13 หนังใหญ่ที่ “ขาดทุน” กระหน่ำ ในรอบปี 2016

13 หนังใหญ่ที่ “ขาดทุน” กระหน่ำ ในรอบปี 2016

13 หนังใหญ่ที่ “ขาดทุน” กระหน่ำ ในรอบปี 2016
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

 

ปี 2016 มีเรื่องราวในแวดวงฮอลลีวูดเกิดขึ้นมากมาย เทรนด์การดูหนังของผู้คนเปลี่ยนไป เช่นเดียวกันกับความนิยมในประเภทหนัง ตัวดาราและตัวผู้กำกับเอง ปัจจัยเหล่านี้ส่งผลให้หนัง “ฟอร์มยักษ์” หลายเรื่องเกิดอาการ “แป๊ก” แบบที่บางเรื่องก็เป็นไปตามความคาดหมาย แต่อีกหลายเรื่องก็น่าแปลกใจไม่น้อย


Ben-Hur
โปรเจ็คฆ่าตัวตายตั้งแต่ที่หยิบหนังคลาสสิคอมตะอย่าง Ben Hur เอามารีเมคใหม่ ซึ่งทำรายได้ในบ้านเกิดแค่ 26.4 ล้านเหรียญ ในขณะที่ตลาดต่างประเทศหนังทำเงินไป 67.7 ล้านเหรียญทำให้รายรับรวมทั่วโลกอยู่ที่ 94.1 ล้านเหรียญ แต่หนังเรื่องนี้ให้ต้นทุนในการสร้างถึง 110 ล้านเหรียญ ยังไม่รวมค่าทำโฆษณาและประชาสัมพันธ์ทำให้หนังเรื่องนี้ขาดทุนเกือบๆ 120 ล้านเหรียญ ซึ่งหนังเรื่องนี้เป็นการร่วมทุนสร้างระหว่างสองค่ายอย่าง MGM และ Paramount


The BFG
ดูเหมือนชื่อผู้กำกับอย่าง “สตีเว่น สปีลเบิร์ก” ไม่ได้ช่วยให้บรรดาผู้ชมอยากจะดูหนังที่ดัดแปลงมาจากวรรณกรรมชื่อดังของ โรอัล ดาห์ล เรื่อง THE BFG สักเท่าไหร่ เพราะจากทุนสร้าง 140 ล้านเหรียญ หนังกลับเปิดตัวอย่างน่าตกใจบนตารางบ็อกซ์ออฟฟิศสัปดาห์แรกของการเข้าฉายที่อันดับที่ 4 กับรายได้ 31 ล้านเหรียญ และทำรายได้แผ่วลงในบ้านเกิดจนสุทธิแล้วในอเมริกาเหนือทำรายได้แค่ 55 ล้านเหรียญเท่านั้น ส่วนตลาดต่างประเทศหนังทำเงินไป 124 ล้านเหรียญ และทำรายได้รวมทั่วโลก 179 ล้านเหรียญเท่านั้น เมื่อรวมค่าใช้จ่ายในการทำโฆษณาและประชาสัมพันธ์เข้าไป จะทำให้ THE BFG ขาดทุนราว 90-100 ล้านเหรียญ ซึ่งผู้ร่วมประสบชะตากรรมครั้งนี้ประกอบไปด้วยค่ายดิสนีย์, สตูดิโอแอมบลิน เอนเตอร์เทนเมนต์และพาร์ทิซิแพนท์ มีเดีย


Gods of Egypt
มหากาพย์สงครามลิเก เทพเจ้าอียิปต์ที่น่าจะจัดได้ว่าแป๊กในอเมริกา แต่แทบเอเชียนี่ปังแบบไม่น่าเชื่อ หนังใช้ทุนสร้าง 140 ล้านเหรียญ ในอเมริกาทำเงินไปแค่ 31 ล้านเหรียญ แต่ในต่างประเทศหนังทำเงินไปถึง 119 ล้านเหรียญ ซึ่งคิดเป็นเปอร์เซนต์แล้วเรียกได้ว่าเป็น 79% เลยทีเดียว เมื่อคิดเป็นรายรับรวมแล้วหนังทำเงินไป 150 ล้านเหรียญ ซึ่งโชคดีที่หนังทำเงินในตลาดต่างประเทศ เพราะถ้าหากรวมค่าทำโฆษณาและประชาสัมพันธ์เข้าไป(ในอเมริกาเหนือ) หนังอาจจะขาดทุนราวๆ 90 ล้านเหรียญ แต่ข้อตกลงในการจัดจำหน่ายหนังของสตูดิโอไลออนเกสต์ในต่างประเทศแตกต่างจากสตูดิโออื่นๆ ทำให้ตัวหนังไม่ได้ขาดทุนมากนัก

The Hunstman: Winter's War
ดูเหมือนว่าหนังภาคสปินออฟ (ภาคแยก) ของ Snow White and The Huntsman จะไม่ได้ปังเท่าที่ควร แม้จะได้ดาราระดับท็อปฟอร์มอาทิ พ่อหนุ่มหล่อคริส เฮมส์เวิร์ธ, ชารีส เธียรอน, เจสสิก้า เชสเทนและเอ็มมิลี่ บลันท์ จะไม่ได้ช่วยให้หนังทุนสร้าง 115 ล้านเหรียญเรื่องนี้ ทำเงินในอเมริกาเท่าไหร่ (หนังทำเงินในบ้านเกิด 48 ล้านเหรียญ) ส่วนในตลาดต่างประเทศหนังทำเงินไป 116 ล้านเหรียญ รายรับรวมของหนังเรื่องนี้อยู่ที่ 164 ล้านเหรียญ แต่ถ้ารวมค่าทำประชาสัมพันธ์ทั่วโลกแล้วจะทำให้เรื่องนี้ขาดทุนไปราวๆ 75 ล้านเหรียญด้วยกัน


Allied
ผลงานเรื่องล่าสุดของผู้กำกับโรเบิร์ต เซมิคิสว่าด้วยเรื่องราวของสายลับในยุคสงครามโลกครั้งที่สอง ซึ่งนำแสดงโดยแบรตต์ พิทท์และมาริยอง โกร์ติยาห์ กลับไม่ได้รับการตอบรับที่ดีนัก หนังทำเงินในอเมริกาเหนือไปแค่เพียง 39.9 ล้านเหรียญเท่านั้น ส่วนในตลาดต่างประเทศทำเงินไป 53 ล้านเหรียญ รายรับรวมทั่วโลกอยู่ที่ 93 ล้านเหรียญ (ในไทยเข้าฉายเมื่อสัปดาห์ก่อน) เมื่อค่าทำโฆษณาและประชาสัมพันธ์เข้าไปแล้วทำให้หนังน่าจะขาดทุนราวๆ 75-90 ล้านเหรียญด้วยกัน


The Finest Hours
ตัวหนังดัดแปลงมาจากเหตุการณ์จริงเกี่ยวกับเรื่องหน่วยกู้ภัยทางทะเล มีนักแสดงนำอย่างคริส พายน์ ทางรายงานระบุว่าหนังเรื่องนี้ใช้ทุนสร้างราวๆ 75 ล้านเหรียญ แต่หนังกลับทำเงินในอเมริกาเหนือแค่เพียง 27 ล้านเหรียญ ส่วนในตลาดต่างประเทศยิ่งเงียบกว่า ทำรายได้ไป 24 ล้านเหรียญ ทำให้รายได้รวมอยู่ที่ 52 ล้านเหรียญเท่านั้น

Deepwater Horizon
อีกหนึ่งหนังฟอร์มกลาง (เกือบใหญ่) บอกเล่าเหตุการณ์จริงของแท่นขุดเจาะน้ำมันดีฟวอเตอร์ฮอไรซัน ในอเมริกาที่เกิดการระเบิดและรั่วไหลของน้ำมันครั้งใหญ่ ตัวหนังนำแสดงโดยมาร์ค วอลเบิร์ก ใช้ต้นทุนในการสร้าง 110 ล้านเหรียญ ทำรายได้ในอเมริกาเหนือไป 61 ล้านเหรียญ ตลาดต่างประเทศ 57 ล้านเหรียญ ทำให้รายรับรวมของหนังอยู่ที่ 118 ล้านเหรียญ เมื่อพิจารณาแล้วหนังน่าจะขาดทุนราวๆ 60 ล้านเหรียญ แต่เนื่องจากสตูดิโอไลออนเกตส์ มีวิธีการจัดจำหน่ายหนังในต่างประเทศในระบบให้ค่ายหนังต่างประเทศที่ซื้อหนังไปฉาย แบ่งส่วนรายได้ ไม่ได้ผูกขาดแบบสตูดิโอใหญ่ๆแบบสตูดิโออื่นทำให้หนังขาดทุนอยู่ที่ราวๆ 31 ล้านเหรียญ

Teenage Mutant Ninja Turtles 2
หนังภาคต่อของขบวนการเต่านินจา หนังใช้ทุนสร้าง 135 ล้านเหรียญ ตัวหนังทำเงินในบ้านเกิด 82 ล้านเหรียญ ทำรายได้ในต่างประเทศไป 163 ล้านเหรียญ ทำให้รายได้สุทธิอยู่ที่ 245 ล้านเหรียญ ตัวเลขดูเหมือนจะมีกำไรถึง 100 ล้านเหรียญ แต่เนื่องจากสตูดิโออย่างพาราเมาต์ใช้งบประมาณในการทำประชาสัมพันธ์ค่อนข้างมาก ทำให้หนังเรื่องนี้ขาดทุนราวๆ 75 ล้านเหรียญเลยทีเดียว


Ghostbusters
หนังรีเมคจากหนังตลกคลาสสิค ซึ่งเปลี่ยนตัวละครเดินเรื่องทั้งหมดให้เป็นเพศหญิง สามารถทำรายได้ทั่วโลกได้ 229 ล้านเหรียญจากต้นทุนการสร้าง 144 ล้านเหรียญ แต่ถึงอย่างนั้นก็ตามงบในการประชาสัมพันธ์ของหนังเรื่องนี้หนังจำเป็นต้องทำรายได้อย่างต่ำ 300 ล้านดอลลาร์ จึงจะคุ่มทุน ทำให้หนังขาดทุนราวๆ 70 ล้านเหรียญ

Alice Through the Looking Glass
ภาคต่อของ Alice in Wonderland ซึ่งภาคแรกทำเงินมหาทั่วโลกไปถึง 1.025 พันล้านเหรียญ ขณะที่ Alice Through the Looking Glass ทำเงินทั่วโลกไปแค่เพียง 299 ล้านเหรียญเท่านั้น แถมทุนสร้างของภาคนี้ก็ใช้ทุนถึง 170 ล้านเหรียญ เมื่อรวมค่าทำการโฆษณาและประชาสัมพันธ์เข้าไปแล้วหนังเรื่องนี้จึงขาดทุนราวๆ 70 ล้านเหรียญ

The Divergent Series: Allegiant
แม้ว่าจะไม่มีการเปิดเผยงบประมาณในการสร้างของหนังภาคนี้ออกมาจากสตูดิโอไลออนเกต แต่ Allegiant ก็ทำเงินอย่างน่าผิดหวังในบ้านเกิดเมื่อมันทำเงินแค่ 66 ล้านเหรียญ และทำเงินในต่างประเทศไป 113 ล้านเหรียญทำให้รายรับรวมอยู่ที่ 179 ล้านเหรียญ เมื่อพิจารณาจากงบทำการตลาดแล้วทำให้หนังภาคนี้ขาดทุนไปราวๆ 50 ล้านเหรียญ และปัญหานี้ทำให้ภาคสุดท้าย Ascendant ถูกวางแผนในการสร้างเป็นทีวีซีรีส์ แต่ปัญหาอยู่ที่ว่าถ้าเป็นเช่นนั้นทีมนักแสดงนำชุดเดิมก็จะไม่แสดงต่อ!


Billy Lynn's Long Halftime Walk
ผลงานของผู้กำกับดีกรีออสการ์อย่างอัง ลี ที่หยิบเอาเทคโนโลยีเฟรม-เรทซึ่งทำให้ภาพมีความคมชัดกว่าปกติ แต่เทคโนโลยีดังกล่าวดูไม่สอดรับกับเรื่องราวของทหารผ่านศึกซักเท่าไหร่ ยิ่งไปกว่านั้นหนังกลับทำเงินในอเมริกาแค่ 1 ล้านเหรียญเท่านั้น และตลาดหนังต่างประเทศเก็บไปอีก 29 ล้านเหรียญทำให้หนังทำเงินทั้งสิ้น 30 ล้านเหรียญ เมื่อเมื่อคาดเดาจากทุนสร้างคร่าวๆ (สำหรับหนังในสเกลนี้) ทำให้หนังน่าจะขาดทุนราวๆ 40 ล้านเหรียญด้วยกัน ซึ่งผู้รับสัดส่วนความขาดทุนในครั้งนี้ก็คือสตูดิโออย่างโซนี่/ไทสตาร์

Assassin's Creed
อาถรรพ์ของหนังเกมส์ดูท่าจะยังคงอิทธิฤทธิ์แรงกล้า เมื่อหนังมาพร้อมกับคำวิจารณ์ที่ย่ำแย่ ทุนสร้างของหนังใช้สูงถึง 125 ล้านเหรียญ ทำรายได้ในบ้านเกิดไปแค่ 51 ล้านเหรียญ และทำเงินตลาดต่างประเทศไป 104 ล้านเหรียญ ทำให้รายรับรวมทั่วโลกอยู่ที่ 155 ล้านเหรียญ เมื่อรวมการทำประชาสัมพันธ์และโฆษณาแล้วทำให้หนังเรื่องนี้น่าจะขาดทุนราวๆ 75-100 ล้านเหรียญด้วยกัน

@PRETTYPLASALID

อัลบั้มภาพ 12 ภาพ

อัลบั้มภาพ 12 ภาพ ของ 13 หนังใหญ่ที่ “ขาดทุน” กระหน่ำ ในรอบปี 2016

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook