วิจารณ์หนัง TOMORROWLAND สวัสดีวันพรุ่งนี้ของคนมีฝัน

วิจารณ์หนัง TOMORROWLAND สวัสดีวันพรุ่งนี้ของคนมีฝัน

วิจารณ์หนัง TOMORROWLAND สวัสดีวันพรุ่งนี้ของคนมีฝัน
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

 

ถ้าหากลองมองตามจุดประสงค์แล้ว การสร้างหนัง Tomorrowland เป็นมากกว่าแค่การโปรโมตโซนเครื่องเล่นในสวนสนุกดิสนีย์แลนด์ แต่มันยังพยายามสะท้อนโลกในจินตนาการของคนสร้างหนังด้วยว่าพวกเขา “โหยหา” โลกในอุดมคติมากแค่ไหน อย่างไรก็ตามแม้คอนเซปของเรื่องจะค่อนข้างแข็งแรงพอสมควร แต่ปัญหาของ Tomorrowland กลับมีให้เห็นเต็มไปหมดตลอดรายทางของหนัง 

อันที่จริง Tomorrowland นั้นอุบไต๋ของหนังเอาไว้มากจนเกินไป (เราจะเห็นได้ว่าก่อนหนังจะเข้าฉายกระแสค่อนข้างเงียบ มีแต่เกร็ดเล็กๆที่ถูกปล่อยออกมาเป็นระยะๆเท่านั้น และถ้าไม่ใช่แฟนหนังตัวจริงก็คงไม่ได้สนใจอะไรมาก)  

เรื่องราวในหนังถูกแบ่งออกเป็นสองเส้นเรื่องที่มาบรรจบกันพอดี เมื่อแฟรงค์ วอล์คเกอร์(จอร์จ คลูนีย์และโทมัส โรบินสัน) หนุ่มใหญ่วัยกลางคนที่เขาถูกไล่ออกมาจาก Tomorrowland ด้วยเหตุผลบางอย่าง ในขณะที่อีกเส้นเรื่องหนึ่งก็คือเคซีย์ (บริตต์ โรเบิร์ตสัน) สาวน้อยวัยมัธยมที่มีความสามารถทางวิทยาศาสตร์ ลูกสาวของวิศวกรแห่งบริษัทนาซ่าที่บังเอิญเธอได้รับเข็มกลัดเพื่อเดินทางไปยัง Tomorrowland ซึ่งเป็นสถานที่สักแห่งในห้วงเวลา ขณะเดียวกันจุดเชื่อมโยงของคนสองคนกลับอยู่ที่อธีน่า (รัฟฟีย์ แคสซิดี้) หุ่นยนต์สาวน้อยที่ดูเหมือนเคยเป็นรักครั้งแรกของแฟรงค์ที่เป็นคนหยิบยื่นเข็มกลัดที่ไว้เดินทางไปยังดินแดนลับแล เช่นเดียวกับเคซีย์ 

 

เอาเข้าจริง Tomorrowland อาจจะเป็นหนังที่ช่วยเติมเต็มความฝันให้กับเหล่าเด็กๆ หรือผู้ใหญ่ที่ยังฝันเฟื่องแบบเด็กๆ ว่าโอเคเราต้องมองโลกให้สดใส จินตนาการของเราจะนำมาซึ่งความสำเร็จ ความก้าวหน้า รวมไปถึงอนาคตที่สดใสของมวลมนุษยชาติ เด็กฉลาดคืออนาคตอันเต็มไปด้วยความหวัง แต่ตัวหนังมัวแต่จะมองโลกในแง่ดีแบบผ้าขาวจนเกินไป ขาวเสียจนตัวร้ายในหนังเรื่องนี้พยายามอธิบายความจริงเรื่องที่คนยุคปัจจุบันมองโลกในแง่ “ดิสโทเปีย” มากจนเกินไป จนยิ่งดึงดูดวันสิ้นโลกให้ใกล้เข้ามาทุกทีโดยปราศจากคนที่จะพยายามยับยั้งเหตุการณ์เหล่านั้น 

ผู้เขียนไม่ได้มีปัญหากับวิธีการมองโลกในแง่ดี แต่ผู้เขียนมีปัญหามากกับวิธีการโน้มน้าวของผู้กำกับอย่างแบรด เบิร์ด (ผู้กำกับหนังพิกซาร์อย่าง Ratatouille, The Incredibles รวมไปถึงหนังสายลับภาคต่ออย่าง Mission: Impossible - Ghost Protocol) ที่นำเสนอเรื่องราวในครึ่งแรกของหนังที่มัวแต่สาละวนกับการโชว์เทคนิคด้านภาพ ซีจี ฉากโครมครามมากมาย จนเรามองไม่ค่อยเห็น “มิติ” ด้านความเป็นมนุษย์(ที่มีเลือดมีเนื้อจริๆ) ของเคซีย์และแฟรงค์สักเท่าไหร่ (คุณไม่สงสัยกันบ้างเหรอครับว่า ครอบครัวที่ปล่อยลูกสาวย่องออกจากบ้านดึกๆขับมอเตอร์ไซต์ไปบุกฐานปล่อยยานอวกาศนาซ่ายามกลางค่ำกลางคืน เที่ยวปั่นจักรยานข้ามเมืองไปไหนต่อไป นี่เป็นครอบครัวแบบไหนกัน!, เช่นเดียวกับแฟรงค์ที่เราไม่เคยรู้เลยว่าในวัยเด็กเขาเป็นอัจริยะแบบนั้นได้ยังไงกัน! ผู้เขียนยอมโดนด่าว่าไร้จินตนาการ แต่ความมี “สติ” ก็สำคัญไม่แพ้จินตนาการนะครับ!) 

 

ยิ่งไปกว่านั้นเอาเข้าจริงหนังก็เต็มไปด้วยความรุนแรง เพียงแต่ความรุนแรงนั้นไม่ได้รับการถ่ายทอดแบบตรงๆ ซึ่งถ้ามองในนัยยะของ “สิ่งมีชีวิต” แล้ว หนังอุดมไปฉากที่เคซีย์และแฟรงค์ต่อสู้กับหุ่นแอนดรอยด์ด้วยกระบวนการ ตัดหัว ตัดแขน ตัดชิ้นส่วนอวัยวะ หรือฉากที่เคซีย์โบยตีหน้าหุ่นยนต์จนยับเยิน จริงๆเพราะผู้ชมถูกทำให้รู้สึกว่า “หุ่นยนต์ไม่ใช่มนุษย์ ไม่มีเลือดสีแดงๆ มันจึงไม่น่ากลัว” (ซึ่งเอาจริงๆ ถ้ามองฉากเหล่านี้ให้กลายเป็นการ์ตูนแบบที่ผู้กำกับแบรด เบิร์ดทำใน The Incredibles เราจะไม่รู้สึกเท่าไหร่ เพราะมันเป็นการ์ตูน) ยิ่งไปกว่านั้นฉากที่น่าขนลุกไม่แพ้กันก็คือฉากที่อธีน่าโดนรถชนจนกระเด็น อันนี้ก็น่าตกใจพอๆกับหนังสยองขวัญเลยทีเดียว นี่ยังไม่รวมไปถึงฉากน่าขนลุกตอนท้ายเรื่องระหว่างอธีน่ากับแฟรงค์ด้วย (คนดูแล้วคงเข้าใจว่ามันโลลิคอนแค่ไหน) 

ผมยังขอย้ำอีกครั้งว่าจริงๆ Tomorrowland เป็นหนังที่ดูเพลิดเพลิน ไม่ได้ย่ำแย่ในระดับที่ทนดูไม่ได้ แต่หลายๆอย่างในหนังมันพังทลายอย่างสิ้นในเชิงโครงสร้าง จนบางทีเราก็ย้ำๆกับตัวเองว่า “หรือว่าเราจินตนาการต่ำไปจริงๆหรือเปล่าหว่า” !!! 

@พริตตี้ปลาสลิด 

ให้ 2.5 คะแนนจาก 5 คะแนน 

อัลบั้มภาพ 6 ภาพ

อัลบั้มภาพ 6 ภาพ ของ วิจารณ์หนัง TOMORROWLAND สวัสดีวันพรุ่งนี้ของคนมีฝัน

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook