เปิดใจ พันนา ปรมจารย์คิวบู๊ผู้ปลุกปั้น จา พนม

เปิดใจ พันนา ปรมจารย์คิวบู๊ผู้ปลุกปั้น จา พนม

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
อีกหนึ่งจุดเปลี่ยนครั้งสำคัญของภาพยนตร์แอ็คชั่นไทยที่คนทั้งโลกรอคอย

Q. อยากให้ช่วยเล่าถึงที่มาที่ไปของการเกิดโปรเจ็คต์ภาพยนตร์เรื่อง องค์บาก 2 ? พันนา : สำหรับภาพยนตร์เรื่ององค์บาก 2 เริ่มมาจากที่หนังเรื่ององค์บาก ภาค 1ประสบความสำเร็จ ทำให้หนังเรื่องนี้เกิดเป็นกระแส และมีชื่อเสียงไปทั่วโลก ที่นี้พอมาถึง องค์บากภาค 2 ก็จะเป็นการย้อนกลับไปเล่าถึงต้นกำเนิดของพระหน้าบากว่ามีที่มาที่ไปอย่างไร ซึ่งในส่วนของพระหน้าบากตรงนี้ แน่นอนว่าก็จะรวมถึงเรื่องราวของศิลปะการต่อสู้ ตลอดจนสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นเบื้องหลังของพระพุทธรูปองค์บากหน้าบาก เป็นการนำเสนอเรื่องราวที่เกิดขึ้นก่อนที่จะเกิดเป็นองค์พระหน้าบากในภาคแรกครับ Q. ทราบมาว่าหลังจากองค์บาก ต้มยำกุ้ง จนมาถึงองค์บาก2 พี่พันนาได้ให้โจทย์ให้การบ้านเกี่ยวกับศิลปะการต่อสู้กับจา แต่ไปๆมาๆ กลายเป็นว่าเกิดเป็นที่มาของการเกิดไอเดียสำคัญสำหรับโปรเจ็คต์หนังเรื่ององค์บาก2 ? พันนา : คือมันเริ่มมาตั้งแต่ที่ผมได้มีโอกาสฝึกจามาตั้งแต่เริ่มแรก มีไอเดียหนึ่งที่เราอยากจะทำกันมากๆ ก็คือการนำเอาศิลปะการต่อสู้หลายๆอย่างทั่วโลกไม่ว่าจะเป็นญี่ปุ่น จีน เกาหลี ไทย ฝั่งยุโรป มารวมกันเป็นหนึ่งเดียว ตอนแรกคิดกันเล่นๆว่าเป็นหนังเกี่ยวกับคนสารพัดพิษ สารพัดพิษหมายถึงว่าทำได้ทุกอย่าง มีความสามารถรอบตัว ทีนี้พอเราทำองค์บากเสร็จ เราก็อยากเอาสิ่งนั้นมาทำ โดยมีจุดมุ่งหมายตรงที่ว่า ศิลปะการต่อสู้ทั่วโลกไม่มีการแบ่งแยกกัน ทั้งหมดมั้งมวลล้วนเป็นหนึ่งเดียว สามารถรวมอยู่ด้วยกันได้ โดยมีพื้นฐานเดียวกัน ซึ่งที่จริงแล้วทุกศิลปะการต่อสู้ล้วนมีแนวคิดมาจากพื้นฐานเดียวกัน เพียงแต่ว่าอาจจะแตกต่างด้วยรูปแบบ สไตล์หรือวัฒนธรรมของแต่ละประเทศ และถ้าได้ศึกษาลงลึกถึงจิตวิญญาณจริงๆ จะรู้ว่าคือการต่อสู้ที่ไม่ต้องต่อสู้ ซึ่งเป็นเรื่องจริง อย่างผมเองก็เรียนรู้กับจามา แต่ในช่วงหลังๆเขาศึกษามากกว่าผม รู้ว่าการต่อสู้ที่แท้จริงคือไม่ต้องการที่จะต่อสู้ มันจึงเกิดเป็นโจทย์ของการนำเสนอมุมมองแนวคิดที่เกี่ยวกับเรื่องราวแอ็คชั่นที่เราเองต้องการจะนำเสนอจริงๆ แล้วยิ่งพอมารวมกับไอเดียองค์บากซึ่งเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาก็เลยเกิดเป็นที่มาของการเริ่มต้นโปรเจ็คต์ภาพยนตร์เรื่ององค์บาก2ครับ

Q.ฟังดูแล้วน่าจะเป็นการนำเสนอมุมมองของภาพยนตร์แอ็คชั่นที่มีแง่มุมที่ค่อนข้างลุ่มลึก นอกเหนือไปจากการนำเสนอภาพเพียงแค่รูปแบบหรือลักษณะของแอ็คชั่นเลือดเดือดอย่างที่เราเห็นหรือคุ้นเคยกัน ? พันนา : ใช่ครับ ถ้าเกิดยังไม่ลงลึกพูดถึงตัวหนัง เราพูดถึงแค่เรื่องศิลปะการต่อสู้ ข้างในของศิลปะการต่อสู้ที่แท้จริงล้วนแฝงด้วยคุณธรรม แฝงด้วยธรรมะ ซึ่งเมตตาธรรมก็เป็นหนึ่งในนั้น คือทุกศิลปะการต่อสู้มีลักษณะแนวคิดคล้ายคลึงกัน คือไม่ได้ฝึกเพื่อจะฆ่าคนอื่น ทำร้ายคนอื่น หรืออย่างคอนเซ็ปท์ไอเดียของหนังเรื่ององค์บาก เราจะบอกในเบื้องต้นว่าถ้าคนเราฝึกด้วยกิเลส ฝึกเพื่อการเข่นฆ่า มันจะออกมาในรูปแบบนี้ แต่ถ้าเกิดฝึกถึงแก่นอย่างแท้จริง ศิลปะการต่อสู้จะออกมาอีกรูปแบบหนึ่ง ส่วนที่เราเลือกนำเสนอในภาพยนตร์เรื่ององค์บาก2 ก็คือเราเริ่มต้นจากแนวความคิดที่ว่าคนๆหนึ่งสามารถเรียนรู้ศิลปะการต่อสู้ได้ทั่วโลก โดยเฉพาะเอเชียเรามีเยอะมาก แล้วก็มารวมกับความคิดที่ว่าในแก่นแท้ของศิลปะการต่อสู้ มันมีธรรม ล้วนมีจิตวิญญาณในตัวของมัน ซึ่งใน2สิ่งนี้คือตัวกำหนดเริ่มแรกของ ตัวบทภาพยนตร์ ก็คือเรื่องของคนๆหนึ่งที่มีพลังความแค้นอย่างมหาศาล ซึ่งก็คือตัวจา เขาจะเป็นคนที่มีกิเลสมาก ด้วยความแค้นที่มีอยู่ในตัวเอง ฝึกวิชาก็เพื่อจะฆ่าคน การที่ฝึกวิชาหลายๆอย่างก็เพื่อจะให้เก่งที่สุด เพื่อจะสู้และเอาชนะคนอื่น มันจึงเป็นจุดกำเนิดของการที่ว่าแอ็กชั่นการต่อสู้ทุกรูปแบบจะถูกนำมารวมกัน แต่ครั้นพอเขาได้ฝึกถึงแก่นแท้ เขาจะเห็นว่าทุกอย่างมันว่างเปล่า มันจะนำไปสู่ความคิดที่ว่า การต่อสู้ที่ไม่ต้องต่อสู้ ก็นำไปถึงจุดชัยชนะได้ แต่ไม่ใช่ว่าหนังเราจะไม่มีแอ็คชั่นมันส์ๆนะครับ กลับกันมันจะเต็มไปด้วยวิธีการเล่าที่แปลกประหลาดมาก มันจะเป็นความมันส์ที่ต่อยอดตั้งแต่ต้นจนจบ เพราะแน่นอนหนังโทนี่ จาหรือจา พนมทำ เขาต้องเอาแอ็คชั่นมานำอยู่แล้ว เพียงแต่ว่าเรื่องนี้ในแอ็คชั่นจะมีปรัชญาหรือแนวความคิดที่ไม่ใช่ว่าสู้ๆเพื่อให้ได้ความบันเทิงอย่างเดียว แต่ละซีนแต่ละฉากที่ถูกดีไซน์มามันจะเข้ากับหัวใจของเรื่อง หัวใจของเรื่องคือเรื่องของการมีกิเลส ความแค้น ที่เกิดขึ้นตั้งแต่วัยเด็ก การล้างแค้นคือการที่ต้องมีพลังไปสู่การบรรลุของกิเลสนั่นคือการทำลายล้าง โดยการฝึกวิชาหลายๆอย่างไม่ว่าจะเป็นมวยไทย มวยจีน ญี่ปุน เกาหลี แม้กระทั่งอเมริกา ฝั่งยุโรป ซึ่งเราก็นำมามิกซ์ผสมโดยไม่บอกว่าเป็นมวยอะไร แต่ถ้าคนดูๆแล้วจะรู้เลยว่า อันนี้ของชาตินี้ ส่วนอีกอันคือศิลปะการต่อสู้ของชาตินั้นนะ ซึ่งไม่ได้หมายความว่า ทำไมในเมื่อเรามีศิลปะของไทยแล้ว ยังต้องไปเอาศิลปะของชาติอื่นมาใช้ ผมว่าการที่เราแสดงออกว่าเรายอมรับศิลปะของชาติอื่น โดยที่มีศิลปะของไทยอยู่แล้วเนี่ยะ มันเป็นการเปิดกว้างให้กับทุกชนชาติ เข้ามารู้จักเรา แล้วในแง่ของศิลปะการต่อสู้ เผอิญจาไปศึกษามาแล้ว เขามาเล่าให้ผมฟังว่า พื้นฐานอันเดียวกัน มีความรู้สึกอันเดียวกัน มีปรัชญาเดียวกัน เพราะฉะนั้นมันไม่มีการแบ่งแยก บางคนอาจคิดว่าศิลปะการต่อสู้เป็นการต่อยตีกัน ฆ่ารันฟันแทงกัน แต่ถ้าคนที่ได้ไปศึกษาจริงๆแล้ว ไปรู้จักการต่อสู้ของจีน ของญี่ปุ่น ของอเมริกา บราซิล ของเกาหลี ฯลฯ บางทีเราอาจจะไม่เกิดสงครามก็ได้ เพราะว่ามันเป็นความรู้สึกเดียวกันนะครับ จึงทำให้เกิดไอเดียในการเขียนพล็อตองค์บาคภาค 2 ครับ

Q. ในฐานะที่เป็นอาจารย์ เป็นคนปลุกปั้นจามาตั้งแต่ต้น อะไรคือสิ่งที่พันนา ฤทธิไกรมองเห็นในตัวตนของจา พนมครับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับการทำงานในฐานะผู้กำกับภาพยนตร์?
พันนา : คือ..ถ้ารวมถึงตอนนี้ด้วยคงประมาณเกือบ 20 ปีแล้ว ถ้านับถึงช่วงที่ทำองค์บากก็ประมาณ 14 ปี ถ้านับจากองค์บาก ๑มาจนถึงตอนนี้ก็อีก ๕ปีแล้ว รวมแล้วก็ประมาณ 19-20 ปีแล้วที่รู้จักกันมา ความเปลี่ยนแปลงของจา เปลี่ยนทั้งเรื่องภายในและภายนอก ภายนอกเขาจะพัฒนามากด้านความสามารถ รู้จักกันตอนแรกเขาก็บ้าหนังจีน ทำเลียนแบบเฉินหลง เลียนแบบเจ็ท ลี เลียนแบบบรูซ ลี ผมก็เหมือนกันเรามาทางเส้นเดียวกัน แต่พอมาได้โจทย์เรื่องของมวยไทยที่คุณ ปรัชญา ปิ่นแก้วให้ไว้ก่อนทำองค์บากภาค ๑ นะครับ จาเขาก็ฝึกมวยไทย แต่พอฝึกมวยไทย ผมเองก็มองดู รู้สึกได้เลยว่าจาก็พยายามฝึกให้เก่งเหมือนกับตัวเองเป็นเจ็ท ลี เป็นเฉินหลงแต่ในมุมของมวยไทย พอพัฒนาเรื่อยจนจบจากองค์บาก จาเขาก็ไปเรียนจากครู มีครูหลายๆคนเพิ่มเติม มันกลายเป็นว่าสิ่งที่อยู่ในศิลปะการต่อสู้ของไทย ได้บอกอะไรบางอย่างกับเขาว่า มันไม่ใช่แค่เรื่องคิวบู๊นะ แต่ข้างในมันมีปรัชญา มีแนวความคิดด้วย ตรงนี้ก็ปรับเปลี่ยนมุมมองความคิดที่ส่งผลมาเป็นแนวทางของบทหนังจนเป็นจุดกำเนิดขององค์บาก ภาค ๒ ในส่วนของพัฒนาการทางด้านศิลปะการต่อสู้ที่จาฝึกต่อมาเนี่ยะ ในต้มยำกุ้งที่เห็นชัดคือมวยหักกระดูก คือช้างทำลายโลง มวยเกี่ยวกับคชสาร แต่พอมาเป็นองค์บาก2 เขาไปเห็นศิลปะการต่อสู้ที่แฝงอยู่ในนาฎศิลป์ ชึ่งไม่น่าเชื่อว่า อาจจะมีคนเล่าให้ฟัง แนะนำได้ไปรู้จักครูโขน ครูมวยด้านต่างๆ พอได้ไปศึกษาด้านดาบที่เชียงใหม่ ที่ใต้ ดาบใต้ ดาบเหนือ หรือแม้แต่มวยก็เหมือนกันครับ เขาจะเห็นเหมือนกันว่าทุกอย่างล้วนแล้วจะแฝงมาในลักษณะของโขน เหมือนหนุมาน เหมือนยักษ์ พระ ลิง หรือแม้กระทั่ง รำเจิง(พี่พันนาทำท่าให้ดู) เนี่ยะ มันก็เป็นการใช้มีดสั้นตัดเฉือนข้อมือได้ แล้วการตีกลองสะบัด กลองไชย กลองสะบัดไชย มันก็เป็นเบสิกของการฟันดาบ ซึ่งมันจะแฝงอยู่ในนาฎศิลป์ ก็เลยมีไอเดียว่า คนโบราณเขาเอาศิลปะการต่อสู้มาแฝงไว้ในนาฎศิลป์ ซึ่งเราดูเป็นความเก่า แต่พอมองให้ลึกจริงๆมันเป็นความใหม่ เป็นความใหม่ในความเก่าซึ่งน่าทึ่งมาก ตัวจาเองเขาก็ทำได้ดีมาก ๆ ผมเชื่อว่าจุดเริ่มต้นของนาฏศิลป์จริงๆก็เกิดมาจากความต้องการให้ความสงบเงียบเกิดขึ้นในบ้านเมือง คือในสมัยก่อน หลังจากสงครามสงบ ไม่มีการรบราฆ่าฟัน ศิลปะการต่อสู้ก็ไม่มีอะไรจะต้องสู้ใช่มั้ยครับ ก็เลยเปลี่ยนแปลงมาเป็นนาฎศิลป์ รำในงาน ในวัดวาต่างๆ สิ่งนั้นคือความสงบ การที่ไม่ต้องต่อสู้ มันเกิดไอเดียที่ว่า ศิลปะการต่อสู้ที่ไม่ต้องสู้ แต่เผอิญวิธีการเล่าของหนัง มันก็ต้องมีรสชาติก็คือ ต้องเล่าในฝั่งของกิเลสก่อน มันก็จะเป็นที่มาของการเกิดแอ็กชั่นแบบมันส์มาก คือการทำลายล้าง ซึ่งจะเห็นในหนังแอ็คชั่น แต่สิ่งที่เราเลือกนำเสนอในเรื่องนี้มันมีมากกว่านั้น จะเป็นตอบโจทย์ที่ว่าที่จริงแล้วสิ่งที่คุณคิดอยู่เนี่ยะมันไม่ใช่ มันซับช้อนกว่านั้น แก่นของเรื่องมันน่าสนใจมาก เราถึงให้ความสำคัญกับเรื่องกับตัวบทมากๆในหนังเรื่ององค์บาก2 ถ้าพูดถึงในมุมมองด้านมาร์เชียลอาร์ตเกี่ยวกับหนัง เกี่ยวกับตัวบุคคลและการกำกับ เช่น ตัวบุคคลแบบจา พนม แบบเฉินหลง แบบบรูซ ลีเนี่ยะ อย่างบรูซ ลี หนังเรื่องแรกที่เขากำกับเรื่อง THE BIG BOSS แต่ตอนนั้นจางเชอะกำกับ แต่เขามาดูแลเอง ผมจำได้ พอจากจางเชอะ ก็เป็น FIRST OF FURY ชึ่งบรูซ ลีเขากำกับเอง แล้วก็เป็น WAY OF THE DRAGON นั่นบรูซ ลีก็กำกับเอง เฉินหลงเริ่มกำกับเรื่องแรกก็ไอ้หนุ่มหมัดฮา ผมจำได้ว่าเฉินหลงเริ่มกำกับอายุ ๒๘ บรูซลีกำกับตอนอายุ 30 จาพนมกำกับตอนอายุ 32

Q. แล้วพันนากำกับตอนไหนครับ? พันนา : พันนากำกับตอนอายุ 25 (หัวเราะ) ซึ่งไม่รู้เรื่องหนัง อันนี้ไม่ต้องพูดถึงดีกว่า เพราะมันแตกต่างกันมาก องค์ประกอบมันแตกต่างกันมาก สกู้ปตัวที่ 2 สำหรับจาตอนที่เขามุ่งไปที่หนัง ผมมีความรู้สึกตื่นตาตื่นใจตรงที่ว่าเขามีความชำนาญจริงๆ เขากำกับและเล่น 2 อย่างเนี่ยะ ทำได้ดีมาก ขนาดบางอย่างที่ยังไม่ได้เตรียมการ แต่มันอยู่ในสมองเขา แต่พอเขาได้ทำตำแหน่งที่แค่ 2 อย่างคือกำกับ กับแสดงเนี่ยะ เขาถ่ายทอดออกมาเร็วมาก คิดวัน สอง วันคิดออกมาได้ตั้งหลายอย่าง กองๆไว้แล้วให้คนบันทึก คือเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไม่น่าเชื่อ อันนี้เรื่องจริงครับ ไม่ได้ยกยอเขา คือ..ถ้าบอกว่าประสบการณ์ในการทำหนังที่มีองค์ประกอบแบบนี้ ที่เป็นระบบจริงๆ ผมก็ไม่แตกต่างจากจา เพิ่งได้ทำหนังที่มีระบบ มีมอนิเตอร์ให้ดู มีผู้คนเยอะแยะ มีเครื่องถ่ายทำแบบมีองค์ประกอบเยอะขนาดนี้ สมัยผมทำหนังสายทำหนังเล็กๆมันไม่มีอย่างนี้ แล้วเราก็อยู่ด้วยกัน พอมาเจองานใหญ่ๆแบบนี้มัน...ก็รู้ว่าตัวเองไม่รู้ทั้งหมด ต้องอาศัยบุคลากร จึงเกิดการเปลี่ยนแปลงที่ช้าหน่อย นั้นคือผลของการกำกับ แต่แก่นแท้มันอยู่ที่สมองว่าใช่หรือไม่ใช่ครับ มันจะตอบได้ว่า สิ่งที่คิดไป แล้วมีคนมารุม แล้วอุ้มมันออกมาให้คนดูเนี่ยะ มันจะออกมาชัดเจนมาก ว่า ไม่ธรรมดา แต่จริงๆแล้วบ่มมาเยอะนานเพียงแต่ว่าคนละรูปแบบกัน แต่ก็เป็นภาพยนตร์เหมือนกันครับ Q. ความเหมือนหรือความแตกต่างขององค์บาก 1 กับองค์บาก 2 ? พันนา : อือ..องค์บาก 1 อันแรกเลยคือยุคสมัย องค์บาก 1 คือเป็นยุคปัจจุบันนะครับ ส่วนองค์บาก 2 จะเป็นพีเรียดเป็นยุคก่อนอยุธยาด้วยช้ำไป แล้วเป็นวัฒนธรรมของฝั่งเขมร มันจะเป็นประเทศไทยอีกฝั่งหนึ่งแบบเขาพนมรุ้ง เขาพระวิหาร ประมาณนี้ ซึ่งมันจะมีความแตกต่างระหว่างอยุธยานะครับ วัฒนธรรม ประเพณี ภาพลายแกะสะลักอะไรต่างๆก็แตกต่างกัน การแต่งตัวก็เหมือนกัน มันจะมีหลายชนชั้น มีประเทศหลายประเทศ มีการแต่งตัวของหลายชนชาติที่มารวมกันในหนังเรื่องนี้ ชึ่งก็ได้คุณเอก เอี่ยมชื่น มาช่วยตรงนี้ทั้งในส่วนของที่ปรึกษางานสร้าง เพราะเขามือ1เรื่องพีเรียดอยู่แล้ว และมาช่วยในส่วนของบทภาพยนตร์ คือคุณเอกมองว่ามันน่าจะมีข้อแตกต่างบ้างในหนังพีเรียด แล้วพอมาดูจริงๆ เขาไปรีเสิร์ชที่นครวัด นครธม เอารีเสิร์ชมาให้ดู ก็จะเจอโขนเหมือนกันโขนที่เรามีในประเทศไทย โขนเขาก็มีเหมือนกัน ซึ่งทำให้เกิดไอเดียมากมาย จนกระทั่งจาสามารถคิดแอ็คชั่นใหม่ได้ มีความหลากหลายครับในหนังเรื่องนี้ คือในเมื่อจุดกำเนิดมันคือ ความแตกต่าง มันเป็นพีเรียดจริง ก็เลยมีความแตกต่างในเรื่องวัฒนธรรม การแต่งตัว หน้าตา ภาษา มันเกิดทุกอณูเลยฮะ ความใหม่เกิดขึ้น แล้วมันเหมาะสมกับจาด้วย เพราะจาเขาเป็นคนจังหวัดสุรินทร์ มีวัฒนธรรม มีประวัติศาสตร์ของจังหวัดสุรินทร์อยู่แล้ว มันพัวพันไปถึงเรื่องช้าง เรื่องโขน แต่ว่าเรายึดแกนหลักของหนังคือมันต้องเกี่ยวพันเรื่องของคนไทย ประเทศไทยนะครับ แต่มันเป็นเรื่องที่เขียนบทขึ้นมาไม่ใช่เรื่องจริง แต่อ้างอิงถึงประวัติศาสตร์ว่าเดินเรื่องในช่วงยุคไหน เพื่อให้เกิดอรรถรสในการเล่าเรื่อง โดยเราย้อนกลับไปพูดถึงที่มาของพระองค์บากหน้าบากภาค1 มันต้องย้อนกลับไปสู่อดีต ซึ่งยาวนานเป็น200-300ปี ด้วยความที่เรื่องเกิดขึ้นในยุคสมัยเก่าที่เป็นพีเรียด มันทำให้เอื้อต่อเหตุผลในการต่อสู้ที่เกิดขึ้นในยุคนั้น เพราะจะมีหลายชนชาติเข้ามาในประเทศไทยเยอะมาก มีแขก มีเขมร ฝรั่งก็มี ที่เข้ามาในประเทศเรา แล้วมันเอื้อให้กับการคิดคิวบู๊ที่ผมเรียกให้ว่าเป็นสารพัดพิษ คือการใช้ศิลปะการต่อสู้ทั้งจีน ญี่ปุ่น อินเดีย แขก มาผสมผสานกันจน....คือสิ่งที่ทำให้จาเรียนรู้ศิลปะการต่อสู้ทุกแขนงในหนังเรื่องนี้ก็คือ ต้องเป็นชุมโจรชุมหนึ่งซึ่งรวบรวมเอาเหล่าร้ายทั้งหมดมาอยู่ด้วยกัน ก็เกิดวัฒนธรรมมิกซ์ คือการรวมคนหลายชนชาติอยู่ด้วยกัน เหมือนเมืองๆหนึ่งหรือบ้านๆหนึ่งที่มีคนอยู่หลายคน แต่ถูกดูแลด้วยคนหนึ่งๆนั่นคือประมุขของเมือง ทำให้..มันเป็นวิธีการเล่าเรื่องด้วยบททำให้จา พนมหรือตัวละครในบทในหนังก็คือไอ้เทียนเนี่ยะ ได้ไปเรียนรู้ศิลปะการต่อสู้หลายรูปแบบ นั่นคือจะตอบโจทย์ที่เราจะนำเสนอศิลปะการต่อสู้ทุกชนชาติ อยู่ในหนังเรื่องนี้ และรวมอยู่ในตัวคนเดียวคือ จา พนม

Q.ที่ผ่านมาหนังแอ็คชั่นมักถูกติติงเรื่องบทภาพยนตร์ ที่อ่อน หัวใจของหนังทำไมไม่แข็งแรง ไม่มีที่มาที่ไป แต่สิ่งที่พันนา-จาพนมกำลังจะบอกคือทุกการเล่าเรื่องล้วนสอดคล้องกับตัวบทภาพยนตร์และที่มาที่ไปของแอ็คชั่น? พันนา : ครับโดยหนังที่เราทำมา ที่จาทำมา2เรื่องคือองค์บากกับต้มยำกุ้ง จะถูกพูดถึงเรื่องบท เราก็เลยระวังตัวเรื่องนี้ แต่ว่าแน่นอน วิธีการที่จะให้คนเขียนบทเขียนมาคิดมาบางทีไม่สามารถจะสอดคล้องกับแอ็คชั่นได้ มันต้องถูกเชื่อมด้วยแอ็คชั่น เพราะเราต้องขายแอ็คชั่นใช่มั้ยครับ ความถนัดของทีมเราไม่ว่าจะจาหรือผม ที่นี้ทำอย่างไรที่จะเอาทั้งสองอย่างมารวมกันได้ทั้งบทและแอ็คชั่น เราเลยคิดว่า เราจะเริ่มจากไอเดียเราก่อน แล้วหาคนเขียนบท แล้วเอาไอเดียเราไปเล่าให้เขาฟัง แล้วให้เขาเอาไปกระจายแตกเป็นเหตุผล ให้มีเหตุผลสอดคล้องกันทั้งเรื่อง โดยมีเราควบคุมมุมของแอ็คชั่น ตอนนี้ต้องมาหาแอ็คชั่นนะ แล้วแอ็คชั่นตรงนี้เราจะชูอะไร แล้วแอ็คชั่นตรงนี้มีอะไร ที่นี้เรามาคิดหนักว่าแอ็คชั่นต้องกลมกลืนกับบทด้วย ไม่ใช่ว่าทำบทมาอย่างหนึ่ง แล้วแอ็คชั่นไปอีกทางหนึ่ง มันก็จะกลายเป็นหนังคนละเรื่อง กัน ตรงนี้จะเจอปัญหาเรื่อยๆนะครับ เพราะฉะนั้นทุกซีนจะคุยกันนานมากกับคุณเอก เอี่ยมชื่น คุยกันบางทีเขาก็ไม่เข้าใจเหมือนกัน คุณเอกเขาก็บอกว่าด้านแอ็คชั่นผมไม่เข้าใจนะ (หัวเราะ)ส่วนทางเราก็ประสานงานกัน อย่างบางซีนทำไมต้องมีศิลปะการต่อสู้เยอะแยะ เอกเขาก็ไปรีเสิร์ชดู ว่ายุคนั้นมีคนเข้ามาจากหลากหลายประเทศ มันสามารถแทรกมีจีน มีญี่ปุ่น มีอะไรได้ มีซามูไรได้ มีกระบี่จีนได้ ทำให้พอเขาเข้าใจ ก็ทำให้เกิดซีนแอ็คชั่นพวกนี้ขึ้น Q. กับความพยายามของคนทำหนังที่จะผสานสองสิ่งที่เป็นแกนหัวใจสำคัญของหนัง โดยเฉพาะอย่างองค์บาก2 มันเป็นเรื่องยากเย็นขนาดไหน แล้วมันใช้เวลาหรือคุ้มค่ากับการเสียเวลากับตรงนี้ มากน้อยแค่ไหนอย่างไร? พันนา : ค่อนข้างใช้เวลาไปเยอะมากกับเรื่องบทกับเรื่องแอ็คชั่นรวมกัน คือ ...หนังมันค่อนข้างมีปรัชญานะครับ ไม่ใช่สร้างความแค้นแล้วไปสู้กัน แล้วคนดูแฮปปี้ มันไม่ใช่อย่างนั้น มันจะแฝงไปด้วย คนๆหนึ่งทำไมต้องแค้น แล้วเขาใช้ความแค้นเขาไปอย่างไร แล้วครูที่สอนเขา ครูมี 2ฝั่ง ฝั่งดำกับฝั่งเขา ฝั่งดำคือฝั่งของความชั่ว ฝั่งขาวคือฝั่งของธรรมะ ครูทั้งสองคนเนี่ยะสอนพระเอก ทั้งสองฝั่งแล้วที่นี้จะเกิดการใช้งานของการต่อสู้ ของศิลปะการต่อสู้ คุณจะไปฝั่งไหน องค์บากภาคนี้แน่นอนว่าเราเล่าตั้งแต่ตอนเด็ก เพื่อให้เกิดเรื่องราวว่าทำไมเด็กคนนี้ถึงมีความแค้น นั่นคืออยู่ในฝั่งดำ จนกระทั่งเขาพยายามที่จะทำฝั่งดำที่สุด มันก็ออกมาแบบเป็นฝั่งดำ มันก็ไม่สำเร็จ ถึงแม้นมันจะสำเร็จมันก็ไม่ใช้เกิดเป็นความสูญเสีย คือบอกคนดูได้ว่าหนังเรื่องนี้มีปรัชญาครับ มันเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจริงคือ มันก็ช่วยไม่ได้ ตราบใดที่เราใช้ความแค้น ใช้ความโกรธอยู่ เหมือนบ้านเมืองเราทุกวันเนี่ยะ มันก็ยังเป็นอย่างนั้น การเมืองไทยเราก็เป็นอย่างนั้น ก็ยังอยู่ในฝั่งดำ ไม่ได้อยู่ในฝั่งขาวเลย มันไม่มีที่สิ้นสุด สิ่งที่ดีที่สุดมันคือความว่างเปล่า นั่นไปตรงกับศิลปะการต่อสู้ของเรา ที่บอกว่า ศิลปะการต่อสู้ที่สูงสุดคือ ไม่ต้องต่อสู้ นั่นแหละครับมันเข้ากันครับ

Q. สิ่งที่เปลี่ยนไปนอกจากบท ที่เห็นได้ชัดเจนมากๆคือ บทบาทและคาแรคเตอร์ของจา ชนิดที่ว่าเปลี่ยนไปเลยทั้งรูปโฉม ลุค ตั้งแต่หัวจรดเท้า รวมไปถึงการแสดง เห็นบอกว่าคาแรคเตอร์มี2ขั้วมีทั้งดีมีเลวด้วย รวมไปถึงการฝึกซ้อมทางด้านการแสดง จริงไหมว่าสิ่งที่เราจะได้เห็นในหนังเรื่ององค์บาก2 คือจา พนมที่คนดูไม่เคยเห็นมาก่อน ? พันนา : หนังที่จาเล่นมา 2เรื่อง เขาจะหลีกเลี่ยงการพูด หลีกเลี่ยงการแสดงอารมณ์ จา มีแอ็คติ้งที่แบบไม่เชื่อตลอดเวลาจากหนังทั้ง2เรื่องก่อนหน้านี้ แต่เรื่องนี้ตัวจาเขาก็เน้นมาก คือไปเรียนแอ็คติ้งกับครูแอ๋ว(อรชุมา) เรียนโขนจากอาจารย์เชษฐ์(พิเชษฐ์ กลั่นชื่น)ซึ่งเป็นคนระดับคุณภาพนะครับ ที่ไปแสดงโชว์ในต่างประเทศนะครับ คือมันมีส่วนลึก คือทั้งสองคนสอนส่วนลึกในแง่การแสดงนะครับ ในแง่MARTIAL ARTS เขามีครูที่สอนด้านซามูไร ครูสอนมวยจีน ครูมวยไทยเพิ่ม ครูดาบอินเดีย เพิ่มมามากขึ้น ซึ่งเราจะเห็นส่วนลึกของศิลปะการต่อสู้ด้วย อย่างการที่จาฝึกจากผมช่วงแรกๆเป็นการฝึกตามหนัง ซึ่งก็คือเอาความมันส์ ความบันเทิงเป็นหลัก แต่พอเขาไปเรียนการต่อสู้จริงๆเนี่ยเขาจะเห็นความลึกของวิถีแห่งจิตวิญญาณของศิลปะตรงนั้นๆๆ รวมกับการที่เขาไปเรียนการแสดง แล้วไปเรียนส่วนลึกด้วย หนังเรื่องนี้มี2สิ่งที่เราจะเห็นในความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในตัวจาคือเขาจะสามารถเล่นบทดราม่าได้ และหนักด้วย คือตัวดราม่าของหนังจะเป็นตัวเปลี่ยนแปลงตัวคาแรคเตอร์เขา ดราม่าจะแบ่งออกเป็น2ฝั่งคือฝั่งขาวกับฝั่งดำ สำหรับการเปลี่ยนแปลงอีกนัยหนึ่งเกิดจากการที่เขาเรียนศิลปะการต่อสู้ เพราะเขาเรียนโขนมา โขนทำให้เกิดสมาธิ โขน พอเขาฝึกเรียนโขนจริงๆ รำยักษ์ รำพระ พอฝึกไปเรื่อยๆมันก็จะเกิดสมาธิ เงียบดิ่งเข้าสู่ญาณ แล้วมันเป็นขั้นตอนเข้าสู่สมาธิ เหมือนอาจารย์ตั๊กม้อที่เป็นคนธิเบตแต่ไปเปิดเส้าหลินอยู่ที่วัดเส้าหลิน ทำให้เกิดศิลปะการต่อสู้ของส้าหลินขึ้นจนโด่งดังไปทั่วโลก แต่อันที่จริงท่านไปสอนธรรมะ ท่านไม่ได้บอกว่าไปสอนให้คนตีคนนะครับ(หัวเราะ) เนี่ยะละครับ นอกจากนี้จายังได้ร่วมกับนักแสดงระดับอาวุโส อย่างอาหนิง นิรุตติ์ อาเอกสรพงษ์ ตั้ว ศรัณยู ซึ่งมีแต่เก๋าๆทั้งนั้นเลย ผมว่าโดยตำแหน่งเขาเป็นผู้กำกับ และเขาศึกษาบทมาดี และก็อินกับบทมาก และก็มองตัวละครทะลุ และอีกอย่างหนึ่งคือแบ็กอัพที่ดีมากๆอย่างครูแอ๋ว ซึ่ง อธิบายคาแรกเตอร์ให้จาฟังได้ชัดเจนมาก แม้กระทั่งตัวจาเองก็ตาม ในเมื่อเขาเข้าใจตัวละคร แล้วเขากำกับ แน่นอนว่าช่วงแรกๆอาจจะมีประหม่าอะไรบ้าง แต่ช่วงหลังเขาชินกับการไปคุยกับนักแสดง และก็ไปบอกคาแรกเตอร์กับนักแสดง ให้เขาเข้าใจกับบทหนัง โดยมีครูแอ๋วเป็นแบ็ก พอถึงเวลาที่เขาต้องเล่นด้วยกำกับด้วย ความประหม่ามันจะหายไป แล้วนักแสดงระดับ อาหนิงนิรุตติ์ พี่เอกสรพงษ์เนี้ยะ เขาส่งตัวละครอยู่แล้ว เขาส่งอารมณ์ให้กับนักแสดงทำให้จาเล่นแบบ อย่างฉากสำคัญของสรพงษ์กับจาเล่นเนี้ยะ น้ำตามันไหลออกมาเป็นน้ำได้เลย แบบที่เราไม่เคยเห็นมา คือเล่นได้อารมณ์มากขึ้นไหลตามดารารุ่นอาวุโสได้

Q.ในภาพยนตร์เรื่ององค์บาก2 นอกเหนือจากพาร์ทแอ็คชั่นในความเป็นจา พนมและพันนา ฤทธิกีแล้ว สิ่งที่โดดเด่นมากๆคือในพาร์ทของนักแสดงที่ใช้คำว่าระดมนักแสดงระดับคุณภาพคับแก้วเลยทีดียว ? พันนา : เอาพี่เอกก่อนนะครับ คือพี่เอกสรพงษ์เล่น 2มุม2 ด้าน คือมีดี รู้สึกว่าเป็นคนที่มีคุณธรรมดี แต่เป็นคนชั่ว คือไม่รู้จะบอกยังไงเพราะมันเป็นบทหนัง คือเป็นคาแรคเตอร์ที่ซับซ้อนและซ่อนความรู้สึก แล้วพี่เอกซ่อนได้ดีมาก แกเป็นหัวหน้าโจร เป็นวหน้าชุมโจร เป็นคนไม่ดีอยู่แล้ว แต่ในความเป็นหัวหน้าโจรเนี้ยะ แกเป็นคนมีจิตใจดีที่มันแอบแฝงอยู่ ส่วนตั้ว ศรัณยูนี่คือเหมือนนักการเมืองไทยตอนนี้เลย มักใหญ่ไฝ่สูง อยากจะล้ม อยากจะโค่นล้ม อยากจะมีอำนาจ และก็มีความซาดิสต์ในตัวเอง คือซาดิสต์อารมณ์ คือโหดร้ายมาก โหดร้ายเล่ห์เหลี่ยมทุกอย่างเลือดเย็นมาก อาหนิงนิรุตติ์นี่เป็นพระ คือเป็นครู เป็นครูสอนโขน แต่ว่ามีธรรมมะในตัวมากที่เกิดจากนาฎศิลป์ ไม่ว่านาฎศิลป์โขน การร่ายรำของประเพณีไทยทุกอย่าง มันทำให้อาหนิง เป็นคนที่อยู่ฝั่งธรรมมะ สอนธรรมมะให้กับเทียน ส่วนสรพงษ์สอนความชั่วร้ายให้กับเทียน คือสองฝั่ง แต่สองฝั่งนี้แตกต่างกันอยู่แล้ว ส่วนสันติสุข ก็คือพ่อเทียน สันติสุขเป็นแม่ทัพซึ่งซื่อสัตย์ กล้าหาญ ซื่อสัตย์ต่อพระมหากษัตย์ แต่ถูกหักหลังโดยตั้วศรัณยู ส่วนหม่ำ มาเรื่องนี้มาแบบแหกเลย ถ้าดูแล้วคนดูจะรู้สึกว่า โอเคเปิดตัวหม่ำเนี้ยะ ฮาแน่ๆ ฮาทั้งโรงแน่นอน แต่ว่า เขาไม่ได้เล่นตลกเลยนะ เขาเล่นเป็นคนบ้าเป็นคนที่เสียสติ หม่ำเล่นดีมาก หม่ำจับบทถูกมาก จับอารมณ์ถูกมาก ต้องเล่นประมาณนี้ อย่าให้เกินเหตุ ไม่ใช่ว่าตัวเองเป็นตลกแล้วเล่นโอเวอร์นะ เขาเล่นจับประเด็นถูกต้องมาก ดูเหมือนจะไม่มีอะไรในหนังเรื่องนี้ แต่ถ้าดูจนจบเรื่องแล้ว บอกได้เลยว่าตัวละครตัวนี้ถือได้ว่าเป็นหัวใจของเรื่องเลย คนดูจะรักตัวละครตัวนี้มากๆ ดี้ ปัทมา ปานทอง คนนี้เป็นขวัญใจผมตั้งแต่ผมดูหนัง ตอนนี้เค้าก็เล่นเป็นแม่เทียน ก็ผู้หญิงคนหนึ่งที่รักลูกมาก รักลูกรักสามีมาก ยอมตายแทนได้ บทอาจจะไม่เยอะ แต่ว่าการแสดงเขาถึงมาก เห็นแค่ไม่กี่ซีนก็ประทับใจ สำหรับนางเอกน้องจ๊ะจ๋าพริมรตา นี่คัดสรร ม๊ากมาก ใช้ระยะเวลาเป็นปี แต่พอมาเจอน้องจะจ๋ะเนี้ยะ เออ พอดูเขารำเราเชื่อ เชื่อว่าเป็นนาฎศิลป์ แล้วมีเสน่ห์มาก ซีนที่เค้ารำให้ตั้วดู ในฉากพระราชวัง ฉากใหญ่ของเรา ดูแล้วมีมนต์ขลัง ถ้าดูทั้งหมดเนี้ยะ เรื่องทั้งหมด แม้กระทั่งหม่ำ แม้กระทั่งตัวนางเอก อาหนิงนิรุตติ์ สรพงษ์ แล้วก็ตั้ว เป็นตัวล้อมรอบตัวจาอยู่ ให้เกิด เหมือนกับมารผจญอ่ะ มีความรักด้วยนะ มีความโรแมนติกด้วย มันจะมีโรแมนตินิดๆ เพื่อเป็นบรรยากาศของหนัง แล้วตัวละครแต่ละตัวเจะโลมเร้าให้เค้าเกิดมุมแต่ละมุม เกิดความหลากหายของอารมณ์ของจา ของตัวเทียนในเรื่องรักโลภโกรธหลง โมหะ โทสะ มีหมดเลยในตัวของเทียน ก่อนที่พระจะหน้าบาก มันเกิดเหมือนตอนที่พระพุทธเจ้าจะตรัสรู้ครับ มีมารมาผจญอ่ะ อย่างนั้น

Q. พูดถึงคาแรคเตอร์ของจา ในภาพยนตร์เรื่ององค์บาก2 ? พันนา : คือบทเทียนที่จาเล่น มันเป็นบทที่เก็บความแค้นตั้งแต่เด็ก สะสมความแค้นตั้งแต่เด็ก แล้วถูกระบายออกด้วยการฝึกวิชาศิลปะการต่อสู้เพื่อจะไปล้างแค้น ฝึกจนศิลปะการต่อสู้กับความแค้นเป็นหนึ่งเดียวกัน ทำให้เป็นคนที่โหดร้ายและฆ่าคนได้ เพื่อไปบรรลลุจุดประสงค์ของตนเอง นั่นคือการล้างแค้นจนถึงที่สุด เกิดการเปลี่ยนแปลงคือไปเจอทางสว่าง เจอธรรมมะ จากคำสั่งสอนของครูบัว ซึ่งก็คืออาหนิงนิรุตติ์ มันจะเห็นทางสว่างตรงที่ว่า มันไม่มีอะไรเลย ผมว่าตัวบทตอนที่เขาเข้าใจธรรมมะ เห็นทางสว่างกับแอ็กชั่นวิช่วลของภาพแอ็กชั่น มันจะน่าดูมาก ตรงที่เขาไม่ทำร้ายใครเลย แต่เกิดแอ็กชั่น คิดดูซิ มันเกิดการต่อสู้ขึ้น แล้วมันมากๆ แต่ตัวละครเขาไม่ทำร้ายใครเลย แค่เห็นตอนซ้อมก็ยังน่าดูแล้วคือเปลี่ยนจากคู่ชกให้กลายเป็นคู่รำ เออว่ะ มันเป็นนาฎศิลป์ ซึ่งศิลปะการต่อสู้แฝงอยู่ในนั้นจริง และ มีจิตวิญญาณอยู่ในนั้นจริงๆ Q.คิดว่า องค์บาก2 จะนำไปสู่จุดเปลี่ยนแปลงของภาพยนตร์แอ็คชั่น เหมือนอย่างที่เกิดขึ้นกับองค์บากและต้มยำกุ้งไหม ? พันนา : ที่จริงแล้วแอ็กชั่นของเราในเรื่องนี้มันจะมีทั้งที่เก่าที่สุดไปจนถึงที่ใหม่ที่สุดนะครับ คืออย่างเช่นการนำเอาศิลปะการต่อสู้ทั่วโลกมารวมกันในตัวคนๆหนึ่ง นี่อาจจะคิดว่าทำได้มั้ย ทำได้จริงรึป่าว หรือเป็นการแสดง แต่ที่จริงนั้นจาเค้าไปเรียนรู้หมด รู้จริงๆเลยครับ แต่ละสำนัก จาเข้าไปเรียนรู้หมด ความใหม่มันอยู่ที่ว่า คนๆเดียว ในซีนเดียวสามารถ ฟันซามูไร ฉุบ แล้วเปลี่ยนเป็นกระบี่จีน จากมวยไทย ก็เป็นมวยจีน เป็นเสือ เป็นมวยไทย คือมันเปลี่ยน แล้วเนียนด้วย ทำให้แบบมันเป็นความใหม่ในความเก่า ความเก่าที่หลากหลายมารวมกันจนกลายเป็นความใหม่นะครับ นี่ในเบื้องต้น แต่พอถึงจุดหนึ่งที่เขาไปเรียนรู้ศิลปะนาฎศิลป์ ที่มีศิลปะการต่อสู้แฝงในนาฎศิลป์ มันก็จะเกิดเป็นศิลปะใหม่ซึ่งไม่เคยมีอยู่ในโลกนี้เลย เกิดเป็นนาฎยุทธ์ ซึ่งจาเป็นคนเรียนรู้เอง เหมือน บรู๊ซลี ตั้งศิลปการต่อสู้เป็น เจ็ทคอนโด้ ขึ้นมา ซึ่งบรู๊ซลีเป็นตัวอาจารย์คนแรกเลยที่คิดเจ็ทคอนโด้ขึ้นมา ทุกวันนี้คนยังเรียนรู้อยู่ทั้วอเมริการ ทั่วประเทศ ทั่วยุโรป เรียน วิชาของบรู๊ซลี แต่เป็นเจ็ทคอนโด้ ทีนี้จาก็มีศิลปะการต่อสู้ของตัวเองก็คือ นาฏยุทธ์ อันนี้ใหม่เอี่ยมมาก ซึ่งต้องดูครับ น่าดูมาก Q.มันเป็นยังไงสำหรับนาฏยุทธ์ ? พันนา : ก็เป็นโขน เป็นยักษ์ เป็นลิง ซึ่งต้องไปดูจาเล่น ผมอธิบายไม่ได้ มันแปลกตามาก ซึ่งปรกติจาเล่นมวยไทยใช่มั้ยครับ จะมีการปั้นหมัด เล่นมวยไทย แต่ตอนนี้มันเปลี่ยนละ แต่ยังคงความเป็นศิลปะไทย เพราะมันเป็นนาฎศิลป์ของไทย นะครับ แล้วก็เอาศิลปะการต่อสู้ทั่วโลกเป็นพื้นฐานเดียวกัน มาอยู่ในตัวของนาฏยุทธ์

Q.มีอีกหนึ่งความน่าสนใจ ที่เรียกได้ว่าเป็นเซอร์ไพรซ์ ถือได้ว่าเป็นปรากฎการณ์ที่ไม่เคยเกิดขึ้นนั่นคือการโคจรมาพบกันของศิษย์เอกถึง 2 คนของอาจารย์พันนา เดี่ยว ชูพงษ์ ? พันนา : เดี่ยวนี่คือความเซอร์ไพร์ของหนังเลย สิ่งที่เราจะได้เห็นเดี่ยวในหนังคือความใหม่ มีศิลปะการต่อสู้รูปแบบใหม่ขึ้นมา ซึ่งตัวจานั่นแหละเป็นคนคิดขึ้นให้เขา และจาก็เป็นคนสอนด้วย ความตั้งใจของเราคือวิธีการที่จะถ่ายทอดเดี่ยวออกมาต้องไม่เหมือนหนังที่เขาทำมาทั้งหมด คือมีศิลปะของตัวเอง คือมันจะบอกได้ว่ามันเป็นมวยใหม่ แล้วก็ใช้ความโลดโผนโจนทะยาน ความพริ้ว บิน เพราะว่าฉากต่อสู้ฉากแรกที่เดี่ยวเจอกับจาเนี้ยะ คนต้องทึ่งแน่นอน มันจะน่าดูแน่นอนเพราะว่าสู้กันในสถานที่ที่คนไม่เคยเห็น คาแรกเตอร์เดี่ยวจะมีวิชา ตัว

อัลบั้มภาพ 10 ภาพ

อัลบั้มภาพ 10 ภาพ ของ เปิดใจ พันนา ปรมจารย์คิวบู๊ผู้ปลุกปั้น จา พนม

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook