กาสะลอง-แรงเงา-สองนรี ละครไทยในมิติ แฝดดี-แฝดเลว

กาสะลอง-แรงเงา-สองนรี ละครไทยในมิติ แฝดดี-แฝดเลว

กาสะลอง-แรงเงา-สองนรี ละครไทยในมิติ แฝดดี-แฝดเลว
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เมื่อ หนึ่งและสอง ไม่ใช่การนับเลข แต่เป็นการออกตัวเชียร์ตัวละครฝาแฝดที่ได้รับความนิยมและเพิ่งปิดตอนอวสานไปได้ไม่นานนี้อย่าง สองนรี แม้ละครจะจบไปด้วยสูตรสำเร็จแบบละครไทย ความชั่วร้ายพ่ายความดีไปอย่างไร แต่เทยก็เพิ่งมานึกขึ้นได้ ว่าในละครไทยเรานี่นะคะคุณขา เรื่องราวของฝาแฝดในร่ายสตรีนี่มันมีมานมนานมากๆ แต่รูปแบบของมันก็มีบางอย่างที่น่ามาลองพูดคุยกันมากโขอยู่ค่ะ

มาค่ะ เรามาบุกตะลุยเรื่องของ “แฝดดีแฝดเลว” กันดีกว่า

ในหน้าละครไทยเราปรากฎเรื่องราวที่เกี่ยวกับฝาแฝดอยู่มากมายหลายเรื่อง โดยทุกเรื่องมักจะเป็นตัวละครผู้หญิงเสียส่วนใหญ่ และมีคาแรกเตอร์ที่แตกต่างกันชัดเจน ชนิดที่เรียกว่าขาว-ดำ เลยก็ว่า ซึ่งหากจะเท้าความปรับภาพเป็นสีซีเปียล่ะก็ เค้าโครงฝาแฝดที่มีคาแรกเตอร์แตกต่างกันนั้น คงต้องเริ่มจากละครพื้นบ้านไทยอย่าง ปลาบู่ทอง เสียก่อน กับตัวละคร เอื้อย-อ้าย สองพี่น้องพ่อเดียวกันแต่คนละแม่ แม้ว่าการที่คลอดออกกมาแล้วหน้าเหมือนกันได้นี่ก็ออกจะงงๆ หน่อยแม่ แต่ในแง่ของการที่ทั้งคู่มีคาแรกเตอร์แตกต่าง และฟาดฟันกันตั้งแต่ต่นยันจบนี่ ก็ต้องนับ เอื้อย-อ้าย เป็นคู่แรก คู่ต้นฉบับ แถมทั้งคู่ไม่ใช่แค่การชังหน้ากันเท่านั้น แต่มันถึงขั้นที่ฆ่ากันจนตายกันไปข้างนึงเลยทีเดียว

มิน พีชญา สมัยเล่นละคร มิน พีชญา สมัยเล่นละคร

ผลักตกกระทะน้ำร้อนนี่เทยก็ว่าเป็นอะไรที่ฮาร์ดคอร์ไปหน่อยนะคะ สำหรับนิทาน

แต่โครงนึงที่ เอื้อย-อ้าย ทิ้งไว้ให้คือการที่สองพี่น้องตบตีแย่งชิงเพื่อจะได้เป็นที่หนึ่งในเรื่องต่างๆ ซึ่งใน ปลาบู่ทอง มันก็คือการไปสู่การเป็น “ราชินี” ในราชวังให้ได้ตามโครงสร้างกษัตริย์ในสมัยก่อน แต่ด้วยความที่รูปลักษณ์ภายนอกที่เหมือนกัน สิ่งที่จะพิชิตใจเจ้าชายได้ ก็ต้องเป็นตัวตนที่แท้จริงอันซ่อนอยู่ภายในนั่นเอง ซึ่งโครงนี้ถือเป็นไอเดียที่ใช้กันมามากมายในเรื่องของแฝดในยุคต่อๆ มา

คาแรกเตอร์ที่มักจะปูให้แฝดเป็นก็คือ คนนึงจะต้องอ่อนหวาน เรียบร้อย ไม่สู้คน แต่อีกคนจะต้องเป็นขั้วตรงข้าม ไม่ยอมคน ห้าวหาญ หรือถึงขั้นร้ายกาจ จนกลายเป็นโรคจิตไปเลยก็มี 

โดยเทยจะขอจำแนกประเภทของละครแฝด ออกเป็นสองแบบดังนี้เจ้าค่ะ

 

  • แฝดมิตร สองร่าง สลับนิสัย 

คู่ในแบบแรกก็จะเป็นฝาแฝดที่เติบโตมาด้วยกัน เพียงแต่นิสัยแตกต่างกัน เนื้อเรื่องก็จะขับเน้นไปที่การสลับร่างกันสองคน เพื่อเอาชนะอุปสรรคอะไรบางอย่าง ก็อาจจะมีบ้างที่ทะเลาะกัน เห็นไม่ตรงกัน แต่ก็จะจับมือกันไปจนจบ คู่ที่พอจะมาในแนวนี้คือ ผักบุ้ง กุ้งนาง, แก้วลืมคอน เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม แฝดในหมวดนี้ ก็จะมีบ้างที่มีคนคนนึงต้องจบชีวิตลงไป เพื่อให้อีกคนอยู่ต่อ เช่นในเรื่อง แรงเงา ที่ มุตตา ผู้อ่อนต่อโลก ต้องพ่ายแพ้ต่อโลกอันโหดร้ายไป มีเพียง มุนินทร์ พี่สาวที่แข็งแกร่งกว่า ได้สลับร่าง กลับมาทวงคืนความยุติธรรมให้กับน้องสาวของเธอ 

แรงเงาแรงเงา

  • แฝดริษยา ตามล่า ทำลายล้าง มีแกไม่มีชั้น

คู่ในแบบนี้ มีอัตราส่วนเยอะกว่าแบบแรกมากนัก เนื่องจากที่เทยได้กล่าวมาว่าคาแรกเตอร์แฝดไทย ต้องฉีกแบบขาวดำให้เห็นชัด การที่คู่แฝดจะตีกัน เพื่อชิงความเป็นที่หนึ่งหรือที่รักก็ตามแต่ แน่นอนว่าความอาฆาตพยาบาทของฝาแฝดในหมวดนี้นั้น คือจ้องลายชีวิตกันถึงตายเลยแหละ

แฝดในหมวดนี้ก็แน่นอน สองนรี ที่เพิ่งจบไป รวมไปถึงกาสะลองซ้องปีป นั่นแหละเจ้า

มิน พีชญา ใน มิน พีชญา ใน

ข้อสังเกตก็คือในแฝดทั้งสองแบบนั้น ล้วนมี “พระเอก” เป็นหลักไมล์ของชีวิตเหมือนกันทั้งคู่ ส่วนใหญ่จะต้องตกหลุ่มรักผู้ชายคนเดียวกัน น้อยมากที่จะมีการแบ่งเป็นสองคู่ชูชื่นและจบลงอย่างแฮปปี้เอนดิ้ง ประหนึ่งว่าฝาแฝดในละครไทยนั้น ท้ายที่สุดต้องจบลงโศกนาฎกรรมจากการชิงผู้อย่างนั้นแล

จริงๆ แล้วละครแนวฝาแฝด สิ่งที่ท้าทายสิ่งแรกของกองละครก็คือ การที่นักแสดงนำหญิงของเรื่อง จะได้แสดงฝีมือแบบสองบทบาทในเรื่องเดียว การที่คาแรกเตอร์ฉีกกันอย่างชัดเจน มันช่วยทำให้คนดูได้เห็นว่านี่นะ นักแสดงคนนี้ทำได้มากกว่าที่เธอคิดนะเอ๊อ โดยเฉพาะหากแฝดคนใดคนหนึ่งมีความร้ายกาจมากเท่าไหร่ การใช้พลังการแสดงก็ยิ่งเห็นชัดมากขึ้น เพราะสิ่งที่เอามาตัดความร้ายกาจ ก็ไม่ใช่ใครที่ไหน ก็คือตีวนักแสดงเองที่รับบทหวานอยู่นั่นแหละ

เป็นสองร่าง สองรสที่แท้จริง

กลิ่นกาสะลองกลิ่นกาสะลอง

และแน่นอนว่าก็มีน้อยมากเช่นกันที่แฝดสายห้ำหั่นกันนั้นจะจบดวยการเข้าใจซึ่งกันและกัน เรากลับมาเป็นพี่น้องกันตามเดิมเถอะนะ โนค่ะ แทบทุกเรื่องคือฟาดกันจนตายกันไปข้าง ฝ่ายแฝดร้าย ก็คือร้ายสุดเบอร์ เสมอขอบ อย่างเช่น หนึ่ง-สอง ในเรื่อง สองนรี ที่คุณพี่หนึ่ง ก็ชั่วช้า ร้ายกาจชนิดเก็บครบทุกความร้ายของนางร้ายละครไทยจะก้าวไปถึง ทั้งนอนกับผู้ชายมากหน้าหลายตาจนติดโรค หรือแม้แต่จบด้วยการไล่ฆ่าน้องสาวให้ตาย 

จนนำไปสู่ประโยคคลาสสิคของละครฝาแฝดที่ได้ยินกันบ่อยๆ “ถ้าไม่มีแก ชีวิตฉันก็คงดีกว่านี้” นั่นเอง

ในส่วนของแฝดที่เกื้อกูลหนุนกันนั้น คาแรกเตอร์ที่แตกต่างกันแม้จะไม่ได้ถูกใช้เพื่อห่ำหั่นกันจนตายกันไปข้าง แต่ก็เป็นการนำคาแรกเตอร์ที่แตกต่างกันมาช่วยให้อุปสรรคในเรื่องถูกแก้ไขได้อย่างเอร็ดอร่อย อย่างเช่น มุตตา ผู้แสนบอบบางในเรื่อง แรงเงา เมื่อเจ้าหล่อนโดนโลกอันโหดร้ายทำร้ายอย่างแสนสาหัส เมื่อความอ่อนหวานไม่สามารถทานโลกไว้ได้ ความมั่นใจ สุดแสบ ก๋ากั๋น จึงถูกนำมาต่อสู้แทน เช่น มุนินทร์ ที่กลับมาทวงคืนความยุติธรรมให้กับน้องสาวของเธอด้วยตัวตนที่ฉลาดกว่า เก่งกว่า สู้คนกว่า แต่รูปร่างหน้าตาก็ยังเหมือนเดิมนั่นเอง

จะสังเกตได้ว่า ฝาแฝดทั้งสองแบบ ก็จะมีหนึ่งตัวละครที่จะเป็นสายหวานเสมอ รับบทนางเรียบร้อย ไม่หือไม่อือ ไม่สู้คน มีความเป็น “นางเอก” มากกว่า ส่วนแฝดอีกคน จะเป็นสายก๋ากั๋น ฉลาด สู้คน หรืออาจจะอัปเกรดขึ้นไปถึงขั้นร้ายกาจ ฟาดทุกอย่างที่ขวางหน้าหรือไม่นั้นก็อีกเรื่องหนึ่ง แต่ส่วนใหญ่ ฝ่ายแฝดนางเอกนั้นเองที่มักจะเป็นคนที่รอดพ้นในท้ายที่สุด และแฝดที่ร้ายกาจกว่าก็จะพ่ายแพ้ไป 

มิน พีชญา ในคราบแฝดเรียบร้อยมิน พีชญา ในคราบแฝดเรียบร้อย

แต่ในข้อเท็จจริงของคู่แฝดนั้น มีหลายอย่างที่ไม่ตรงกับบทประพันธ์ หรือบทโทรทัศน์ประเภทแฝดเลย เพราะในการตกสำรวจวิจัยตั่งต่างเกี่ยกับคู่แฝดนั้น เด็กที่เกิดมาในลักษณะแฝด จะมีลักษณะความสัมพันธ์ของการเป็นเพื่อนกันมากกว่าที่จะเป็นศัตรูคู่อาฆาตกัน ยิ่งไปกว่านั้นฝาแฝดประมาณ 40% จึงมีภาษาที่เข้าใจกันเอง ซึ่งเป็นสิ่งที่ยากที่จะอธิบายให้คนที่ไม่ใช่ฝาแฝดเข้าใจได้ ดังนั้นความเป็นไปได้ที่ฝาแฝดจะเกิดมาเพื่อแย่งชิงกันถึงขั้นฆ่ากันให้ตายไปข้างจึงเกิดได้ยาก

อย่างไรก็ตาม ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับฝาแฝดมีหลายเรื่องอยู่เหมือนกัน เช่น ฝาแฝด ไม่ใช่คนที่จะรู้ใจกันทุกเรื่อง ไม่ได้มีเซนส์อะไรที่เชื่อมระหว่างกันทั้งนั้น ดังนั้นสิ่งที่ละครยังนำเสนอออกมาได้ถูกต้อง คือการให้เคารพฝาแฝดในฐานะของคนที่ไม่เหมือนกัน มีคาแรกเตอร์ที่ต่างกัน และมีตัวตนความเป็นมนุษย์ในแบบคนคนนั้นเท่านั้น ไม่ใช่เงาของใครอีกคน

และละครที่เกี่ยวกับฝาแฝดแทบทุกเรื่อง ก็พยายามจะนำเสนอประเด็นนี้เหมือนกันหมดเช่นกัน

เจนี่ เทียนโพธิ์สุวรรณ กับบทบาทร้ายๆ ใน แรงเงาเจนี่ เทียนโพธิ์สุวรรณ กับบทบาทร้ายๆ ใน แรงเงา

อีกสิ่งที่เทยคิดว่าน่าจะซ่อนอยู่ในการสร้างละครแฝดร้ายดีแบบนี้ คิดว่าบางทีมันก็ไม่ใช่การนำเสนอความเป็น “แฝด” จริงๆ หรอกค่ะ แต่ว่าน่าจะเกี่ยวกับการสะท้อนคุณค่าของผู้หญิงที่สังคมจะรับได้สองแบบ ซึ่งก็คือผู้หญิงในแบบที่อ่อนหวาน กับแบบอื่นๆ ที่ต่างออกไป ดังที่เราจะเห็นได้ว่าละครเรื่องไหน ให้คนไหนรอด ก็คนนั้นแหละค่ะ ที่ผู้ประพันธ์หรือผู้ถ่ายทอด คิดว่าค่านิยมหรือคุณลักษณะแบบนี้นี่แหละ ที่ควรค่าแก่การให้มอบความรักให้ ในที่นี้ก็หมายถึงตัวพระเอกที่จะได้ครองคู่ในตอนจบนั่นแหละนะ

ดังนั้นละครฝาแฝดในมิติของละครไทย จึงไม่ใช่ละครที่สะท้อนความจริงของคนที่เป็นฝาแฝดกันจริงๆ แต่มันคือการตบตีกันของคุณลักษณะผู้หญิงสองแบบที่มีรูปร่างภายนอกเหมือนกันทุกอย่าง แต่คาแรกเตอร์ นิสัย ความคิด จริต และคุณธรรมแบบไหนที่เธอยึดถือ ถึงจะไปได้รับการอนุญาตให้ไปต่อเสียมากกว่า

ญาญ่า อุรัสยา ก็เคยร้ายสุดขีดใน กลิ่นกาสะลองญาญ่า อุรัสยา ก็เคยร้ายสุดขีดใน กลิ่นกาสะลอง

ก็นะคะ คนดูก็พลอยจะกลายเป็นไบโพล่าร์กันไปตามๆ กัน เวลาสลับบทบาทกันขึ้นมาที แต่เทยก็เชื่อว่าละครไทยก็คงจะหาวิธีเล่ารูปแบบฝาแฝดที่จะไปได้ไกลกว่า กาสะลอง แรงเงา และ สองนรี ดูบ้างนะคะ

เทยก็จะได้สลับบทบาทถลึงตาใส่อีน้องบ้า!!! กับรสชาติใหม่ซะที

 

เหยี่ยวเทย รายงาน

อัลบั้มภาพ 23 ภาพ

อัลบั้มภาพ 23 ภาพ ของ กาสะลอง-แรงเงา-สองนรี ละครไทยในมิติ แฝดดี-แฝดเลว

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook