แนวโน้มหนังปี53 ของค่ายใบโพธิ์ กับ เสี่ยเจียง

แนวโน้มหนังปี53 ของค่ายใบโพธิ์ กับ เสี่ยเจียง

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

สถานการณ์โดยรวมของ สหมงคลฟิล์มใน 1ปีที่ผ่านมาเป็นอย่างไรบ้าง เสี่ยเจียง: ก็โอเคๆพอใช้ได้ ไม่ค่อยตรงตามเป้า เพราะปีนี้เศรษฐกิจไม่ค่อยดี สถานการณ์บ้านเมืองก็แย่ มันยุ่งไปหมด ทำให้คนดูไม่ค่อยออกมาดูหนังเท่าที่ควร ถือว่าพลาดเป้าไปพอสมควร ได้ แต่ไม่สมหวัง หนังได้แค่90-100 ล้านซึ่งน่าจะได้120 ล้านอย่าง วงษ์คำเหลา หรือทไวไลท์นิวมูนหวัง150ล้าน ได้แค่100 ล้าน เรากะว่าได้100 แต่ได้มา80 ก็เสียหาย แต่ถือว่าโดยรวมแล้วไม่ขาดทุน ต่ำกว่าเป้าไป20เปอร์เซ็นต์ คิดว่าเป็นเพราะกลยุทธ์ที่วางไว้ทำให้รายได้ไม่ตามเป้า เสี่ยเจียง: ผมว่าทุกเรื่องที่เราทำ ผมว่ากลยุทธ์เราก็ดีอยู่แล้ว ก็เหมือนทุกครั้ง แต่ผมว่าปัญหาบ้านเมืองเรา เศรษฐกิจเรา ซึ่งเราต้องคิดตรงนี้ด้วย คือคนไม่อยากใช้เงิน และแผ่นซีดีผีก็มีส่วนที่ทำลายหนังเรา จนถึงวันนี้กี่ปีมาแล้ว ผมเสียเงินเฉพาะจับแผ่นซีดีก็ยังจับไม่ได้ พอจับได้แล้ว ปัญหาเยอะ ก็ยังแก้ไม่จบ เรารอสมาพันธ์ผลักดันกฏหมายตรงนี้ออกมา หนังประเภทไหน แนวไหน ในปีที่ผ่านมาขายดี ทำเงินได้ดีในระดับที่เป็นที่พอใจ เสี่ยเจียง: ก็แนวตลก แต่แนวบู๊อย่างจีจ้าผิดหวังหน่อย หวังไว้มาก แต่อาศัยที่หนังจีจ้ายังขายเมืองนอกได้ ปีที่ผ่านมาทางสหมงคลฟิล์มมีหนังทั้งหมดกี่เรื่อง เสี่ยเจียง: ถ้าในส่วนของหนังไทยก็12-15 เรื่อง จำนวนเท่ากับปีก่อน คือจำนวนหนังของบริษัททุกปีก็จะพอๆกัน อย่างหนังไทยปีหน้าดีขึ้น หนังฝรั่งปีหน้าก็ใหญ่ขึ้น ปีหน้าเป็นปีที่บริษัทหวังมาก ว่าจะต้องทำให้ดีที่สุดตั้งแต่มีหนังมา เพราะตัวหนังใหญ่ขึ้น แล้วเราดึงหนังมาที่ปีหน้าเยอะ ในส่วนของทางเมืองนอกเองหนังใหญ่ๆที่เราซื้อสร้างเสร็จปีหน้าก็เยอะ แล้วหนังใหญ่ของบริษัทเมเจอร์เขาจะเสร็จอีกปีหนึ่งเขาไม่เสร็จปี53 แต่จะเสร็จปี54 หนังใหญ่เขาก็สร้างนาน อย่างปีหน้าเสี่ยวางแผนรับมือกับเศรษฐกิจแบบนี้อย่างไรบ้างกับหนังของทางสหมงคลฟิล์มเอง เสี่ยเจียง: ก็พยายามหาวิธีรับมือในทุกๆด้าน เพราะหนังของบริษัทเองมีทั้งในส่วนของหนังไทยที่บริษัทผลิตเอง และหนังต่างประเทศที่เราซื้อมาฉาย ก็คิดหาวิธีตั้งแต่การวางแผนการสร้างหนัง การอนุมัติโปรเจ็คต์ต่างๆ ไปจนถึงการวางโปรแกรมฉาย อย่างหนังต่างประเทศที่เราซื้อมาฉายก็มีการเจรจา พูดคุย ต่อรองกับบริษัทที่เราซื้อมา ซึ่งส่วนใหญ่ก็เป็นบริษัทคุ้นเคยกันอยู่เพราะซื้อหนังกันมาเป็นสิบๆปีอยู่แล้ว แล้วปีๆหนึ่ง เฉพาะหนังต่างประเทศก็เป็นร้อยๆเรื่อง ซึ่งเขาก็เข้าใจ เพราะต่างประเทศเองเศรษฐกิจก็ไม่ดี คนซื้อน้อยลง บริษัทหนังต่างๆทั้งเขาทั้งเราก็ต้องมีการปรับตัวรับกับสถานการณ์ การวางโปรแกรมฉายก็มีส่วนสำคัญ นอกเหนือจากการเลือกซื้อหนัง เพียงแต่ว่าหนังต่างประเทศ มีวันวันฉายในเมืองนอกเป็นเงื่อนไขสำคัญ ซึ่งก็ต้องดูความเหมาะสมว่าวันที่เข้าฉายในอเมริกากับโปรแกรมฉายในบ้านเราเป็นอย่างไร โดยที่เราเองก็ต้องไม่วางโปรแกรมนกับหนังไทยที่เป็นหนังใหญ่ของเรา ที่สำคัญฉายช้าก็ไม่ได้ ไม่งั้นโดนแผ่นผีตีหมด ทางด้านหนังไทยต้องคิดต้องวางแผนล่วงหน้าว่าหนังที่เราจะสร้างจะฉายในสถานการณ์แบบนี้ควรเป็นหนังแบบไหน แนวไหน ใช้ทุนสร้างเหมาะสมกับหนังแต่ละประเภท อย่างหนังที่เข้าฉายปีหน้าก็จะเป็นหนังที่บริษัทวางแผนไว้ก่อนหน้านี้แล้ว ส่วนใหญ่ก็ปิดกล้องถ่ายทำไปแล้ว อย่างครูบ้านนอกบ้าน :หนองฮีใหญ่ ที่เข้าหลังปีใหม่ ,ฮูอาร์ยู ฉายปลายก.พ.,นาคปรกที่ฉายแน่นอนเดือนมี.ค.หรือสาระแนสิบล้อที่ถ่ายอยู่ตอนนี้จะเข้าฉายประมาณเดือนเม.ย. หรือหนังใหญ่อย่างองค์บาก3 และตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช3-4 ที่ถือว่าเป็นหนังใหญ่ปีนี้ของบริษัท ส่วนหนังที่อนุมัติแล้วก็จะมีที่อยู่ในระหว่างการถ่ายทำ และที่กำลังจะเปิดกล้องเพื่อถ่ายทำในปีหน้า แต่จะไปฉายในปี54

แต่จะไปเน้นหนังแนวไหนมากขึ้นเป็นพิเศษไหม เสี่ยเจียง: จริงๆ บริษัทมีหนังทุกแนว ไม่ได้เฉพาะเจาะจงที่แนวไหนเป็นพิเศษ ทั้งในส่วนของหนังไทยที่บริษัทสร้างเอง หรือหนังต่างประเทศที่บริษัทซื้อมาฉาย พูดได้ว่าบริษัทเราเป็นบริษัทหนังที่ครอบคลุมคนดูทุกกลุ่ม ทั้งหนังแอ็คชั่น,ชีวิต,ตลก,ผี,ครอบครัว,แอนิเมชั่น,วัยรุ่น,รัก ไม่ได้มีแต่หนังแอ็คชั่นหรือหนังบู๊อย่างเดียว เราเน้นที่ความหลากหลาย เรามีทั้งหนังที่หวังคนดูเมืองไทย กับหนังที่เราทำมาเพื่อหวังตลาดต่างประเทศอย่างหนังที่ใหญ่มากๆของเราอย่างตะแบงมาน หรือหนังที่ตั้งใจจะเอาจากับจีจ้ามาเล่นด้วยกัน แค่2เรื่องนี้ก็ลงทุน400-500 ล้าน เราก็จะมีแนวความคิดที่จะชวนต่างชาติให้มาร่วมลงทุนด้วยกัน คืออย่างน้อยๆบริษัทต้องมีหนังแอ็คชั่นใหญ่ๆ2 เรื่องเพื่อโรดโชว์ต่างประเทศเป็นหนังที่เราหวังรายได้จากเมืองนอกเป็นหลัก นอกจากในส่วนของโปรเจ็คต์ที่สร้าง แล้ว ทางสหมงคลฟิล์มเอง มีวิธีป้องกันความเสี่ยงอย่างไร เสี่ยเจียง: คิด คิดมากจริงๆ ผมเรียกปรัชญา ปิ่นแก้วรวมถึงทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับการสร้างมานั่งคุยกัน ต้องหาทางแก้ไขตรงนี้ 1.ลดต้นทุนหน่อย แต่คุณภาพต้องดีกว่าเก่า ใช้กล้องดิจิตอล แทนการใช้กล้องฟิล์ม หรือคุยกับแล็ปให้เขาหาทางช่วยเหลือในการลดราคาในฐานะที่เป็นลูกค้าประจำ โดยไม่ได้ลดคุณภาพงานลง พยายามแก้ไขทุกส่วน แต่ไม่ได้ลดคุณภาพ การที่มีการหันมาใช้กล้องดิจิตอลมากขึ้น สะท้อนถึงการเปิดโอกาสให้ผู้กำกับหน้าใหม่ๆ ที่ทำหนังอิสระ ใช้กล้องดิจิตอล ทำหนังอินดี้มารองรับการทำหนังให้บริษัทด้วยไหม เสี่ยเจียง: ก็ใช่ ผกก.ใหม่ ผกก.หนังอินดี้เราก็รับ หลายเรื่อง ปีหน้าเราจะมีของใหม่ เราเป็นบ.ที่ไม่ได้ทำหนังอยู่กับที่ที่เดียว ไม่ใช่ทำหนังบู๊ก็จะมีแต่หนังบู๊อย่างเดียว เรามีทั้งตลก บู๊ ชีวิต เรื่องจริง ผี เรามีทุกรสชาติ เพราะเราชอบสร้างหนังหลากหลาย เพื่อให้คนดูดูได้หลากหลาย ไม่ใช่เราทำหนังบู๊แต่บู๊อย่างเดียว คาดว่าปีหน้าจะใช้เงินลงทุนสร้างหนังทั้งหมดเท่าไหร่ เสี่ยเจียง: ก็น่าจะประมาณ1000ล้านจากหนังประมาณ 15เรื่องในส่วนของหนังไทยนะ แล้วในส่วนของหนังต่างประเทศ ลดจำนวนการเลือกซื้อน้อยลงด้วยไหม เสี่ยเจียง: ไม่ลดลง ก็ซื้อเท่าเดิม แต่คงต้องให้ราคาที่ซื้อลดลงมาด้วย คือเราก็คุยกับผู้สร้างต่างประเทศตรงๆ เขาก็รู้ตัวเขาเอง เขาก็เห็นใจ คาดหวังรายได้ที่จะกลับมาในปีหน้าอย่างไรบ้าง เสี่ยเจียง: คงต้องมากกว่าที่ผมลงทุนไป เพราะถ้าไม่ได้เราก็ลำบาก ก็อยากได้มากกว่าทุนสัก2 เท่า อย่างปีๆหนึ่งรายได้อยู่ที่ประมาณพันกว่าล้าน โดยเฉพาะปีหน้าเป็นปีที่ตัวหนังcompleteที่สุดทั้งหนังไทยและเทศ อย่างหนังเทศ TWILIGHT SAGA:ECLIPSE,ขงจื้อ(CONFUCIUS) หนังใหญ่ของโจวเหวินฟะ,เรสซิเดนท์อีวิวผีชีวะ4(Resident Evil 4 : Afterlife) ,เสี้ยวลิ้มยี่ (SHOLIN TEMPLE) มีหลิวเต๋อหัวกับเฉินหลง ซึ่งสมัยก่อนเป็นหนังที่ทำให้เจ็ทลีแจ้งเกิด คิดว่าเวอร์ชั่นใหม่น่าจะดีกว่า มีหนังเฉินหลงที่ทำกับฮอลลีวู้ดเรื่อง THE SPY NEXT DOOR และมีอีกเยอะ ในส่วนของหนังไทยการที่สหมงคลฟิล์มมีหนังอย่างครูบ้านนอก สะท้อนให้เห็นว่าปีหน้าสหมงคลฟิล์มจะหันมาสร้างหนังอย่างครูบ้านนอกมากขึ้นรึเปล่า เสี่ยเจียง :จะมีหนังอย่างครูบ้านนอกมากขึ้นหรือไม่ ให้มองอย่างนี้ดีกว่า มองว่าบริษัทก็มีหนังแบบนี้เหมือนกัน บางจังหวะเราก็มีหนังแบบนี้ อย่างหนังทำเพื่อชาติ เราไม่ได้เน้นว่าอยู่ๆบริษัทจะไปหาหนังอย่างครูบ้านนอกทั้งหมด ไม่ใช่ แต่จังหวะที่มีผู้กำกับเสนอเรื่องมา แล้วใจเราเองก็หวังว่าอยากทำหนังอย่างนี้บ้าง อย่างน้อยก็เป็นเรื่องที่ถือได้ว่าเป็นการสร้างสรรค์อย่างหนึ่งให้คนรู้ โอเคก็พอสมควร รัฐบาลกระทรวงวัฒนธรรมเขาก็ให้ความช่วยเหลือ ซึ่งการที่รัฐบาลมาช่วยเราก็ต้องดู คงไม่ได้ทุกเรื่อง คุยเป็นเรื่องๆ อย่างหนังทำเพื่อสังคม ทำเพื่อชาติ อย่างองค์บาก ก็ยังไม่แน่เราก็ทำเรื่องเข้าไปหา หรืออย่างเรื่องอีนาง(WHITE BUFFALO) เป็นหนังที่เกี่ยวกับฝรั่งมาอยู่เมืองไทยแล้วชอบผู้หญิงเมืองไทยอีสาน ผกก.ชื่อเก่ง(ชิโนเรศ คำวันดี) ซึ่งกำลังจะเปิดกล้องต้นปีหน้า หรืออย่างเรื่องฮูอาร์ยู(สินจัยแสดงนำ บทภาพยนตร์โดยเอกสิทธิ์ ไทยรัตน์จาก 13 เกมสยอง) คุณคอยดู หนังเรื่องนี้ไม่เหมือนใคร ไม่ใช่หนังผี คุณอย่าคิดว่าเป็นหนังผี ผมว่าพวกคุณน่าจะทันหนังเรื่องไซโคของอัลเฟรด ฮิชคอกซ์ หนังที่คุณดูแล้วต้องเขย่าขวัญ นึกไม่ถึง ผมว่าเป็นหนังที่น่าดูมาก ผมได้ดูแล้ว หนังแบบนี้เราก็ทำ คือบริษัทไม่ทำหนังเลียนแบบใคร ไม่ใช่ว่าหนังวัยรุ่นประสบความสำเร็จก็จะแห่ไปทำหนังวัยรุ่น เราก็มีวัยรุ่นแบบเรา(เฟิร์สเลิฟ นำแสดงโดยมาริโอ้ เมาเร่อ) หนังอะไรแปลกๆใหม่ๆก็มีหนังคนอื่นไม่ทำแต่เราทำเพื่อสังคมก็มี หนังฟอร์มยักษ์ ก็ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช3-4 ,หนังบู๊เราก็มี องค์บาก3 จา พนมปะทะ เดี่ยวชูพงษ์,โคตรโส หนังแอ็คชั่นกำกับโดยพันนา ฤทธิไกรปั้น9แอ็คชั่นฮีโร่พร้อมด้วยกระแต ศุภักษร,สรพงศ์ ชาตรี,เสนาหอย ด้านหนังตลกก็มีในแบบของเรา มีทั้งโป๊ะแตก หนังตลกที่กำกับโดยหม่ำ มีแสดงคู่กับป๋าเทพ แล้วก็มีพวกนักแสดงตลกทั่วฟ้าเมืองไทยอย่าง เท่ง,โหน่ง,โน้ต,เป็ด,ถั่วแระเชิญยิ้ม ค่อม ชวนชื่นฯลฯ,สาระแนสิบล้อ ก็มีมาริโอ้,ชมพู่,โก๊ะตี๋,วิลลี่,เปิ้ล,หอย ส่วนหนังที่ทำกับเวิร์คพอยท์ก็มีตุ๊กกี้เจ้าหญิงขายกบ,พระเท่งโยมโหน่ง หนังดราม่าแอ็คชั่น ก็อย่างนาคปรก มี เต๋าสมชาย เต้ปิติศักดิ์ ,เร แมคโดนัลด์,ทราย เจริญปุระก็จะเข้าปีหน้า

แล้วในปีหน้าถ้าสถานการณ์บ้านเมืองเศรษฐกิจที่ยังไม่นิ่งคาดว่าจะส่งผลต่อรายได้หนังใหญ่ๆอย่าง นเรศวร ไหม เสี่ยเจียง: ในใจเราคิดว่าไม่น่าเป็นไร ด้วยความรู้สึกนะ สำหรับนเรศวร เพราะรู้สึกว่าคนไทยตั้งหน้าตั้งตารอดูอยากรู้ว่าตอนยุทธหัตถีจะเป็นอย่างไร พูดถึงโครงการร่วมทุนสร้างหนังกับต่างประเทศ ทางสหมงคลฟิล์มมีนโยบายหรือทิศทางในการร่วมทุนสร้างหนังหรือไม่อย่างไร เสี่ยเจียง: ก็มีปีหน้าก็จะเริ่มให้จาเล่นกับจีจ้า เป็นหนังใหญ่ เป็นจากับพันนาทำ แล้วก็ตะแบงมาน มีจีจ้า ซึ่งสร้างมาเพื่อตลาดเมืองนอก เฉพาะสองเรื่องนี้อย่างน้อยๆก็ต้องมี400-500ล้าน ในปีๆหนึ่งบริษัทต้องมีหนังบู๊2เรื่อง เพื่อที่จะเอา2 เรื่องนี้ไปโชว์เมืองนอกให้ได้ โดยเฉพาะตะแบงมาน ก็จะมีการร่วมทุนซึ่งตอนนี้มีการพูดคุยกัน4-5ประเทศ การที่จะเอาทีมงานหรือนักแสดงต่างประเทศมาร่วมด้วยยังอยู่ในช่วง ซึ่งเป็นโปรเจ็คต์ใหญ่ของเรา แค่เฉพาะเตรียมงานก็มีการพูดคุยกันมา3ปีแล้ว แต่คงไม่ได้ฉายปีหน้าต้องอีกปี แต่จะถ่ายปีหน้า คิดว่าปีหน้าวงการหนังจะมีการแข่งขันกันเยอะไหม เสี่ยเจียง: ผมว่าเยอะนะ คนคิดจะสร้างหนังขึ้นมาอีกเยอะ มันดี เพราะฉะนั้นการที่จะมีคนมาทำหนังเยอะๆ นี่ถือว่ายังน้อย ถ้าคุณย้อนไป พวกคุณไม่ได้อยู่ในยุค 16มม. ที่เขาทำหนังกันใหม่ๆ ปีหนึ่งมีหนังไทยเป็นร้อยๆเรื่อง เดี๋ยวนี้หนังไทยปีหนึ่งอย่างมาก50-60เรื่อง วัฏจักรก็เป็นอย่างนี้ ตลอดเวลา วันหนึ่งมันอาจจะกลับมาก็ได้ เมื่อก่อนทำหนังเรื่องหนึ่งอย่างแผลเก่า ใช้เงิน 1ล้าน8แสนบาท ยุคสมัยเปลี่ยนไปเรื่อยๆแต่ยุกคนี้หนังไทยยังไม่เท่าสมัยก่อน ที่มีหนังไทยเข้าทุกอาทิตย์ แต่สมัยก่อนทุนสร้างของหนังไม่สูงเท่าสมัยนี้ อย่างพันนาสมัยก่อนทำหนังเรื่องหนึ่ง 8 แสน ผมยังไม่ทำเลย เพราะตอนนั้นเรายังไม่อยากทำ เมื่อก่อนหนังเรื่องหนึ่งทำอย่างมาก7-8ก็อปปี้ฉายได้ทั้งประเทศ เพราะไม่ต้องฉายพร้อมกันหมด แต่ปัจจุบันสร้างหนังเรื่องหนึ่งอย่างหนังจา พนมกว่าจะฉายทั้งประเทศหมด ใช้ไป200ก็อปปี้ แต่คุณรู้ไหมว่าปัจจุบันค่าก็อปปี้เรื่องหนึ่งเท่ากับสร้างหนังเมื่อก่อนได้2เรื่อง แต่กรณีที่ก็อปปี้เยอะเวลาหนังทำรายได้ขึ้นมาก็จะเก็บได้ถึงวันละ10-15ล้านบาท ซึ่งเราต้องคิดว่าภาพหนังจะออกมาเป็นอย่างไร ต้องมองให้ออก ต้องเป็น เกิดอะไรขึ้นทำไมตอนนี้มีผู้สร้างรายใหม่ๆเกิดขึ้นมา เสี่ยเจียง: การทำหนังคนนอกอยากเข้าคนในอยากออก แต่ว่าทำหนังแล้วมีชื่อเสียง คนบ้านเราเป็นคนมีเงินเยอะ ที่เขาอยากเข้ามาทำเพราะเขาอยากมีชื่อเสียง แต่คนในอยากออกเพราะว่าการทำหนังเหนื่อยมาก ไม่ใช่หมูๆ คุณเชื่อผม การทำหนัง คำว่าหนัง มันก็2ชั่วโมง ขายตั๋วใบละ100กว่าบาทเหมือนกัน เพียงแต่หนัง แต่ละเรื่องบางครั้งการสร้างออกมาเป็นหนังแต่ละเรื่องต่างกันฟ้ากับดิน 5ล้านก็สร้างได้เรื่องหนึ่ง 15 ล้าน 100 ล้าน 500ล้านเดี่ยวก็มีเวลาเท่ากัน2ชั่วโมง ปัญหาคือคนทำหนังต้องเข้าใจเราทำ5 ล้าน ถ้าเรามีสมองคิดก็อาจได้เงิน ต้องคิดเป็น ดูหน้าหนังเป็น คนทำต้องเข้าใจเพราะในความเป็นจริงเราไม่สามารถห้ามผู้สร้างแต่ละคนได้

ไม่กลัวว่าจะมาแย่งคนดูหนังเหรอ เสี่ยเจียง: ไม่กลัวหรอก การทำหนังขึ้นอยู่กับคนทำ ความเข้าใจ เราต้องเข้าใจการทำหนังนะ ไม่ใช่อยากจะสร้างก็สร้างมา อย่างบริษัทปีหนึ่งสร้างหนัง12-15เรื่อง แต่ละเรื่องก็จะมีจุดประสงค์ หรือเป้าหมายแตกต่างกัน อย่างหนังที่มีเป้าหมายสำหรับตลาดต่างประเทศ ควรเป็นหนังในแนวทางไหน เนื้อหาเรื่องราวเป็นอย่างไร ทำไมต้องเป็นหนังแอ็คชั่น ใครเล่น ต้องใช้ทุนสร้างในสเกลขนาดไหน อย่างทำไมหนังอย่างองค์บาก2-3,ต้มยำกุ้ง ต้องใช้ทุนสร้างหลายร้อยล้าน หรือถ้าเป็นหนังที่มองตลาดคนดูเมืองไทยควรเป็นหนังแบบไหนที่คนดูชอบ จะเอาดาราคนไหนมาเล่น ดึงคนดูไหม เนื้อหาของเรื่องราวเป็นอย่างไร ใครควรกำกับ หน้าหนังเป็นอย่างไร เหมาะสมไหม แต่ในขณะเดียวกัน เราก็ต้องกล้าคิด กล้าทำว่า แล้วหนังแบบไหนที่น่าจะสร้างขึ้นมา นอกเหนือจากหนังที่มีอยู่แล้ว ไม่ใช่ว่าจะทำแต่หนังแอ็คชั่น หรือทำแต่หนังตลก เราต้องมองให้ออก โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริษัทเราสร้างหนังปีหนึ่งหลายเรื่อง ต้องเน้นที่ความหลากหลาย ทำให้บริษัทเราไม่อยู่กับที่ พูดได้ว่าบริษัทสหมงคลฟิล์มสร้างหนังทุกแนว เพราะฉะนั้นการทำหนังก็ต้องมีความเข้าใจ เราจะเข้าใจมันขนาดไหน ถ้าคนทำไม่เข้าใจภาพหนังออกมาก็ไม่ดี โรงหนังเขาก็เสียหาย ผมอยากจะชวนคุณมาทำหนัง แต่ต้องเข้าใจว่าการทำหนังทำอย่างไร จะทำให้ใคร ทำเพื่ออะไร รายได้ของสหมงคลฟิล์มจากการขายหนังไทยในต่างประเทศในรอบปีที่ผ่านมาเป็นอย่างไรบ้าง เสี่ยเจียง: รายได้จากการขายต่างประเทศก็ไม่น้อยนะ เพียงแต่ในปีนี้ต่างประเทศก็ไม่ดี เศรษฐกิจบ้านเขาก็ไม่ดี ตัวเลขซื้อขายของเขาก็ตกไปถึง20-30% เหมือนกันนะ อย่างเราไปอเมริกาเที่ยวนี้มา เราไปตั้งบูธขาย ปีที่ผ่านมาทุกวันจะมีลูกค้าเข้ามาในบูธเต็ม กลับเป็นว่าลูกค้าที่เข้ามาก็พร่องไป20-30% คือบางประเทศเขาไม่มา เมื่อก่อนมาทุกประเทศหรือบางประเทศมาบ้างไม่มาบ้าง 100ประเทศมา100คน แต่เดี๋ยวนี่มา70คน อีก30คนหายไป คนซื้อหนังก็น้อยลงเมืองนอกก็เป็นเหมือนเรา ก็ตก ขายได้ไม่ดีเท่ากับที่แล้วๆมา ตัวเลขรายได้ลดลงกว่าเดิม เพราะเมืองนอกเศรฐกิจก็ไม่ดี อย่างนี้ปีหน้าการขายหนังอย่างองค์บาก3 สำหรับต่างประเทศจะมีปัญหาไหม เสี่ยเจียง: ก็ยังไม่รู้ เราจะเริ่มรู้ที่เมืองคานส์ เดือนพ.ค.นี้ที่เราจะไปเมืองคานส์ และเผอิญเป็นหนังองค์บาก3ที่เรายังไม่ได้มีการขายก่อน แต่ตอนภาค2เป็นการขายก่อน ภาค3เราจะเริ่มเปิดการซื้อขายที่เมืองคานส์โดยเราจะเอาหนังทั้งเรื่องไปเลย เพราะถึงเวลาตรงนั้นหนังเราเสร็จแล้ว เพราะฉายเมืองไทยเดือนพ.ค. ทำไมไม่ขายก่อนเหมือนภาค2 เสี่ยเจียง: เพราะเป็นช่วงเวลาที่เมืองนอกเองเศรษฐกิจไม่ค่อยดี และเป็นหนังภาคต่อ ธรรมดาหนังเมืองนอกสร้างกันจะไม่เหมือนเมืองไทยเขาจะเว้นช่วงห่างกัน3-4ปี พอหนังภาค2เราเสร็จเราจะขายภาค3เลยก็ไม่ดี และอีกอย่างตอนเราจบภาค2 จะขายภาค3ภาพหรือตัวอย่างเราก็ยังไม่มี เพิ่งจะได้ภาพออกมาตอนไปอเมริกานี่เอง ก็ขายได้นิดหน่อย ยังไม่เห็นอะไร เริ่มจะเห็นจริงจังเดือนพ.ค.นี้ ในส่วนรายได้ขององค์บาก2ในต่งประเทศเป็นอย่างไรบ้าง เสี่ยเจียง: ในส่วนรายได้ภาค2 ต่างประเทศถือว่าดี แต่ยกเว้นอเมริกา เราผิดพลาดเองที่เราสร้างไม่เสร็จตามสัญญา ก็เลยขอเลิก ก็เลยไปฉายอเมริกาแบบฉายแบ่ง เขาไม่ได้ซื้อ เพราะถ้าตอนนั้นจาเขาสร้างเสร็จตามสัญญา เราก็คงได้ในส่วนของอเมริกา ถามว่าโอเคไหม ไม่โอเคหรอก หนังลงทุนเฉพาะถ่ายทำ300กว่าล้านถ้ารวมต้นทุนก็อปปี้ หนังเรื่องนี้ต้องมีอย่างน้อย400กว่าล้าน แล้วทำรายได้ในเมืองไทย100กว่าล้าน แล้วต้องหาทุนอีกตั้ง200-300กว่าล้าน การขายหนังเมืองนอกไม่ได้ขายทีเดียวหมด ในโลกนี้ปีหนึ่งๆจะมีงาน เมืองคานส์ อเมริกา เบอร์ลิน เวนิส ทางเอเชียก็ญี่ปุ่น เกาหลี ทุกครั้งที่มีงานบริษัทก็จะมีทีมงานไปตั้งบูธขาย

อย่างนี้ภาค3มีการตั้งเป้าไว้ไหม เสี่ยเจียง: เรามีฟุตเตจที่มาจากตอนถ่ายภาค2 บ้างทำให้การลงทุนภาค3ไม่ต้องใช้เงินลงทุนถึง300-400 ล้าน ใช้เงินแค่กว่า100-200กว่าล้านก็พอ โดยเราตั้งเป้าว่าเราไม่น่าขายต่ำกว่าภาค2 ถ้าเราได้รายได้ทุกอย่างเหมือนภาค2 เรื่องนี้จะประสบความสำเร็จและน่าจะทำรายได้ให้กับบริษัทพอสมควรเราประสบความสำเร็จ แล้วอย่างตำนานสมเด็จพระนรเศวรมหาราช3-4 ทางสหมงคลฟิล์มก็จะเป็นคนนำไปขายในตลาดต่างประเทศด้วย เสี่ยเจียง: ก็ขายบ้าง แต่หนังอย่างนเรศวรต้องยอมรับว่าเป็นเรื่องราวที่เกี่ยวกับเรา เหมือนกันอย่างหนังมังกรกู้ชาตินั่นคือหนังของจีนแดง เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับบ้านเมืองของเขา รายได้ในประเทศจีนดี แต่ออกมารอบนอกไม่ใช่ ส่วนนเรศวรเมืองไทยถือว่าดี แต่สำหรับเมืองนอกต่างกัน เพราะต่างชาติเขาไม่เข้าใจ ไม่รู้เรื่องราวที่เกิดขึ้นในประวัติศาสตร์ของไทย นี่คือปัญหาในการขายหนังเรื่องนเรศวรในต่างประเทศ ในฐานะที่เสี่ยคร่ำหวอดอยู่ในวงการมานานคิดว่าสถานการณ์เศรษฐกิจปีหน้าจะทำให้วงการหนังไทยพลิกฟื้นขึ้นมาได้ไหม เสี่ยเจียง: เราก็หวังนะ แต่ปัญหาบ้านเมืองเศรษฐกิจต้องนิ่ง ถ้าทุกอย่างดีขึ้น หนังไทยดีแน่ หนังไทยเราสมัยก่อนสู้หนังฝรั่งไม่ได้นะ แต่วันนี้เราชนะหมดแล้ว ยิ่งต่างจังหวัดรอบนอก หนังไทยเรามา ยิ่งปีหน้าไปชนกับบอลโลกด้วย เสี่ยเจียง: เราก็ต้องคิด อย่างช่วงระหว่างบอลโลกต้นเดือน6ถึงต้นเดือน 7จะเอาหนังอะไรไปรับกับบอลโลก อันนี้เริ่มคิดแล้วนะว่าช่วงนี้อย่าไปสู้ เดิมเราวางองค์บาก3ไว้เข้าพรรษา ยังเอาออกมาเลย แต่บังเอิญมีหนังฝรั่งเรื่องหนึ่งที่ต้องชนคือทไวไลท์ภาค3 (Twilight Saga:Eclipse) ซึ่งเมืองนอกเข้าเดือนก.ค.บอลโลกยังไม่จบ เราจะฉายช้ากว่าเมืองนอก เดี๋ยวแผ่นผีก็เข้ามา เรื่องนี้อาจจะต้องเสี่ยงสู้ฉายพร้อมกันกับบอลโลก ส่วนหนังไทยก็เลี่ยงไปนเรศวร3ตกลงไปเข้าวันแม่ ส่วนภาค4ฉาย4ก.ย. ส่วนองค์บาก3 กลับมาเข้าพ.ค. บริษัทอย่างคู่แข่งมีกลยุทธ์ มีการปรับตัว อย่างจีทีเอชปีนี้ก็มุ่งทำแต่หนังที่ตอบโจทย์ตลาดคนเมือง ส่วนพระนครฟิล์มก็หันมาทำหนังใหญ่ สหมงคลฟิล์มมีความคิดอย่างไร เสี่ยเจียง: ทุกคนก็มีสิทธิ์ แล้วแต่ตัวเจ้าของแต่ละบริษัทมีมุมมองความคิดอย่างไร พูดถึงเทรนด์ของหนังปีหน้า อย่างปีที่ผ่านมา รถไฟฟ้าพุ่งมาก จะส่งผลให้สหฯมีหนังแนวนี้มากขึ้นไหม เสี่ยเจียง: ผมเฉยๆ นะ เขาทำหนังของเขาได้ตังค์ก็ดี เราก็ดีใจ แต่วิธีการทำหนังแบบเขาเราไม่ควรเลียนแบบ เราน่าจะใช้วิธีการของเรา เพราะแต่ละบริษัทก็มีความคิดต่างกัน คุณลองคิดดูกลับกัน ถ้าทุกบริษัทหนังในบ้านเราทำหนังอยู่แบบเดียว หนังไทยก็จะไม่แตกต่าง เราก็จะไม่มีหนังบู๊แบบจาพนมอย่างองค์บาก ,ต้มยำกุ้ง หรือหนังของมะเดี่ยวอย่างรักแห่งสยาม,หรือหนังตลกที่หม่ำกำกับ หรือแม้แต่หนังอย่างสาระแน ตัวบริษัทเองทำหนังมานาน ตัวผมอยู่กับการซื้อขายหนังทั้งไทย,ฮอลลีวู้ด,หนังจีน บริษัทไม่ได้เพิ่งมาเริ่มต้นทำหนัง เมื่อก่อนหนังแบบหนึ่งอาจประสบความสำเร็จ วันนี้หนังแบบนี้อาจประสบความสำเร็จ ผมเชื่อว่าเราไม่ควรทำหนังแค่แบบเดียว ไม่ใช่ว่าทำแต่แอ็คชั่นหรือบู๊ บริษัทไม่เคยทำหนังอยู่กับที่ บริษัททำหนังทุกแนว จุดยืนที่เป็นนโยบายสำคัญของบริษัทคือมุ่งสร้างหนังโดยเน้นความหลากหลาย สิ่งที่ผมพยายามกำชับผกก.คือเราต้องพยายามคิด รวมรวมไอเดีย เลือกทำเรื่องที่มันเป็นเรื่องใกล้ตัว เรื่องที่เกิดในเมืองไทย เอาสิ่งนี้ไปเป็นแง่คิด ไปเป็นแนวทาง ต้องคุยกันอย่างนี้ เพียงแต่ว่าเรื่องใกล้ตัวแบบไหนที่คุณจะหยิบขึ้นมาคิด แบบไหนที่น่าจะทำ บริษัทสหมงคลฟิล์มตั้งแต่ทำหนังมาไม่เคยเลียนแบบใคร เราสร้างของเราเอง แล้วแต่ บางคนอาจเจาะตลาดตรงนี้แล้วได้เงิน เราอาจเจาะตลาดครูบ้านนอกแล้วได้เงินก็ได้ อันนี้แล้วแต่ละคนคิด เพียงแต่ผมมองว่าควรทำหนังที่นำเสนอเรื่องใกล้ตัว อย่าไปทำหนังที่ไกลตัว และไม่ควรอยู่กับที่ นี่คือสิ่งที่ผมพยายามบอกผกก.ของเรา อย่างปีหน้า บริษัทมีหนังรักอีสานเรื่อง อีนาง(WHITE BUFFALO โปรเจ็คต์หนังรักที่ตัวบทภาพยนตร์คว้ารางวัลจากการประกวดบทภาพยนตร์ยอดเยี่ยมของสมาคมผู้เขียนบทภาพยนตร์แห่งประเทศไทยซึ่งมีนนทรีย์ นิมิบุตร เป็นประธานกรรมการ ,เป็นเอก รัตนเรืองเป็นกรรมการ) นี่ก็เป็นเรื่องใกล้ตัวเป็นเรื่องของอีสาน ที่สมัยก่อนมีฝรั่งมาเมืองไทย แล้วชอบผู้หญิงไทยอีสานหรือฮูอาร์ยู ที่เป็นหนังระทึกขวัญตื่นเต้น ที่มีสินจัยเล่น ก็ไม่ใช่หนังผี เพราะบริษัทเองก็ไม่ได้ทำแต่หนังผีอย่างเดียว ในปีที่ผ่านมามีการประกาศใช้พรบ.การจัดเรทติ้งภาพยนตร์ หลังจากประกาศใช้ครึ่งปีมาแล้วมีผลกระทบอะไรบ้างไหมต่อผู้สร้าง เสี่ยเจียง: ไม่มี เป็นผลดีกับเรา แต่เราคนทำหนังต้องเข้าใจว่ากฏหมายเรทติ้งเป็นอย่างไร ต้องไปศึกษาและเข้าใจ ถึงจะแก้ไขถูก เขาไม่ได้เซ็นเซอร์ จริง เขาเป็นเรทติ้ง มีกรรมการเซ็นเซอร์ผมกลับมองว่าดีนะเรทติ้ง ช่วยหนังเสียอีก ทำให้ไม่สามารถแบนเรา เขาจะสามารถแบนหนังเรื่องนี้ได้ก็ต่อเมื่อขัดต่อบ้านเมือง ตั้งแต่ประกาศใช้มายังไม่เจอปัญหาอะไร อย่างมากก็แค่ทะเลาะกันที่ว่าผมต้องการ15แต่เขาให้18 หรือให้20 แค่นั้นเอง คุณต้องรู้ว่า 18ห้ามเด็กต่ำกว่า18ดู แต่จะดูก็ได้ เขาบอกคุณว่าอย่าดูนะ คุณต้องพาพ่อแม่มาดู แต่20เขาห้ามคุณ คุณจะดูคุณต้องควักบัตรประจำตัวว่าคุณอายุถึงแล้ว เราในฐานะเจ้าของหนังเพียงแต่ว่าเราต้องการเรท15 เราขอไปซิว่าหนังเรื่องนี้เราต้องการเรท15 แต่เอาเข้าไปแล้วกรรมการตีออกมา บอกไม่ได้หนังเรื่องนี้ต้องเรท18 เราพอใจไหม เราไม่พอใจเราก็อุทธรณ์ไป มันเป็นเรื่องที่ว่าเราต้องเข้าใจกฏหมาย กฏหมายไม่ได้มาเซ็นเซอร์ กฏหมายแค่ทำให้เราดี มีเซ็นเซอร์กับเรทติ้งอยู่ กรรมการชุดนี้ดูแค่เรทติ้งว่าหนังเรื่องนี้ควรจะ 15 18 หรือ 20

แล้วสำหรับนาคปรกนี่ผ่านแล้วใช่มั้ย เสี่ยเจียง: ผ่านแล้ว เราได้2หมวดคือหมวด18กับ20 เราจะฉายทั้ง2 เรทเลย อย่างเฉพาะนาคปรกไม่ใช่เขาให้เรา2เรทนะ แต่เราขอไป2เรท คืออย่างเรท18 จะมีตัวหนังสือบรรยายว่าภาพนี้ไม่เหมาะสม แต่20ก็ปล่อยไปเลย ให้คนอายุ20ดูได้ 18เข้าไปดูไม่ได้ แต่เราคงฉายเฉพาะก็อปปี้เรท20น้อย ในส่วนของราคาตั๋วหนังสำหรับการแข่งขันของโรงหนังที่มีการตัดราคาลงจะส่งผลต่อรายได้ที่โรงหนังจะแบ่งให้ผู้สร้างไหม เสี่ยเจียง: ผมมองว่าโรงหนังไม่มีลดหรอก มีแต่จะขึ้นค่าตั๋ว อย่างโปรโมชั่นที่เขามีเฉพาะวันพุธอันนั้นเป็นโปรโมชั่นที่เขาอยากลองดูว่าจะเป็นอย่างไร ซึ่งเขาไม่ได้มากดราคาเรา คุณต้องดูว่าตั๋วหนังตอนนี้ขึ้นเป็น140บ.ไม่ได้ถูกลง จริงๆแล้วประเทศไทยราคาค่าตั๋วหนังก็ถูกกว่าเพื่อนแล้ว แต่คิดว่าราคาตั๋วหนังไม่น่าที่จะขึ้นไปมากกว่า120-140 ปัญหาเรื่องลิขสิทธิ์แผ่นผีตอนนี้เป็นอย่างไรบ้าง เสี่ยเจียง: ก็ดีขึ้นหน่อย แต่รอให้กฏหมายออกมาก่อน เพราะจะมีการระบุห้ามคนซื้อซื้อ คนซื้อผิด แล้วก็สถานที่ตั้งขาย ไม่ใช่เจ้าของร้านผิด แต่มีการเอาผิดกับเจ้าของสถานที่ที่ให้เขาเช่าร้านขายด้วย

อัลบั้มภาพ 7 ภาพ

อัลบั้มภาพ 7 ภาพ ของ แนวโน้มหนังปี53 ของค่ายใบโพธิ์ กับ เสี่ยเจียง

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook