10 หนังดังที่เข้าชิงรางวัลออสการ์และราซซี่อวอร์ดพร้อมกัน

10 หนังดังที่เข้าชิงรางวัลออสการ์และราซซี่อวอร์ดพร้อมกัน

10 หนังดังที่เข้าชิงรางวัลออสการ์และราซซี่อวอร์ดพร้อมกัน
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

แปลกแต่ก็เป็นเรื่องจริง ที่มีหนังประเภทเข้าชิงรางวัลออสการ์ (ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม) และรางวัลราซซี่อวอร์ด (ภาพยนนตร์ยอดแย่) แต่คนละสาขา มันเป็นแบบนั้นได้อย่างไร และทำไมมันจึงเป็นเช่นนั้น และมีภาพยนตร์เรื่องใดบ้างที่ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลจากทั้งสองสถาบัน ไปดูกันเลยดีกว่า

 

Armageddon (1998)


ชนะรางวัลราซซี่อวอร์ดในสาขา
นักแสดงนำชายยอดแย่ – บรูซ วิลลิส

  • ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลราซซี่อวอร์ดในสาขา
  • ผู้กำกับภาพยนตร์ยอดแย่
  • เพลงประกอบภาพยนตร์ยอดแย่
  • ภาพยนตร์ยอดแย่
  • นักแสดงนำคู่ยอดแย่
  • บทภาพยนตร์ยอดแย่
  • นักแสดงสมทบหญิงยอดแย่

ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลออสการ์ในสาขา

  • ตัดต่อเสียงยอดเยี่ยม
  • วิลชวลเอฟเฟคยอดเยี่ยม
  • เพลงประกอบภาพยนตร์ยอดเยี่ยม
  • บันทึกเสียงยอดเยี่ยม


เหตุผล : หนังเรื่องเล่าเรื่องราวของนักขุดเจาะน้ำมันกลางทะเลที่ต้องขึ้นยานอวกาศไปขุดเจาะอุกกาบาตเพื่อไม่ให้พุ่งชนโลก พล็อตเรื่องเรียกได้ว่าตรรกะล่มในทุกทาง แต่ตัวหนังก็ดูโครมครามตามสไตล์ผู้กำกับไมเคิล เบย์ แต่สิ่งที่โดดเด่นที่สุดในหนังเรื่องนี้ก็คือเพลงประกอบภาพยนตร์อย่าง I Don't Wanna Miss a Thing ร้องโดย แอโรสมิธ ได้เข้าชิงรางวัลออสการ์ในสาขานี้ด้วย

 

Basic Instinct (1992)


ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลราซซี่อวอร์ดในสาขา

  • นักแสดงนำชายยอดแย่ ไมเคิล ดักลาส
  • นักแสดงนำหญิงยอดแย่ชารอน สโตน
  • นักแสดงสมทบหญิงยอดแย่ เจนีน ทริปเปิ้ลฮอร์น

ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลออสการ์ในสาขา

  • ตัดต่อภาพยนตร์ยอดเยี่ยม
  • ดนตรีประกอบภาพยนตร์ยอดเยี่ยม

เหตุผล : คงไม่มีใครลืมฉากไขวห้างบันลือโลกของชารอน สโตนได้ ความสนุกของหนังเรื่องนี้คือมันเป็นหนังแนวเฟลมฟาเทล (ผู้หญิงร้าย) ที่เล่าเรื่องสนุก ตื่นเต้นชวนติดตาม แต่ด้วยการแสดงที่ลุ่มๆดอนๆ อาจจะเป็นเหตุผลที่ทำให้หนังเรื่องนี้ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลในสาขานักแสดงยอดแย่อย่างพร้อมเพรียง

 

The Bodyguard (1992)

  • ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลราซซี่อวอร์ดในสาขา
  • นักแสดงนำชายยอดแย่ เควิน คอสเนอร์
  • นักแสดงนำหญิงยอดแย่ วิทนีย์ ฮูสตัน
  • เพลงประกอบภาพยนตร์ยอดแย่ Queen of the Night
  • ภาพยนตร์ยอดแย่
  • บทภาพยนตร์ยอดแย่

ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลออสการ์ในสาขา

  • เพลงประกอบภาพยนตร์ยอดเยี่ยม I Have Nothing และ Run to You

เหตุผล : แค่พล็อตเรื่องของหนังเรื่องนี้ก็เรียกได้ว่าน้ำเน่า เชย และยิ่งกว่าละครหลังข่าว เพราะมันเล่าเรื่องของซุปตาร์ที่โดนตามล่าเอาชีวิตจนต้องจ้างบอดี้การ์ดมาคุ้มกัน น่าตลกตรงที่บนเวทีคอนเสิร์ต วิทนีย์ ฮูสตันคือดีว่าส์ แต่ในหนังเรื่องนี้เธอแสดงได้ย่ำแย่จริงๆ อย่างไรก็ตามเสียงไพเราะของเธอก็ทำให้เพลงประกอบภาพยนตร์อย่าง I Have Nothing ได้เข้าชิงรางวัลออสการ์แม้ว่าจะไม่ชนะก็ตาม

 

Con Air (1997)


ชนะรางวัลราซซี่อวอร์ดในสาขา

  • ความบ้าบิ่นและไม่สนใจชีวิตมนุษย์และข้าวของสาธารณะ (รางวัลอะไรนะ?)
  • เพลงประกอบภาพยนตร์ยอดแย่ How Do I Live

ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลออสการ์ในสาขา

  • เพลงประกอบภาพยนตร์ยอดเยี่ยม How Do I Live
  • บันทึกเสียงยอดเยี่ยม

เหตุผล : หนังแอ็คชั่นสุดมันส์ นำแสดงโดยนิโคลัส เคจ (สมัยหัวยังไม่เถิก) เขารับบทเป็นนักโทษที่ได้รับอภัยโทษ แต่ระหว่างเดินทางกลับความซวยก็มาเยือเมื่อเครื่องบินขนนักโทษลำดังกล่าวมีอาชญากรตัวร้ายที่วางแผนจะยึดเครื่องบินลำนี้เพื่อเดินทางหนีไปยังสหรัฐอเมริกา หนังเรียกได้ว่าบันเทิงโครมคราวตามสไตล์หนังแอ็คชั่นยุค 90 แต่สิ่งที่โดดเด่นมากคือเพลงประกอบภาพยนตร์อย่าง How Do I Live ซึ่งได้เข้าชิงรางวัลออสการ์ แต่ที่น่างงมากว่ามันคว้ารางวัลเพลงยอดแย่บนเวทีราซซี่มาได้ยังไง!

 

The Fifth Element (1997)


ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลราซซี่อวอร์ดในสาขา

  • นักแสดงหน้าใหม่ยอดแย่ คริส ทัคเกอร์
  • นักแสดงสมทบหญิงยอดแย่ มิลล่า โจโววิช

ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลออสการ์ในสาขา

  • บันทึก ตัดต่อดนตรีพิเศษยอดเยี่ยม

เหตุผล : ผลงานหนังแอ็คชั่นของผู้กำกับลุค เบซง ที่เรียกได้ว่าแจ้งเกิดให้กับมิลล่า โจโววิชอย่างเต็มตัว และเป็นหนังที่เรียกได้ว่ามีเทคนิคพิเศษที่ชวนตื่นตาตื่นใจมาก ดูกี่ครั้งก็ยังสนุกจนถึงทุกวันนี้ แต่ก็ไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจว่าทำไมคริส ทัคเกอร์และมิลล่า จะได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลนักแสดงยอดแย่ เพราะพวกเขาก็เล่นได้ไม่เอาไหนจริงๆ

 

Fifty Shades of Grey (2015)

ชนะรางวัลราซซี่อวอร์ดในสาขา

  • นักแสดงนำชายยอดแย่ – เจมี่ ดอร์แนน
  • นักแสดงนำหญิงยอดแย่ – ดาโกต้า จอห์นสัน
  • นักแสดงคู่ยอดแย่ - เจมี่ ดอร์แนนและดาโกต้า จอห์นสัน
  • ภาพยนตร์ยอดแย่
  • บทภาพยนตร์ยอดแย่

ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลราซซี่อวอร์ดในสาขา

  • ผู้กำกับยอดแย่ แซม เทย์เลอร์ จอห์นสัน
  • ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลออสการ์ในสาขา
  • เพลงประกอบภาพยนตร์ยอดเยี่ยม Earned It

เหตุผล : Fifty Shades of Grey จัดเป็นหนังน่าหมั่นไส้แห่งปี 2015 จริงคุณภาพของมันไม่ได้เลวร้ายในระดับคว้ารางวัลหนังยอดแย่ แต่ด้วยคนที่ชอบหนังเรื่องนี้ก็จะชอบมันไปเลย เกลียดก็จะเกลียดหนังไปเลย และไม่น่าแปลกใจที่ปี 2017 จะมีรายชื่อของหนัง Fifty Shades Darker ติดโผรางวัลหนังราซซี่อีกอย่างแน่นอน

 

Independence Day (1996)


ชนะรางวัลออสการ์ – สาขาวิชวลเอฟเฟคยอดเยี่ยม

ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลราซซี่อวอร์ดในสาขา

  • บทภาพยนตร์ยอดแย่ที่ทำเงินมากกว่า 100 ล้านดอลลาร์ (รางวัลอะไร)

ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลออสการ์ในสาขา

  • บันทึกเสียงยอดเยี่ยม

เหตุผล : หนังมนุษย์ต่างดาวถล่มโลกผลงานการกำกับของโรแลนด์ เอ็มเมอริช หนังได้รับความนิยมอย่างมากหลังจากที่ออกฉาย ด้วยเทคนิคพิเศษทีตื่นตาตื่นใจ คงไม่มีใครลืมฉากลำแสงถล่มทำเนียบขาวได้ลง แต่กระนั้นบทภาพยนตร์ก็เรียกได้ว่าสูตรสำเร็จมากๆ

 

The Lost World: Jurassic Park (1997)


ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลราซซี่อวอร์ดในสาขา

  • ความบ้าบิ่นและไม่สนใจชีวิตมนุษย์และข้าวของสาธารณะ (รางวัลอะไรวะ)
  • หนังรีเมค หรือ หนังภาคต่อยอดแย่
  • บทภาพยนตร์ยอดแย่

ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลออสการ์ในสาขา

  • เทคนิคพิเศษยอดเยี่ยม

เหตุผล : ภาคต่อของสวนสนุกไดโนเสาร์ ที่ว่าด้วยทีมสำรวจที่กลับไปยังพาร์คในหนังภาคแรก จะว่าไปแล้วหนังก็ขยายเรื่องราวและความโกลาหลของหนังมากขึ้น ขายไดโนเสาร์พันธุ์ใหม่ๆมากขึ้น แต่ถึงอย่างนั้นภาคต่อนี้ก็ดูจะไม่สดใหม่เท่าภาคแรกนัก อีกทั้งประเด็นก็ไม่ได้ก้าวพ้นหนังภาคแรกเท่าไหร่ แต่เหนืออื่นใดคือเทคนิคพิเศษของเรื่องก็ยังโดดเด่นมากๆ

 

Pearl Harbor (2001)


ชนะรางวัลออสการ์ – สาขาบันทึกเสียงยอดเยี่ยม

ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลราซซี่อวอร์ดในสาขา

  • นักแสดงนำชายยอดแย่แห่งศตวรรษ – เบน อาฟเฟล็ค
  • นักแสดงนำชายยอดแย่ – เบน อาฟเฟล็ค
  • ผู้กำกับยอดแย่ – ไมเคิล เบย์
  • ภาพยนตร์ยอดแย่
  • ภาพยนตร์รีเมค หรือ ภาคต่อยอดแย่
  • นักแสดงคู่ยอดแย่ เบน อาฟเฟล็ค เคต แบคคินเซลและจอร์จ ฮาร์ทเนต
  • บทภาพยนตร์ยอดแย่

ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลออสการ์ในสาขา

  • เทคนิคพิเศษยอดเยี่ยม
  • เพลงประกอบภาพยนตร์ยอดเยี่ยม
  • ดนตรีประกอบยอดเยี่ยม

เหตุผล : พอพะยี่ห้อผู้กำกับอย่างไมเคิล เบย์แล้วตัวหนังก็เรียกได้ว่าถล่มระเบิดกันจนไม่ต้องสนใจอะไรอย่างอื่น ส่วนตัวหนังก็เรียกได้ว่าพยายามเชิดชูวีรกรรมของทหารอเมริกันจนไม่เห็นหัวทหารญี่ปุ่นที่ดูเป็นตัวร้ายแบนๆ แถมตัวหนังก็พยายามใส่ความโรแมนติกจอมปลอมบีบน้ำตาของคู่นางเอกและจอร์จ ฮาร์เนต เสียจนน้ำเน่าจนคลองแสนแสบเรียกพี่ เหนืออื่นใดคือเพลงประกอบภาพยนตร์อย่าง There You'll Be กลายเป็นเพลงที่ติดหูมาถึงทุกวันนี้

 

Snow White and the Huntsman (2012)


ชนะรางวัลราซซี่อวอร์ดในสาขา

  • นักแสดงนำหญิงยอดแย่ – คริสเทน สจวร์ต

ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลออสการ์ในสาขา

  • ออกแบบเครื่องแต่งกายยอดเยี่ยม
  • เทคนิคพิเศษยอดเยี่ยม

เหตุผล : คริสเทน สจวร์ตคือสโนไวท์ในเวอร์ชั่นหน้าตาเบื่อโลกมากที่สุดเท่าที่โลกนี้มีมา และการแสดงอันราบเรียบของเธอก็ทำให้หล่อนถูก ชารีส เธอรอนในบทแม่มดผู้เลอโฉมขโมยซีนทุกครั้งที่ปรากฏตัว จนบางทีก็อยากให้สโนไวท์โดนฆ่าตายไปมากกว่าจะเอาใจช่วย อย่างไรก็ตามความโดดเด่นเรื่องเครื่องแต่งกายและเทคนิคพิเศษในหนังเรื่องนี้ก็จัดได้ว่าโดดเด่นคู่ควรกับการจะได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลออสการ์จริงๆ

หนังเรื่องอื่นๆที่เข้าชิงทั้งออสการ์และราซซี่เช่นนี้อาทิ Star Wars: Episode I II III, Superman Returns, Transformers (ทุกภาค), Vanilla Sky, War of the Worlds และอีกหลายเรื่อง

@PRETTYPLASALID

อัลบั้มภาพ 10 ภาพ

อัลบั้มภาพ 10 ภาพ ของ 10 หนังดังที่เข้าชิงรางวัลออสการ์และราซซี่อวอร์ดพร้อมกัน

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook