วิจารณ์ละครเวที BEAUTY AND THE BEAST ความเชยที่ “ไม่” ร่วมสมัย

วิจารณ์ละครเวที BEAUTY AND THE BEAST ความเชยที่ “ไม่” ร่วมสมัย

วิจารณ์ละครเวที BEAUTY AND THE BEAST ความเชยที่ “ไม่” ร่วมสมัย
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

สิ่งที่ควรค่าแก่การพูดถึงละครเวทีที่ยกโปรดักชั่นมาจากต่างประเทศนั้น ก่อนอื่นเลยที่ต้องทำความเข้าใจก่อนว่าละครบรอดเวย์ในเวอร์ชั่นนี้ก็ดัดแปลงมาจากการ์ตูนในเวอร์ชั่นปี 1991 (ซึ่งการ์ตูนในปี 1991 ก็ถูกดัดแปลงมาจากงานวรรณกรรมอีกทีหนึ่ง) ละครเรื่องนี้เปิดแสดงครั้งแรกในปี 1993 ที่ฮูสตันก่อนจะย้ายไปเล่นที่บรอดเวย์ และตอนนี้ละครเรื่องนี้สามารถทำสติเป็นละครบรอดเวย์ที่สามารถทำการแสดงได้ยาวนานที่สุดเป็นลำดับที่ 9 จากรอบการแสดงทั้งหมด  5461 โชว์ (อันดับหนึ่งยังเป็นละครบรอดเวย์สุดฮิตตลอดกาลอย่าง The Phantom of the Opera)

เรื่องราวในเวอร์ชั่นละครบรอดเวย์แทบจะไม่มีอะไรแตกต่างจากเวอร์ชั่นของแอนิเมชั่นนักในแง่ของเรื่องราวหลักๆ เบลล์ยังคงเป็นสาวน้อยผู้รักการอ่านที่ตัดสินใจยอมถูกจองจำอยู่ในปราสาทของอสูรเพื่อแลกกับอิสระของพ่อตัวเอง ในปราสาทที่เบลล์ไม่คุ้นเคยเธอได้ใช้ชีวิตไปวันๆและได้ค้นพบว่าจริงๆแล้วอสูรก็มีแง่มุมที่อ่อนโยนและพร้อมจะถูกกะเทาะความรู้สึกทีแข็งกระด้างออกมาทีละน้อย จนท้ายที่สุดแล้วอสูรก็ตกหลุมรักเบลล์ แต่เหมือนกับว่าแกสตองหนุ่มกล้ามล่ำในหมู่บ้านจะเป็นตัวการสำคัญที่ทำให้อสูรอาจจะไม่สามารถคืนร่างกลายเป็นเจ้าชายดังเดิมได้  

สำหรับเวอร์ชั่นละครเวทีมีการตัดทอนส่วนที่ไม่สำคัญออกไป ตัดคาแรกเตอร์จุกจิกเล็กๆออกไป มีการใส่เพลงใหม่มาเพื่อบอกเล่าอารมณ์และความรู้สึกของตัวละครให้มากยิ่งขึ้น แต่สำหรับเพลงเด่นๆที่อยู่ในเวอร์ชั่นของแอนิเมชั่นก็ยังอยู่ในละครอย่างครบครัน ไม่ว่าจะเป็นเพลง Belle, Gaston, Be Our Guest, Something There, Beauty and the Beast และ The Mob Song



แท้จริงแล้วละครเรื่องนี้ได้รับรางวัลบรอดเวย์ในสาขาเครื่องแต่งกายยอดเยี่ยมเมื่อปี 1994 ซึ่งผ่านมากว่า 20 กว่าปีแล้วความน่าตื่นตาตื่นใจของชุดเสื้อผ้าในละครเรื่องนี้จึงลดลงมาดกาลเวลา (เทียบง่ายๆกับละครรัชดาลัยบ้านเราที่ยกตัวอย่างชุดที่คิดว่าอลังการกว่า สวยกว่าก็ “เลือดขัตติยา” นั่นไง) และเอาเข้าจริงๆแล้วตัวบทละครเวทีเรื่องนี้ในแง่ของวิธีการ “เล่าเรื่อง” ก็เหมือนเล่าแบบผ่านๆมากกว่า เราเลยไม่ค่อยตราตรึงไปกับความรักของเบลล์และอสูรสักเท่าไหร่ แต่ฉากตลกโปกฮาของละครก็ยังเรียกได้ว่าคุมจังหวะเรียกเสียงหัวเราะได้พอดี

องค์ประกอบของละครเวทีเรื่องนี้ฉาก “ขายของ” กลายเป็นของเพลง Be Our Guest ที่เราก็รู้ดีว่าเมื่อมันมาอยู่ในละครเพลงมันคงไม่สามารถ "อลังการ" ได้เท่าการ์ตูน แต่ปัญหาของมันอยู่ตรงที่เราไม่รู้สึกว่าสิ่งที่ "หมู่มวล" เอาชุดจาน ช้อน ส้อม มาใส่เต้นนั้นจะทำให้เราเชื่อมโยงไปถึงว่าเบลล์กำลังจะได้ทานอาหารมื้อสำคัญสักเท่าไหร่ ที่เรารับรู้ได้แค่ว่านี่เป็นฉากเต้นและฉากยิงเปเปอร์ชู้ดเพื่อเรียกเสียงปรบมือ

ฉากที่น่าเสียดายพอๆกันคือเพลง Beauty and the Beast กลับกลายเป็นฉาก "ธรรมดามาก" และจืดชืดมากเมื่อมันไม่สามารถส่งอารมณ์ "โรแมนติก" ของฉากนี่ได้แม้แต่ครึ่งเดียวของเวอร์ชั่นการ์ตูน และความ "เชย" ของโปรดักชั่นละคร รวมไปถึงคอสตูมปลอมๆของเจ้าชายอสูรนี่แหละที่เป็นตัว "ทำร้าย" ความพาฝันของฉากนี้แบบราบคาบ

อย่างไรก็ตามสิ่งที่น่าชื่นชมที่สุดในโชว์ Beauty and the Beast ก็คือพลังการแสดงของบรรดานักแสดงที่ทุ่มเททั้งเรื่องเสียงร้องและการส่งพลังถึงคนดู ถ้าใครอยากจะฟังเพลงเพราะๆประกอบการแสดง บรอดเวย์เรื่องนี้ก็พูดได้ว่าพอดูได้แบบหอมปากหอมคอ แต่ถ้าคาดหวังคาดอลังการ บางทีอาจจะต้องคิดใหม่เพราะละครมิวสิคัลไทยหลายเรื่อง “งานละเอียดและร่วมสมัย” กว่าละครเวทีเรื่องนี้ 

ถ้าอยากจะลองเสพย์ผลงานละครเวทีย้อนยุคไปสัก 10-20 ปี Beauty and the Beast ก็ตอบโจทย์ของคุณครับ 

 

@พริตตี้ปลาสลิด 

อัลบั้มภาพ 5 ภาพ

อัลบั้มภาพ 5 ภาพ ของ วิจารณ์ละครเวที BEAUTY AND THE BEAST ความเชยที่ “ไม่” ร่วมสมัย

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook