7 เรื่องจริงที่คุณอาจไม่เคยรู้เกี่ยวกับ สตาร์ วอร์ส (Star War)
4 พฤษภาคม ของทุกปี ถือเป็นวันแห่งสตาร์ วอร์ส เราจึงอยากเฉลิมฉลองปีนี้ด้วยการขุดเอา 7 เรื่องจริงแสนสนุก ของมหากาพย์ภาพยนตร์อวกาศในตำนาน อย่างสตาร์ วอร์สที่เหล่าสาวกอาจไม่เคยรู้มาก่อน 7 เรื่องที่เกิดขึ้นจริงนี้ จะทำให้เหล่าสาวกอินไปกับสุดยอดภาพยนตร์ที่พวกเขาชื่นชอบมากยิ่งขึ้น
1. แฟรงค์ ออซ ผู้พากย์เสียงโยดาในเรื่อง สตาร์ วอร์ส เป็นคนเดียวกันกับผู้พากย์เสียง มิสพิกกี้ ในเรื่อง เดอะ มัพเพทส์ (The Muppets)
นอกจากพากย์เสียงและเชิดหุ่นในบทของปรมาจารย์โยดาแล้ว แฟรงค์ ออซ ยังควบทั้งสองหน้าที่นี้ให้กับ มิสพิกกี้ และคุกกี้ มอนสเตอร์ อีกด้วย
เขาได้การทุ่มเทให้กับบท โยดา มากยิ่งกว่าแค่พากย์เสียงและเชิดหุ่น เพราะเขายังมีส่วนในการสร้างสรรค์บุคลิกการพูดในสไตล์ “โยดิค” อันเป็นเอกลักษณ์ (ทั้งประธาน กริยา และกรรม)
ปรมาจารย์โยดา จาก สตาร์ วอร์ส
มิสพิกกี้ จาก เดอะ มัพเพทส์
2. เสียงหายใจแบบกระหืดกระหอบอันเป็นเอกลักษณ์ ของ ดาร์ธ เวเดอร์ ได้มาจากการใช้เครื่องช่วยหายใจใต้น้ำ
ดาร์ธ เวเดอร์ คือ ตัวละครเเรกที่ จอร์จ ลูคัส สร้างขึ้นให้กับ สตาร์ วอร์ส ส่วนอาภรณ์สุดล้ำของตัวละครนี้ออกแบบโดย ราล์ฟ แมคแควร์รี่ ศิลปินผู้ออกแบบ แม้ว่าจะไม่มีคำอธิบายใดๆ เลย ว่าทำไม
ดาร์ธ เวเดอร์ จึงสวมใส่ชุดสูทยาวๆ อยู่ตลอดเวลา จนกระทั่ง สตาร์ วอร์ส ภาค 5: จักรวรรดิเอมไพร์โต้กลับ สิ่งที่ แมคแควร์รี่ คำนึงถึงมากระหว่างการออกแบบชุดให้กับ ดาร์ธ เวเดอร์ คือ ทำอย่างไร ดาร์ธ เวเดอร์ จึงจะสามารถหายใจได้ระหว่างการเดินทางข้ามไปมา ระหว่างยานของเขา ไปยังยานของเจ้าหญิงเลอา โดยรูปแบบชุดของ ดาร์ธ เวเดอร์ นั้นออกแบบบนพื้นฐานของชุดคลุมนักรบเบดูอิน
เบน เบิร์ต สร้างเสียงหายใจของ ดาร์ธ เวเดอร์ ด้วยการเพิ่มไมโครโฟนเล็กๆ เข้าไปยังบริเวณริมฝีปากบนผ่านหน้ากากของเครื่องช่วยหายใจใต้น้ำ จากนั้นก็บันทึกเสียงหายใจผ่านเครื่องนี้ ให้ได้เสียงตามที่ตั้งใจไว้แต่แรกว่าเสียงหายใจของดาร์ธ เวเดอร์ นั้น ควรจะติดๆขัดๆ และแหบพร่า เสียงหายใจแบบนี้ ผู้ชมจะได้ยินใน สตาร์ วอร์ส ภาค 6: การกลับมาของเจได ตอนช่วงไคลแมกซ์ของการต่อสู้ที่ ลุค ปราบ เวเดอร์ ด้วยการประลองดาบไลท์เซเบอร์
ดาร์ธ เวเดอร์
3. สตาร์ วอร์ส ทุกภาคในสหรัฐอเมริกาจะฉายรอบปฐมทัศน์ในเดือนพฤษภาคม หลังวันเกิดจอร์ช ลูคัส เพียงหนึ่งสัปดาห์
ทเวนตี้ท์เซ็นจูรีฟ็อกซ์ เริ่มฉายมหากาพย์ภาพยนตร์เรื่องสตาร์ วอร์ส ภาคแรก เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม ปีพ.ศ. 2520 และกลายเป็นปรากฏการณ์ ป๊อป คัลเจอร์ที่เป็นกระแสนิยมไปทั่วโลก ตามด้วยการปล่อย สตาร์ วอร์ส อีกสอง ภาคออกฉาย ซึ่งสองภาคนี้มีระยะเวลาฉายห่างกันสามปี 16 ปีต่อมาหลังจากภาคสุดท้ายของไตรภาคแรก สตาร์ วอร์ส ไตรภาคใหม่ก็ได้นำออกฉาย โดยไตรภาคใหม่นี้ เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นก่อนไตรภาคแรก ซึ่งแต่ละภาคก็ยังเอกลักษณ์ของเวลาเข้าโรง ที่แต่ละภาคจะฉายห่างกันสามปี ภาคสุดท้ายของไตรภาคใหม่ เข้าฉายวันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2548
ในปีพ.ศ. 2555 เดอะ วอลท์ ดิสนีย์ คอมปานี เข้าซื้อกิจการของลูคัสฟิล์ม ด้วยมูลค่า 4.05พันล้านเหรียญสหรัฐ และได้ประกาศว่าจะสร้างภาพยนตร์เรื่องสตาร์ วอร์ส ไตรภาคใหม่ออกมา นับเป็นภาคที่ 7 ของ สตาร์ วอร์ส ภายใต้ชื่อ อุบัติการณ์แห่งพลัง (Star Wars: The Force Awakens) มีกำหนดเข้าฉายในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2558 ในปัจจุบัน ทเวนตี้ท์เซ็นจูรีฟ็อกซ์ ยังถือครองสิทธิ์ขาดในการจำหน่ายภาพยนตร์เรื่องสตาร์ วอร์ส ทั้งสองไตรภาคอยู่ และเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ตลอดกาลในภาพยนตร์เรื่องสตาร์ วอร์ส ภาค 4 – ความหวังใหม่ ขณะเดียวกันก็ถือครองลิขสิทธิ์ในภาค 1 - 3 และ 4 – 6 จนถึง เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2563
จอร์จ ลูคัส
4. จอห์น วิลเลียมส์ คว้ารางวัลออสการ์ จากผลงานเพลงประกอบภาพยนตร์เรื่อง สตาร์ วอร์ส ต่อมา สถาบันภาพยนตร์แห่งสหรัฐอเมริกา ได้ยกย่องให้เพลงประกอบภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นเพลงประกอบภาพยนตร์ที่ดีที่สุดตลอดกาล
แรกเริ่มเดิมที จอร์จ ลูคัส ตั้งใจจะใช้เพลงประกอบภาพยนตร์เรื่องนี้ด้วยดนตรีคลาสสิค เหมือนที่สแตนลีย์ คูบริค ใช้ในหนังเรื่อง “2001 – A Space Odyssey” สตีเว่น สปีลเบิร์ก แนะนำลูคัส ให้รู้จักกับนักประพันธ์เพลงนามว่า จอห์น วิลเลียมส์ จนกระทั่งทั้งสองคน คือ ลูคัส และวิลเลียมส์ มีความเห็นตรงกันว่าควรจะใช้แนวดนตรีคลาสสิค โรแมนติกจากยุค 19 ซึ่งมีการใช้ทำนองดนตรีสั้นๆ ซ้ำกันบ่อยในหนังจนเป็นเอกลักษณ์ แนวคิดนี้คือการให้ภาพยนตร์ถ่ายทอดโลกใหม่ที่ไม่มีใครเคยเห็นมาก่อน การใช้ดนตรีที่คุ้นเคยจะทำให้ผู้ชมรู้สึกคุ้นเคยทางอารมณ์กับโลกใหม่ได้ดีขึ้น
ปีพ.ศ. 2520 วิลเลียมส์ ประพันธ์เพลงประกอบภาพยนตร์เรื่อง สตาร์ วอร์ส ซึ่งประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก และกลายเป็นดนตรีประกอบภาพยนตร์ที่ขายดีที่สุดตลอดกาล ทำให้วิลเลียมส์ได้รับรางวัลออสการ์ อีกครั้ง เสียงจากวงดนตรี ลอนดอน ซิมโฟนี่ ออเคสตร้า ให้ความรู้สึกละเมียดละไม ซึ่งส่งเสริมให้เพลงและ ภาพยนตร์แนวผจญภัยในอวกาศเรื่องนี้เป็นที่จดจำกันขึ้นใจ
ตลอดเวลาหลายปีแห่งความร่วมมืออันยาวนานระหว่างสปีลเบิร์ค และวิลเลียมส์ ทำให้ วิลเลียมส์ ได้รับรางวัลออสการ์เพิ่มอีกสองครั้ง จากการประพันธ์ดนตรีประกอบภาพยนต์เรื่อง อี.ที. เพื่อนรัก และชะตากรรมที่โลกไม่ลืม
ตลอดชีวิตการทำงาน วิลเลียมส์ ได้รับการเสนอชื่อชิงรางวัลออสการ์ทั้งหมด 46 ครั้ง ซึ่งถือเป็นบุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่ ที่ได้รับการเสนอชื่อมากที่สุด นอกจากนั้นเค้ายังได้รับการติดต่อให้แต่งเพลงสำหรับใช้ในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกอีกด้วย
จอห์น วิลเลียมส์
5. ชิวแบคคา ได้รับแรงบันดาลใจมาจากน้องหมาแสนรักของ จอร์ช ลูคัส ที่มีชื่อว่า อินเดียน่า และน้องหมาของเขานี่เองที่ยังเป็นที่มาของชื่อพระเอกสุดดังอย่าง อินเดียน่า โจนส์
ชิวแบคคา หรือ ชิววี เป็นอีกหนึ่งตัวละครสมมติที่สร้างสีสันให้กับมหากาพย์สตาร์ วอร์ส ชิวแบคคา จัดอยู่ในอยู่ในสัตว์สายพันธุ์วูคกี้ สปีชีส์ คือเป็นสิ่งมีชีวิตที่มีรูปร่างสูง และมีขนดก เป็นสิ่งมีชีวิตพื้นเมืองจากดาวคาชีค ชิวแบคคาจงรักภักดีต่อฮันโซโลอย่างมาก และทำหน้าที่เป็นนักบินร่วมแห่งยานมิลเลนเนียมฟอลคอน ชิวแบคคา ถูกสร้างขึ้นโดย ปีเตอร์ เมย์ฮิว นักแสดงในภาพยนตร์เรื่องสตาร์
วอร์ส และตัวละครนี้ยังได้ปรากฏทั้งในจอโทรทัศน์ หนังสือการ์ตูน และวิดีโอเกมด้วย
แนวคิดการออกแบบชิวแบคคา ให้เป็นสิ่งมีชีวิตที่ สุภาพ อ่อนโยน เป็นนักบินร่วมที่ไม่พูดภาษาอังกฤษ มาจากการที่ จอร์จ ลูคัส เห็นพฤติกรรมสุนัขของเขา ตอนมันนั่งอยู่เบาะข้างคนขับเมื่อเขาพามันไปด้วยขณะขับรถ สุนัขตัวนี้ชื่อว่า “อินเดียนนา” ซึ่งยังเป็นที่มาของชื่อพระเอก เรื่อง อินเดียน่า โจนส์ ภาพยนตร์ภาคต่อที่มีชื่อเสียงอีกเรื่องของลูคัสฟิล์ม ที่มาของชื่อนี้ มาจากคำรัสเซีย ที่นิยมตั้งเป็นชื่อให้สุนัข อ่านว่า โซบาคา (собака)
ชิวแบคคา
จอร์จ ลูคัส และเจ้าอินเดียน่า หมาแสนรัก
6. โฉมหน้าของยานมิลเลนเนียม ฟอลคอน ได้รับแรงบันดาลใจจากแฮมเบอร์เกอร์ที่มีลูกมะกอกเสียบอยู่ด้านข้าง
มิลเลนเนียม ฟอลคอน เป็นยานอวกาศในจักรวาลสตาร์ วอร์ส ควบคุมยานโดยพ่อค้าของเถื่อน ฮันโซโล (แฮร์ริสัน ฟอร์ด) และ เพื่อนวูคกี้ คนแรกของเขา ที่ชื่อ ชิวแบคคา (ปีเตอร์ เมย์ฮิว)
ยานที่ถูกสร้างมาแบบสุดล้ำ วายที-1300 ไลท์ เฟรทเทอร์ ปรากฏตัวใน สตาร์ วอร์ส ครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2520 และในภาค ต่อๆมา ได้แก่ “จักรวรรดิโต้กลับ (พ.ศ. 2523)” “การกลับมาของเจได (พ.ศ. 2548)” รวมทั้งสตาร์ วอร์ส ภาค 3 ซิธชำระแค้น (พ.ศ. 2548) ยานฟาลคอน ยังปรากฏอยู่ใน ในอีกหลายต่อหลายรูปแบบในกระจายจักรวาล สตาร์ วอร์ส ไม่ว่าจะเป็น หนังสือการ์ตูน และเกม รวมทั้งนวนิยายของ เจมส์ ลูเซโน ตอน มิลเลนเนียม ฟอลคอน โดยเจาะลึกเฉพาะเรื่องราวของยานลำดังกล่าวล้วนๆ
จอร์จ ลูคัส ผู้สร้างสตาร์ วอร์ส ได้ออกแบบยานมิลเลนเนียม ฟอลคอน โดยได้รับแรงบันดาลใจ จากชิ้นแฮมเบอร์เกอร์ ทั้งส่วนห้องนักบินได้มาจากผลมะกอกที่ประกบอยู่ด้านข้าง แรกเริ่มนั้น ตัวยานมีลักษณะที่ยาวกว่า แต่ยานที่ออกแบบล่าสุดนี้มีความคล้ายคลึงกับยานขนส่งเหยี่ยวเวหา (Eagle Transporters) ในเรื่อง สเปส (พ.ศ. 2542) ลูคัสจึงปรับเปลี่ยนรูปแบบงานออกแบบของยานฟาลคอน ทันที ต้นแบบเดิมนั้นถูกปรับขนาดใหม่ และใช้เป็นยานแทนท์ทีฟ 4 (Tanttive IV) ของเจ้าหญิงเลอา
ยานมิลเลนเนียม ฟาลคอน
ชิ้นแฮมเบอร์เกอร์ ที่มีผลมะกอกประกบอยู่ด้านข้าง
7. การเชิด แจบบา เดอะ ฮัทท์ ต้องใช้กำลังคนเชิดมากถึง 10 คน
แจบบา เดอะ ฮัทท์ เป็นอีกหนึ่งบทบาทของตัวละครที่ปรากฏอยู่ใน สตาร์ วอร์ส มหากาพย์ภาพยนตร์อวกาศ ภาพของแจบบา คือสัตว์ประหลาดทากขนาดยักษ์ นักวิจารณ์ภาพยนตร์ โรเจอร์ อีเบิร์ต ได้อธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับตัวละครนี้ ว่าเป็นการข้ามสายพันธุ์ระหว่างคางคก และแมวเชสเชียร์
แจบบา เป็นผลงานการสร้างสรรค์ ของ ฟิล ทิปเป็ตต์ ศิลปินผู้สร้างสรรค์เทคนิคพิเศษ โดยได้แรงบันดาลใจจากกายวิภาคของสัตว์หลากหลายสปีชีส์ โครงสร้างและการเจริญพันธุ์ ของแจบบา คือหนอนปล้อง สัตว์ไร้ขน ไร้กระดูก และมีสองเพศ ส่วนศรีษะของแจบบา ที่เหมือนกระเปาะ กลมมน ถูกสร้างหลังจากนั้นด้วยส่วนร่างกายที่เลื้อยเหมือนงู รูม่านตาที่เป็นเส้นกรีดขวางแนวนอน ปากที่เปิดกว้างมากพอที่จะสามารถกลืนกินเหยื่อที่มีขนาดใหญ่ได้อย่างสบายๆ ผิวหนังมีความชุ่มชื้น ที่เป็นคุณสมบัติของสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ แจบบาถูกสร้างเป็นต้นแบบ ของสมาชิกกลุ่ม เดอะ ฮัทท์ ในภาคต่อๆ มาของ สตาร์ วอร์ส
ในภาค “การกลับมาของเจได” ยังปราภฏภาพของแจบบา ตัวละครน้ำหนักร่วมหนึ่งตัน ที่ใช้เวลาสร้างนานสามเดือนครึ่ง และทุนสร้างกว่าครึ่งล้านดอลลาร์ ระหว่างถ่ายทำภาพยนตร์เรื่องนี้ แจบบา มีช่างแต่งหน้าส่วนตัว ทั้งยังต้องใช้กำลังคนเชิดมากถึง 10 คน ถือเป็นตัวละครที่ใช้เงินลงทุนมากที่สุดตัวหนึ่งเมื่อเทียบกับตัวละครอื่นๆ ที่เคยใช้ในการสร้างภาพยนตร์
แจบบา เดอะ ฮัทท์
ขอพลังจงสถิตแก่ท่าน!
อัลบั้มภาพ 9 ภาพ