ายเหล่านั้น
The Jazz Singer (1927)
ย้อนกลับไปในงานแจกรางวัลออสการ์ครั้งแรกสุดเลย ในยุคนั้นหนังส่วนใหญ่ยังเป็นหนังเงียบ แต่ The Jazz Singer เป็นหนังสร้างปรากฏการณ์ใหม่ด้วยการมีทั้งเสียงพูด และเสียงเพลงอยู่ในหนัง จนสร้างความฮือฮาได้มากมาย แต่ออสการ์กลับตัดสิทธิ์ไม่ให้เข้าชิงในสาขาภาพยนตร์ยอดเยี่ยม เพราะว่าเป็นหนังที่มีเสียง เป็นนัยว่าอาจจะเป็นการเอาเปรียบหนังเรื่องอื่นๆ ที่เขาไม่มีเสียงกันแต่หนังกลับได้เข้าชิงสาขาบทภาพยนตร์ยอดเยี่ยมเฉยเลย ทว่าสิ่งที่วอร์เนอร์ บราเธอร์สเจ้าของหนังน่าจะภูมิใจ (หรือเจ็บใจ) ที่สุด ก็คือออสการ์มอบรางวัลปลอบใจให้เป็น
Young Americans (1967)หนังสารคดีเกี่ยวกับเด็กหนุ่มอเมริกันในวงประสานเสียงเรื่องนี้ ถูกยึดรางวัลภาพยนตร์สารคดียอดเยี่ยมประจำปี 1969 หลังจากที่หนังได้รับรางวัลไปแล้วซะงั้น เป็นเพราะว่าหลังจากที่หนังได้รับรางวัลไปแล้วประมาณสองสัปดาห์ ออสการ์เพิ่งจะมารู้ว่าหนังสารคดีเรื่องนี้ออกฉายตั้งแต่เดือนตุลาคม ปี 1967 ซึ่งนั่นหมายความว่าหนังควรจะเข้าชิงรางวัลประจำปี 1968 ไม่ใช่ 1969 ก็เลยยึดรางวัลคืนเสียเลย อเล็กซานเดอร์ กราสฮอฟฟ์ ผู้กำกับของหนังสารคดีเรื่องนี้ เพิ่งจะเสียชีวิตลงเมื่อเดือนเมษายนปีนี้ ภรรยาม่ายของเขาออกมาบอกว่า สามีของเขาหัวใจสลายอย่างหนัก ตอนที่รู้ว่าโดนยึดรางวัลคืน หลังจากเอาไปนอนกอดได้เพียงไม่กี่วัน ...เรื่องมันเศร้า
The Godfather (1972)
ภาคแรกของหนังมาเฟียคลาสสิคเรื่องนี้ เข้าชิงออสการ์ถึง 11 รางวัล (ชนะ 3) แต่มีสาขาหนึ่งที่ถูกตัดสิทธิ์หลังจากประกาศรายชื่อผู้เข้าชิงไปแล้ว คือสาขาดนตรีประกอบยอดเยี่ยม โดยให้เหตุผลว่า บางแทร็คในดนตรีประกอบที่ นีน่า โรต้า แต่งนั้น เคยถูกใช้มาแล้วในหนัง Fortunella (1958) ซึ่งเขาเคยเป็นคอมโพเซอร์ ซึ่งกฎบอกไว้ชัดเจนว่า ดนตรีประกอบต้องถูกแต่งขึ้นมาเพื่อหนังเรื่องที่เข้าชิงโดยเฉพาะแต่นั่นยังไม่เท่าไหร่ เพราะอีก 2 ปีต่อมา The Godfather: Part II กลับได้เข้าชิงสาขาดนตรีประกอบยอดเยี่ยมอีกครั้ง แถมยังได้รางวัลอีกแน่ะ ทั้งๆ ที่ก็เป็นทำนองเพลงเดียวกับที่เคยใช้ในภาคแรกนั่นแหละ เรื่องมีอยู่ว่าออสการ์เกิดเปลี่ยนกฎใหม่ งานนี้โรต้าก็เลยปฏิเสธไม่ไปรับรางวัลในงานมันเสียเลย!
Moulin Rouge! (2001)
Come What May เพลงเอกของหนังเพลง Moulin Rouge! หมดสิทธิ์เข้าชิงสาขาเพลงประกอบยอดเยี่ยม เพราะ เดวิด เบเออวัลด์ ผู้แต่งเพลง ดันออกมาบอกก่อนหน้านี้ว่า อันที่จริงเพลงนี้ไม่ได้ถูกแต่งขึ้นมาเพื่อหนังเรื่อง Moulin Rouge! ตั้งแต่แรก แต่แต่งขึ้นมาสำหรับ Romeo+Juliet หนังเรื่องก่อนหน้าของผู้กำกับ บาซ เลอห์มานน์ แต่สุดท้ายไม่ได้ใช้ จึงโดนตัดสิทธิ์เสียเลย ทั้งๆ ที่เพลงนี้ถูกใช้ใน Moulin Rouge! แบบเต็มๆและเข้ากับเนื้อหาของหนังเป็นอย่างดี
ส่วนเพลงที่ได้รับรางวัลในปีนั้นคือ If I Didn’t Have You จาก Monsters, Inc. (2001) แอนิเมชั่น
ของดิสนีย์ ซึ่งเป็นเพลงที่เปิดในเครดิตท้ายเรื่อง และไม่ได้มีอะไรเกี่ยวข้องกับตัวหนังเลย
Fahrenheit 9/11 (2004)
หนังสารคดีเรื่องอื้อฉาวของอีตาไมเคิล มัวร์ อดเข้าชิงสาขาภาพยนตร์สารคดียอดเยี่ยม เนื่องจากดันไปฉายทางโทรทัศน์เร็วไปหน่อย เพราะว่าออสการ์กำหนดไว้ว่าหนังสารคดีที่มีสิทธิ์เข้าชิง ต้องไปฉายทางทีวีได้หลังจากฉายในโรงไปแล้ว 9 เดือน เหตุที่เขาใจร้อนรีบเอาไปฉายทางทีวีในเดือนพฤศจิกายน ปี 2004 เพราะต้องการให้หนังจูงใจคนในวงที่กว้างขึ้น เพื่อให้มีผลต่อการเลือกตั้ง อันเป็นจุดประสงค์ดั้งเดิมของหนังอยู่แล้ว แต่ก็ยังหวังว่าหนังจะมีโอกาสเข้าชิงสาขาภาพยนตร์ยอดเยี่ยม เพราะกฎไม่เหมือนกัน (ระหว่างสาขาภาพยนตร์ และภาพยนตร์สารคดี...งงไหม) สุดท้ายหนังก็ไม่ได้เข้าชิงออสการ์เลยแม้แต่สาขาเดียว และยิ่งไปกว่านั้นจอร์จ ดับเบิ้ลยู. บุช
The Band’s Visit (2007)
หนังสัญชาติอิสราเอล เกี่ยวกับตำรวจชาวอียิปต์กลุ่มหนึ่ง ที่ไปหลงอยู่ในเมืองเล็กๆ ในประเทศอิสราเอล หนังไปกวาดรางวัลตามเทศกาลภาพยนตร์หลายประเทศ และมีโอกาสเข้าชิงออสการ์ในสาขาภาพยนตร์ภาษาต่างประเทศยอดเยี่ยม แต่ติดปัญหาใหญ่ตรงที่ว่าถึงจะเป็นหนังต่างประเทศ แต่ตัวละครในหนังเรื่องนี้ พูดภาษาอังกฤษกันเกือบทั้งเรื่อง
ดังนั้นเมื่อชื่อรางวัลก็บอกอยู่แล้วว่าต้องเป็นภาพยนตร์ “ภาษาต่างประเทศ” เมื่อคณะกรรมการดูหนังเรื่องนี้ไปได้แค่ครึ่งเรื่อง แล้วพบว่าตัวละครพูดกันแต่ภาษาอังกฤษ ก็เลิกดูทันที และตัดสิทธิ์หนังเรื่องนี้ออกจากการเข้าชิงรางวัลสาขาภาพยนตร์ “ภาษาต่างประเทศ” ยอดเยี่ยม อืม...มันเป็นเช่นนี้เอง
There Will Be Blood (2007)
ดูเหมือนว่าสาขาดนตรีหรือเพลงประกอบของออสการ์ จะมีอะไรให้ถกเถียงกันบ่อยที่สุด เพราะเมื่อครั้งที่แล้วก็ยังมีปัญหา เมื่อดนตรีประกอบของ จอนนี่ กรีนวู้ด มือกีต้าร์แห่งวง Radio Head ในหนัง 2 รางวัลออสการ์เรื่องนี้ ถูกตัดสิทธิ์ไม่ให้เข้าชิง เนื่องจากคณะกรรมการพิจารณาแล้วว่า ดนตรีประกอบทั้งหมด 35 นาทีของกรีนวู้ดในหนังเรื่องนี้ ถูกดัดแปลงมาจากงานดนตรีที่เขาเคยทำมาก่อนหน้านี้ถึง 15 นาที ทำให้ถูกตีตราว่า “Original” ไม่พอสำหรับสาขา “Original Score” ยังดีที่ตัดสิทธิ์ตั้งแต่ยังไม่ได้เข้าชิง เพราะถ้าเกิดเข้าชิงแล้วได้รางวัลขึ้นมา แล้วมายึดคืนเอาทีหลัง แบบนั้นจะน่าช้ำใจยิ่งกว่า เหมือนที่กราสฮอฟฟ์เคยโดนมาแล้ว
ขอขอบคุณเนื้อหาสนุบสนุนจาก