"ว่านดอกทอง" มีจริงไหม? เปิดตำนานว่านแห่งความรัญจวน รู้สรรพคุณแล้วต้องอึ้ง!
ฟังชื่อว่านก็ทำเอาสะดุ้งไปตาม ๆ กัน สำหรับ “ว่านดอกทอง” ที่ สนมจวง รับบทโดย “น้ำหวาน รักษ์ณภัค วงศ์ธนทัศน์” ตัวละครจาก บุหลันมันตรา ทางสถานีโทรทัศน์ช่อง 8 ในเครือ อาร์เอส กรุ๊ป ใช้ทำเสน่ห์เล่ห์กลใส่วังหน้า รับบทโดย “โอ อนุชิต สพันธุ์พงษ์” จนทำให้หลงหัวปักหัวปำ แต่ก็ต้องแพ้ภัยตัวเองเพราะถูกจับได้ และโดนเนรเทศให้ออกจากอยุธยาไปในที่สุด
ซึ่งเรื่องราวก็กำลังสนุกเข้มข้นมากขึ้นเรื่อย ๆ แต่ใครเลยจะรู้ว่า ไอ้เจ้าว่านดอกทอง ว่านมหาเสน่ห์ตัวปัญหานี้ แท้จริงแล้ว เป็นว่านหายากใกล้สูญพันธุ์ที่มีอยู่จริง ที่พอรู้สรรพคุณแล้วก็ทำเอา จอสระอึ้ง จึ้งกันเลยทีเดียว
ว่านดอกทอง คืออะไร? มีจริงไหม?
ว่านดอกทอง ว่านชนิดนี้เป็นพืชในตระกูลขิง-ข่า เป็นว่านโบราณที่หายากและใกล้จะสูญพันธุ์ พบมากทางภาคตะวันตกและภาคเหนือ แถบจังหวัดกาญจนบุรี จังหวัดตาก จังหวัดลำปาง ถ้าเป็นตัวเมียจะเรียกอีกอย่างว่า ดินสอฤๅษี ลักษณะต้นและใบจะไม่มีสีแดงเจือปน เมื่อหักหัวออกจะมีกลิ่นคาวจัดคล้ายกับอสุจิของคน กลิ่นจะรุนแรงมาก เนื้อในหัวมีสีขาว ดอกมีสีขาว เกสรสีเหลือง
สรรพคุณ ว่านดอกทอง หรือ ว่านรากราคะ
สรรพคุณ ว่านดอกทอง ตามตำนานโบราณและความเชื่อ ระบุว่า เมื่อหญิงสาวได้ดมจะไม่สามารถ อดกลั้นอารมณ์ราคะ กิเลสตัณหาได้ บ้านไหนที่มีลูกสาวจึงห้ามปลูก หรือหากปลูกไว้ก็ห้ามให้ดอกบาน โดยให้เก็บดอกตูมใส่น้ำมันไว้เป็นน้ำมันเสน่ห์ แต่หากปลูกไว้ก็จะต้องปลูกพญาว่านนางคุ้ม หรือว่านนางล้อม ซึ่งถือเป็นพญาว่านปกคลุมไว้ ส่วนด้านเพศชาย จะส่งเสริมเรื่องของการทำให้เป็นที่รัก มีเมตตามหานิยมเสน่ห์แรงแบบขุนแผน
ว่านดอกทอง ความเชื่อของว่านมหาเสน่ห์ชนิดนี้
มีความเชื่อว่า “ว่านดอกทอง” หากปลูกไว้ที่บ้าน จะเป็นสิริมงคลแก่บ้านเรือน ใครเห็นใครก็รัก หากปลูกไว้ที่ร้านค้า ก็จะทำให้มีลูกค้ามาอุดหนุน แต่ก็มีบางตำราที่ระบุว่า ไม่ควรปลูกต้นว่านไว้ในบ้าน เพราะเป็นอัปมงคล
เป็นอีกหนึ่งความเชื่อที่ต้องใช้วิจารณญาณของแต่ละคน งานนี้ในฐานะคนดูละคร ก็ต้องอยู่ที่เราเลือกว่าจะหยิบใช้ และมองในมุมไหน แต่ที่มีตัวอย่างให้เห็นชัดแน่นอนนั่นคือ หากนำไปใช้ในทางที่ผิด คิดชั่วทำร้ายผู้อื่น ก็อาจจะลงเอยเหมือนตัวละครสนมจวง ในบุหลันมันตรา ก็เป็นได้ สามารถติดตามรับชมได้ ทุกวันจันทร์-พฤหัสบดี เวลา 18.00 น. ทางช่อง 8 กดเลข 27 สามารถรับชมย้อนหลังที่แรกที่เดียวที่ TrueID
อ่านเพิ่มเติม:
อัลบั้มภาพ 32 ภาพ