4 เรื่องน่ารู้ก่อนดู POINT BREAK
1.นี่เป็นหนังรีเมคจากปี 1991
ตัวหนังเวอร์ชั่นปี 1991 นำแสดงโดยคีอานู รีฟส์และแพทริค สเวย์ซี ผลงานการกำกับของแคทเธอริน บิเกโลว์ แต่สำหรับหนังในเวอร์ชั่นปี 2015 ภาคนี้ตั้งใจสร้างเพื่ออุทิศให้ภาคต้นฉบับโดยใช้องค์ประกอบตั้งต้นและไปให้เหนือกว่าอีกระดับ ผู้กำกับ อีริคสัน คอว์กล่าวว่า “เราต้องการใช้แรงบันดาลใจที่เราได้จากภาคต้นฉบับนำมาสร้างภาพยนตร์ที่ขยายสเกลใหญ่ขึ้นไปในอีกระดับ ด้วยนักกีฬาเอ็กซ์ตรีมระดับโลก”
2.มุมกล้องแปลกตา
POINT BREAK เป็นหนังที่ใช้มุมกกล้องหลากหลายถ่ายทำจากหลายกล้อง ซึ่งจะทำให้คนดูได้เห็นภาพที่คนแสดงเห็นไม่ใช่ภาพปกติที่เราเห็นนักกีฬาหรือนักแสดง โดยหนังใช้บรรดานักกีฬาเป็นผู้บันทึกภาพด้วยการถูกติดตั้งกล้องเอาไว้ ผสมผสานระหว่างกล้องเฮลิคอปเตอร์และกล้องติดตามตัว เป็นหนังที่ถ่ายเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริง บนสถานที่จริง โดยนักกีฬาตัวจริง ไม่มีการใช้กรีน-สกรีน : ไม่มีใครบุกเข้าไปในอาคารปลอมๆ พวกเราถ่ายที่ น้ำตกแองเจล น้ำตกที่สูงที่สุดของโลก, ยอดเขาจุงฟรา ยอดเขาที่สูงที่สุดในทวีปยุโรป, วาเลนสตัดช์ สวิสฯ, เทอาฮูปู หมู่เกาะตาฮิติ, จอว์ เกาะเมาวี, ฮาวาย ที่มีคลื่นลูกยักษ์สูงที่สุดในรอบทศวรรษ
3.ความคล้ายคลึงของ THE FAST และ POINT BREAK
สำหรับคนยุคใหม่ที่เกิดไม่ทัน POINT BREAK อาจจะรู้สึกว่าทำไมพล็อตเรื่องของ THE FAST and The Furious ภาคแรกมีความคล้ายกับหนังเรื่อง POINT BREAK ที่ว่าด้วย FBI หนุ่มแฝงตัวเข้าไปร่วมกลุ่มกับนักกีฬาเอ็กซ์ตรีมเพื่อสืบคดีปล้น โดยมีโบห์ดิ เป็นหัวหน้าทีมโต้คลื่นที่มีเสน่ห์และมากความสามารถ เช่นเดียวกับพล็อตของ The Fast ภาคแรกที่ไบรอัน โอคอนเนอร์(พอล วอล์คเกอร์) ตำรวจแอลเอแฝงตัวเข้าไปหนึ่งในแกงค์ซิ่งรถและได้รู้จักกับโดมินิค (วิน ดีเซล) ซึ่งเอาเข้าจริงแล้ว The Fast ภาคแรกนี่แหละที่เหมือนจะไปหยิบพล็อตของ Point Break เอามาเปลี่ยนเส้นเรื่องจากกีฬาโต้คลื่นให้กลายเป็นการแข่งรถแทน
4.โลเคชั่นหลายหลาก
Point Break ในเวอร์ชั่นปี 2015 ใช้ทุนสร้างกว่า 100 ล้านเหรียญ ดังนั้นหนังเลือกใช้โลเคชั่นหลายประเทศถึง 11 ประเทศไม่ว่าจะเป็นเยอรมันนี, ออสเตรีย, อิตาลี, สวิตเซอร์แลนด์, ฝรั่งเศส, อินเดีย, เม็กซิโก, เวเนซูเอล่า รวมถึงอเมริกาและประเทศอื่นๆ โดยในแต่ละประเทศนั้นก็จะเลือกจุดเด่นของธรรมชาติในแต่ละโลเคชั่นเอามานำเสนอในรูปแบบการเล่นกีฬาเอ็กซ์ตรีมที่ตื่นตาตื่นใจ