ไขข้อสงสัย “เมืองนาย” กับยุค “รัชกาลที่ 7” ในละคร เจ้านาง คือยุคเดียวกันหรือไม่?

ไขข้อสงสัย “เมืองนาย” กับยุค “รัชกาลที่ 7” ในละคร เจ้านาง คือยุคเดียวกันหรือไม่?

ไขข้อสงสัย “เมืองนาย” กับยุค “รัชกาลที่ 7” ในละคร เจ้านาง คือยุคเดียวกันหรือไม่?
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เมื่อเจ้านาง เดินทางมาถึงยุครัชกาลที่ 7หลายคนอาจสงสัยว่าในยุคเมืองนายและยุค ร.7 คือช่วงเวลาเดียวกันหรือไม่ เพราะการแต่งกายของ “ละอองคำ”(ทับทิม-อัญรินทร์ ธีราธนันพัฒน์) และ “รุ้งแก้ว”(ฝน-ณธิดา ภัทรชาญไชย) มีความแตกต่างและทันสมัยมากขึ้นอย่างชัดเจน จึงกลายเป็นข้อสงสัยที่ทุกคนอยากรู้ วันนี้เราจะมาตอบคำถามกัน!

ในยุครัชกาลที่ 7 การแต่งกายได้รับอิทธิพลมาจากชาวยุโรป แบบเสื้อสตรี คือเสื้อตัวหลวมไม่เข้ารูป ยาวคลุมสะโพก แขนเสื้อสั้นมากหรือไม่มีแขน ถึงแบบเสื้อจะเป็นฝรั่งอย่างไร แต่สตรีสมัยนั้นก็ยังไม่กล้าพอจะแต่งอย่างแหม่ม ยังคงนุ่งกระโปรงในลักษณะนุ่งผ้าซิ่นไว้ แต่เปลี่ยนมาตัดเย็บเป็นถุงสำเร็จแทน ทรงผมสตรีสมัยนี้ไม่นิยมไว้ผมบ๊อบแบบครั้งรัชกาลที่ 6 แต่จะดัดผมเป็นคลื่น และหวีเรียบร้อย เรียกกันว่า ”ผมคลื่น”

อย่าง “ละอองคำ”และ “รุ้งแก้ว” ได้เปลี่ยนการแต่งตัวอย่างชัดเจน ต่างกับตอนอยู่ที่เมืองนาย ดูทันสมัยมากขึ้นด้วยชุดผ้าซิ่น ผมจากม้วนรวบตึงเปลี่ยนมาปล่อยผม เหมือนกับอยู่คนละช่วงสมัยกับเมืองนาย ซึ่งแท้จริงแล้วทั้ง 2 ยุคคือช่วงเวลาเดียวกัน นั่นคือช่วงเวลาในยุค ร. 7 แต่คนละเมืองเท่านั้นเอง ไม่บ่อยนักที่ในสมัยนี้จะนำมาผลิตเป็นละคร

ละอองคำกับรุ้งแก้วกลายป็นสาวสังคมที่ใครๆก็หลงใหล มีผู้ชายฐานะดีมาติดพันกันมากหน้าหลายตา แต่ก็ถูกผีเจ้าฆ่าตายจนหมด ยุคนี้ละอองคำได้ตัดสินใจเริ่มต้นความรักครั้งใหม่กับ “ฉัตร”(รพีภัทร เอกพันธ์กุล) แต่ละอองคำกลับตกเป็นทาสของผีเจ้ามากขึ้นเรื่อยๆ นางฆ่าคนเพื่อเป็นการสังเวยผีเจ้า

ต้องมาคอยลุ้นกันว่าละอองคำเหย จะฆ่าฉัตรด้วยหรือไม่ กับละคร  “เจ้านาง” ทุกวันจันทร์-อังคาร เวลา 20.20 น. ทางช่อง 7 สี

อัลบั้มภาพ 9 ภาพ

อัลบั้มภาพ 9 ภาพ ของ ไขข้อสงสัย “เมืองนาย” กับยุค “รัชกาลที่ 7” ในละคร เจ้านาง คือยุคเดียวกันหรือไม่?

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook