Addicted Heroin EP.2: เด็กรุ่นใหม่เหงามากขึ้น ภัยความ ”โดดเดี่ยว“ สู่โรคซึมเศร้า"

Addicted Heroin EP.2: เด็กรุ่นใหม่เหงามากขึ้น ภัยความ ”โดดเดี่ยว“ สู่โรคซึมเศร้า"

Addicted Heroin EP.2: เด็กรุ่นใหม่เหงามากขึ้น ภัยความ ”โดดเดี่ยว“ สู่โรคซึมเศร้า"
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

Addicted Heroin รักร้ายนายเสพติด เรื่องราวของฮีโร่ (ออกัส) และป๊อปปี้ (แม็ค) ที่เกลียดกันโดยที่ยังไม่รู้จัก และรัก? โดยที่ไม่รู้ว่าอีกฝ่ายเป็นใครกันแน่ ใน Episode นี้ได้เข้าไปสำรวจชีวิตของป๊อป เด็กที่ “ไม่มีแม่” เขาต้องการแม่แต่ร้องเรียกอย่างไรแม่ก็ไม่เคยกลับมา จนเขาเรียนรู้ว่าร้องไปก็ไม่มีความหมาย และถึงแม่จะกลับมาเขาก็ร้องไม่ออกแล้ว ป๊อปกดความต้องการจนเป็นธรรมดา ไม่อยากเป็นปัญหาให้พ่อ เลือกแก้ปัญหาด้วยตัวคนเดียว เช่น แอบออกจากบ้านยามดึกไปทำงานแบ่งเบาภาระครอบครัว ทั้งที่เป็นเยาวชนอยู่

แต่ถ้าพูดเรื่องความโดดเดี่ยว ฮีโร่ก็ไม่แพ้กัน ฮีโร่ถูกจู่โจมด้วยความเหงาจากสถานการณ์ (Situational Loneliness) เมื่อเสียแม่ไปอย่างกะทันหันและโหดร้าย ในเวลาเพียงแค่ปีเดียว ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่คนเรายังยอมรับไม่ได้ แม้จะมีคนรอบข้างแต่ความสัมพันธ์กลับไม่มีคุณภาพ พ่อแต่งงานใหม่ทำให้เขารู้สึกว่าถูกแย่งความรัก และกำลัง “โดดเดี่ยว” เสพติดการอยู่คนเดียวในห้องเก่าของแม่ ผูกติดกับเพลงที่แม่เคยร้องให้ฟัง ความเหงาไม่ได้จำกัดเฉพาะคนแบบฮีโร่หรือป๊อปเท่านั้น แต่ยังแผ่ขยายไปทั่วทั้งรุ่นของเขา

ซีรีส์วายไทยAddicted Heroin รักร้ายนายเสพติด

Gen Z รุ่นนี้เหงาสุด

ความเหงาอาจถูกกระตุ้นจากเรื่องราวบน Social media ยิ่งเห็นความสุขสนุกกับชีวิต ยิ่งตอกย้ำความโดดเดี่ยว คุณคิดว่าวัยของความเหงาคือวัยอะไร? วัยชราหรือเปล่าที่ขี้เหงา? แต่ผลสำรวจบอกว่า เจน Z เหงากว่าวัยผู้สูงอายุถึงสามเท่า เป็นเรื่องที่ต้องให้ความสนใจเพราะความเหงาร้ายแรงกว่าที่คิด ความเหงาหรือความโดดเดี่ยวนั้นไม่ได้นำไปสู่โรคซึมเศร้าเสมอไป แต่อาจนำไปสู่โรคอื่นได้เช่นกัน

เสพติดความโดดเดี่ยว … นำไปสู่การบล็อคความรัก

หากเสพติดความโดดเดี่ยว ความรู้สึกแปลกแยกและว่างเปล่าจะนำไปสู่ Chronic loneliness เกิดเป็นอาการอยากใกล้ชิดแต่ไม่อยากเริ่มคุย รู้สึกแปลกที่ต้องอธิบายความรู้สึกตัวเอง ต้องการการปลอบประโลมแต่ไม่กล้าเรียกร้อง ต้องการถูกมองเห็นแต่กลับไม่ไว้ใจใคร เพราะไม่อยากถูกตัดสินจากความรู้สึกเล็กๆ น้อยๆ ของตัวเอง เลือกที่จะเก็บไว้กับตัวเองแทน รู้สึกไม่มั่นใจ ไม่ปลอดภัย เพราะกลัวจะถูกทิ้ง… ฮีโร่และป๊อปนั้นต่างมีปัญหาในการแสดงออกว่าพวกเขาต้องการความรัก ป๊อปต้องการการปกป้อง การเอาใจใส่ การมองเห็นแต่ไม่กล้าเรียกร้อง แต่ฮีโร่ได้ประโคมสิ่งนั้นให้ป๊อปโดยที่ป๊อปไม่ต้องเอ่ยปากเลย ป๊อปได้สัมผัสว่าเขาไม่ได้โดดเดี่ยว

วิธีเลิกเสพความโดดเดี่ยว

อาจจะพาตัวเองเข้าไปอยู่ในคอมมูนิตี้ของสิ่งที่สนใจ เข้าร่วมกิจกรรมกลุ่ม กิจกรรมบำบัด และงดกิจกรรมหน้าจอ ในด้านความสัมพันธ์ มนุษย์เป็นสัตว์สังคม และเพราะเราพึ่งพากัน เราจึงอยู่รอดมาถึงทุกวันนี้ การกระชับความสัมพันธ์กับคนที่มีอยู่เดิม เช่น ครอบครัวหรือเพื่อน จะเป็นพื้นที่รองรับเมื่อเราต้องการที่พึ่งพิงในยามเจอปัญหา แต่ก็ควรฝึกเข้าหาคนแปลกหน้า สำหรับบางคนอาจจะยาก แต่ต้องลองเพื่อไม่ให้เราติดกับความกลัวและความกังวล ลองเปิดโอกาสให้ได้เจอคนใหม่ ที่อาจจะมาช่วย support ใจเราในอนาคตก็ได้ เหมือนอย่างที่ฮีโร่กับป๊อปได้พบกัน

เปิดใจ (เปิดป๋อง)... ไม่โดดเดี่ยว 

การ “เปิดใจเปิดป๋อง” ระหว่างฮีโร่กับป๊อปปี้ คือวิธีการที่เรียกว่า Deep Conversation หรือสนทนาอย่างลึกซึ้งที่ใช้คำถามปลายเปิดเพื่อแบ่งปันความคิด ความรู้สึก และประสบการณ์ส่วนตัว จริงๆ ไม่ต้องเปิดป๋องกันหรอก แค่เปิดใจเล่าและเปิดใจฟัง ไม่ตัดสินกัน นั่นเป็นวิธีหนึ่งที่จะลดความโดดเดี่ยว ป๊อปได้แสดงความความคิดที่แท้จริง ฮีโร่เล่าประสบการณ์ที่เขาเจอซึ่งทำให้ป๊อปได้เข้าใจฮีโร่มากขึ้น จะได้เห็นว่าฮีโร่ไม่เคยมีเพื่อนที่ใกล้ชิดและไว้ใจ จนสามารถพูดอะไรแบบนี้ได้ แม้อยากเล่าแต่ก็พูดไม่ออก จนพยายามหาเหตุผลไปว่าผู้ชายไม่ชอบเปิดเผยด้านอ่อนแอ แต่จริงๆ แล้วแค่ฮีโร่ยังไม่เจอใครที่เขาพร้อมเปลือยใจ วิธี Deep Conversation เป็นวิธีที่อยากให้ลองเอาไปใช้ดู เพราะดีกับทุกความสัมพันธ์

ติดตามความสัมพันธ์ของสองคนเหงา แต่รวมกันความเหงาเป็นศูนย์ ได้ใน Addicted Heroin รักร้ายนายเสพติด รับชม Uncut ver. ทุกวันอังคาร 20:00 ทาง WeTV Thailand เท่านั้น

เขียนโดย: อรฉัตร พรหมเศรณี

อ่านเพิ่มเติม:

อัลบั้มภาพ 19 ภาพ

อัลบั้มภาพ 19 ภาพ ของ Addicted Heroin EP.2: เด็กรุ่นใหม่เหงามากขึ้น ภัยความ ”โดดเดี่ยว“ สู่โรคซึมเศร้า"

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook