วิจารณ์หนัง HIGH-RISE ยิ่งสูงยิ่งหนาว (จริงเหรอ)

วิจารณ์หนัง HIGH-RISE ยิ่งสูงยิ่งหนาว (จริงเหรอ)

วิจารณ์หนัง HIGH-RISE ยิ่งสูงยิ่งหนาว (จริงเหรอ)
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

หนังอย่าง HIGH-RISE ไม่ใช่หนังสำหรับคนดูหนังทุกคน มันเรียกร้องสมาธิ เรียกร้องการทำความเข้าใจความยุ่งเหยิงของพล็อตเรื่อง แรงขับของตัวละคร รวมไปถึงยังต้องการให้คนดูตีความกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา แน่นอนว่าหนังจำพวกนี้ไม่ได้ “บันเทิง” สำหรับคนที่มองหาความสนุกแบบฉาบฉวย หนังเรื่องนี้ไม่มีสิ่งดังกล่าวให้ แต่สำหรับคนที่ต้องการอะไรที่กระตุ้นเซลล์สมองตลอดสองชั่วโมง หนังเรื่องคือตัวเลือกที่สำคัญ

พล็อตเรื่องโดยสังเขป มันพูดถึงหมออย่างโรเบิร์ต แลงก์(ทอม ฮิดเดิลสตัน) หนุ่มหล่อที่เพิ่งย้ายเข้ามาอยู่ในอพาร์ทเมนต์หลังใหม่ที่ชั้น 25 ของตึกระฟ้าในลอนดอน ประเทศอังกฤษ ซึ่งเราจะได้เห็นสภาพของตัวตึกที่ดูอยู่ห่างออกจากตัวเมืองอย่างเป็นเอกเทศ แถมบรรดารถที่จอดอยู่หน้าตึกก็ถูกจอดเรียงรายกันอย่างเป็นระเบียบทว่ากลับมองหาความแตกต่างไม่เจอ! 

ความหรูหราของตึกแห่งนี้แท้ที่จริงแล้วมันเป็นเปลือกนอกเพราะเมื่อวิเคราะห์จากด้านในแล้วชั้นบนๆของตึกจะเป็นที่พำนักของบรรดาเศรษฐีและผู้มีอันจะกินในขณะที่บรรดาชั้นที่ต่ำลงมาเป็นของบรรดาชนชั้นกลางที่ทำงานกันอย่างหลังขดหลังแข็ง(เช่นเดียวกับพระเอกของเรื่อง) ในขณะที่ชั้นล่างๆก็เป็นของคนยากคนจน 

ความโกลาหลของตึกแห่งนี้เริ่มต้นขึ้นหลังจากเรื่องของ “ตัวจ่ายกระแสไฟฟ้า” มักจะหยุดการทำงานโดยไม่มีสาเหตุอยู่บ่อยครั้ง แน่นอนว่ามันได้สร้างผลกระทบต่อผู้อยู่อาศัยทั้งหมด และท่ามกลางบรรดาเพื่อนบ้านของโรเบิร์ตก็มักจะเข้ามารบกวนชีวิตสันโดษของเขาเป็นประจำ ชีวิตแบบตัวคนเดียวของเขาจึงต้องปรับตัวและต้องเริ่ม “เข้าสังคม” ในเวลาต่อมา 

ท่ามกลางระบบชนชั้นแบบย่อยๆ ภายในตึกแห่งนี้นักทำหนังสารคดีอย่างริชาร์ด ไวลเดอร์ (ลุค เอแวนส์) มองเห็นความไม่ยุติธรรม บ่อยครั้งที่บรรดาคนรวยมักจะทำอะไรตามอำเภอใจ เช่นการจัดงานปาร์ตี้ที่สระน้ำของตึกและถือวิสาสะปิดสถานที่ดังกล่าวเพื่อกีดกันไม่ให้ผู้อยู่อาศัยในชั้นที่ต่ำกว่าขึ้นมาใช้ ริชาร์ดจึงรวบรวมบรรดาเด็กๆในตึกบุกไปแย่งเอาสระน้ำคืนมา อันเป็นการแสดงออกถึงการ “ต่อต้าน” ความมีอภิสิทธิชนของบรรดาคนร่ำรวย 

แน่นอนว่าคนร่ำรวยย่อมไม่พออกพอใจกับสิ่งที่เกิดขึ้น แต่แทนที่พวกเขาจะขัดขืนหรือต่อต้านด้วยการเผชิญหน้าพวกเขาเลือกจะหลีกทางให้ชนชั้นกลางและกลับไปตั้งหลัก เพราะพวกเขารู้ว่ายังไงความร่ำรวยของตนก็ยัง “ถือไพ่” เหนือกว่าบรรดาผู้ที่อยู่อาศัยชั้นล่างอยู่ดี 

ท่ามกลางความวุ่นวายทั้งหมดโรเบิร์ต แลงก์เฝ้ามองเหตุการณ์และพยายามประคับประคองสถานการณ์เพราะเขาสามารถอยู่ร่วมกับเพื่อนบ้านชั้น 25 ได้อย่างไม่ขัดเขินและเข้าก็ยังสามารถเข้าถึงบรรดาคนร่ำรวยในชั้นบนของตึกได้เช่นเดียวกัน สถานภาพดังกล่าวเปรียบได้ว่าโรเบิร์ตนั้นมีลู่ทางที่สามารถไต่เต้าตัวเองให้ไปไกลกว่าสภาพความเป็นอยู่ในทุกวันของเขาได้ 

สถานการณ์ความโกลาหลในตึกนี้ก็ยิ่งทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้นเมื่อ “ระบบสาธารณูปโภค” ของตึกเกิดความขัดข้องครั้งใหญ่น้ำ ไฟ อาหารเกิดการขาดแคลน และแน่นอนมันนำมาซึ่งหายนะของผู้คนทั้งหมด ซึ่งตัวหนังก็ใช้วิธีการเปรียบเปรยสะท้อนว่าถ้าหากตึกแห่งนี้เปรียบเป็น “ประเทศ” ใดประเทศหนึ่ง ซึ่งก็หมายถึงประเทศอังกฤษนั่นเอง ถ้าหากขาดการปกครองและการดูแลอย่างเป็นระบบแล้วความพังพินาศย่อมมาเยือนในไม่ช้า! 

@พริตตี้ปลาสลิด 

4 คะแนนจาก 5 คะแนน 

อัลบั้มภาพ 5 ภาพ

อัลบั้มภาพ 5 ภาพ ของ วิจารณ์หนัง HIGH-RISE ยิ่งสูงยิ่งหนาว (จริงเหรอ)

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook