The Jungle Book เมื่อเมาคลีลูกหมาป่าได้ฤกษ์คืนจอหนังอีกครั้ง

The Jungle Book เมื่อเมาคลีลูกหมาป่าได้ฤกษ์คืนจอหนังอีกครั้ง

The Jungle Book เมื่อเมาคลีลูกหมาป่าได้ฤกษ์คืนจอหนังอีกครั้ง
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

 

The Jungle Book บอกเล่าเรื่องราวของเมาคลี เด็กน้อยที่ถูกเลี้ยงดูมาโดยฝูงหมาป่า แต่เมาคลีพบว่าเขาไม่เป็นที่ต้อนรับในป่าอีกต่อไปแล้วเมื่อเสือร้ายเชียร์ คาน ผู้ได้รับแผลเป็นจากน้ำมือมนุษย์ ขู่ว่าจะกำจัดในสิ่งที่เขามองว่าเป็นภัยคุกคาม หลังจากถูกขับไล่จากบ้านเพียงแห่งเดียวที่เขารู้จัก เมาคลีก็ออกเดินทางในการผจญภัยที่น่าอัศจรรย์เพื่อค้นหาตัวเอง ภายใต้การนำทางของเสือดำ ผู้เป็นอาจารย์ผู้เข้มงวดของเขา บากีร่า และบาลู หมีผู้รักอิสรเสรี ระหว่างทาง เมาคลีได้พบกับสิงสาราสัตว์ต่างๆ ที่ไม่ประสงค์ดีกับเขา รวมถึง คา งูหลาม ผู้ซึ่งเสียงที่เย้ายวนและสายตาสามารถสะกดจิตเขาได้ และคิง ลูอี้ เจ้าคารม ผู้พยายามจะหลอกล่อให้เมาคลีเผยความลับของดอกไม้แดงที่ลึกลับและอันตราย หรือที่เราเรียกกันว่าไฟ

“The Jungle Book” สร้างจากเรื่องราวอมตะ ของรัดยาร์ด คิปลิงส์ ได้รับแรงบันดาลใจจากภาพยนตร์แอนิเมชั่นคลาสสิกของดิสนีย์ ด้วยมุมมองที่มีแบบฉบับเฉพาะตัว “เรานำคุณสมบัติที่ลึกลับของคิปลิงส์มาใช้กับโทนที่เข้มข้นกว่าของหนังเรื่องนี้ครับ” ผู้กำกับจอน ฟาฟโรว์กล่าว “แต่เราทิ้งพื้นที่เอาไว้สำหรับสิ่งที่เราจดจำได้จากหนังปี 67 และเราก็พยายามที่จะรักษาแง่มุมที่มีเสน่ห์ในแบบของดิสนีย์เอาไว้”

ตัวผู้กำกับจอน ฟาฟโรว์มั่นใจว่าตัวหนังจะต้องมอบประสบการณ์ทางอารมณ์แก่คนดู พยายามสร้างอารมณ์ร่วม ตัวละครจะต้องมีความเป็นมนุษย์ มีอารมณ์และมีพัฒนาการของตัวละคร อีกทั้งต้องพยายามแทรกสอดอารมณ์ขัน รวมถึงใส่ฉากระทึกใจให้คนอยากติดตามต่อไปว่าจะเกิดอะไรขึ้นกับเด็กคนนี้ 

เกร็ดเล็กเกร็ดน้อยที่น่ารู้ก็คือ The Jungle Book” ของ รัดยาร์ด คิปลิงส์ นักเขียนชาวอังกฤษ ผู้เกิดที่เมืองบอมเบย์ ได้ถ่ายทอดความรักที่เขามีต่อประเทศอินเดียลงในหนังสือเรื่อง “The Jungle Book” ในปี 1894 ตามด้วย “The Second Jungle Book” ในปี 1895 แม้ว่าจะถูกมองว่าเป็นเรื่องราวสำหรับเด็ก แต่เรื่องราวนี้ ที่เกี่ยวข้องกับผืนป่าและสัตว์พูดได้นั้น ได้กระตุ้นความสนใจของทั้งเด็กและผู้ใหญ่ และมักจะทำให้ผู้อ่านได้รู้จักอินเดียเป็นครั้งแรก คิปลิงส์ ผู้เขียนเรื่องราวนี้ระหว่างการเริ่มสร้างครอบครัวในเวอร์มอนท์ ได้ตีพิมพ์หนังสือและรวมเรื่องสั้นอีกหลายเล่ม และท้ายที่สุด เขาก็กลายเป็นนักเขียนที่ค่าตัวแพงที่สุดในโลกด้วยอายุ 32 ปี และเขาก็ได้รับรางวัลโนเบลสาขาวรรณกรรมในปี 1907 จนวันหนึ่งวอลท์ดิสนีย์หยิบเอานิยายเล่มนี้ไปดัดแปลงและเข้าฉายในวันที่ 18 ตุลาคม ปี 1967 หนึ่งปีหลังการเสียชีวิตของดิสนีย์ กลายเป็นภาพยนตร์คลาสสิกขึ้นหิ้ง ด้วยเพลงดังอย่าง “The Bare Necessities” ของเทอร์รี กิลกี้ซันและ “I Wanna Be Like You” ของพี่น้องเชอร์แมนนั่นเอง 

@พริตตี้ปลาสลิด 

ตัวอย่างภาพยนตร์ The Jungle Book

อัลบั้มภาพ 5 ภาพ

อัลบั้มภาพ 5 ภาพ ของ The Jungle Book เมื่อเมาคลีลูกหมาป่าได้ฤกษ์คืนจอหนังอีกครั้ง

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook