4 เหตุผลที่จะทำให้คุณหลงรัก Spider-Man: Into the Spider-Verse

4 เหตุผลที่จะทำให้คุณหลงรัก Spider-Man: Into the Spider-Verse

4 เหตุผลที่จะทำให้คุณหลงรัก Spider-Man: Into the Spider-Verse
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

หลังจากที่ Spider-man: Into the Spider-Verse สามารถคว้ารางวัลแอนิเมชั่นยอดเยี่ยมบนเวทีลูกโลกทองคำปีล่าสุด เฉือนเอาชนะตัวเต็งจากค่ายพิกซาร์อย่าง Incredibles 2 จึงมีการคาดการณ์ว่ามันอาจจะคว้ารางวัลในสาขาเดียวกันนี้บนเวทีออสการ์ด้วยเช่นกัน เราจึงขอนำเสนอเหตุผลว่าทำไมคุณถึงไม่ควรมองข้ามแอนิเมชั่นเรื่องนี้!

 

 

1.พล็อตเรื่องดราม่า-ไซไฟเด็กดูไม่ยาก ผู้ใหญ่ดูก็สนุก

หนังเล่าเรื่องของ ไมลส์ โมราเลส วัยรุ่นเชื้อสายแอฟริกัน/อเมริกันจากบรู๊คลิน ระหว่างที่เขาพยายามจะทำตัวกลมกลืนกับสังคมในโรงเรียนเอกชนแห่งใหม่ในแมนฮัตตัน ทว่าพ่อของไมลส์เป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจผู้เคร่งครัดกฎ และแม่ของเขาก็เป็นพยาบาลผู้อุทิศตนกับงาน ทั้งคู่เป็นพ่อที่รักลูกและภูมิใจกับความสำเร็จของลูก พวกเขาต้องการเห็นเขาประสบความสำเร็จในโรงเรียนแห่งใหม่ที่เต็มไปด้วยเด็กมีพรสวรรค์

อย่างไรก็ดี การปรับตัวให้กับเข้ากับโรงเรียนใหม่กลับเป็นเรื่องยากสำหรับไมลส์ ผู้อยากจะใช้เวลากับเพื่อนๆ ในละแวกบ้านของเขาหรือไปเยี่ยม ลุงของเขาอย่างแอรอน ที่สนับสนุนพรสวรรค์ของไมลส์ในฐานะนักวาดภาพกราฟิตี้ ชีวิตของไมลส์เริ่มซับซ้อนยุ่งเหยิงมากขึ้นเมื่อเขาถูกแมงมุมที่ได้รับสารกัมมันตรังสีกัด และเขาก็พบว่าตัวเองเกิดมีพลังพิเศษขึ้นมา ซึ่งรวมถึงการพ่นพิษ การอำพรางตัว การยึดตัวติดกับวัตถุ การได้ยินอย่างเหลือเชื่อ สัมผัสพิเศษแบบแมงมุม และอื่นๆ อีกมากมาย

ในขณะเดียวกัน คิงพิน เจ้าพ่ออาชญากรตัวเอ้ของเมืองนี้ ได้พัฒนาเครื่องเร่งอนุภาคนิวเคลียร์ลับสุดยอด ที่จะเปิดประตูไปสู่จักรวาลอื่นๆ และดึงเอาสไปเดอร์-แมนเวอร์ชั่นต่างๆ (ซึ่งรวมถึงปีเตอร์ ปาร์คเกอร์คนเดิม, สไปเดอร์-เกวน, สไปเดอร์-แมน นัวร์, สไปเดอร์-แฮม และ เพนนี ปาร์คเกอร์ ในอนิเมะ) เข้าสู่โลกของไมลส์

 

 

 

2.การเล่าแบบหนังสือการ์ตูน และการออกแบบภาพที่แปลกไม่ซ้ำใคร

หนึ่งในแง่มุมที่น่าทึ่งที่สุดของ Spider-man: Into the Spider-Verse คือสไตล์วิชวลที่มีชีวิตชีวา ซึ่งไปไกลเกินกว่าสิ่งที่ผู้ชมคาดหวังว่าจะได้เห็นในภาพยนตร์แอนิเมชั่น CG และแสดงความเคารพต่อรูปลักษณ์และความรู้สึกที่คลาสสิกของหนังสือการ์ตูนจากยุคทอง โดยในหนังจะมีช่วงที่เฟรมถูกแยกย่อยออกเป็นช่องต่างๆ เหมือนกับในหนังสือการ์ตูน ซึ่งมีแฟลชเฟรมที่เอื้อต่อการวางตำแหน่งภาพที่ไม่ธรรมดา และยังมีซาวด์เอฟเฟกต์และภาพวิชวลที่ผ่านการปรับแต่งสไตล์มาแล้วกระจายอยู่ทั่วเรื่อง มีฉากที่คนดูจะรู้สึกเหมือนตัวเองอยู่ในหนังสือการ์ตูน โดยทั้งหมดนี้ถูกออกแบบมานี้ด้วยความหวังที่จะเปลี่ยนแนวทางการสร้างแอนิเมชั่นในอนาคตเลยก็ว่าได้

ผู้กำกับอย่าง ฟิล ลอร์ด ได้พูดถึงความจริงที่ว่า นักวาดภาพมากพรสวรรค์ของเรื่องได้ใช้เครื่องมือแอนิเมชั่น CG ที่มีประสิทธิภาพสูงสุด ผสมผสานกับเทคนิคแอนิเมชั่นวาดด้วยมือเพื่อบอกเล่าเรื่องราวที่มีเลเยอร์หลายชั้นของเรื่อง แม้ว่าคอมพิวเตอร์ กราฟิกจะสามารถแทนที่คนและสถานที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพและเหมือนจริงมากๆ แต่ในหนังเรื่องนี้ ได้เพิ่มงานวาดด้วยมือเข้าไปซ้อนทับบนเฟรม CG ทุกเฟรม ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญมากๆ สำหรับทีมงานที่ทุกเฟรมของหนังเรื่องนี้จะถูกขัดเกลาโดยมือของนักวาดภาพหลังจากที่คอมพิวเตอร์เรนเดอร์ภาพวิชวลแล้ว ถ้าคนดูกดหยุดภาพของหนังส่วนไหนๆ ก็ตามของหนังไม่ว่าจะเวลาไหน มันก็จะดูเหมือนภาพวาดด้วยมือทันที

แอนิเมชั่นเป็นกระบวนการที่ต้องอาศัยความประณีต ยกตัวอย่างเช่น นักวาดภาพปกติแล้วจะใช้เวลาหนึ่งสัปดาห์ในการสร้างแอนิเมชั่นนานสี่วินาทีของเรื่อง สำหรับ Spider-man: Into the Spider-Verse เนื่องด้วยกระบวนการที่ซับซ้อนและละเอียดลออในการผสมผสาน CGI กับแอนิเมชั่นวาดด้วยมือเข้าด้วยกันอย่างแนบเนียน นักวาดภาพแต่ละคนเลยต้องใช้เวลาหนึ่งสัปดาห์ในการสร้างแอนิเมชั่นสำหรับหนึ่งวินาทีของเรื่อง นอกเหนือจากนั้น ช็อตสำหรับสไปเดอร์เวิร์สก็มีปริมาณมากกว่าช็อตในภาพยนตร์แอนิเมชั่นส่วนใหญ่สองถึงสามเท่าเลยทีเดียว

 

 

3.ไมลส์เป็นตัวละครสไปเดอร์แมนผิวสีคนแรก

แอนิเมชั่นเรื่องนี้มีการเล่าเรื่องที่ลึกซึ้ง โดยเฉพาะไมลส์และครอบครัวของเขาที่ทีมผู้สร้างได้เนรมิตชีวิตให้ การเดินทางของไมลส์ในฐานะสไปเดอร์-แมนมีความโดดเด่น เพราะเขาเป็นสไปเดอร์-แมน เชื้อสายแอฟริกัน อเมริกัน/ลาตินคนแรก แต่เขาก็เจอกับสิ่งต่างๆ ที่ทุกคนสามารถเข้าถึงได้ นั่นคือเขาพยายามจะทำตัวกลมกลืน พยายามหาที่ทางของตัวเองในโลก ฯลฯ เขาเป็นตัวละครที่เข้าถึงได้และหนังเรื่องนี้ก็เป็นเรื่องราวที่เล่าถึงการเติบโตไปเป็นผู้ใหญ่ของเด็กวัยรุ่นคนหนึ่ง

 

 

4.ตัวร้ายหลายหลากในหนังเรื่องเดียว 

ใน Spider-man: Into the Spider-Verse มีการรวบรวมตัวละครวายร้ายในคอมิกส์มากมายหลายตัวอันประกอบไปด้วย

 

คิงพิน – ตัวร้ายอย่างคิงพินปรากฏตัวครั้งแรกด้วยฝีมือของ สแตน ลี และ จอห์น โรมิตา ซีเนียร์ ในปี 1967 และเป็นหนึ่งในเจ้าพ่ออาชญากรรมที่ดุดันและทรงพลังที่สุดในจักรวาลมาร์เวล ในภาพยนตร์เรื่องนี้ เขาสูงแปดฟุตและตัวหนาเจ็ดฟุต ภาพของเขาถูกนำเสนอออกมาเป็นหลุมดำเพราะเขาเป็นผู้รับผิดชอบในการเปิดประตูไปสู่อีกมิติหนึ่ง

 

 

โพรว์เลอร์ – ในการ์ตูน ชุดของโพรว์เลอร์เป็นสีเขียว ผู้ออกแบบงานสร้าง จัสติน เค. ธอมป์สัน และทีมงานของเขาตัดสินใจเปลี่ยนมันเป็นสีม่วงในภาพยนตร์เรื่องนี้ และเสริมรายละเอียดต่างๆ เข้าไป เช่น กรงเล็บ เพื่อทำให้เขาเป็นผู้ร้ายที่น่ากลัวและมืดหม่นขึ้น นอกเหนือจากพละกำลังและความเร็วจากชุดไฮเทคของเขาแล้ว พลังของโพรว์เลอร์ยังรวมถึงการต่อสู้มวยไทยด้วย นอกจากนั้น เขายังสวมรองเท้าบู๊ทนิวเมติกที่ทำให้เขาสามารถกระโดดได้ไกลมากๆ จนเหมือนบินได้

 

 

กรีน ก็อบลิน – กรีน ก็อบลิน มีร่างสูง 22 ฟุต พร้อมด้วยเกล็ดสีเขียวและลิ้นสีม่วง

 

 

สกอร์เปียน – ขาของสกอร์เปียนเปลี่ยนจากยืนสองขาเป็นสี่ขาในตอนที่เขาต่อสู้

 

 

ทอมบ์สโตน – ทีมงานต้องการให้ทอมบ์สโตดูเหมือนซอมบี้ยักษ์ และเป็นคนที่เข้าคู่กับสไปเดอร์-แมน นัวร์ได้อย่างเพอร์เฟ็กต์ โดยเขาได้แรงบันดาลใจจากยุค 30s เช่นกัน

 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook