เราคือซีรีส์วาย จะไปเป็นเกย์เหมือนกันไม่ได้ แต่มันใช่เรื่องเดียวกันไหม อย่างไรซิ!

เราคือซีรีส์วาย จะไปเป็นเกย์เหมือนกันไม่ได้ แต่มันใช่เรื่องเดียวกันไหม อย่างไรซิ!

เราคือซีรีส์วาย จะไปเป็นเกย์เหมือนกันไม่ได้ แต่มันใช่เรื่องเดียวกันไหม อย่างไรซิ!
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

คุณกิตติคะ ใครจะไปคิดคะว่า ละครสมัยนี้นะคะ ที่ได้รับความนิยม จะติดกระแสเป็นเทรนด์โลกในทวิตเตอร์ขึ้นมาได้ จะเป็นซีรีส์วาย ที่เทียบชั้นตีเสมอละครช่องมากสีน้อยสีได้อย่างเต็มภาคภูมิ แต่ก็ว่าไม่ได้นะคะ พออะไรๆ มันตีแมส ตีใหญ่ ประเด็นดราม่าอะไรใดใดก็ลากตาม ลามไปยันการพูดคุยถึงประเด็นใดใดให้ลึก ให้แซ่บยิ่งขึ้นในละครเรื่องนั้นๆ และซีรีส์วาย ก็กลายเป็นมีประเด็นบางอย่าง ชวนให้พูดคุยกัน เกี่ยวกับการจำกัดความของตัวซีรีส์ ว่ามันควรจะอยู่ที่ตรงไหนแล้วซิ

สัปดาห์นี้ เทยเลยขอชวนเมาท์มอยกรุบ กับการฟาดฟันกันของสองกลุ่มความคิด ที่มีต่อซีรีส์วายในปัจจุบันกันหน่อยค่ะ

ซีรีส์วายที่เราๆ เธอๆ รับชมกันอยู่ในตอนนี้ มีมากมายยังกะไข่ปูนา มีเน็ตอันลิมิตแปะไว้ก็ดูไม่หมดแล้วค่ะ ซึ่งกว่า 80% ของซีรีส์วายในปัจจุบัน พัฒนามาจากนิยายออนไลน์ ซึ่งอยู่ในหมวดหมู่วาย หรือ Boys Love ความรักที่ตัวเอกเป็นชายชายนั่นเอง ซึ่งนิยายวายเหล่านี้ ก็เป็นสิ่งที่เคยอยู่ “ใต้ดิน” มาก่อน เป็นโลกเทาๆ มาตั้งแต่ต้นทางอย่างประเทศญี่ปุ่น ที่ก็มีตวาดวาย ซึ่งไม่ได้หมายถึงตลาดเลิกแล้ว แต่หมายถึงกลุ่มคนที่แลกเปลี่ยนซื้อขายคอนเทนต์ที่เกี่ยวกับวาย หรือเรื่องราวชายรักชายตั่งต่าง ทั้งนิยาย มังงะ อนิเมะ ใดใด หรืออาจจะอู้วอ้าไปยัน การ์ตูนแบบ AV หรือหนัง AV แบบชายชายก็ว่าไปก็มี โลกของวาย จึงเป็นพื้นที่สีเทา ไม่ได้ถูกยอมรับอย่างเอิกเกริกมากนักค่ะ ซึ่งก็ไม่ได้ต่างอะไรจากการยอมรับชายรักชายในสังคมเท่าไหร่

นิยายวาย นิยายวาย

ตัดภาพมาที่ยุค 2020 ซีรีส์วายเฟื่องฟู ยังกะพลุงานสิ้นปีก็ไม่ปาน ที่ไทยเราได้รับอิทธิพลจากความเฟื่องฟูในโลกอินเทอร์เน็ต นิยายที่คนอ่านพุ่งทะลายคือนิยายวาย หาใช่วรรณกรรมภาษาสวยอีกแล้วแม่ ดังนั้นการจะหยิบเรื่องราวในโลกนิยายออนไลน์มาสานฝันให้กลายเป็นภาพจริงนั้น หาใช่เรื่องยากอีกต่อไป น่าสนใจดีใช่ไหมล่ะเธอ 

แต่ในช่วงเวลาเดียวกัน หลังยุค 2000 เป็นต้นมา ในขณะที่ตลาดวายใต้ดิน เริ่มเติบโต เฟื่งฟู ค่อยๆ ขยับไปทีละเล็กละน้อย การเรียกร้องของชาว LGBTQ+ ก็เติบโตตามไปด้วย เรื่องราวของคู่รักเพศหลากหลาย ก็เริ่มมีมาให้เห็นในหน้าสื่อเช่นกัน ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นในหนังใหญ่ สื่อใหญ่ ซึ่งก็มักจะเรียกกันว่า “หนังเกย์” ซึ่งพอพูดคำนี้แล้ว ก็เหมือนกับว่าคำว่า “เกย์” นั้น จะออกดาเมจรุนแรงมากแม่ มิอาจจะนำไปเสมอเหมือนกับซีรีส์วายได้ เพราะมันไม่เหมือนกัน จะไปเป็นเหมือนกันไม่ได้

มะลิลามะลิลา

เลยกลายเป็นสงครามระหว่างสาวกวาย และผู้สนับสนุนชาวเกย์ ว่าสองเรื่องราวจากสองฟากฝั่ง มันเหมือนหรือต่าง เป็นเรื่องเดียวกันหรือไม่อย่างไร

เริ่มที่จุดต่างก่อน

ที่เขาว่ากันว่าวายไม่เท่ากับเกย์ ก็เพราะว่าในความวายนั้น สาววายจะยกอ้างวัฒนธรรมวาย ซึ่งพวกนางไม่ได้ต้องการเสพเนื้อเรื่องที่เกี่ยวข้องกับเกย์คนอื่นคนไหน ในซีรีส์วาย จะพูดถึงความรักอันล้นพ้น ระหว่างคนสองคนี่ลากมาจิ้นกันในเส้นเรื่องนี้เท่านั้น เกย์ในรูปแบบอื่นๆ ฉันไม่นับ คู่วายส่วนใหญ่ จึงมักเป็นตัวละครที่เคยเป็น “ชายแท้” มาก่อน และมักจะตกหลุมตุ๊บ มีความรักอันสุดพิเศษ ให้กับผู้ชาย เพื่อนรัก คนสนิท คนพิเศษ หรือคนที่กูเคยเกลียดตรงหน้านี้เท่านั้น คนเดียวเท่านั้น

จนกลายเป็นวลีอมตะที่ซีรีส์วายใช้กันทั่วไปอย่าง “กูเป็นผู้ชาย แต่กูรักมึงแค่คนเดียว”

เพื่อต้องการจะบอกว่า ฉันน่ะไม่ใช่เกย์นะ ฉันยังเป็นผู้ชายอยู่ แต่ฉันก็แค่ชอบผู้ชายคนนี้ คนเดียวเท่านั้นอ่ะค่ะ จะให้ฉันเป็นเกย์เหมือนคนอื่นไม่ได้ มันไม่เหมือนกันค่ะ แหะแหะ

เดือนเกี้ยวเดือนเดือนเกี้ยวเดือน

และอาจหมายรวมถึงว่า วิถีของตัวละครวายนั้น มักจะยังเป็นผู้ชายอยู่ เตะบอล เล่นกีตาร์ เรียนวิศวะ หมอ ซึ่งมักจะเคลมกันว่า เป็นวิถีแบบ “แมนๆ” อาจหมายรวมถึงว่าก็ยังมองว่าผู้หญิงสวยอยู่ จะเป็นเกย์ได้ยังไง แถมก็ไม่เคยคิดอยากจะลุกขึ้นมาแต่งหญิง ไม่มีใครออกสาว ไม่มีใครเดินซอยสอง หรือฟังบริทนีย์ กาก้า มาดอนน่า อาริอานน่า เกรนเด ซักหน่อย ยังแมนร้อยเปอร์เซ็นต์นั่นแล

สาววายและคนที่อยู่ในวัฒนธรรมวาย จึงมักจะยืนยันว่า วายไม่ได้มีอะไรเกี่ยวกับเกย์ ไม่ใช่ LGBTQ+ มูฟเมนต์ และขีดเส้นกันตัวเองออกมา ว่าฉันนี่นะ กำลังเสพสิ่งที่มันไม่มีอยู่จริง ก็แค่ Fantasy Romantic เท่านั้น เลิกพยายามทำให้มันเป็นเรื่องเดียวกันซะที

แต่ทว่า…

จุดที่เหมือนก็คือ

ในโลกของ LGBTQ+ นั้น คำว่า “เกย์” ไม่ได้ครอบคลุมทุกอย่าง และไม่ได้มีวัฒนธรรมตายตัว ถึงแม้ว่าในภาพจำของคนทั่วไป เกย์อาจจะมองเห็นเป็นการแต่งหญิง แต่ง Drag เดินซอยสอง มีชีวิตวนเวียนกับ Application หาคู่ เป็น Gay OK Bangkok ก็ตามที แต่ก็ไม่ใช่ว่าเกย์ทุกคนจะเป็นแบบนั้น ไม่ใช่ทุกคนจะออกสาว โบกสะบัดธงรุ้ง เพราะยังมีเกย์อีกมาก ที่ใช้ชีวิตแตกต่างกันออกไป

Gay OK BangkokGay OK Bangkok

และนั่นอาจหมายรวมถึงการหลงลืมตัว B ในอักษร LGBTQ+ ซึ่งก็คือ “ไบเซกช่วล” ซึ่งเป็นเพศที่ยังรู้สึกหลงใหลและอ่อนไหวได้กับทั้งผู้ชายและผู้หญิง หรืออาจจะลงลึกไปถึง Pansexual หรือคนที่รักได้กับทุกเพศ ตกหลุมรักกับคนที่พิเศษสุด คนเดียวเท่านั้น โดยไม่จำกัดว่าเขาคือเพศอะไร ซึ่งนั่นก็ไม่ได้ต่างอะไรกับสิ่งที่ซีรีส์วายพยายามจะนำเสนอ

หรือหากจะไปดูกันที่ความ “แมน” อย่างที่เราๆ เธอๆ เข้าใจกัน มันมีคู่รักเกย์อีกมาก ที่บางคนก็เคยชอบผู้หญิงมาก่อน แล้วก็มีแฟนเป็นผู้ชายในปัจจุบัน และก็อาจจะเลิกรากันไปแล้วกลับไปคบผู้หญิงอีก และเขาก็ไม่เคยมี บริทนีย์ สเปียร์ อยู่ในเพลย์ลิสต์ ดีไม่ดีก็ฟัง Potato และโยกหัวไปกับพี่ตูน Bodyslam คือมันก็มี ในรั้ววิศวะ ก็มีคู่ที่รักกันแบบแมนๆ อย่างที่เราๆ เธอๆ เข้าใจกัน มีค่ะ มีทั่วไป และเขาก็ไม่ได้อยากจะให้ใครมาเคลมว่าตัวเขาเป็นแบบโน้นแบบนี้ 

และสิ่งที่คู่รักที่อยู่นอกกรอบวัฒนธรรมหรือการแปะป้ายภาพจำอย่างที่เราๆ เธอๆ เข้าใจกัน มันก็คือการที่พวกเขาโดนกดทับจากสังคมอีกทีนึงนั่นแหละเธอ 

Sotus The SeriesSotus The Series

ฉะนั้น เทยก็อาจจะพอสรุปได้ว่า ปัญหาความขิงกันระหว่างซีรีส์วายกับ LGBTQ+ น่าจะเป็นการตีความความหมายของคำ ยื้อยุดกันไปมาว่าภาพจำของผู้ชายที่รักกันสองคน จะควรตกอยู่ในกรอบแบบไหน ฝั่งวายก็ยื้อไปทางความแมน แบบผู้ชายๆ ที่ควรเป็น ไม่เกย์ไม่อะไร ในขณะที่ทางเกย์ ก็ผลักไส ว่าความรักพวกนั้น มันไม่เกย์เอาเสียเลย

ทั้งๆ ที่จริงๆ แล้ว ในโลกเสรีที่ใช้สื่อหนังละคร เพื่อสนับสนุนการมีอยู่ของคู่รักหลากหลายทางเพศนั้น ต่างเอาสิ่งหนึ่งที่ตั้งไว้สูงสุดก็คือ “ความรัก” มันถึงเป็นที่มาของคำว่า “Lovewins” หรือรักชนะทุกอย่างค่ะ เธอจะมีคาแรกเตอร์แบบไหน แมนไม่แมน วายไม่วาย เกย์ไม่เกย์ เธอมีสิทธิที่จะมีความรักกับใครก็ได้ เป็นสิทธิและเสรีภาพเธอพึงมี

เพราะฉะนั้น ความน่าเศร้าก็คือ ต่อให้มีซีรีส์วายในโลกอีกร้อยเรื่อง แต่กฎหมายแต่งงานไม่ผ่าน รัฐใดใดไม่ยอมรับให้ความรักของชายชายมีตัวตน มีอยู่จริงๆ มันก็ไม่มีประโยชน์ มันจะไม่ทำร้ายหัวจิตหัวใจเหรอคะ ถ้าเกิดว่าคู่จิ้นของเราๆ เธอๆ เขารักกันขึ้นมาจริงๆ แล้วอยากจะแต่งงานก็ทำไม่ได้ ต้องเผชิญกับการมีความรักอยู่อย่างหลบๆ ซ่อนๆ ไปทั้งชีวิต ทั้งๆ ที่ก็เสียภาษีเท่าๆ กันกับคู่รักคู่อื่นๆ

มันเจ็บปวดนะเธอ

เพราะเราคู่กันเพราะเราคู่กัน

ในขณะที่เรากำลังเถียงกันเรื่องการนิยามความหมายของซีรีส์วาย แต่กฎหมายก็ไม่เป็นรูปธรรม ผู้ชายๆ แมนๆ แบบ สารวัตรกับไทน์ จะรักกันได้ที่ปลายทางเหรอคะ ถ้าเราไม่ช่วยกันให้ LGBTQ+ มันไปข้างหน้า ดีไม่ดีถ้าเราหลับหูหลับตา ให้มันไม่ได้รับการยอมรับ มันก็อาจจะมีการกวาดล้างใหญ่ ไม่ใช่มีซีรีส์วายแบบชายรักชายมาให้เราดูกันอีกก็เป็นได้

ทีนี้ล่ะสาววายได้หน้าแห้งกันหมด จะวายจะเกย์ก็ไม่ต้องดูกันละทีนี้

เทยฝากไว้ให้คิสค่ะ

 

เหยี่ยวเทย รายงาน

อัลบั้มภาพ 6 ภาพ

อัลบั้มภาพ 6 ภาพ ของ เราคือซีรีส์วาย จะไปเป็นเกย์เหมือนกันไม่ได้ แต่มันใช่เรื่องเดียวกันไหม อย่างไรซิ!

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook