ดูแล้วบอกต่อ DUNKRIK หนังที่ดีที่สุดของคริสโตเฟอร์ โนแลนจริงหรือ!?!

ดูแล้วบอกต่อ DUNKRIK หนังที่ดีที่สุดของคริสโตเฟอร์ โนแลนจริงหรือ!?!

ดูแล้วบอกต่อ DUNKRIK หนังที่ดีที่สุดของคริสโตเฟอร์ โนแลนจริงหรือ!?!
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

 

 

          ทุกครั้งที่มีหนังของผู้กำกับคริสโตเฟอร์ โนแลนเข้าฉาย กระแสหนังคนของคลั่งไคล้ผู้กำกับท่านนี้ก็ไม่ต่างอะไรจากคลื่นการอวยกันชนิดไม่ลืมหูลืมตา จนเกิดคำถามที่ว่าท่ามกลางงานเทคนิคที่ฟูมฟักและประโคมเข้ามาในหนังหนึ่งเรื่องของเขานั้น มีความจำเป็นแค่ไหนที่จะต้องใช้เทคนิคพิเศษด้วยกล้อง IMAX แบบนี้ จริงอยู่ที่หนังอย่าง The Dark Knight คือความทะเยอทะยานของผู้กำกับที่เลือกนำกล้อง IMAX มาถ่ายทำภาพยนตร์ในระดับหนังบล็อกบัสเตอร์เป็นครั้งแรก และหลังจากนั้นเป็นต้นมา พิธีกรรม (การใช้กล้อง IMAX ถ่ายทำหนัง) เช่นนี้ก็ปรากฏอยู่ในหนังของโนแลนมาเรื่อยๆ

            ข้อดีประการหนึ่งคือมันสร้างความตื่นตาตื่นใจให้กับผู้ชมที่ชมในจอ IMAX ซึ่งให้ความรู้สึก “เสมือน” กำลังมองภาพตรงหน้าแบบจอ “ไร้ขอบ” ก็จริง แต่สำหรับโรงฉายหนังดิจิทัลอื่นๆ ที่ทำให้สเกลภาพโดนตัดขอบออกไป ซึ่งความสมบูรณ์ด้านภาพก็ถูกลดทอนออกไปเช่นกัน คำถามคือโนแลนอาจจะมองว่าการถ่ายทำด้วยกล้อง IMAX เป็นการเพิ่มอรรถรสในการชมภาพยนตร์ แต่จอหนัง IMAX ทั่วโลกนั้นไม่ได้มีมากมายที่จะทำให้ผู้ชมทุกคนได้รับอรรถรสในแบบเดียวกัน แต่โนแลนเองมีความเชื่อว่าการดูหนังเพื่อให้ได้รับอรรถรสที่สูงที่สุดคือการรับชมในโรงภาพยนตร์ก็ตามที ในประเทศไทยสำหรับ DUNKRIK เองฟิล์ม 70 ม.ม. ก็เข้าฉายแต่เพียงพารากอนสาขาเดียวเท่านั้น นั่นหมายความว่า IMAX สาขาอื่นๆก็จะได้ชม แต่ไม่ได้สเกลที่สมบูรณ์แบบเท่า แค่มีความใกล้เคียงฟิล์ม 70 ม.ม. มากที่สุด นี่จึงเป็นคำถามว่า การทำหนังหนึ่งเรื่องของโนแลนนั้น เขาสนใจ “นวัตกรรม” มากกว่าการเล่าเรื่องหรือไม่

            คำตอบคือ “ไม่” นอกจากงานเทคนิคพิเศษและนวัตกรรมในภาพยนตร์ เขายัง “เล่นสนุก” กับการพลิกแพลงบทภาพยนตร์ อย่างเช่น DUNKRIK ที่อาจจะกลายเป็นหนังดราม่าสงครามว่าด้วยการพยายามกลับบ้านของทหารชาวอังกฤษ แต่เขาก็เลือกจะเอาเทคนิคที่ตัวเองต้องการนำเสนอ ให้สอดรับกับแนวของหนังสงคราม แอ็คชั่นเขย่าขวัญ ที่เล่าผ่านมุมมองของตัวละครเด่น 3 โลเคชั่นอันประกอบไป เรื่องราวของทหารทอมมี่  (เฟียน ไวท์เฮด) ที่พยายามจะเดินทางกลับบ้าน แต่แต้มต่อของเขาน้อยลงทุกที แถมโอกาสที่จะเป็นหรือตายก็ไม่สามารถคาดเดาได้เลย เหตุการณ์ทางเรือถูกเล่าผ่านเรือมูนสโตน โดยมิสเตอร์ดอว์สัน ชายวัยกลางคนที่นำเรือของตัวเองเดินทางมาเพื่อรับทหารจากชายฝั่งดันเคิร์ก และเหตุการณ์ทางอากาศบนเครื่องบินที่ถูกเล่าผ่านสายตาของแฟร์เรียร์ (ทอม ฮาร์ดี้) นักบินของกองทัพอากาศที่บินข้ามทะเลมาช่วยป้องกันกองทัพเยอรมันโจมตีเรือที่บรรทุกทหารอังกฤษเพื่อเดินทางกลับ

 

 

            สามเหตุการณ์ต่างโลเคชั่น ถูกเล่าตัดสลับไปมา แต่หนังยังใช้ทริคตรงนี้แอบหลอกคนดูว่าเหตุการณ์ทั้งหมดเกิดขึ้นพร้อมๆกัน แต่เปล่าเลยเหตุการณ์ทั้งสามเกิดเหลื่อมเวลากัน โดยหนังอ้างอิงจากอัตราเร็วของพาหนะของแต่ละโลเคชั่น นั่นคือการเดินเท้าคือเหตุการณ์ที่กินเวลานานที่สุด (เกิดก่อน) ดังนั้นเรื่องราวของทหารทอมมี่จึงเป็นเส้นเรื่องหลัก ตามด้วยเส้นเวลาถัดมาคือเรื่องราวของเรือมูนสโตน และเส้นเวลาที่ไวที่สุดคือเหตุการณ์บนอากาศที่ใช้เวลาบินข้ามทะเลมาด้วยเวลาน้อยที่สุด เหตุการณ์ที่เหลื่อมกันดังกล่าวจะสอดประสานเป็นไคแมกซ์ที่สมบูรณ์ในช่วงท้ายเรื่อง

            ถ้าถามว่าหนังเรื่อง DUNKRIK เป็นหนังที่ดีหรือไม่ ต้องบอกว่าเป็นประสบการณ์บนจอภาพยนตร์ที่คุณไม่ควรพลาดด้วยประการทั้งปวง แต่ถ้าเปลี่ยนคำถามใหม่ว่านี่คือหนังที่ดีที่สุดของคริสโตเฟอร์ โนแลนหรือเปล่า อาจจะต้องทบทวนกันใหม่ตั้งแต่หนังอย่าง Following และสมัย Memento กันเลยทีเดียว

            แต่อย่างไรก็ตามถ้าถามว่าหนังเรื่องนี้ควรสักกี่คะแนน ความทะเยอทะยานของมันคู่ควรกับคะแนน 90++ หรือ เกรด A (แม้จะไม่ใช่ A+) ก็ตาม

 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook