วิจารณ์หนัง หนีตาม กาลิเลโอ
Thailand Web Stat

วิจารณ์หนัง หนีตาม กาลิเลโอ

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
“เขา...ว่าอยู่เมืองนอกสบาย เขา...ว่าอยู่เมืองนอกสบาย...นะ” ไม่รู้ว่ามีใครเคยได้ยินเพลงนี้บ้างหรือเปล่า เป็นเพลงเก่ามากแล้วของวง OUTSIDER ชื่อเพลงว่า “ใครว่าอยู่เมืองนอกสบาย” ซึ่งตอนที่เพลงนี้ออกมาใหม่ๆดังมาก พอผมได้มาดูเรื่อง หนีตาม...กาลิเลโอ แล้ว ก็ทำให้ผมนึกถึงเพลงนี้ขึ้นมาทันที เพราะดูจะเข้ากับบรรยากาศของหนังมากกว่า แต่น่าเสียดายที่เพลงๆ นี้ไม่ได้เป็นเพลงประกอบของหนังเรื่องนี้ (เพราะอยู่กันคนละค่ายจ้า....) หนีตาม...กาลิเลโอ เป็นหนังเรื่องล่าสุดของค่าย GTH ค่ายหนังที่ทำหนังติดอกติดใจนักดูหนังมาแล้วหลายเรื่องด้วยกัน ค่ายนี้กลายเป็นค่ายหนังที่ผลิตหนังคุณภาพดีที่หลายๆ คนให้ความหวังไว้ แต่ก็ใช่ว่าหนังของค่ายนี้จะประสบผลสำเร็จไปเสียทุกเรื่อง บางเรื่องออกมาทำท่าดี แต่แป้กก็หลายเรื่องด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง “กอด” หรือ “เก๋าเก๋า” หรือแม้กระทั่งหนังแนวสยองขวัญ อย่างเรื่อง “บอดี้ ศพ19” ที่ดูตัวอย่างหนังแล้วน่าดูมาก แต่ตัวหนังกลับไม่ประสบผลสำเร็จทางด้านรายได้สักเท่าไหร่นัก มาถึงเรื่องนี้ หนีตาม กาลิเลโอ เป็นผลงานที่กำกับคนเดียวเรื่องที่ 2 ของคุณนิธิวัฒน์ ธราธร (ต้น) ที่เรื่องแรกกำกับเรื่อง “Seasons Change เพราะอากาศเปลี่ยนแปลงบ่อย” จนโด่งดัง ประสบผลสำเร็จทั้งด้านรายได้ และคำวิจารณ์ ตอนที่เห็นตัวอย่างหนังเรื่องนี้แรกๆ ผมว่ามันยังไงๆ ไม่รู้ เหมือนดูหนังสารคดีการท่องเที่ยว แต่ติดตรงที่ว่า ผู้กำกับคนนี้เคยสร้างแต่ผลงานที่ดีๆ มาแล้ว ถ้าไปดูคงไม่ผิดหวังมั้ง (คิดเข้าข้างตัวเอง) ประจวบกับผมก็เป็นแฟนคลับของผู้กำกับ 6 ท่านที่เคยกำกับหนังเรื่อง “แฟนฉัน” มาแล้วอย่างเหนียวแน่น และคุณต้นก็เป็นหนึ่งใน 6 ผู้กำกับแฟนฉันที่ว่าด้วย สำหรับเรื่อง หนีตาม...กาลิเลโอ (Dear Galileo) เป็นเรื่องของผู้หญิง 2 คน คือเชอรี่ (ต่าย-ชุติมา ทีปะนาถ) และ นุ่น (เต้ย-จรินทร์พร จุนเกียรติ) ซึ่งคนแรกนั้น ติด F ในเรื่องของการเรียน ส่วนอีกคนกำลังอกหัก เลยชวนกันไปเที่ยวต่างประเทศ และก็ไปเจอเหตุการณ์ต่างๆ ที่อยู่ต่างประเทศมากมาย ...แต่เท่าที่ผมดูเนื้อเรื่องสำหรับเรื่องนี้มีน้อยนิดมาก เรียกว่ากะขายภาพบรรยากาศต่างประเทศโดยเฉพาะ ภาพสวยครับสวยมากด้วย มุมมองต่างๆ สวยดี แต่เสียดายไปนิดครับ ภาพจากสถานที่ต่างๆ ที่ทางทีมงานตั้งใจจะให้ดูนั้น แต่ละที่มีให้ดูเร็วไปหน่อย เรียกกว่าแต่ละที่ดูไม่ถึง 1 นาทีด้วยซ้ำ แต่สถานที่ที่คัดมาให้ดูนั้น มีมากจริงๆ (ก็เล่นไปถ่ายทำถึง 3 ประเทศอย่างนี้จะไม่ให้เยอะได้ไง) กับความยาวของหนัง 2 ชั่วโมงครึ่ง กับสถานที่ต่างๆ มากมาย (แต่ดูได้ที่ละนิดที่ละหน่อย) กับเนื้อเรื่องที่น้อยนิด และแต่ละเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในหนัง เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นง่ายๆ และก็จบลงอย่างง่ายๆ ผมจึงไม่แน่ใจว่า สำหรับภาพยนตร์เรื่องนี้แล้วจะประสบผลสำเร็จทางด้านรายได้เหมือนกับเรื่อง Seasons Change หรือเปล่า ในความคิดส่วนตัวของผมนะ ถ้าต้องการสื่อเนื้อเรื่องเพียงเท่านี้ ผมว่ากำหนดให้ 2 สาวเที่ยวในไทยก็พอแล้ เพราะว่าในไทยก็มีสถานที่เที่ยวเยอะ บางแห่งมีภาพสวยๆ ทั้งนั้น ตามเกาะตามเขาก็น่าสนใจดีไม่ต้องไปไกลถึงเมืองนอกหรอก นี่เป็นแค่ความคิดส่วนตัวนะครับ ผมไม่รู้ว่าทีมงานหรือคนอื่นคิดอย่างไรบ้าง อาจจะเป็นเพราะว่าผู้สร้างต้องการให้เห็นว่าการใช้ชีวิตที่อยู่ต่างบ้านต่างเมืองมันไม่สบายเหมือนอยู่บ้านเราก็ว่าได้นะ เพราะว่าถ้าอยู่ในไทยสื่อสารกันรู้เรื่องก็น่าจะสบายกว่านี้ (นี่ผมถามเองตอบเองเลยเหรอนี่) เมื่อดูเรื่องนี้จบผมก็ตั้งคำถามและพยายามหาคำตอบให้กับตัวเองหลายคำถามด้วยกัน เช่น ทำไมต้องเป็นผู้หญิง 2 คน? ทำไมไม่เป็นผู้ชาย 2 คน? หรือว่าเป็นชายหนึ่งหญิงหนึ่ง ก็อาจจะเป็นไปได้ว่า ถ้าเป็นผู้ชาย 2 คน และไปแสดงความรักเอื้ออาทรกันอย่างนี้ ก็อาจจะถูกมองว่าเป็นหนังประเภท ชายรักชายไป หรือถ้าชายหนึ่งหญิงหนึ่งก็จะมองไปทำนองหนีตามกัน เป็นเรื่องชู้สาวเข้ามาอีก แต่ถ้าเป็นหญิงกับหญิง จะถูกมองว่าเป็นหนังอย่างหญิงรักหญิงหรือเปล่าผมไม่แต่ที่คิดได้ตอนนี้ก็คือ ผมว่าผู้หญิงสามารถสื่อสารในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับครอบครัว หรือ ความรักได้ดีกว่าผู้ชายหลายเท่านัก เพราะผู้ชายส่วนมากจะไม่กล้าแสดงออกในประเด็นของครอบครัวและความรักเท่าผู้หญิง เพราะผู้หญิงจะถือว่าเรื่องพวกนี้เป็นเรื่องใหญ่ในชีวิตเลยทีเดียว อาจจะเป็นจุดนี้ก็ว่าได้ ที่ทางผู้กำกับจึงเลือกใช้ผู้หญิง 2 คนในการดำเนินเรื่องนี้ ในเรื่องนี้คุณต้นยังคงนำประเด็นของเรื่อง “เด็กดื้อ” มาใช้อยู่ ในเรื่องที่แล้ว (Seasons Change เพราะอากาศเปลี่ยนแปลงบ่อย) พ่อของต้น (พระเอกของเรื่อง) ไม่ต้องการให้ต้นได้เรียนด้านดนตรี แต่นก็ “ดื้อ” ที่จะเรียนให้ได้ เมื่อได้เรียนแล้วเจออุปสรรค ต้นก็ต้องพยายามทำให้พ่อเห็นว่าสิ่งที่เขาเลือกนั้นไม่ผิด และเขาต้องแสดงให้;เห็นด้วยว่า สิ่งที่เขาเลือกนั้นเป็นสิ่งที่ถูกต้องแล้ว กับเรื่องนี้ก็เช่นกัน นุ่น ที่ต้องการหนีเรื่องความรักไปเที่ยวต่างประเทศ ซึ่งผู้เป็นพ่อก็ไม่เห็นด้วย ที่จะปล่อยให้ลูกสาวไปอยู่ต่างประเทศ แม้ว่าจะมีคนอื่นไปเป็นเพื่อนด้วยก็เถอะ จะกินอย่างไร จะอยู่อย่างไร ล้วนแล้วเป็;นสิ่งที่คนเป็นพ่อทุกๆ คน เป็นห่วงลูก แต่อย่างว่า ห้ามก็แล้วดุก็แล้ว แต่ลูกกลับ “ดื้อ” จะต้องไปได้เมื่อไปแล้วก็ต้องแสดงให้เห็นว่า สามารถเอาตัวรอดได้และเธอต้องแสดงให้เห็นอีกว่า สิ่งที่เธอเลือกไว้นั้นไม่ใช่เรื่องที่เสียหายแต่อย่างใด นอกจากนี้ก็ยังมีคำถามมากมายอยู่ในหัว ที่ยังคงคิดหาคำตอบอยู่อย่างเช่น เธอสองคนอยู่เมืองนอกไม่ถึง 4 เดือน ไปอยู่แต่ละที่ก็ต้องหางานทำไปด้วยได้ครั้งละไม่เกิน 20 ยูโร แต่พวกเธอก็ยังสามารถไปเที่ยวที่นู้นที่นี้ได้อย่างสบายใจ ไปเอาเงินมากมายจากที่ไหนมาใช้จ่าย งานที่ร้านฟาบริซิโอหนักมาก ต้องใช้งานถึง 2 คน ด้านในคนด้านนอกคน ก่อนหน้านั้นใครเป็นคนช่วย และที่ขัดใจสุดๆ ก็ช่วงหลังทำไมเชอรี่ถึงให้ความสำคัญกับเพื่อนมากกว่าพ่อและน้องที่เป็นห่วงเป็นใยเธอตลอดเวลา (ฉากจบตอนอยู่สนามบิน) แล้วก็ยังมีคำถามอีกมากมายเลยทีเดียวคงบอกไม่หมดตรงนี้ ข้ามไปเลยแล้วกัน ไม่ใช่ว่าจะมีแต่ส่วนที่ขัดใจคนดูเท่านั้นนะ เรื่องดีๆ ก็มีหลายเรื่องเลยเรื่องนี้ อย่างเช่น ตอนพี่ทอมคั่วพริกให้เชอรี่ มีความรู้านคนไทยด้วยกัน มีความผูกพันกันอยู่เสมอไม่ว่าจะไปอยู่มุมไหนของโลก หรือตอนที่ เรย์กับเต้ยชูป้ายกัน ก็มีคนไทยแถวนั้นชูมือด้วย ดูแล้วรู้สึกอบอุ่นที่ตัวเราอยู่ไกลแสนไกล แต่ก็ยังมีคนไทยอยู่ใกล้ๆ หรือกับป้าที่เลี้ยงแมวที่อยู่หอพักเดียวกัน ตอนแรกๆ ก็รู้สึกว่าไม่กินเส้นกัน แต่สุดท้ายความเอื้ออาทรก็ยังคงมีให้เห็นอยู่ทุกมุมของโลก และเรื่องนี้ก็แสดงให้เห็นา กฎหมายของแต่;ละสถานที่เป็นสิ่งที่ทุกคนในสังคมนั้นๆ ต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด ตัวอย่างเช่น ตอนที่เชอรี่ต้องไปซื้อยาให้นุ่น แต่ไม่มีใบสั่งยาจากแพทย์ทางร้านก็ไม่สามารถขายให้ได้ไม่ว่าจะกรณีใดๆ ก็ตาม ก็ขอคุยกันแค่หอมปากหอมคอแล้วกันสำหรับหนังเรื่องนี้ ไม่ใช่ไม่ชอบนะครับ เพียงแต่มีเรื่องที่ขัดใจเยอะไปหน่อย เพราะยังไงผมก็ยังคงสนับสนุนหนังไทยทุกเรื่องอยู่ดี... ขอให้สนุกกับการดูหนังเรื่องนี้นะครับ
Advertisement

บมวิจารร์โดย TCK E-mail :TCK05@sanook.com

อัลบั้มภาพ 6 ภาพ

อัลบั้มภาพ 6 ภาพ ของ วิจารณ์หนัง หนีตาม กาลิเลโอ

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
kookkak

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เราใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดบน
เว็บไซต์ของเรา โปรดศึกษาเพิ่มเติมที่
นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้