เปิดประวัติ "ลาลูแบร์" ผู้จดบันทึกประวัติศาสตร์อโยธยา "บุพเพสันนิวาส"

เปิดประวัติ "ลาลูแบร์" ผู้จดบันทึกประวัติศาสตร์อโยธยา "บุพเพสันนิวาส"

เปิดประวัติ "ลาลูแบร์" ผู้จดบันทึกประวัติศาสตร์อโยธยา "บุพเพสันนิวาส"
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

 

หนึ่งตัวละครที่มีจริงในประวัติศาสตร์ ในละคร "บุพเพสันนิวาส" และเป็นผู้ที่มีความสำคัญต่อประวัติศาสตร์ไทยที่เราได้เรียนรู้กันในปัจจุบันนี้มาก คือ "ลาลูแบร์" หัวหน้าคณะทูตจากฝรั่งเศส ที่ได้บันทึกและสังเกตเกี่ยวกับ อาณาจักรอยุธยา กลับไปรายงานให้ราชสำนักของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 และได้กลายเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ไทย ที่เรียกกันว่า "จดหมายเหตุลาลูแบร์" ในละคร รับบทโดย ปีเตอร์ ธูนสตระ นักแสดงชาวอเมริกา ที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยตั้งแต่วัยเด็ก มีผลงานการแสดงมาหลายเรื่อง 

ลาลูแบร์ 

"ลาลูแบร์" มีชื่อเต็มว่า "ซีมง เดอ ลา ลูแบร์" (21 เมษายน พ.ศ. 2185-26 มีนาคม พ.ศ. 2272) เป็นราชทูตของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศส ได้เดินทางมาประเทศไทยในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชเพื่อเจริญสัมพันธไมตรีกับไทย โดยเดินทางมาที่กรุงศรีอยุธยาพร้อมกับเจ้าพระยาโกษาธิบดี (ปาน) และทหารของฝรั่งเศสประมาณ 600 คน

เดอ ลาลูแบร์ ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นหัวหน้าคณะทูตฝรั่งเศสร่วมกับโกลด เซเบอแร ดูว์ บูแล (Claude Céberet du Boullay) เดินทางมาอยุธยาเพื่อเจรจาเรื่องศาสนาและการค้าของฝรั่งเศสในอาณาจักรอยุธยาเมื่อ พ.ศ. 2230 ในการเจรจานั้นอยุธยาไม่สู้จักยินยอมรับข้อเสนอของฝรั่งเศส ทำให้เสียเวลาในการเจรจาหลายสัปดาห์ ในที่สุดฝ่ายไทยก็ยินยอมรับข้อเสนอตามความประสงค์ของฝรั่งเศสและทั้งสองฝ่ายได้ลงนามในสัญญาการค้าที่เมืองลพบุรีเมื่อวันที่ 11 ธันวาคม

นอกจากจะเป็นหัวหน้าคณะทูตจากฝรั่งเศสแล้ว เดอ ลา ลูแบร์ ยังได้รับคำสั่งให้สังเกตเรื่องราวต่างๆ เกี่ยวกับอาณาจักรอยุธยาและบันทึกข้อสังเกตทั้งหลายเหล่านั้นกลับไปรายงานให้ราชสำนักของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ได้รับทราบด้วย จดหมายเหตุเหล่านี้ได้กลายเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่มีคุณค่าต่อแวดวงวิชาประวัติศาสตร์ไทยสมัยอยุธยา เพราะกล่าวถึงชีวิตความเป็นอยู่ สังคม ประเพณี ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม หลายสิ่งหลายอย่างของคนในสมัยกรุงศรีอยุธยา จึงนับได้ว่าเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่มีจารึกเป็นลายลักษณ์อักษร

อัลบั้มภาพ 10 ภาพ

อัลบั้มภาพ 10 ภาพ ของ เปิดประวัติ "ลาลูแบร์" ผู้จดบันทึกประวัติศาสตร์อโยธยา "บุพเพสันนิวาส"

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook