5 เรื่องน่ารู้ก่อนดู พันท้ายนรสิงห์
1. ดัดแปลงมาจากเรื่องจริง
“พันท้ายนรสิงห์” ฉบับปีพุทธศักราช 2558 ด้วยผลงานการกำกับภาพยนตร์ลำดับล่าสุดของ “หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล” ดัดแปลงจากพระราชนิพนธ์อิงประวัติศาสตร์เรื่อง “พันท้ายนรสิงห์” ของ “พระเจ้าวรวงค์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธ์ ยุคล” ซึ่งเคยถูกถ่ายทอดเป็นละครเวทีที่ได้รับความนิยมอย่างสูงสุดในปีพุทธศักราช 2487 โดยคณะศิวารมณ์
2. วรรณกรรมระดับปรากฏการณ์
กว่า 70 ปีนับตั้งแต่บทพระราชนิพนธ์สุดคลาสสิคเรื่อง “พันท้ายนรสิงห์” ได้รับการถ่ายทอดสู่สาธารณชนครั้งแรก ก็สามารถสร้างปรากฏการณ์ได้ทุกครั้ง ไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบละครเวทีในพ.ศ. 2487 ที่ประสบความสำเร็จอย่างสูง, ในรูปแบบภาพยนตร์ 16 มม. ในปีพ.ศ. 2493 ก็กลายเป็นภาพยนตร์ที่สร้างปรากฏการณ์ทันทีเมื่อออกฉายจากการกวาดรายได้มหาศาลกว่า 5 ล้านบาทในยุคนั้นพร้อมยืนโรงฉาย ณ ศาลาเฉลิมกรุงยาวนานกว่า 3 เดือน ก่อนถูกนำกลับมาฉายใหม่อีก 3 ครั้งในปี พ.ศ. 2501, 2509 และ 2517 ทั้งได้รับการคัดเลือกให้เป็น 1ใน 25 ภาพยนตร์ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกภาพยนตร์ของชาติประจำปี 2558 อีกด้วย
3. 3 ดาราหน้าไทยผู้ถ่ายทอดเรื่องราวครั้งใหม่
พันท้ายนรสิงห์ ฉบับปี 2558 นี้ ได้เลือก 3 นักแสดงแม่เหล็กมารับบทหลัก "ผู้พันเบิร์ด-พันโทวันชนะ สวัสดี" กับการพลิกบทบาทแบบ 360 องศาในบท ”พระเจ้าเสือ” , "เต้ย-พงศกร เมตตาริกานนท์" กับบททหารผู้ซื่อสัตย์ “พันท้ายนรสิงห์” ที่พร้อมเคียงบ่าเคียงไหล่และถวายชีวิตให้กษัตริย์ที่ตนมอบความจงรักภักดีให้และ "มัดหมี่-พิมดาว พานิช" กับบท “นวล”
4. ฉากแอ็คชั่นแบบสมจริง
เพื่องานแอ็คชั่นที่ตื่นตาตื่นใจสมจริง ภาพยนตร์พันท้ายนรสิงห์ได้ “อาจารย์ยอดธง” ผู้เชี่ยวชาญทางด้านมวยไทยและอยู่เบื้องหลังความสำเร็จของ “องค์บาก” มารับผิดชอบในการฝึกสอนแม่ไม้มวยไทยให้กับ “ผู้พันเบิร์ด” และ “เต้ย-พงศกร” อย่างเข้มข้น ที่ผู้ชมจะได้สัมผัสกับฉากแอ็คชั่นชกมวยคาดเชือกที่ระหว่าง “พระเจ้าเสือและพันท้ายนรสิงห์” รวมไปถึงมีส่วนสำคัญในฉากแอ็คชั่นอีกหลากหลายฉากที่โชว์ศิลปะแม่ไม้มวยไทยให้กับเหล่านักแสดงในภาพยนตร์เรื่องพันท้ายนรสิงห์ พร้อมได้เหล่าผู้เชี่ยวชาญในการใช้ดาบและอาวุธโบราณจากสำนักดาบพุทไธสวรรย์มาทำการฝึกสอนการใช้อาวุธไทยโบราณให้กับเหล่านักแสดงในภาพยนตร์อีกด้วย
5. เพลงประกอบภาพยนตร์ติดหู
หนังได้เลือกใช้เพลงน้ำตาแสงไต้ บทเพลงรักสุดคลาสสิคซึ่งแต่งคำร้องโดย “มารุต และ เนรมิต” // ทำนองโดย“ครูสง่า อารัมภีร” ศิลปินแห่งชาติสาขาศิลปะการแสดง (เพลงไทยสากล) ประจำปีพุทธศักราช 2531 โดยได้ “กัน-นภัทร อินทร์ใจเอื้อ” มาถ่ายทอดเพลงรักสุดคลาสสิคนี้
@พริตตี้ปลาสลิด