จอร์จ ลูคัส โชว์เทคนิคสุดอลังการงานสร้าง Star Wars

จอร์จ ลูคัส โชว์เทคนิคสุดอลังการงานสร้าง Star Wars

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook


จอร์จ ลูคัส ผู้กำกับหนัง สตาร์ วอร์ส

เป็นเวลานานกว่า 20 ปีที่ จอร์จ ลูคัส เป็นที่รู้จักในนามของนักบุกเบิกด้านวิชวลเอ็ฟเฟ็กต์ ภาพยนตร์ไตรภาคต้นฉบับเรื่อง Star Wars มีอิทธิพลอย่างยิ่งใหญ่ในด้านวิชวลเอ็ฟเฟ็กต์ที่สร้างขึ้นมา รวมถึงขั้นตอนช่วงโพสต์-โพรดักชั่นและในการนำเสนอภาพยนตร์ด้วย

สำหรับการทำความเข้าใจในไอเดียเรื่องวิชวลเอ็ฟเฟ็กต์สำหรับ Star Wars ลูคัสได้สร้างบริษัทผลิตเอ็ฟเฟ็กต์ขึ้นมาชื่อ Industrial Light & Magic ซึ่งมีนำเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์มาให้วงการภาพยนตร์ได้รู้จักและเป็นการปฏิวัติสเปเชียลเอ็ฟเฟ็กต์ ILM มีการเริ่มดำเนินงานเมื่อลู คัสใช้ "หน่วยคอมมานโด" จำนวน 45 คนและพนักงานมากกว่า 1,000 คนตามมาด้วยทีมงานอันทรงเกียรติอีก 14 คนผู้เป็นเจ้าของรางวัล Academy Awards สาขาวิชวลเอ็ฟเฟ็กต์ยอดเยี่ยม และเจ้าของรางวัล Scientific and Technical Achievement Award อีก 14 คนที่มาสร้างผลงานวิชวลเอ็ฟเฟ็กต์ที่มีความโดดเด่นในภาพยนตร์มาแล้วมากกว่า 120 เรื่อง

ประเพณีสืบทอดที่ต่อกันมาด้านเอ็ฟเฟ็กต์ที่โดดเด่นสืบต่อมาถึงใน เอพพิโซด 1 ที่สร้างขึ้นต่อจากภาพยนตร์ดิจิตอลที่มีชื่อเสียงของ ILM อาทิเช่น Terminator 2: Judgment Day, Jurassic Park, Forrest Gump และ Twister ซึ่งในเอพพิโซด 1 เทคโนโลยีดิจิตอลทำหน้าที่ได้อย่างโดดเด่นกว่าภาพยนตร์ทุกเรื่องในประวัติศาสตร์.

สำหรับ "การถ่ายทำระบบดิจิตอล" ในครั้งนี้ ILM พบความท้าทายด้านการเข้าถึงโลกของแฟนตาซีที่ไม่ธรรมดา ขณะเดียวกันก็ต้องคงภาพที่สมจริงเอาไว้ และช่วยเหลือในเรื่องฟุตเทจแบบไลฟ์แอ็คชั่นของเหล่านักแสดง มันไม่ใช่แค่ฉากหลังแนวแฟนตาซีเท่านั้น แต่ทั้งฉาก ยานพาหนะ และแม้แต่ตัวละครก็ถูกสร้างขึ้นจากคอมพิวเตอร์ จริงๆ แล้ว 95% ของเฟรมต่างๆ ในภาพยนตร์มีจำนวนรวมแล้วเกือบ 2,000 ฉากใช้การถ่ายทำระบบดิจิตอล มากกว่า 3 เท่าตัวของปริมาณที่มากที่สุดของฉากคอมพิวเตอร์กราฟฟิคที่เคยสร้างขึ้นใน ภาพยนตร์

แต่ถึงอย่างไรสำหรับภารกิจอันน่ากลัวที่ลูคัสเคยรับมือมา ก่อน ILM ไม่เคยตั้งข้อสงสัยเลยว่าผู้ร่วมงานจะยอมแพ้ความท้าทาย "หลังจากที่ได้ร่วมงานกับพวกเขามานานกว่า 2 ทศวรรษ" ลูคัสกล่าวว่า "ผมรู้ว่าพวกเขาทำได้"

Star Wars: Episode I - The Phantom Menace 3D

ผลงานของทีมงาน ILM ใน เอพพิโซด 1 ที่รวบรวมผู้ชำนาญด้านคอมพิวเตอร์ 250 คนมาสร้างผลงานในจักรวาลโลกดิจิตอลนี้นานถึง 2 ปี ผลงานด้านวิชวลเอ็ฟเฟ็กต์ของภาพยนตร์มีความอลังการมาก ซึ่งไม่ได้ใช้ผู้ควบคุมเก่งๆ ของ ILM เพียงคนเดียวเท่านั้น แต่มากถึง 3 คนที่ถูกเรียกตัวมาร่วมแบ่งเบาหน้าที่ โดยแต่ละคนต้องรับหน้าที่ที่สำคัญสุด 1 อย่างหรือมากกว่านั้นในฉากแอ็คชั่นหลักๆ รวมถึงประเภทของสเปเชียลเอ็ฟเฟ็กต์ที่เกิดขึ้นตลอดในภาพยนตร์ เช่น ดาบพลังแสงที่ส่องแสงตลอดเวลา เด็นนิส มูเร็น เจ้าของรางวัล Oscar เป็นผู้ชำนาญด้านการบุกเบิกเอ็ฟเฟ็กต์ของ Star Wars ภาคต้นฉบับได้มาควบคุมเอ็ฟเฟ็กต์การต่อสู้ภาคพื้นดินที่ยิ่งใหญ่รวมถึงฉาก ใต้น้ำของภาพยนตร์ จอห์น นอล ผู้ให้กำเนิดโปรแกรม Photoshop ดั้งเดิม ควบคุมเรื่องยานอวกาศและฉากต่างๆ ของพอดเรซ ส่วนสก็อตต์ สเควียร์ส Squiers ทำหน้าที่ควบคุมการสร้างฉาก Theed City อันน่าตื่นเต้นรวมถึงเอ็ฟเฟ็กต์ของดาบพลังแสง ผู้เชี่ยวชาญด้านเอ็ฟเฟ็กต์เหล่านี้ได้สร้างโลกทั้งหมดขึ้นมาด้วย คอมพิวเตอร์ของ ILM ซึ่งความสำเร็จนั้นได้มอบความน่าอัศจรรย์มาสู่จอภาพยนตร์ แต่ทำให้เหล่านักแสดงต้องยืนอยู่ในฉาก "บลูสกรีน" ที่ว่างเปล่าอยู่บ่อยๆ ซึ่งภายหลังมีการใช้ฉากหลังแบบดิจิตอลมาแทนที่

การแสดงท่ามกลางโลกที่ประกอบไปด้วยบลูสกรีนและคอมพิวเตอร์กราฟฟิค เป็นหนึ่งในความท้าทายที่สำคัญของเหล่านักแสดงที่ต้องพบว่าตัวเองอยู่ท่าม กลางจินตนาการของตัวเองทั้งหมด มีเพียงเครื่องแต่งกายหรือแสตนอินในบางครั้งเท่านั้นที่จะช่วยให้พวกเขา จินตนาการถึงจักรวาลที่สุดท้ายจะอยู่รายล้อมพวกเขาในภาพยนตร์ได้ น่าแปลกที่ไม่มีนักแสดงคนใดเคยมีประสบการณ์ในการทำงานกับบลูสกรีนมาก่อน แต่ไม่ใช่แค่รับมือกับขั้นตอนได้เท่านั้น พวกเขายังทำงานร่วมกับมันได้อีกด้วย เลียม นีสัน ผู้เปรียบเทียบประสบการณ์กับการอยู่ในฉากว่า "เราต้องใช้จินตนาการ เราแสดงไปตามสัญชาตญาณล้วนๆ สำหรับบทของผมแล้ว ผมอยากแน่ใจว่าผมแสดงออกมาเหมือนเชื่อว่าทุกอย่างมีอยู่จริง"

ขอบเขตของดิจิตอลได้แผนขยายไปถึงการสร้างตัวละครของเอพพิโซด 1 บางตัว รวมถึงตัวละครที่คุ้นเคยอย่าง จับบ้า เดอะ ฮัตต์ ตัวละครคุ้นตาจาก Return of the Jedi และ Star Wars Special Edition ท่ามกลางผลงานจากคอมพิวเตอร์กราฟฟิคชุดใหม่ที่มากกว่า 60 ตัวได้รับการควบคุมจากผู้ควบคุมแอนิเมชั่น ร็อบ โคลแมน, จาร์ จาร์ บิงค์ส ซีบัลบ้า แชมป์การแข่งขันพอดเรซที่ท้าทายจากอนาคิน และวาทูตัวละครที่พูดเสียงกระด้างผู้ที่อนาคินเป็นทาสรับใช้อย่างตรากตรำ ตัวละครคอมพิวเตอร์กราฟฟิคแต่ละตัวมีการแสดงที่โดดเด่นในแบบของตัวเองผ่าน การแสดงออกทางสีหน้าและท่าทางอันมีเอกลักษณ์ที่สร้างขึ้นมาจากผู้ชำนาญด้าน เอ็ฟเฟ็กต์ของภาพยนตร์ แม้แต่การพริ้วและการเคลื่อนไหวของเสื้อผ้าตัวละครก็เหมือนกับตัวละครที่ ร่วมฉากซึ่งมีทั้งเนื้อและหนังของพวกเขา

นั่นอาจจเป็นโลกดิจิตอลแต่ก็มีความสำคัญที่ต้องมีหลักการทำงานที่เข้ากันได้ แบบสมัยก่อนเอ็ฟเฟ็กต์สร้างชื่อ สำหรับการสร้างโมเดลได้รับการควบคุมโดยสตีฟ กอว์ลีย์ จากหน่วยสร้างโมเดลของ ILM ที่มารับหน้าที่สำคัญต่อในจักรวาลของ Star Wars ซึ่งเขาต้องทำงานร่วมกับองค์ประกอบของคอมพิวเตอร์กราฟฟิค

Star Wars: Episode I - The Phantom Menace 3D

ผลงานดิจิตอลทำหน้าสำคัญของการสร้างโลกต่างๆ ที่ไม่ธรรมดาและมีความแตกต่างกันใน เอพพิโซด 1 ซึ่งทั้ง 3 โลกทำหน้าที่เป็นสถานที่หลักของเรื่องราวดวงดาวแห่งทะเลทรายแทตทูอินที่คุ้น ตาแฟนๆ ภาพยนตร์ไตรภาคต้นฉบับอยู่แล้วเป็นที่อยู่ของเอเลี่ยนหลากสายพันธุ์ที่มีการ เดินทางผ่านสถานีอวกาศอันไกลโพ้น อาณาบริเวณของโลกนี้อยู่เหนืออารยธรรมที่มีส่วนสำคัญต่อสาธารณรัฐแห่งดวงดาว ทำให้แทตทูอินเป็นดาวที่มีความรุนแรงซึ่งปกครองโดยพวกเหล่าร้าย มีการค้าตลาดมืดและการพนันเป็นสิ่งขับเคลื่อนเศรษฐกิจ และเป็นข้าทาสบริวารทั้งหลายมีเศรษฐีเป็นเจ้าของ

นาบูเป็นดินแดนที่มีความงดงามและสงบสุขที่มีทิวทัศน์สีเขียวขจีและมีเมือง เพียง 2-3 แห่ง ซึ่งตั้งอยู่ทั้งเบื้องบนและใต้แม่น้ำ โลกขนาดกระทัดรัดใบนี้เป็นฉากการต่อสู้ที่จุดชนวนเหตุการณ์ทั้งหมดที่เกิด ขึ้นในตำนานการผจญภัย Star Wars ในภาพยนตร์

โคโรซังต์เป็นเมืองหลวงแห่งโลกที่ปกคลุมดาวทั้งหมดในตึกสูงขนาดยักษ์ ตั้งอยู่ใจกลางจักรวาล Star Wars โดยที่นี่มีเจไดตั้งกองบัญชาการที่วิหารเจไดอันทรงพลัง และจากจุดนี้มีสภาแห่งจักรวาลปกครองโดยสาธารณรัฐ


Star Wars: Episode I The Phantom Menace (3D)
สตาร์ วอร์ส เอพพิโซด I : ภัยซ่อนเร้น
9 กุมภาพันธ์นี้ ในโรงภาพยนตร์ระบบ 3 มิติ
ติดตามความเคลื่อนไหวได้ที่

http://www.facebook.com/Fox.Thailand
http://www.youtube.com/starwars




คลิกดูตัวอย่าง สตาร์ วอร์ส

อัลบั้มภาพ 7 ภาพ

อัลบั้มภาพ 7 ภาพ ของ จอร์จ ลูคัส โชว์เทคนิคสุดอลังการงานสร้าง Star Wars

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook