ประกาศผลรางวัล STARPICS THAI FILMS AWARDS 7

ประกาศผลรางวัล STARPICS THAI FILMS AWARDS 7

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
กลับมาอีกครั้งหนึ่ง กับประเพณีประจำปีของนิตยสาร Starpics ที่จะมอบรางวัลให้กับภาพยนตร์ไทยที่มีผลงานเข้าตาน่าประทับใจ โดยได้จัดขึ้นเป็นครั้งที่ 7 ติดต่อกัน ด้วยเจตนารมณ์เดิม นั่นคือการบันทึกผลงานไว้เป็นเกียรติและกำลังใจแก่ผู้สร้างภาพยนตร์ไทย ภาพยนตร์ไทยที่เข้าฉายในโรงภาพยนตร์เพื่อการค้า ระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2552 31 ธันวาคม 2552 โดยไม่เกี่ยงว่าเป็นภาพยนตร์ของค่ายใด หรือออกฉายกว้างขวางแค่ไหน จะได้รับการพิจารณารางวัลในทุกสาขา ไม่มีการยกเว้น เพื่อเฟ้นหาภาพยนตร์ที่ควรค่าแก่การกล่าวถึงหรือได้รับรางวัล เช่นเดิม คณะกรรมการจะตัดสินรางวัลในทุกสาขาด้วยการลงคะแนนอย่างเปิดเผย ยกเหตุผลขึ้นมาถกเถียง นำเสนอมุมมองของตนเองอย่างตรงไปตรงมา เพื่อให้ได้ผลการตัดสินที่โปร่งใสที่สุด จนได้ผู้ชนะซึ่งไม่มีใครคัดค้านการได้รางวัล หลังได้รับคะแนนสูงสุดจากการยกมือตัดสิน สำหรับการตัดสินว่านักแสดงคนใดจะถือว่าเป็นบทนำหรือบทสมทบ ประเด็นนี้เริ่มเป็นคำถามหนาหูขึ้น เนื่องจากในช่วงหลัง มีภาพยนตร์แนวหลากชีวิต หรือการนำหนังสั้นหลายตอนมาฉายควบรวมกันเป็นหนังยาว โดยเฉพาะกรณีเช่น สี่แพร่ง เมื่อปีที่แล้ว ซึ่งทางคณะกรรมการของเราได้มีมติให้ถือเป็นบทสมทบทั้งหมด แม้ว่าบางสถาบันจะถือเป็นบทนำ เช่นกรณี เฌอมาลย์ บุญยศักดิ์ และ มณีรัตน์ คำอ้วน แต่บทในลักษณะเดียวกันของ โฟกัส จีระกุล (ปิดเทอมใหญ่ หัวใจว้าวุ่น) กลับถือเป็นบทสมทบ ทั้งที่พิจารณากันจริงๆ แล้ว น่าจะถือว่าเป็นนักแสดงนำในเนื้อเรื่องส่วนของตนเช่นกัน ดังนั้น คณะกรรมการจึงยืนมติเดิมว่านักแสดงเหล่านั้นถือเป็นนักแสดงสมทบ เว้นแต่หากมีการเชื่อมเรื่องราวอย่างเป็นเหตุเป็นผลกัน และมีเจตนาที่จะเล่าเรื่องโดยไม่แยกส่วนออกจากกัน เช่น มหาลัยสยองขวัญ อันจะทำให้ ปานวาด เหมมณี อยู่ในสถานะเป็นผู้รับบทนำ เป็นต้น และต่อไปนี้คือรายนามผู้เข้าชิง, ผู้ได้รับรางวัล และภาพรวมของการพิจารณาตัดสินในครั้งนี้... ภาพยนตร์ยอดนิยม ผู้ได้รับรางวัล: จีทีเอช จาก รถไฟฟ้า มาหานะเธอ แบบสอบถามความเห็นปลายปีของผู้อ่าน Starpics ยังคงเป็นตัวตัดสินรางวัล ภาพยนตร์ยอดนิยม ซึ่งจะทำให้เราได้เห็นว่า ในบรรดาภาพยนตร์ที่เข้าฉายนั้น ไม่ว่าจะทำเงินมหาศาลหรือน้อยนิดติดดิน เรื่องใดที่ติดอยู่ในใจของคนดูมากที่สุด มีหนังหลายเรื่องที่ได้รับเสียงโหวตเข้ามาอย่างคับคั่ง ไม่ว่าจะเป็นหนังทริลเลอร์สืบสวนมืดหม่นอย่าง เฉือน หนังรักสองช่วงวัย ความจำสั้น แต่รักฉันยาว และหนังตลกรื่นรมย์ แหยมยโสธร 2 กับ วงษ์คำเหลา แต่สุดท้ายหนังที่ได้คะแนนสูงสุดสูสีกันสองเรื่อง คือ รถไฟฟ้ามาหานะเธอ และ 5 แพร่ง (หนังที่ทำรายได้สูงสุดสองอันดับแรกของปี) ในที่สุด รถไฟฟ้าฯ ขบวนนี้ก็วิ่งหนีผีเข้าสู่สถานีได้ในที่สุด ความรู้สึกของผู้ได้รับรางวัล ภูมิใจกับรางวัลที่ได้ครับ ขอขอบคุณ GTH ขอบคุณพี่เก้งที่ให้โอกาสทำหนังเรื่องนี้ ขอบคุณ BTS ด้วย ถ้าไม่มี BTS ก็คงทำหนังเรื่องนี้ไม่ได้ รวมถึงทุกคนที่เกี่ยวข้องกับหนังเรื่องนี้... จุดเด่นที่ทำให้หนังประสบความสำเร็จ ผมขอยกให้หน้าหนัง ดารานำที่ดึงคนเข้ามาดู ผมอยากให้เครดิตกับทุกองค์ประกอบในหนัง แม้แต่เรื่องของโชค-ดวง จังหวะวันเข้าฉาย ประสบการณ์ที่ผ่านมาจากหลายๆ เรื่อง วันเข้าฉายก็เป็นอีกเรื่องที่คนทำหนังควรใส่ใจ นอกเหนือจากคุณภาพหนังซึ่งต้องใส่ใจอยู่แล้ว อดิสรณ์ ตรีสิริเกษม ภาพยนตร์ยอดนิยม (รถไฟฟ้า มาหานะเธอ) ดนตรีประกอบยอดเยี่ยม ผู้ได้รับรางวัล: October Sonata รักที่รอคอย ก้านกล้วย ๒ ชาติชาย พงศ์ประภาพันธ์ ความสุขของกะทิ นภ พรชำนิ และ คานธี อนันตกาญจน์ เฉือน ไวลด์ แอท ฮาร์ท A Moment in June ณ ขณะรัก โรเบิร์ต วอล์คเกอร์ October Sonata รักที่รอคอย ไกวัล กุลวัฒโนทัย ดนตรีประกอบใน ความสุขของกะทิ ส่งเสริมบรรยากาศของหนังได้ดี เฉือน มีงานดนตรีชวนหวนหาอดีต (nostalgia) โดยเฉพาะในช่วงที่หนังเล่าเรื่องย้อนเวลา และยังสอดรับกับห้วงความคิดของตัวละครในเวลานั้นๆ ได้เหมาะเจาะ ก้านกล้วย ๒ ดนตรีประกอบสื่อถึงปมในจิตใจและบุคลิกของตัวละคร และเสริมความสมบูรณ์ด้านอารมณ์ความรู้สึก รวมทั้งใช้ลักษณะดนตรีทั้งฝั่งตะวันออกกับตะวันตกมาผสานกันได้อย่างกลมกลืน สองเรื่องที่มีการถกเถียงกันมากที่สุด คือ A Moment in June และ October Sonata โดยเรื่องแรกได้รับเสียงชื่นชมในการใช้ดนตรีเพื่อแบ่งโลกความจริงและโลกสมมติในหนัง ใช้เพลงเพื่อเล่าเรื่องอย่างประทับใจ ส่วนเรื่องหลัง โดดเด่นที่การออกแบบเพลงธีมของตัวละครได้ลงตัว จังหวะของการใช้เพลงคลอเพื่อสร้างอารมณ์ตลอดเวลาในหนังก็ทำได้ดี ท้ายที่สุดแล้ว ความโดดเด่นในแง่การสร้างอารมณ์ของ October Sonata ก็สามารถเบียดเอาชนะความโดดเด่นในการเล่าเรื่องของ A Moment in June ไปได้ ความรู้สึกของผู้ได้รับรางวัล รู้สึกยินดีครับที่ได้รางวัล ผมพยายามทำดนตรีให้เข้ากับหนังมากที่สุด หนังเรื่องนี้ไม่ใช่หนังตลาดทั่วไปที่ต้องเร่งเร้าอารมณ์ หรือมีความโฉ่งฉ่าง เป็นความสนุกสนานแบบไปเรื่อยๆ ตัวหนังมีการสื่อสารกับคนดูในระดับค่อนข้างลึกและช้า หนังเรื่องนี้เสนอเหตุการณ์ย้อนยุค แต่ผู้กำกับไม่อยากได้ดนตรีย้อนยุค ดนตรีในหนังเรื่องนี้หลักๆ จึงเป็นการเล่าอารมณ์ความรู้สึกของตัวละคร ไกวัล กุลวัฒโนทัย - ดนตรีประกอบยอดเยี่ยม (October Sonata รักที่รอคอย) กำกับศิลป์ยอดเยี่ยม ผู้ได้รับรางวัล: October Sonata รักที่รอคอย 5 แพร่ง -คะนึง ดำแก้ว, คมกฤช ชักนำ, สุธรรม วิลาวัลย์เดช และ สุราษฎร์ กาฎีโรจน์ ความสุขของกะทิ เอกรัฐ หอมลออ และ ธรรมรงรัตน์ วานิชสมบัติ เฉือน ธนะ เมฆาอัมพุท และ วุฒิกร ศรีโพธิ์ทอง A Moment in June ณ ขณะรัก โทโมยะ อิมาอิ และ พลเอก สังฆคุณ October Sonata รักที่รอคอย - ศักดิ์ศิริ จันทรังษี และ วิทยา ชัยมงคล 5 แพร่ง ออกแบบงานสร้างได้สมจริง เหมาะกับตัวเรื่องที่เป็นหนังสยองขวัญ มีความหลากหลาย ความสุขของกะทิ มีความแปลกเตะตาที่ความสวยงามของภาพต่างๆ ที่ถอดแบบจากบทประพันธ์ และยังใช้การเปรียบเทียบความต่างระหว่างเมืองกับชนบทได้ดี A Moment in June โดดเด่นในการออกแบบฉากเพื่อเชื่อมโยงเรื่องราว โดยเฉพาะการออกแบบฉากละครเวที เพื่อใช้ตัดซ้อนเข้ากับโลกแห่งความเป็นจริงอย่างแนบเนียน เป็นงานที่ทำได้ยากและเปี่ยมด้วยความสร้างสรรค์ เฉือน กับ October Sonata เป็นสองผู้นำในสาขานี้ ความโดดเด่นประการสำคัญของ October Sonata คือเนื้อเรื่องที่กินเวลาข้ามยุคสมัยเกือบยี่สิบปี มีการเปลี่ยนแปลงทั้งการผุพังของสิ่งปลูกสร้าง จนถึงแฟชั่นที่ปรับไปตามเวลาที่ผันผ่าน ซึ่งออกแบบได้แม่นยำตรงสมัยและกลมกลืนกับตัวหนังอย่างยอดเยี่ยม ขณะที่ เฉือน โดดเด่นในการออกแบบเพื่อสื่อความหมาย มีการออกแบบเพื่อเป็นสัญลักษณ์ (symbolic) อย่างจัดจ้าน เตะตาและเสริมความมืดหม่นของโทนเรื่องได้น่าพอใจ ไม่ว่าจะเป็นเนื้อเรื่องในส่วนของเมืองหรือชนบท จากความลงตัวกลมกลืนที่มีมากกว่า ทำให้การเชือดเฉือนกันของงานกำกับศิลป์ชั้นอ๋องทั้งสองเรื่อง จบลงด้วยชัยชนะของ October Sonata ความรู้สึกของผู้ได้รับรางวัล ผมว่าหนังเรื่องนี้เป็นหนังที่ดี... คือเริ่มจากบทที่ดี ผู้สร้างมีความตั้งใจจะทำหนังที่มีความประณีต ในฐานะผู้รับผิดชอบงานสร้าง ผมภูมิใจและมีความยินดีที่ได้ร่วมงานครั้งนี้... สิ่งที่เราช่วยคิดเพิ่มคือพยายามโน้มน้าวให้หาทะเลที่มีคลื่น ตั้งแต่ตอนอ่านบท เราเชื่อว่าความปั่นป่วนของท้องทะเลเป็นภาพที่น่าจะสะท้อนอารมณ์ความรู้สึกข้างในของตัวละคร เพราะฉะนั้นการเลือกโลเคชั่นก็จะเป็นแบบนั้น พอได้โลเคชั่น เราสร้างบ้านหลังนั้นริมทะเล โดยต้องคำนึงถึงทิศขึ้น-ลงของพระอาทิตย์ พระจันทร์ เพราะมันคือสัญลักษณ์หนึ่งของหนังเรื่องนี้ ศักดิ์ศิริ จันทรังษี และ วิทยา ชัยมงคล กำกับศิลป์ยอดเยี่ยม (October Sonata รักที่รอคอย) ลำดับภาพยอดเยี่ยม ผู้ได้รับรางวัล: เฉือน เฉือน สุนิตย์ อัศวินิกุล, พรรณิภา กบิลลิกกะวานิชย์ และ เหมือนฝัน อุปถัมภ์ ท้า/ชน ศักดิ์นคร เนตรหาญ และ อดิเรก วัฏลีลา พลเมืองจูหลิง สมานรัชฏ์ กาญจนวณิชย์ A Moment in June ณ ขณะรัก ลี ชาตะเมธีกุล October Sonata รักที่รอคอย สุนิตย์ อัศวินิกุล, พรรณิภา กบิลลิกกะวานิชย์ และ เหมือนฝัน อุปถัมภ์ ท้า/ชน เป็นตัวอย่างที่ดีของการลำดับภาพในหนังแอ็คชั่น ด้วยการเลือกภาพที่สอดรับกันดีและช่วยสร้างความตื่นเต้นลุ้นระทึก ทั้งยังมีการลำดับภาพข้ามไปมาระหว่างกล้องฟิล์มและกล้องดิจิตอลที่แนบเนียน October Sonata มีจุดเด่นที่ไม่หนักมือและยืดเยื้อจนเกินไป ทั้งที่เป็นหนังรักเร้าอารมณ์ ใช้จังหวะได้เหมาะสม การลำดับภาพช่วยสร้างความโรแมนติกให้หนัง พลเมืองจูหลิง ซึ่งมีความยาวถึง 222 นาที มีจังหวะการลำดับภาพที่ควรค่าแก่การยกย่อง มีการลำดับเป็นขั้นตอนชัดเจนและชวนติดตามอย่างน่าทึ่ง ทั้งส่วนที่นำพาคนดูไปหาข้อมูลต่างๆ และความเห็นของผู้สร้างกับประชาชนทั่วไป ทั้งที่เนื้อหาของหนังหนักหนาเอาการ A Moment in June และ เฉือน เรื่องแรกได้รับคำชมจากการลำดับภาพที่มีผลสำคัญต่อการเชื่อมต่อเรื่อง ในขณะที่ เฉือน แม้จะไม่ได้ใช้เทคนิคหวือหวาเตะตาอะไรมาก แต่การเล่าเรื่องตัดสลับไปมาระหว่างอดีตกับปัจจุบัน ก็ต้องอาศัยการลำดับภาพให้ไหลลื่นไม่กระตุกหรือสะดุดทางอารมณ์ ซึ่งผลที่ปรากฏออกมาสำเร็จอย่างงดงาม ทำให้ สุนิตย์ อัศวินิกุล ได้รับรางวัลนี้เป็นปีที่สองติดต่อกัน ความรู้สึกของผู้ได้รับรางวัล ผมอยากขอบคุณไฟว์สตาร์ คุณโจ๊ก (เกียรติกมล เอี่ยมพึ่งพร-ผู้อำนวยการสร้าง) คุณโขม (ผู้กำกับ) และทีมงานทุกคน หนังเรื่องหนึ่งไม่สามารถประสบผลสำเร็จได้ด้วยคนคนเดียว ต้องอาศัยทั้งทีม... หนังเรื่อง เฉือน ดีตั้งแต่บทแล้ว พอบทดี ถ่ายมาดี ก็สลับนิดหน่อยตรงจังหวะการเล่าเรื่อง ตรงไหนขึ้นก่อน-หลัง... ฉากเหตุการณ์แอ็คชั่นตอนท้ายเป็นช่วงที่ยากที่สุด เราต้องหารูปมาใส่ นั่งคุยกับผู้กำกับ สลับปรับเปลี่ยนจนลงตัว สุนิตย์ อัศวินิกุล, พรรณิภา กบิลลิกกะวานิชย์ และเหมือนฝัน อุปถัมภ์ ลำดับภาพยอดเยี่ยม (เฉือน) กำกับภาพยอดเยี่ยม ผู้ได้รับรางวัล: นางไม้ เฉือน ธนชาติ บุญหล้า นางไม้ ชาญกิจ ชำนิวิกัยพงศ์ สามชุก พีระพันธ์ เหล่ายนตร์ A Moment in June ณ ขณะรัก เดวิด อีธาน แซนเดอร์ส October Sonata รักที่รอคอย ธีระวัฒน์ รุจินธรรม เฉือน มีข้อดีที่การเล่นสีอันโดดเด่น การใช้ระยะภาพเพื่อสื่อความหมาย โดยเฉพาะการถ่ายให้เห็นความต่างของเมืองกับชนบท - สามชุก เก็บบรรยากาศของชุมชนทั้งด้านมืดและสว่างได้แนบเนียนจนคล้ายสารคดี A Moment in June มีการจัดวางองค์ประกอบ (mise-en-scene) ที่สวยงามและละเอียดลออ สอดคล้องกับการเล่าเรื่องที่แอบอิงกับสื่อละครเวที ซึ่งใช้เพื่อเปิดเปลือยหัวใจของตัวละคร October Sonata กำกับภาพได้สมกับเป็นหนังรักโรแมนติก และเด่นที่การจัดองค์ประกอบเช่นกัน การทดลองหลายๆ อย่างที่ปรากฏในงานกำกับภาพของ ชาญกิจ ชำนิวิกัยพงศ์ จาก นางไม้ คือปัจจัยหลักที่ทำให้เขาเป็นผู้ชนะ แต่รางวัลนี้ไม่ได้ตัดสินกันด้วยฉากหวือหวาเพียงฉากเดียวเท่านั้น (ฉากลองเทคต้นเรื่อง ที่กล้องลัดเลื้อยไปในป่ากว่าสิบนาที ซึ่งได้รับเสียงชื่นชมเป็นเอกฉันท์) เมื่อพิจารณาจากอารมณ์ของภาพที่ส่งเสริมกับความลึกลับของผืนป่าที่ตัวละครต้องเผชิญ นับว่านี่คือผลงานที่ท้าทายการทำงานอย่างมาก และเขาก็ประสบความสำเร็จอย่างยอดเยี่ยม บได้รับรางวัล: October Sonata รักที่รอคอย ความจำสั้น แต่รักฉันยาว วรรณฤดี พงษ์สิทธิศักดิ์, อมราพร แผ่นดินทอง, นนตรา คุ้มวงศ์ เฉือน ก้องเกียรติ โขมศิริ, วิศิษฏ์ ศาสนเที่ยง อนุบาลเด็กโข่ง ทวีวัฒน์ วันทา A Moment in June ณ ขณะรัก ณัฐพล วงศ์ตรีเนตรกุล October Sonata รักที่รอคอย สมเกียรติ์ วิทุรานิช ความจำสั้น แต่รักฉันยาว มีบทภาพยนตร์ที่พูดถึงคนสองรุ่น และสะท้อนซึ่งกันและกันได้น่าสนใจ A Moment in June และ อนุบาลเด็กโข่ง ต่างก็มีลักษณะเฉพาะตัวที่น่ายกย่อง เรื่องแรกมีการใช้การแสดงละครเวทีเพื่อสื่อบุคลิกตัวละคร รวมถึงลักษณะของบทสนทนาที่เป็นภาษาเขียน ก็สะท้อนบุคลิกได้แนบเนียน ส่วนหนังเรื่องหลังซึ่งเป็นหนังตลก เล่าเรื่องผ่านมุมมองของเด็กที่ไม่ใหญ่โตเกินโครงสร้างของหนัง แต่กลับให้ภาพสะท้อนใหญ่ที่ชัดเจน เฉือน โดดเด่นที่ประเด็นสอดแทรก ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของอัตลักษณ์ ศีลธรรม ความหม่นมืดของเมืองและชนบท ภาวะจิตใจอันเข้มข้นของตัวละคร ทั้งยังดูสนุกลุ้นระทึก October Sonata เบียดเข้าป้ายคว้ารางวัลนี้ไปครอง อาจคล้ายกับเรื่อง กอด ซึ่งได้รางวัลไปเมื่อปีที่แล้ว ที่ใช้ตัวละครเปรียบเทียบเหตุการณ์ทางการเมือง สำหรับ รักที่รอคอย ทำได้แนบเนียนและเปี่ยมไปด้วยความรู้สึกในระดับเดียวกัน แม้ดูเป็นทั้งหนังรักเร้าอารมณ์โศกชวนให้คนดูตีตัวออกห่างจากแนวคิดเรื่องความรักมั่นคงที่ดูพ้นสมัย และการแอบอิงกับเรื่องราวการเมืองที่เข้มข้น แต่ตัวละครทั้งหมดล้วนมีเลือดเนื้อจิตใจ มากกว่าเป็นแค่สัญลักษณ์ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าผ่านการคิดจนตกผลึกมาเป็นเวลานาน การอ้างอิงถึงวรรณกรรมก็ไม่กินเนื้อความหรือพลังของหนังจนแหว่งวิ่น ความกลมกล่อมลงตัวของบทภาพยนตร์ชิ้นนี้ ทำให้หนังเรื่องนี้ควรค่าแก่การยกย่อง ความรู้สึกของผู้ได้รับรางวัล แรกสุด ขอขอบคุณปุ๊ก พันธุ์ธัมม์ ทองสังข์ เขาเชื่อมั่นในบทเรื่องนี้ พยายามเสนอไปหลายบริษัท ขอขอบคุณพี่ณภัทร (ณภัทร ภวภูตานนท์ ณ มหาสารคาม) ด้วยครับ หลายครั้งคนอื่นอ่านแล้วบอกไม่พร้อม มีเหตุผลในการจะไม่ทำ แต่พี่ณภัทรอ่านแล้วรู้สึกดี... คนที่สาม ถ้าไม่ได้งบจากทาง Major เรื่องนี้คงไม่เกิด ต้องขอบคุณมากๆ ที่ให้ทำโดยมีอิสระเต็มที่ในการสร้างสรรค์งานชิ้นนี้... ขอบคุณแม่แบบที่ดี นิยาย สงครามชีวิต ของคุณศรีบูรพา เรื่องรักของคนสองคน สอดแทรกเหตุการณ์การเมือง พูดถึงเรื่องราวมากมาย อ่านในแง่ความรักก็ซึ้ง อ่านในแง่มุมสังคมก็ได้เปิดโลกทัศน์ ผมประทับใจ กลายเป็นแรงบันดาลใจในการเขียนบทเรื่องนี้ สมเกียรติ์ วิทุรานิช บทภาพยนตร์ยอดเยี่ยม (October Sonata รักที่รอคอย) นักแสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยม ผู้ได้รับรางวัล: เดือนเต็ม สาลิตุล จาก A Moment in June ณ ขณะรัก จรินทร์พร จุนเกียรติ - หนีตามกาลิเลโอ เดือนเต็ม สาลิตุล - A Moment in June ณ ขณะรัก พิม วัฒนพานิช - 5 แพร่ง เพ็ญพักตร์ ศิริกุล - ม.3 ปี 4 เรารักนาย ศันสนีย์ วัฒนานุกูล - ความจำสั้น แต่รักฉันยาว ตัวเลือกที่ต้องถูกคัดออกในรอบแรก อาจทำให้ใครต่อใครบ่นเสียดาย ไม่ว่าจะเป็น กุลกนิษฐ์ คุ้มครอง(October Sonata รักที่รอคอย), เจสสิกา ภาสะพันธุ์ (เฉือน), นัดตะวัน ศักดิ์ศิริ (บุปผาราตรี 3.2) และ อังศุมาลิน สิรภัทรศักดิ์เมธา (รถไฟฟ้า มาหานะเธอ) ที่พลาดการเข้าชิง 5 คนสุดท้าย จรินทร์พร จุนเกียรติ เริ่มผลงานภาพยนตร์ได้น่าประทับใจ ด้วยการแสดงที่แนบเนียนเป็นธรรมชาติ เพ็ญพักตร์ ศิริกุล ได้บทที่เอื้อให้แสดงอารมณ์หลากหลาย สิ่งที่ดีที่สุดคือเธอแสดงออกมาไม่ท่วมท้นล้นเกินใดๆ ทั้งที่เป็นอารมณ์แบบสูตรสำเร็จ ศันสนีย์ วัฒนานุกูล แสดงออกได้ดีว่าเป็นคนที่กำลังตัดสินใจกับชีวิต ในช่วงวัยที่เรียกว่า ชรา ได้เป็นธรรมชาติและน่าเชื่อถือ ผู้ที่ได้คะแนนสูงสุดสองคนแรก เป็นเสมือนการนำรุ่นใหญ่มาฟาดฟันกัน ได้แก่ พิม (มาช่า) วัฒนพานิช และ เดือนเต็ม สาลิตุล ซึ่งตัดสินได้ยากยิ่ง เพราะบทบาทของทั้งสองเหมือนยืนอยู่คนละฟากฝั่งมหาสมุทร มาช่าเล่นดี ทั้งยังมีปัจจัยส่งเสริมมากมาย โดยเฉพาะบทภาพยนตร์ ถือเป็นการแสดงที่น่าชื่นชม ยิ่งเป็นการแสดงในบทตลกที่ต้องอาศัยการด้นสดและปฏิกิริยาตอบสนองกับสถานการณ์และนักแสดงคนอื่นๆ ก็ยิ่งทำให้การรับบทครั้งนี้น่าสนใจ ขณะที่บทของเดือนเต็ม เป็นบทดราม่าที่ค่อนข้างนิ่ง เล่นกับอารมณ์ความรู้สึกภายใน ความยากอยู่ตรงบทพูดที่เป็นภาษาเขียนแบบวรรณกรรม ง่ายต่อการติดขัดลักลั่น ทว่าเธอก็แสดงออกมาได้เป็นธรรมชาติ ทั้งการพูด สีหน้า และแววตา ทั้งยังเป็นตัวละครที่นำพา หัวใจ ไปสู่ตัวละครอื่นในเรื่อง หากเล่นไม่ดีหรือผิดพลาด ย่อมส่งผลสะเทือนไปถึงหนังทั้งเรื่องได้... เมื่อการลงคะแนนตัดสินเสร็จสิ้นลง เดือนเต็ม สาลิตุล จึงเป็นผู้ได้รับรางวัลในสาขานี้ ความรู้สึกของผู้ได้รับรางวัล รางวัลนี้เป็นรางวัลแรกในชีวิตที่ได้รับ นับตั้งแต่เล่นละครหรือเล่นหนังมา รู้สึกแปลกใจและเป็นเกียรติ ถือเป็นความภูมิใจมากๆ ขอบคุณมากค่ะ ที่เห็นเราอยู่ในสายตา ตัวละครในเรื่องมีจุดเด่นในแง่การเก็บอารมณ์ เก็บความรู้สึก สื่อสารออกมาทางสายตา ต้องถ่ายทอดจากเบื้องลึกข้างใน การแสดงหนังเรื่องนี้มีการตีความเพิ่มในแง่ ความหวัง ตัวละครนี้เป็นคนที่มีความหวังเต็มเปี่ยม แล้วการแสดงในเรื่องส่วนใหญ่เป็นการด้นสด (Improvise) เพราะบทเรื่องนี้เป็นภาษาอังกฤษทั้งหมด เราก็ต้องคิดว่าถ้าพูดเป็นภาษาไทย จะใช้คำพูดอะไรเพื่อการสื่อสารที่ถูกต้อง เดือนเต็ม สาลิตุล นักแสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยม (A Moment in June ณ ขณะรัก) นักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยม ผู้ได้รับรางวัล: จิรายุ ละอองมณี จาก 5 แพร่ง กฤษณ เศรษฐธำรงค์ - ความจำสั้น แต่รักฉันยาว จิรายุ ละอองมณี - 5 แพร่ง พิษณุ นิ่มสกุล - October Sonata รักที่รอคอย สุเชาว์ พงษ์วิไล - A Moment in June ณ ขณะรัก อรรถพันธ์ พูลสวัสดิ์ - เฉือน การคัดเลือกนักแสดงสมทบชาย สร้างความลำบากใจอย่างยิ่ง เพราะการเลือกนักแสดงเพียง 5 คน จากนักแสดงดีๆ นับสิบ เป็นภาระอันหนักหน่วง จนต้องแข็งใจคัดรายชื่อดีๆ อย่าง นภัสกร มิตรเอม (A Moment in June ณ ขณะรัก), ชูศักดิ์ เอี่ยมสุข (32 ธันวา), ภูธฤทธิ์ พรหมบันดาล (ท้า/ชน), ธีรภัทร์ แย้มศรี (สามชุก) และ ศิครินทร์ ผลยงค์ (เฉือน) ออกไป กฤษณ เศรษฐธำรงค์ และ สุเชาว์ พงษ์วิไล คนแรกแสดงได้ดีในหลายช่วง และคนหลังก็แสดงได้ดีตามบท ให้ความรู้สึกถึงภูมิหลังของตัวละครที่ละเอียดและปล่อยออกมาอย่างมีชั้นเชิง น่าเสียดายที่การแข่งขันปีนี้หนักเกินไปสำหรับเขาทั้งสอง พิษณุ นิ่มสกุล เอาชนะอุปสรรคสำคัญด้านบุคลิกตัวละคร (ที่ดูผิวเผินชวนขบขัน) ได้อย่างเปี่ยมพลัง และช่วยส่งเสริมผู้แสดงนำหญิงได้ดี จิรายุ ละอองมณี แม้บทนี้จะไม่หวือหวาท้าทาย แต่การใช้สายตาของเขา สามารถสะท้อนบุคลิกตัวละครได้น่าประทับใจ ไม่ถูกรัศมีนักแสดงอาวุโสกว่าข่มบัง ทั้งยังตอบสนองการเรียกร้องของบทที่ต้องใช้จินตนาการสูง ได้อย่างทรงพลัง อรรถพันธ์ พูลสวัสดิ์ ได้รับบทที่ท้าทาย มืดหม่นรุนแรง เปี่ยมแง่มุมลึกซึ้ง... การลงคะแนนตัดสินระหว่างนักแสดงทั้งสาม ไม่สามารถชี้ขาดได้อยู่นาน กระทั่งการลงคะแนนในครั้งสุดท้าย จึงได้ผู้ชนะที่ชื่อ จิรายุ ละอองมณี ความรู้สึกของผู้ได้รับรางวัล ขอบคุณทีมงานทุกคนที่เป็นส่วนหนึ่งกับรางวัลนี้ ขอบคุณผู้ชมทุกคนที่ติดตามผลงานครับ... จุดเด่นของ 5 แพร่ง คือการได้ถ่ายทอดข้อคิด-บทเรียน ให้คนที่ทำไม่ดีกับพ่อกับแม่ คิดไม่ดี ทำไม่ดี สัมผัสได้ถึงกรรมที่เราทำ ว่ามันจะส่งผลตามนั้นจริงๆ เป็นหนังที่ให้ข้อคิด ผมภูมิใจที่ได้ถ่ายทอดบทนี้ครับ จิรายุ ละอองมณี นักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยม (5 แพร่ง) นักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม ผู้ได้รับรางวัล: ศิริน หอวัง จาก รถไฟฟ้า มาหานะเธอ ชุติมา ทีปะนาถ - หนีตามกาลิเลโอ รัชวิน วงศ์วิริยะ - October Sonata รักที่รอคอย วนิดา เติมธนาภรณ์ - นางไม้ สินิทธา บุญยศักดิ์ - A Moment in June ณ ขณะรัก ศิริน หอวัง - รถไฟฟ้า มาหานะเธอ นักแสดงนำหญิงเป็นสาขาที่ไว้ใจได้เรื่องคุณภาพมาตลอดทุกปี ปีนี้ก็เช่นกัน การขับเคี่ยวทำให้ต้องคัดชื่อนักแสดงดีๆ ทั้ง ภัสสร คงมีสุข (ความสุขของกะทิ), อภัสนันท์ วรภิรมย์รักษ์ (Roommate เพื่อนร่วมห้อง...ต้องแอบรัก?), สิริวิมล เจริญปุระ (เชือดก่อนชิม), ภาวิณี วิริยะชัยกิจ (ฝันโคตรโคตร) และ ญารินดา บุนนาค (ความจำสั้น แต่รักฉันยาว) ออกไปจาก 5 รายชื่อสุดท้าย ชุติมา ทีปะนาถ เข้าชิงเป็นครั้งที่สองจากบทคล้ายของเดิมใน Seasons Change เพราะอากาศเปลี่ยนแปลงบ่อย ครั้งนี้เธออาศัยพลังเกื้อหนุนจากปัจจัยรายล้อมน้อยลง ใช้ศักยภาพส่วนตัวมากขึ้น ทั้งที่ปัจจัยหลายอย่างไม่เอื้ออำนวย สินิทธา บุญยศักดิ์ แสดงได้กินใจ เข้าถึงตัวละครได้ดี เก็บรายละเอียดได้น่าชื่นชม วนิดา เติมธนาภรณ์ อาจมีแต้มต่อและเสียงสงสัยว่าเป็นเพราะการพลิกภาพลักษณ์เดิมๆ แต่การแสดงของเธอก็ให้ความละเมียดละไมแก่ตัวละคร และยังโดดเด่นจนเอาชนะบรรยากาศของป่าที่ได้รับการขับเน้นอย่างครึกโครมได้ขาดลอย รัชวิน วงศ์วิริยะ สร้างตัวละครที่มีพัฒนาการชัดเจน เปลี่ยนแปลงตัวละครไปตามลำดับเวลาของเรื่องได้แนบเนียน ศิริน หอวัง ได้เปรียบในด้านบุคลิกและการสร้างตัวละครให้เป็นที่รัก เธอเริ่มฉายแววมาตั้งแต่ตอนแสดงเรื่อง อีติ๋มตายแน่ และมาแจ้งเกิดเต็มๆ กับเรื่องนี้ แม้เป็นบทจัดจ้านที่ต้องแสดงอารมณ์หลากหลายสลับไปมา เธอกลับทำให้ตัวละครที่พฤติกรรมเหมือนหลุดมาจากหนังสือการ์ตูน ดูจับต้องได้ น่าเชื่อถือ ท้ายที่สุด นี่คือการแสดงบทตลกที่ให้ผลกระเทือนทางอารมณ์ดราม่าสูงที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ภาพยนตร์ไทย ความรู้สึกของผู้ได้รับรางวัล ขอบคุณที่มอบรางวัลนี้ให้คริสนะคะ ไม่เคยคิดว่าจะได้รางวัลทางการแสดงมาก่อน แต่ถ้าจะให้คริสเลิกแสดง ตอนนี้คริสก็ไม่ยอมแล้วละค่ะ...จุดเด่นที่ทุกคนจำ เหมยลี่ ได้ คงเป็นความเบอะมั้งคะ คือจริงๆ เหมยลี่ก็คล้ายคริส เกือบ 50% เหมือนคริสตอนอยู่บ้าน... คริสตีความตัวละครเหมยลี่เพิ่มในลักษณะที่ว่า เหมยลี่เรียนโรงเรียนอะไร กลับบ้านยังไง เคยมีผู้ชายมาจีบหรือเปล่า ชอบสีอะไร เพราะถ้าคริสต้องเป็นเหมยลี่ แล้วมีคนมาถามว่าชอบสีอะไร เราต้องตอบได้ทันที ไม่ใช่แบบ เออ เขียวก็ได้... คริส หอวัง นักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม (รถไฟฟ้า มาหานะเธอ) นักแสดงนำชายยอดเยี่ยม ผู้ได้รับรางวัล: ปรเมศร์ น้อยอ่ำ จาก สามชุก ชาคริต แย้มนาม - A Moment in June ณ ขณะรัก ปรเมศร์ น้อยอ่ำ - สามชุก ภูพิงค์ พังสอาด - ฝันโคตรโคตร วรเวช ดานุวงศ์ - 32 ธันวา อารักษ์ อมรศุภศิริ - เฉือน นักแสดงนำชายปีนี้สร้างความหนักใจให้คณะกรรมการเช่นกัน แต่เป็นความหนักใจในด้านตรงกันข้าม การคัดสรรผู้เข้าชิงทำได้ยากเอาการ... อารักษ์ อมรศุภศิริ (ความจำสั้น แต่รักฉันยาว), นพชัย ชัยนาม (นางไม้) และ นพฤทธิ์ สุริวงศ์ (อนุบาลเด็กโข่ง) ล้วนน่าจดจำ ชาคริต แย้มนาม แสดงได้โอเค แต่อาจเป็นเพราะเขารับบทเป็นเกย์ ซึ่งไม่ใช่สิ่งที่เจ้าตัวถนัดและคุ้นเคย วรเวช ดานุวงศ์ ไหลลื่นไปกับบทตลกที่ได้รับในเรื่องได้อย่างพอดีๆ ตอบรับกับนักแสดงคนอื่นในเรื่องได้ไม่ขัดเขิน ทั้ง ปรเมศร์ น้อยอ่ำ, ภูพิงค์ พังสะอาด (พิง ลำพระเพลิง) และ อารักษ์ อมรศุภศิริ ต่างมีจุดเด่นเป็นเอกลักษณ์ อารักษ์ทำการบ้านและท้าทายศักยภาพตนเองมากทีเดียว พิง มีการแสดงที่หลากหลาย บทภาพยนตร์เอื้อให้แสดงทักษะแทบทุกศาสตร์เลยก็ว่าได้ ปรเมศรหนังแนว ครู-นักเรียน ทั่วไป แต่การแสดงที่ไม่เร้าอารมณ์เกินเหตุ ไม่ขาด ไม่เกิน ด้วยปัจจัยนี้นี่เอง ในกาตัดสินครั้งสุดท้าย ปรเมศร์ น้อยอ่ำ จึงเป็นผู้ชนะในสาขานี้ ความรู้สึกของผู้ได้รับรางวัล อย่างแรกที่อยากพูด คือขอบคุณอาจารย์พินิจ พุทธิวาส เจ้าของเรื่องที่เราเอามาทำเป็นหนัง ขอบคุณโรงเรียนสามชุกรัตนโภคาราม ที่ให้ใช้สถานที่ถ่ายทำตลอดทั้งเรื่อง ทั้งยังอำนวยความสะดวกเป็นอย่างดี และท้ายสุด ขอบคุณชาวตลาด 100 ปี สามชุก ที่เราเข้าไปสร้างความวุ่นวายในการค้าขายของพวกเขาอยู่นาน... สิ่งที่ยากที่สุดในการรับบทนี้ คือจะแสดงยังไงให้คนรู้สึกว่าเป็นคนที่ห่วงใยเด็กมากๆ แล้วก็ไม่ใช่อาจารย์ที่จะไปสนิทสนมกับเด็ก แบบเฮไหนเฮนั่น ต้องถ่ายทอดความห่วงหาอาทรเต็มเปี่ยมในใจ เป็นบุคลิกของครูที่มีความห่วงใยโดยไม่ใกล้ชิดน่ะครับ ปรเมศร์ น้อยอ่ำ - นักแสดงนำชายยอดเยี่ยม (สามชุก) ผู้กำกับยอดเยี่ยม ผู้ได้รับรางวัล: ก้องเกียรติ โขมศิริ จาก เฉือน ไกรศักดิ์ ชุณหะวัณ, มานิต ศรีวานิชภูมิ, สมานรัชฏ์ กาญจนวณิชย์ - พลเมืองจูหลิง ก้องเกียรติ โขมศิริ - เฉือน ณัฐพล วงศ์ตรีเนตรกุล - A Moment in June ณ ขณะรัก ทวีวัฒน์ วันทา - อนุบาลเด็กโข่ง สมเกียรติ์ วิทุรานิช - October Sonata รักที่รอคอย รางวัลสำหรับผู้ทำหน้าที่ควบคุมองค์ประกอบต่างๆ ในหนัง การเลือกสรรรายละเอียดต่างๆ แล้วนำมาหลอมรวมเข้าด้วยกันจนสำเร็จออกมาเป็นภาพยนตร์ ผู้ที่น่าจดจำแต่พลาดการเข้าชิงรอบสุดท้าย ได้แก่ ธนิตย์ จิตนุกูล (สามชุก), ภูพิงค์ พังสะอาด (ฝันโคตรโคตร), ฤกษ์ชัย พวงเพ็ชร์ (32 ธันวา), เป็นเอก รัตนเรือง (นางไม้) และ อดิสรณ์ ตรีสิริเกษม (รถไฟฟ้า มาหานะเธอ) สามผู้กำกับจาก พลเมืองจูหลิง ควบคุมเรื่องได้ค่อนข้างน่าสนใจ แน่วแน่ในประเด็นที่หนังต้องการสื่อ แม้สารคดีเรื่องนี้มีความยาวเข้าขั้นมหากาพย์ ณัฐพล วงศ์ตรีเนตรกุล ทำได้ดีในฐานะผู้กำกับหน้าใหม่ที่ควบคุมงานสร้างในระดับใหญ่พอตัว รวมถึงการกำกับนักแสดงอาชีพหลายคนให้ประชันบทบาทกัน ส่วน ทวีวัฒน์ วันทา ทำได้ดีมากในการเล่าเรื่องที่ข้องเกี่ยวกับเด็กจำนวนมาก ในลักษณะคล้ายกับ ดรีมทีม เมื่อปีก่อน เฉือน และ October Sonata ต่างมีข้อดีนำมาประชันกันมากมาย สมเกียรติ์ วิทุรานิช ซื่อสัตย์ต่อแนวทางของหนัง บอกสารของเรื่องแบบเป็นนัยควบคู่ไปกับการเล่าเรื่องรักโรแมนติกได้กลมกลืนและละเอียดอ่อน ส่วน ก้องเกียรติ โขมศิริ เก่งกาจในการเล่าเรื่องอันซับซ้อนให้ตลอดรอดฝั่ง โดยเฉพาะในความเป็นหนังระทึกขวัญที่ต้องกระตุกเร้าอารมณ์ผู้ชม เมื่อพิจารณาอย่างถี่ถ้วนแล้ว ผลงานเรื่องนี้ต้องใช้ฝีมือของผู้กำกับในระดับสูงลิ่ว ในที่สุด ก้องเกียรติได้รับรางวัลนี้ด้วย พลัง ซึ่งตัวหนังเรียกร้องมากกว่า และเขาสามารถตอบสนองได้อย่างเต็มที่ ความรู้สึกของผู้ได้รับรางวัล ผมทำงานมาหลายปี ไม่เคยได้รางวัลอะไรมาก่อน ส่วนใหญ่หนังของผม รางวัลจะได้กับนักแสดงและส่วนอื่นๆ นี่ถือเป็นรางวัลแรกในชีวิต ในฐานะผู้กำกับภาพยนตร์ ผมแปลกใจมากตอนรู้ว่าได้รางวัล แต่ก็ดีใจครับ ขอบคุณมากๆ อย่างที่รู้กันว่า เฉือน ไม่ประสบความสำเร็จทางด้านรายได้ แต่สิ่งที่เราเจตนาทำไปอย่างเต็มที่แล้วมีคนเห็น ถือว่าผมรับรางวัลนี้แทนทีมงานทุกคน ภูมิใจมากๆ... ถ้าสังเกตดีๆ ในหนังเราใช้ฟิล์มสองขนาด ช่วงในกรุงเทพฯ ใช้ฟิล์ม 16 จะแคบๆ อึดอัด แล้วมาทำสีให้จัด กรุงเทพฯ สำหรับเรามันเป็นแบบนั้น อึดอัด สีเยอะ พอเป็นต่างจังหวัด เราใช้ฟิล์ม 35 ความอึดอัดจะหายไป คนดูจะรู้สึกโล่ง เป็นความรู้สึกแบบเดียวกับตัวละคร ผมอยากให้คนดูรู้สึก ว่านี่คือพื้นที่ที่คุณโหยหา นี่คือพื้นที่ที่คุณรู้สึกโปร่ง แต่คุณกลับฝันถึงพื้นที่แคบๆ อึดอัดในเมือง ก้องเกียรติ โขมศิริ - ผู้กำกับยอดเยี่ยม (เฉือน) ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม ผู้ได้รับรางวัล: บริษัท เอ็นจีอาร์ จำกัด จาก October Sonata รักที่รอคอย เฉือน ไฟว์สตาร์ พลเมืองจูหลิง - อิสระ อนุบาลเด็กโข่ง สหมงคลฟิล์ม, อุปถัมป์ภาพยนตร์ และ บาแรมยู A Moment in June ณ ขณะรัก เดอะสตอรี่ออฟโอ October Sonata รักที่รอคอย บริษัท เอ็นจีอาร์ จำกัด นางไม้, สามชุก, 5 แพร่ง, 32 ธันวา, ความจำสั้น แต่รักฉันยาว และ รถไฟฟ้า มาหานะเธอ คือรายชื่อหนังคุณภาพเยี่ยมที่เกือบได้เข้าชิงภาพยนตร์ยอดเยี่ยมประจำปี เพียงแต่ความกลมกล่อม กลมกลืน ในแต่ละองค์ประกอบของหนัง และการสื่อสารความคิด-ความรู้สึก อาจยังไม่โดดเด่นเทียบเท่า 5 เรื่องสุดท้าย A Moment in June เล่าเรื่องราวหลากชีวิตที่เกี่ยวโยงกับความรัก การเล่าย้อนสลับไปมา อดีตกับปัจจุบัน ผ่านโลกแห่งความจริงและโลกบนเวทีละคร เป็นจุดที่ทำให้หนังเรื่องนี้น่าสนใจ กอปรกับการแสดงชั้นดีของนักแสดงเกือบทุกคน ชั้นเชิงในการเล่าเรื่องที่แสดงให้เห็นความสามารถและความทะเยอทะยาน ทำให้หนังเรื่องนี้อยู่ใน 5 เรื่องสุดท้ายได้อย่างไม่ขัดเขิน อนุบาลเด็กโข่ง เป็นหนังม้ามืดของแท้ในสาขานี้ ไม่เพียงแต่ทำรายได้น้อยแสนน้อย แต่ยังแทบไม่เป็นที่พูดถึงในวงกว้าง แต่เอกภาพของเรื่องราวที่จับอารมณ์ความรู้สึกในแบบของเด็ก มาพิจารณาขยายความแตกหน่อให้สะท้อนถึงสังคมภาพใหญ่ หนังเรื่องนี้ถ่ายทอดได้อย่างมีเอกลักษณ์และสนุกสนาน หนังมีความหลุดโลกตามสไตล์ของผู้กำกับ แต่ก็แสดงให้เห็นถึงความสามารถที่เพิ่มพูนขึ้น สารคดีอิสระ พลเมืองจูหลิง เต็มไปด้วยเรื่องราวที่เคร่งเครียด แต่ไม่แล้งไร้อารมณ์ขันเสียดเย้ยที่ปรากฏคั่นจังหวะอยู่เนืองๆ ในแง่ดี หนังเรื่องนี้หนักแน่นและทรงพลังอย่างที่เป็น จากข้อมูลกับความเห็นซึ่งอัดแน่นเต็มเหยียด บรรลุผลของตัวสารคดีที่มุ่งให้ข้อมูลและความเห็นที่หลากหลายรอบด้าน ในขณะที่ เฉือน ก็นำเสนอและวิพากษ์ความดำมืดของสังคมไทยได้อย่างเข้มข้นหนักหน่วง ภายใต้รูปลักษณ์ของหนังแนวฆาตกรต่อเนื่อง เสริมด้วยรายละเอียดแบบไทยๆ ตัวหนังแสดงให้เห็นศักยภาพของผู้กำกับที่นำมาใช้ได้เต็มเม็ดเต็มหน่วยในหนังเรื่องนี้ หนังเพียบพูนไปด้วยรายละเอียดและการทดลองต่างๆ มากมาย October Sonata คือผู้ชนะในปีนี้ ความลงตัวใน

อัลบั้มภาพ 13 ภาพ

อัลบั้มภาพ 13 ภาพ ของ ประกาศผลรางวัล STARPICS THAI FILMS AWARDS 7

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook