I Am Mother โปรดเรียกเธอว่า "แม่" สายพันธุ์จักรกล

I Am Mother โปรดเรียกเธอว่า "แม่" สายพันธุ์จักรกล

I Am Mother โปรดเรียกเธอว่า "แม่" สายพันธุ์จักรกล
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ใกล้จะถึงวันที่ 12 สิงหาคม วันแม่แห่งชาติ พอดิบพอดี ประจวบเหมาะกับหนังไซไฟ โลกอนาคตเรื่อง I Am Mother จ่อคิวเข้าโรงภาพยนตร์วันนี้พอดิบพอดี สิ่งที่น่าสนใจของหนังเรื่องนี้อยู่ที่ว่า หนังได้ตั้งคำถามจุดน่าสงสัยว่า “จะเกิดอะไรขึ้นถ้าหากวันหนึ่งหุ่นยนต์จะกลายเป็นแม่ของมนุษย์” ขึ้นมา

 

เรื่องราวของ “แม่” สายพันธุ์จักรกล

ในโลกอนาคตอันใกล้เมื่อมวลมนุษยชาติต้องอาศัยหุ่นยนต์ในการเป็น “แม่” เนื่องจากเกิดวิกฤตการณ์ทางชีวภาพครั้งใหญ่ส่งผลให้มนุษย์สูญพันธุ์และไม่สามารถขยายเผ่าพันธุ์ได้ มาเธอร์ คือหุ่นยนต์ที่ถูกมนุษย์พัฒนาขึ้นมาเพื่อทำหน้าที่สำคัญในการเพาะพันธุ์มนุษย์ โดยมีดอว์เทอร์ (คลาร่า รูการ์ด) เป็นมนุษย์รุ่นแรกที่ถูกเลี้ยงดูขึ้นมาในศูนย์หลบภัยใต้ดิน

มาเธอร์ถูกป้อนข้อมูลมาโดยตลอดว่า บนพื้นผิวโลกนั้นไม่สามารถใช้ชีวิตเพื่ออยู่อาศัยได้ ส่งผลให้ดอว์เธอร์ไม่ได้รับโอกาสในการขึ้นไปยังพื้นผิวโลกสักครั้ง จนกระทั่งวันหนึ่งเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝัน เมื่อมีผู้หญิงตัวโชกเลือด (ฮิลารี่ สแวงก์) มาเคาะประตูขอความช่วยเหลือ ส่งผลให้ดอว์เธอร์ตั้งข้อสงสัยถึงโลกภายนอก และยังทำให้ความเชื่อมั่นในตัวมาเธอร์สั่นคลอนตามไปด้วย การค้นหาความจริงสุดตื่นเต้นจึงเริ่มต้นขึ้นตั้งแต่วินาทีนั้น

การพัฒนาบทภาพยนตร์จากสองทวีป

I Am Mother เป็นการพัฒนาบทของสองเพื่อนซี้ อย่างแกรนต์ สปูทอเรและไมเคิล ลอยด์กรีน โดยที่ทั้งสองนั้นอยู่ห่างกันถึงคนละซีกโลกโลก

ในขณะที่แกรนต์ สปูทอเร ปักหลักทำงานอยู่ที่เมืองเพิร์ธทางตะวันตกของออสเตรเลีย ในขณะที่ไมเคิล พัฒนาบทอยู่ใน ลอสแอนเจอลิส ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยทั้งสองคนอาศัยเทคโนโลยีผ่านโปรแกรม “สไกป์” ในการติดต่อสื่อสารเพื่อทำงานกันตั้งแต่ปี 2015 ในการตกลงหาความเห็นร่วมกัน หรือโต้แย้งในสิ่งที่พวกเขาคิดไม่เหมือนกันแต่ท้ายที่สุด พวกเขาก็จะหาจุดที่ลงตัวที่สุดเพื่อสรุปประเด็นให้ได้ แถมวิธีการทำงานจากคนละซีกโลก พวกเขาก็ใช้วิธีเขียนประเด็นที่อยากนำเสนอไว้ในโพสต์อิทซึ่งแปะไว้บนกระดานไม้ ก่อนจะนำมาถกกันในทุกเที่ยงคืน หลายปีที่ทั้งสองทำงานพัฒนาบทร่วมกัน แต่รายละเอียดอันมากมาย ทำให้ทั้งสองต้องย่อยเหลือเพียงแค่ประเด็นไม่กี่เรื่อง ที่จะสามารถนำมาถ่ายทำเป็นภาพยนตร์ได้จริง

สิ่งที่หนัง I Am Mother อยากจะนำเสนอ คือการตั้งคำถามว่าในโลกปัจจุบันทุกวันนี้ เราสนใจเรื่องเทคโนโลยีและการพัฒนาของระบบปัญญาประดิษฐ์ และจะเกิดอะไรขึ้น ถ้าหากมนุษย์เติบโตขึ้นมาโดยปราศจากพ่อแม่ แต่ถูกเลี้ยงดูโดยปัญญาประดิษฐ์

บทภาพยนตร์ที่น่าสนใจแต่ยังไม่เคยถูกสร้างเป็นภาพยนตร์

บทภาพยนตร์ของ I Am Mother ติดอันดับบทภาพยนตร์ที่น่าสนใจ แต่ยังไม่ได้รับการสร้างภาพยนตร์ ซึ่งเป็นการลงคะแนนประจำปีของผู้ทรงคุณวุฒิในวงการภาพยนตร์กว่า 300 คน การได้รับการยกย่องดังกล่าวทำให้สองมือเขียนบทเริ่มได้รับการติดต่อจากหลายบริษัทโปรดักชั่นในอเมริกา ว่าพวกเขาชอบบทภาพยนตร์เรื่องนี้และอยากจะสนับสนุนเงินทุนหรือหาคนที่สามารถทำให้มันกลายเป็นภาพยนตร์จริงๆได้ในอนาคต

ระหว่างช่วงพัฒนางานสร้างสองคู่หูนักพัฒนาบทได้ติดต่อไปยังบริษัทสเปเชียลเอฟเฟ็กต์ระดับโลกอย่าง Weta Workshop ที่อยู่เบื้องหลังความสำเร็จของแฟรนไชส์ the Lord of the Rings เพื่อให้พวกเขาออกแบบหุ่นยนต์มาเธอร์ และโชคก็เข้าข้างพวกเขาเมื่อบริษัทแห่งนี้ ตอบรับความต้องการของทั้งสองคนด้วยความเต็มใจ

ด้วยความตั้งใจของแกรนต์ สปูทอเร ในการสร้างหุ่นยนต์ออกมาเป็นตัวเป็นตนจริงๆ ด้วยเหตุผลประการหลักๆคือการที่หุ่นยนต์มาเธอร์นั้นต้องสมจริงในสายตาคนดู และยิ่งกว่านั้นคือในสายตาของนักแสดงเองด้วย แต่ในขณะที่แกรนต์คุยกับคนอื่นว่าเขาอยากจะใช้หุ่นยนต์จริงๆ ผองเพื่อนในวงการเบื้องหลังก็แสดงความเป็นห่วงว่าวิธีการเหล่านี้จะได้ผลเหรอ เพราะมันมีโอกาสที่จะผิดพลาดเยอะมาก อย่างไรก็ตามเมื่อแกรนต์บอกว่าเขาร่วมงานกับ Weta Workshop ทุกคนก็สบายใจ

หุ่นยนต์มาเธอร์นั้น แท้ที่จริงแล้ว เป็น “ชุดหุ่นยนต์” ที่ต้องหาคนมาสวมใส่ ซึ่งความยากในขั้นต่อมาคือการเฟ้นหาคนที่จะมาอยู่ภายใต้ชุดเกราะดังกล่าว เพราะคนคนนี้จะต้องมีรูปร่างผอมที่จะอยู่ในชุดได้ แต่ในขณะเดียวกัน เขาต้องมีความแข็งแรง เนื่องจากชุดมีความหนัก แถมยังต้องเคลื่อนไหวเหมือนกับหุ่นยนต์และยังต้องแสดงอารมณ์ผ่านท่าทาง ส่วนเสียงสนทนาโต้ตอบจะถูกใส่เข้าไปในช่วงโพสต์โปรดักชั่น ท้ายที่สุดคนที่จะต้องมาอยู่ภายใต้ชุดดังกล่าวไม่ใช่ใครที่ไหน แต่เป็น ลุค ฮอว์เกอร์ ทีมงานของบริษัท Weta เอง ซึ่งเขาเป็นคนที่ดูแลการสร้างชุดหุ่นยนต์

นักแสดงเพศแม่กับการมารับบทในภาพยนตร์

ตัวละครดอว์เธอร์นั้นได้นัดแสดงหน้าใหม่อย่าง คลาร่า รูการ์ดมารับบทนี้ ซึ่งเธอได้รับความสนใจจากทีมงานเป็นอย่างมากในตอนวิดีโอเทปแคสติ้งที่ถูกส่งมาให้วิดีโอออดิชั่น แม้ทีมงานจะไม่ได้เลือกในทันที เพราะพวกเขาก็ยังคนเฟ้นหานักแสดงอีกหลายคน จนกระทั่งทีมงานตัดสินใจที่จะนัดพบกับคลาร่ามาพบหน้ากันจริงๆ ทำให้พวกเขารู้ว่า นักแสดงคนนี้เป็นทุกอย่างที่ทีมงานต้องการ

สาวลึกลับ ในมือของนักแสดงฮิลารี สแวงก์ แม้ทีมงานจะไม่ฝันว่าอดีตนักแสดงออสการ์จะตอบตกลง แต่หลังจากที่เธอได้อ่านบทภาพยนตร์แล้ว เธอสนใจในตัวละครมาก อีกทั้งยังนำเสนอให้ทีมงานเป็นปลื้มอีกว่า เธอจะทำให้ตัวละครนี้ส่งภาพรวมที่ดีต้องหนังทั้งเรื่องยังไง

โรส เบิร์น กับหน้าที่ให้เสียงพากย์มาเธอร์ โรสใช้ประสบการณ์ความเป็นแม่ในชีวิตจริง กลั่นกรองเอาน้ำเสียงอันอบอุ่นเป็นมิตรให้กับตัวละครมาเธอร์ แต่ถึงอย่างนั้นตัวละครนี้ก็ยังต้องเก็บงำปริศนาบางอย่างเอาไว้ด้วย เป็นความท้าทายในการให้เสียงพากย์เช่นกัน

 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook