เดอะ ร็อค อึ้ง!! เบื้องหลังอลังการหนัง Journey 2
ดเวย์น จอห์นสัน อึ้ง!! เบื้องหลังงานสร้าง "Journey 2: The Mysterious Island"
ภาพยนตร์เรื่อง Journey 2: The Mysterious Island หรือชื่อไทยว่า เจอร์นีย์ 2 : พิชิตเกาะพิศวงอัศจรรย์สุดโลก ใช้สถานที่ถ่ายทำใน Oahu รัฐฮาวาย ในช่วงฤดูใบไม้ร่วง 2010 บนเกาะมีแนวชายฝั่งเป็นผืนทรายและหุบเขาที่มีหมอกปกคลุมไปจนถ้ำและภูเขาไฟต่างๆ สถานที่ถ่ายทำได้แก่ Waimea Valley, Heeia Kea, China Walls และ Kualoa Ranch ซึ่งใช้เป็นที่ถ่ายทำของภาพยนตร์และทีวีหลายเรื่อง รวมถึง Halona Beach Cove ที่รู้จักกันดีในชื่อ Eternity Beach เพราะเป็นจุดที่เลื่องชื่อของหนังเรื่อง "From Here to Eternity" ที่นำแสดงโดยเบิร์ต แลนแคสเตอร์ และ เดโบร่าห์ เคอร์
แม้ว่า ดเวย์น จอห์นสัน จะเกิดที่ซาน ฟรานซิสโก ฮีโร่ของเรื่องก็กล่าวว่า "ผมเองก็มีโอกาสโตขึ้นในฮาวาย ซึ่งไกลจากสถานที่ๆ ใช้ถ่ายทำประมาณ 1 ชั่วโมง และมันการได้กลับมาที่แสนวิเศษ ช่วงเวลาหลายวันตอนที่ผมอายุราว 13-14 ปี ผมรักการดูหนังและก็มีความฝันที่ยิ่งใหญ่ เพราะฉะนั้นการได้กลับมาที่ฮาวายและแสดงหนังผจญภัยที่ยิ่งใหญ่เป็นเรื่องที่น่าดีใจมาก"
ผู้สร้างภาพยนตร์ยังใช้สิ่งอำนวยความสะดวกของสตูดิโอที่ North Carolina เพื่อถ่ายทำบางฉาก เริ่มด้วยฉากที่เฮลิคอปเตอร์พุ่งชน หลังจากนั้นก็มีการถ่ายทำที่ Eternity Beach แต่ฉากที่าพยุหมุนผ่านถ่ายทำที่โรงถ่าย โดยฝีมือของ ปีเตอร์ เชสนีย์ ผู้ควบคุมสเปเชียล เอ็ฟเฟ็กต์ เรียกว่า "มันเป็นเหมือนรางประกอบของเล่นที่สร้างขึ้นรอบเสาเหล็กที่หนักมากกับอลูมิเนียมที่ยืดขยายออก"
เชสนีย์สามารถประยุกต์แรงดันรอกทุกมุมน้ำหนัก 6,000 ปอนด์เพียงแค่กดปุ่ม โดยการสร้างอุปกรณ์ที่มีการสั่นสะเทือนสูงที่เขาตอกแอร์แบ็คลงไป เพื่อแปลงโช๊คของรถบรรทุกและติดตั้งมันกับวาห์ลแรงดันสูง ที่จะสามารถผลักดันแรงอัดอากาศปริมาณสูงจากการกดสัญญาณกระแสไฟฟ้า ด้วยเหตุนี้เขาจึงสามารถสร้างพายุเฮอร์ริเคนที่มีความรุนแรงระดับ 5 ที่สุดท้ายได้สะบัดเฮลิคอปเตอร์เป็นเสี่ยงได้ "มันคล้ายกับ 'เครื่องบินฝึกแรงโน้มถ่วง' อันเลื่องชื่อขององค์กร NASA ที่พวกเขาสร้างแรงโน้มถ่วงให้เป็น 0 แต่เราหยุดที่การกลิ้งระหว่างกลางและสามารถวิ่งกลับไปในอีกทิศทางหนึ่งได้" เขาเล่าอย่างภูมิใจถึงเอ็ฟเฟ็กต์ล่าสุดของสิ่งประดิษฐ์ในฉาก
แต่นั่นเป็นเพียงช่วงแรกเริ่ม ฉากผาดโผนที่เป็นจุดเด่นของภาพยนตร์ยังมีการต่อสู้กันทางอากาศที่นักผจญภัยทั้ง 5 คนนั่งอยู่บนผึ้งยักษ์และถูกนกที่ตัวใหญ่กว่าไล่กวดจะกินพวกเขา ฌอนพยายามชี้พวกนกเหล่านั้นว่าเป็นนกที่มีคอสีขาวสายพันธุ์ Needletails ก่อนที่พวกมันจะโฉบลงมาหาเขา ซึ่งถูกเจาะจงเป็นพิเศษเพราะ Needletails เป็นนกที่บินเร็ว และอันที่จริงแล้วกินผึ้งเป็นอาหาร ซึ่งจากขนาดแล้วผู้กำกับของเรื่องอย่าง แบรด เพย์ตัน แนะว่า "ให้คิดว่าผึ้งเป็นเฮลิคอปเตอร์ ส่วนนกเป็นเครื่องบินทิ้งระเบิดแล้วกัน"
"เราเฝ้าระวังเพือให้แน่ใจว่ามันให้ความรู้สึกที่ถูกต้องในเรื่องความเร็วและตามหลักฟิสิกส์" เขากล่าวต่อ "ผมอยากให้ภาพเหล่านี้มีน้ำหนัก ฉะนั้นเวลาที่ผู้ชมเห็นนักแสดงกระชากไปทางซ้ายหรือขวาอย่างแรง หรือเอียงตัวเวลาเลี้ยว พวกเขาต้องแสดงแบบนั้นจริงๆ" เพื่อการสร้างฉากนี้ให้สำเร็จ ผู้กำกับต้องหันไปพึ่งเชสนีย์อีกครั้ง เขาเป็นผู้สร้างหุบเขาหลายชุดที่เรียกว่า Bee Bucks ซึ่งสามารถปรับเปลี่ยนให้ดูสมจริงได้ คล้ายกับถังน้ำมัน ซึ่งแต่ละอันถูกวัดและสร้างความสมดุลกับน้ำหนักของนักแสดงแต่ละคน จากนั้น The Bucks จะเชื่อมติดกับคานรับน้ำหนักที่ทำหน้าที่เหมือนแผงไม้กระดานหกที่มีน้ำหนักถ่วงเพิ่มเติม แล้วนักแสดงทั้งหมดจะนั่งอยู่บนสามเหลี่ยมที่เป็นฐานลอยอยู่บนลูกปืนที่สามารถควบคุมความผันแปรของแรงดันได้ ฉะนั้นจึงลอยเหมือนกับลูกยางบนโต๊ะเกมฮ็อคกี้
ในตอนหลังผู้ควบคุมวิชวลเอ็ฟเฟ็กต์ บอยด์ เชอร์มิส ได้แทนที่ถังน้ำมันด้วยผึ้งที่สร้างด้วยคอมพิวเตอร์กราฟฟิค และแทรกฟุตเทจหลังฉากที่ทีมงานของเขาพบโดยบังเอิญจากการเดินทาง และด้านบนยอดต้นไม้ของหุบเขา บนเฮลิคอปเตอร์ก็มีการใช้กล้องสเตอริโอขนาดย่อส่วนเพื่อให้ได้จังหวะความเร็ว การเคลื่อนไหวและความตื่นเต้นของการบิน จากนั้นเขาถ่ายทำ Buck Rig และส่วนเพิ่มเติมจากทุกมุมแล้วมาผสมผสานทั้งหมดเข้ากับฉากแอ็คชั่นแบบดิจิตอล เหล่านักแสดงจึงเห็นและแสดงโต้ตอบกันได้อย่างรวดเร็วตลอดการไล่ล่า
นอกจากฉากนั้นก็มีฉากแอ็คชั่นบางฉากที่ย้ายไปใต้น้ำ เพื่อไปพบกับปลาไหลไฟฟ้าเพชฌฆาตขนาดยักษ์ ซึ่งจอห์นสันและฮัตเชอร์สันต้องมีใบรับรองการดำน้ำสกูบาเข้ามาเสริมในประวัติ ในตอนแรกผู้สร้างภาพยนตร์วางแผนว่าจะใช้แทงก์ที่ EUE/Screen Gems Studios ในวิลมิงตัน แต่ฉากถูกพัฒนาแนวคิดและมีขนาดใหญ่ขึ้น พวกเขาเลยต้องสร้างแทงก์ขึ้นมาเอง ซึ่งมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 80 ฟีต ลึก 20 ฟีต รองรับน้ำได้ 750,000 แกลลอน
เชอร์มิส เปิดเผยถึงฉากแอ็คชั่นใตน้ำว่า "ทุกอย่างในฉากนั้นถูกสร้างขึ้นด้วยคอมพิวเตอร์ ทั้งส่วนย่อยๆ ใต้น้ำ การหักเหของแสง สิ่งมีชีวิตในทะเล หินปะการัง ฟองอากาศและโคลน สภาวะใต้น้ำเป็นสิ่งที่สร้างขึ้นมาด้วยคอมพิวเตอร์อย่างซับซ้อนที่สุด ใช้เวลานานมากกับเลเยอร์นับร้อย"
กลับมาที่เหนือระดับน้ำทะเล บ้านต้นไม้ของอเล็กซานเดอร์ตั้งใจสร้างขึ้นมาด้วยมือจากการกู้เรืออับปาง และไฟที่จุดขึ้นมาด้วยหิ่งห้อยที่บรรจุอยู่ในขวดแก้วก็ถูกสร้างขึ้นมาในฉากเช่นกัน แต่ส่วนใหญ่ของฉากแอตลานติสที่กว้างขวางถูกสร้างขึ้นบนสถานที่ในฮาวาย ผู้ออกแบบฉากบิล โบส์ อธิบายว่า "เราอยากถ่ายทอดออกมาในรูปแบบที่หรูหราอลังการ บางอย่างถูกสร้างขึ้นด้วยการทาสีแบบด้านและวิชวลเอ็ฟเฟ็กต์ แต่เราก็สร้างฉากขนาดยักษ์ขึ้นมาที่ Kualoa Valley ด้วยเช่นกัน เพราะเกาะจมขึ้นๆ ลงๆ อยู่ตลอดช่วง 140 ปี เรารวมพวกเปลือกหอยและหินปะการังและสัญลักษณ์ของสิ่งมีชีวิตใต้น้ำสมัยโบาณเข้าไปในโครงสร้างด้วย"
ความอัศจรรย์อื่นๆ ของเกาะ ได้แก่ ภูเขาไฟที่พ่นทองเปลว รวมถึงขี้เถ้าทองที่ฝนตกลงมาใส่กลุ่มนักผจญภัยที่วิ่งหลบหนีอย่างรวดเร็ว เพื่อให้ได้เอ็ฟเฟ็กต์อันสมจริงถือเป็นความท้าทาย และเพื่อเลี่ยงมลพิษของสภาพแวดล้อมช่วงแรก ทีมงานไม่สามารถใช้เครื่องมือตามมาตรฐานในการทำงานได้ ไม่ว่าจะเป็นไมกาหรือชิ้นส่วนของไมลาร์ก็ตาม พวกเขาต้องการองค์ประกอบที่ปลอดภัย หลังจากมีการพิจารณาอย่างหนักแล้วก็ตัดสินใจว่าทางออกแก้ไขที่ง่ายที่สุดคือวิธีที่ดีที่สุด พวกเขาจึงเลือกแผ่นทองที่แท้จริงโดยมีความหนา 1.2 ล้านหน่วยต่อหนึ่งนิ้ว และมีความบริสุทธิ์พอที่จะกินได้
สำหรับสถานที่อื่นๆ กลุ่มนักผจญภัยต้องเผชิญหน้ากับความไม่คาดฝันที่ไม่พึงปรารถนา นั่นคือกองไข่ที่มีรูปร่างประหลาด ซึ่งที่จริงแล้วเป็นไข่กิ้งก่ายักษ์ ซึ่งพวกเขาไม่รู้จนกระทั่งข้ามมาครึ่งทางแล้ว แต่ละคนทรงตัวอย่างไม่มั่นคงบนเปลือกหอยบางๆ ในขณะที่แม่กิ้งก่ายักษ์คืบคลานมาหาพวกเขา ไข่เกือบ 60 ฟองที่เข้ามามี 2 ขนาด นั่นคือขนาดใหญ่และใหญ่กว่า ซึ่งมีการแกะสลักและหลอมโดยไฟเบอร์กลาสที่โปร่งใส เขานำมาเชื่อมเข้ากันและทาสี สร้างขึ้นมามีน้ำหนักราว 200-300 ปอนด์ มีขนาดระหว่าง 7 10 ฟีตตามความยาวเส้นรอบวงที่ถูกวางให้ได้ตำแหน่งและดามลงไป
Journey 2: The Mysterious Island
เจอร์นีย์ 2 : พิชิตเกาะพิศวงอัศจรรย์สุดโลก
2 กุมภาพันธ์นี้ในโรงภาพยนตร์เท่านั้น
อัลบั้มภาพ 8 ภาพ