สรุปรายได้หนังมาร์เวล เรื่องไหนโกยหนัก เรื่องไหนโกยน้อย
กว่าสิบปีที่หนังมาร์เวลได้เปิดตัวและพาผู้ชมไปสำรวจจักรวาลซูเปอร์ฮีโร่มาอย่างบันเทิงเริงใจตั้งแต่ปี 2008 ที่ Iron Man เปิดตัว เรามาดูกันดีกว่าแต่ละเรื่องทำเงินไปแค่ไหน
Iron Man (2008)
รายได้เฉพาะในอเมริกา 318 ล้านเหรียญฯ
รายได้จากทั่วโลก 585 ล้านเหรียญฯ
ต้นทุนในการสร้าง 140 ล้านเหรียญฯ
เกร็ด : ไม่มีใครสามารถคาดเดาได้ว่าเมื่อหนังเข้าฉายจะได้รับการตอบรับแค่ไหน แต่เมื่อหนังเปิดตัวก็สามารถทำรายได้อย่างงดงาม ถ้าหาก Iron Man ภาคแรกไม่เวิร์ค คงไม่เกิดจักรวาลมาร์เวลแบบวันนี้
The Incredible Hulk (2008)
รายได้เฉพาะในอเมริกา 134 ล้านเหรียญฯ
รายได้จากทั่วโลก 263 ล้านเหรียญฯ
ต้นทุนในการสร้าง 150 ล้านเหรียญฯ
เกร็ด : ฮัลค์ดูเป็นซูเปอร์ฮีโร่ที่ไม่ค่อยถึงกลุ่มผู้ชมสักเท่าไหร่ แต่รายได้ก็ไม่จัดว่าแย่ แค่ดูไม่ค่อยเวิร์ค
Iron Man 2 (2010)
รายได้เฉพาะในอเมริกา 312 ล้านเหรียญฯ
รายได้จากทั่วโลก 623 ล้านเหรียญฯ
ต้นทุนในการสร้าง 200 ล้านเหรียญฯ
เกร็ด : ถึงบทภาพยนตร์จะเป็นปัญหาสำหรับนักวิจารณ์แต่หนังก็ยังทำเงินถล่มทลาย
Thor (2011)
รายได้เฉพาะในอเมริกา 181 ล้านเหรียญฯ
รายได้จากทั่วโลก 449 ล้านเหรียญฯ
ต้นทุนในการสร้าง 150 ล้านเหรียญฯ
เกร็ด : อีกครั้งที่มาร์เวลพยายามเปิดตัวคาแรคเตอร์ใหม่ๆ ดูเหมือนว่ามาร์เวลกำลังหาช่องทางขยายจักรวาล
Captain America: The First Avenger (2011)
รายได้เฉพาะในอเมริกา 176 ล้านเหรียญฯ
รายได้จากทั่วโลก 370 ล้านเหรียญฯ
ต้นทุนในการสร้าง 140 ล้านเหรียญฯ
เกร็ด : ความพยายามครั้งสำคัญที่มาร์เวลพยายามถามกับผู้ชม และวัดความสำเร็จจากกระแสหลังหนังฉายว่าคนดูอยากเห็นตัวละครในกลุ่ม The Avengers
The Avengers (2012)
รายได้เฉพาะในอเมริกา 623 ล้านเหรียญฯ
รายได้จากทั่วโลก 1,518 ล้านเหรียญฯ
ต้นทุนในการสร้าง 220 ล้านเหรียญฯ
เกร็ด : มาร์เวลทำสถิติรายได้หนังเปิดตัวสูงเป็นประวัติการณ์ 207 ล้านเหรียญในสุดสัปดาห์แรก และ The Avengers กลายเป็นหนังที่ทำเงินสูงสุดตลอดกาลในอันดับที่ 5
Iron Man 3 (2013)
รายได้เฉพาะในอเมริกา 409 ล้านเหรียญฯ
รายได้จากทั่วโลก 1,214 ล้านเหรียญฯ
ต้นทุนในการสร้าง 200 ล้านเหรียญฯ
เกร็ด : ผลพวงจากความสำเร็จของ The Avengers ผู้ชมรู้สึกว่าเนื้อหาของตัวละครเริ่มผูกเป็นจักรวาลเดียวกัน
Thor: The Dark World (2013)
รายได้เฉพาะในอเมริกา 206 ล้านเหรียญฯ
รายได้จากทั่วโลก 644 ล้านเหรียญฯ
ต้นทุนในการสร้าง 170 ล้านเหรียญฯ
เกร็ด : เป็นภาคต่อที่ดีกว่าภาคแรก แต่ยังคงกลิ่นอายของตัวละครแบบเดิมไว้
Captain America: The Winter Soldier (2014)
รายได้เฉพาะในอเมริกา 259 ล้านเหรียญฯ
รายได้จากทั่วโลก 714 ล้านเหรียญฯ
ต้นทุนในการสร้าง 170 ล้านเหรียญฯ
เกร็ด : ผันตัวเองจากหนังซูเปอร์ฮีโร่เป็นหนังการเมืองระทึกขวัญ อีกทั้งยังสร้างตัวละครอื่นๆ (วินเทอร์โซเยอร์) ให้กลายเป็นที่ชื่นชอบของคนดู
Guardians of the Galaxy (2014)
รายได้เฉพาะในอเมริกา 333 ล้านเหรียญฯ
รายได้จากทั่วโลก 773 ล้านเหรียญฯ
ต้นทุนในการสร้าง 170 ล้านเหรียญฯ
เกร็ด : อีกหนึ่งความพยายามครั้งสำคัญของมาร์เวลในการเล่าเรื่องของตัวละครแบบ “กลุ่ม” ด้วยอารมณ์ขันเหลือร้ายและเพลงประกอบภาพยนตร์ที่ติดหู ผู้กำกับเจมส์ กันน์ คืออีกหนึ่งคนที่ทำให้แฟรนชายส์ Guardians of the Galaxy เป็นที่รักของผู้ชม
Avengers: Age of Ultron (2015)
รายได้เฉพาะในอเมริกา 459 ล้านเหรียญฯ
รายได้จากทั่วโลก 1,405 ล้านเหรียญฯ
ต้นทุนในการสร้าง 250 ล้านเหรียญฯ
เกร็ด : ถึงรายรับโดยรวมจะน้อยกว่า The Avengers แต่ภาพรวมหนังก็ยังทำเงินทั่วโลกถล่มทลายอยู่ดี
Ant-Man (2015)
รายได้เฉพาะในอเมริกา 180 ล้านเหรียญฯ
รายได้จากทั่วโลก 519 ล้านเหรียญฯ
ต้นทุนในการสร้าง 130 ล้านเหรียญฯ
เกร็ด : เป็นหนังมาร์เวลที่มีปัญหาเรื่องการเปลี่ยนตัวผู้กำกับกลางคัน แต่ท้ายที่สุดหนังก็ยังได้รับการตอบรับที่ดี แม้ว่าคนดูบางส่วนอยากจะดูเวอร์ชั่นของผู้กำกับ เอ็ดการ์ ไรท์ มากกว่า
Captain America: Civil War (2016)
รายได้เฉพาะในอเมริกา 408 ล้านเหรียญฯ
รายได้จากทั่วโลก 1,153 ล้านเหรียญฯ
ต้นทุนในการสร้าง 250 ล้านเหรียญฯ
เกร็ด : หนังออกจะเป็นอเวนเจอร์ภาคต่อมากกว่ากัปตันอเมริกาก็ตาม แต่เมื่อตัวละครยิ่งเยอะ กระแสตอบรับจากผู้ชมก็น่าพอใจตามไปด้วยเช่นเคย
Doctor Strange (2016)
รายได้เฉพาะในอเมริกา 232 ล้านเหรียญฯ
รายได้จากทั่วโลก 677 ล้านเหรียญฯ
ต้นทุนในการสร้าง 165 ล้านเหรียญฯ
เกร็ด : เมื่อมาร์เวลพอจะมั่นใจได้แล้วว่าฮีโร่คนใหม่ๆ ที่สตูดิโออยากจะแนะนำเปิดตัวยังคงได้รับการตอบรับที่ดี “หมอแปลก” กลายเป็นอีกหนึ่งตัวละครที่เปิดจักรวาลมาร์เวลให้กว้างกว่าเดิม
Guardians of the Galaxy Vol. 2 (2017)
รายได้เฉพาะในอเมริกา 389 ล้านเหรียญฯ
รายได้จากทั่วโลก 863 ล้านเหรียญฯ
ต้นทุนในการสร้าง 200 ล้านเหรียญฯ
เกร็ด : เสียงตอบรับอาจจะได้ปังเหมือนภาคแรก แต่หนังก็ยังตอบโจทย์คนดูว่าบางครั้งคาแรคเตอร์ก็เป็นจุดขายสำคัญ (มากกว่าพล็อตเรื่อง 555)
Spider-Man: Homecoming (2017)
รายได้เฉพาะในอเมริกา 333 ล้านเหรียญฯ (ตัวเลขยังไม่สรุปเนื่องจากหนังยังทำการฉายอยู่)
รายได้จากทั่วโลก 879 ล้านเหรียญฯ (ตัวเลขยังไม่สรุปเนื่องจากหนังยังทำการฉายอยู่ในบางประเทศ)
ต้นทุนในการสร้าง 175 ล้านเหรียญฯ
เกร็ด : หลังจากความพยายามอันเนิ่นนานของมาร์เวลในการดึงตัวสไปเดอร์แมนกลับมา นี่คือก้าวสำคัญที่แฟนพันธุ์แท้ของมาร์เวลรอคอย และเป็นครั้งสำคัญที่หนังเลือกจะไม่เล่าจุดกำเนิดของสไปเดอร์แมนแบบที่คนดูเคยดูมาแล้วในเวอร์ชั่นของโทบี้ แม็คไกวร์ และแอนดรูว์ การ์ฟิลด์
Thor: Ragnarok (2017)
รายได้เฉพาะในอเมริกา 121 ล้านเหรียญฯ (ตัวเลขยังไม่สรุปเนื่องจากหนังยังทำการฉายอยู่)
รายได้จากทั่วโลก 427 ล้านเหรียญฯ (ตัวเลขยังไม่สรุปเนื่องจากหนังยังทำการฉายอยู่ในบางประเทศ)
ต้นทุนในการสร้าง 180 ล้านเหรียญฯ
เกร็ด : หนังเลือกจะเปลี่ยน “โทน” หนังจากเดิมอย่างสิ้นเชิง ใครจะไปคิดว่าหนังลิเกอย่างธอร์ จะกลายเป็นหนังตลก!
สรุป 3 อันดับหนังมาร์เวลที่ทำเงินทั่วโลกสูงสุด ณ เวลานี้
อันดับที่ 1 The Avengers : รายได้ 1,518 ล้านเหรียญฯ
อันดับที่ 2 Avengers: Age of Ultron : รายได้ 1,405 ล้านเหรียญฯ
อันดับที่ 3 Iron Man 3 : รายได้ 1,214 ล้านเหรียญฯ
อัลบั้มภาพ 19 ภาพ