เรื่องราวน่ารู้ ครบรอบ 17 ปี Yellow บทเพลงฮิตของวง Coldplay | Sanook Music

เรื่องราวน่ารู้ ครบรอบ 17 ปี Yellow บทเพลงฮิตของวง Coldplay

เรื่องราวน่ารู้ ครบรอบ 17 ปี  Yellow บทเพลงฮิตของวง Coldplay
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

“Look at the stars,
Look how they shine for you,
And everything you do,
Yeah, they were all yellow.”

หลายคนคงคุ้นเคยเนื้อเพลงท่อนนี้จากบทเพลงฮิตสุดไพเราะของวงบริทป็อปจากประเทศอังกฤษ Coldplay  ซึ่งบทเพลงนี้มีอายุครบ 17 ปีเมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2017 ที่ผ่านมา เราจึงอยากพูดถึงบทเพลงเพลงนี้ในหลายๆแง่มุมกันสักหน่อย และต่อไปนี้ก็คือ 5 ข้อน่ารู้เกี่ยวกับบทเพลงนี้ “Yellow”

 

1. เพลงที่ทำให้ Coldplay ดังไปทั่วโลก

Yellow เป็นซิงเกิลที่ 2  จากอัลบั้ม  Parachutes (2000) ซึ่งเป็นอัลบั้มแรกของวง ออกเผยแพร่เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน ปี 2000 จากนั้นไม่นานเพลงนี้ก็ทำให้วง Coldplay โด่งดังเป็นพลุแตก และหลังจากนั้นในทุกๆการแสดงสดของวง Coldplay จะขาดเพลงนี้ไม่ได้เลย และแน่นอนกับคอนเสิร์ตในบ้านเราเมื่อวันที่ 7 เมษายนที่ผ่านมาเพลงนี้ก็ถูกบรรเลงขึ้นเป็นเพลงที่ 2  ทำเอาสาวกอย่างเราฟินกันไปเลย บอกเลยว่าแค่ไปดูเพลงนี้เพลงเดียวก็คุ้มแล้ว เป็นเพลงที่เล่นสดได้ถึงอารมณ์สุดๆ

 

คลิกเพื่อ Coldplay - Yellow

fe8d9bdfbde0af10

 

2. ทำไมจึงต้อง “เหลือง”? 

สีเหลืองแทบจะเป็นสีสุดท้ายที่ทุกคนนึกถึงเมื่อแต่งเพลงที่เกี่ยวข้องกับความรัก สีเหลืองมักถูกนำไปใช้ในแง่ลบ เช่น ใบเหลือง ไข้เหลือง สายเหลือง (!!!) แล้วทำไม คริส มาร์ติน นักร้องนำของวงผู้แต่งเพลงเพลงนี้ถึงได้ใช้คำว่า เหลือง   ซึ่งคริสได้ให้เหตุผลเอาไว้ว่า “มันเป็นเหตุผลง่ายๆที่ว่าคำๆนี้มันฟังดูเรียบง่ายและเพราะดี และมันก็เข้ากับเพลงด้วยแค่นี้ล่ะ ไม่มีสีไหนที่พอเราเอาไปใส่ในเนื้อร้องแล้วมันจะเข้ากันได้เลย  เหลืองนี่ล่ะดีที่สุดแล้ว!!!” ที่พูดมามันก็จริงนะครับ สีเหลืองนี่จริงๆก็ถูกใช้กับเพลงเพราะๆอยู่หลายเพลง หนึ่งในนั้นก็คือ Yellow Submarine ของ The Beatles

 

คลิกเพื่อฟัง The Beatles - Yellow Submarine

6ee9600426fe93a0

 

และก็มีเพลงนี้ด้วยครับ “Tie a Yellow Ribbon ‘Round The Ole Oak Tree” เป็นเพลงของวงดอว์น (Dawn) ร่วมร้องโดยโทนี ออร์แลนโดเพราะมากเลย เนื้อเพลงเกี่ยวกับชายคนหนึ่งที่ติดคุกและกำลังออกจากคุก ก่อนหน้านี้เขาได้ติดต่อกับคนรักและบอกกับเธอว่า ถ้าเธอยินดีต้อนรับการกลับมาของเขา ให้เอาริบบิ้นสีเหลืองผูกไว้ที่ต้นโอ๊ค พอใกล้จะถึงต้นโอ๊คต้นนี้พ่อหนุ่มก็เกิดกลัวเข้าเลยหลับตาปี๋เลย แต่พอลืมตาขึ้นมาที่ไหนได้ เหลืองอร่ามทั้งต้นเลย โรแมนติคสุดๆ

 

คลิกเพื่อฟัง Dawn - Tie a Yellow Ribbon ‘Round The Ole Oak Tree

d91a2ea772c7852759a1ebff2d0b1

 

 

ที่มาของเพลงๆ นี้มีอยู่หลายเรื่องเหลือเกิน บ้างก็ว่าชื่อของเพลงมาจากตอนที่คริส มาร์ติน แต่งเพลงเสร็จแล้วและมองไปหาหนังสือที่อยู่ใกล้ตัวที่สุด จนเจอหนังสือหนาๆเล่มหนึ่งซึ่งก็คือ สมุกปกเหลือง นั่นเอง (!!!)  อันนี้เป็นเรื่องเล่าที่ออกจากปากคริสเอง แต่ดูเหมือนว่าจะเป็นโจ๊กเสียมากกว่า 

อีกเรื่องหนึ่งมีอยู่ว่า ในคืนหนึ่งหลังจากที่ทางวงอัดเพลง Shiver เสร็จแล้ว พวกเขาได้พักเบรคและเดินออกมาข้างนอกสตูดิโอ ในตอนนั้นท้องฟ้าโปร่ง และมีดาวสวย  เคน เนลสัน  ที่เป็นโคโปรดิวเซอร์ของวงก็เลยบอกให้ทุกๆคนมองขึ้นไปบนฟ้า ทันใดนั้นพี่คริสของเราก็เลยเกิดแรงบันดาลใจ ได้ยินเมโลดีและทางเดินคอร์ดของเพลงดังขึ้นในหัว  และแน่นอนว่าในเนื้อเพลงต้องมีคำว่า “Stars” และคริสก็นึกสนุกขึ้นมาว่า ถ้าร้องคำว่า stars มันต้องร้องสำเนียงแบบ นีล ยัง (Neil Young) นักร้องนักแต่งเพลงสายโฟล์ค คันทรี่ชื่อดัง ซึ่งวิล แชมเปี้ยน มือกลองของวงก็แซวคริสว่า อย่างกับเพลงของนีล ยังแน่ะ จากนั้นคริสก็พัฒนาบทเพลงนี้เรื่อยๆและให้เพื่อนๆมาแจมกัน จนจอนนี่ บัคแลนด์ มือกีตาร์ของวงได้ริฟฟ์สุดเท่อย่างที่เราได้ยินกันในบทเพลง ตัวเพลงจึงค่อยๆมีความสมบูรณ์ขึ้นมา และ กาย เบอร์รีแมนมือเบสของวงก็เป็นคนคิดไลน์ขึ้นต้นของเพลงซึ่งก็คือ “Look at the stars” นั่นเอง จากนั้นทุกๆคนก็ช่วยกันแต่งเติมจนเสร็จสิ้นและบันทึกเสียงกันเลย ส่วนที่มาของคำว่า “Yellow” ในเวอร์ชั่นนี้นั้นมาจากสีชุดของเพื่อนของพวกเขาที่ชื่อสเตฟานีที่วันนั้นมาอยู่ในสตูดิโอพอดี พอหาคำไม่ได้ก็เอาจากสิ่งใกล้ตัวนี่ล่ะ และมันก็เป็นคำที่ลงตัวพอดี

แต่เรื่องเล่าถึงที่มาของเพลงนี้ในอีกเวอร์ชั่น ที่คริสได้ให้สัมภาษณ์ผ่านรายการ The Howard Stern Show นั้นมีอยู่ว่า เพลงนี้มีจุดเริ่มต้นมาจากการที่เขาพยายามร้องสำเนียงแบบ นีล ยังและเล่นอะไรไปเรื่อยๆ ในขณะนั้นประโยคที่ว่า “Look at the stars” มันก็ออกมา และจากนั้นคริสก็ต่อเพลงไปเรื่อยๆ ส่วนคำว่า “Yellow” นั้นจริงๆไม่ได้มีความหมายอะไรเลย เขาพยายามลองเปลี่ยนเป็นคำอื่นแล้วแต่ก็ไม่เวิร์ค สุดท้ายก็เลยมาลงเอยที่ “Yellow” นี่ล่ะ ด้วยเหตุนี้คริสก็เลยพยายามแต่งเรื่องให้มันวิจิตรทุกๆครั้งที่คนถามถึงที่มาของเพลงนี้

ถ้าหากอยากรู้ว่าสำเนียงแบบ นีล ยัง เป็นอย่างไรก็ลองฟังเพลงนี้เลยครับ ”Heart of Gold”

คลิกเพื่อฟัง Neil Young - Heart of Gold

7a5ae3783dcd68ffc9058f972ad2f

 

แต่ถึงอย่างนั้น คริส ก็เคยอธิบายถึงความหมายของคำว่า “Yellow” ไว้อย่างงดงามว่า “ สีเหลือง (Yellow) นั้นสื่อถึงอารมณ์ของวงเรา มันสว่างไสว มีความหวังและแสดงออกถึงการอุทิศตัวให้กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่เรารัก ยกตัวอย่างเช่นท่อนเพลงที่ร้องว่า I swam across, I jumped to cross for you นั่นก็เป็นการสื่อถึงการฟันฝ่า การพยายามอุทิศตัวในการทำบางสิ่งบางอย่างเพื่อสิ่งที่เรารักหรือเพื่อคนที่เรารัก

เป็นที่น่าสนใจที่คนฟังสามารถตีความเพลงนี้ได้ทั้งด้านบวกที่สว่างสดใส เปี่ยมด้วยความหวัง ในขณะที่ก็สามารถตีความให้เป็นเพลงเศร้าซึ้งได้ด้วยเหมือนกัน

เพลงนี้อยู่ในคีย์ บี เมเจอร์  ในความเร็ว 88 บีทต่อนาที (เป็นความเร็วของเพลงที่มีจังหวะค่อนข้างช้า)

 

3. มีการบันทึกเสียงที่พิถีพิถัน

เพลงนี้ทำการบันทึกเสียงที่ลิเวอร์พูล แต่นำไปมิกซ์ที่นิวยอร์ค วิล แชมเปี้ยนเล่าให้ฟังว่า เพลงนี้ในตอนแรกบันทึกเสียงยากมาก ที่ยากก็เพราะมันมีเท็มโป (ความเร็วของเพลง) ที่เข้าท่าเข้าทางให้เลือกตั้ง 5-6 แบบ ซึ่งมันยากมาก เพราะว่าบางครั้งก็รู้สึกว่าจังหวะมันเร่ง (Rushing) บางครังก็รู้สึกว่ามันลาก (Dragging) คือช้าไปนั่นเอง (ตรงนี้ทำให้เรานึกถึงฉาก ฉากหนึ่งในภาพยนตร์เรื่อง Whiplash เลย เป็นฉากที่พูดเรื่อง เร่งหรือลากนี่ล่ะ มันทำให้รู้เลยว่าสำหรับดนตรีเรื่องจังหวะ เรื่องเท็มโปนี่เป็นเรื่องสำคัญจริงๆ และมันก็เป็นกรรมของมือกลองนั่นแหละที่ต้องรับบทหนักนี้  สามารถดุฉากนี้ได้ในวีดิโอข้างล่างนี้เลยครับ ส่วนใครที่ยังไม่เคยดูภาพยนตร์เรื่องนี้ เราขอแนะนำแบบสุดลิ่มทิ่มประตูเลยครับว่าควรดูยิ่งนัก)

 whiplash

สุดท้ายพวกเขาก็เลยอัดเพลงนี้แบบสดๆกันเลยเพื่อให้ทุกส่วนมันไปด้วยกัน แล้วจึงค่อยเติมไลน์กีตาร์บางส่วนและเสียงร้องประสานไปในภายหลัง

เพลงส่วนใหญ่ในอัลบั้ม Parachutes บันทึกเสียงด้วยระบบอนาล็อกลงไปในเทปรีล 2 นิ้ว แต่ Yellow เป็นหนึ่งในไม่กี่เพลงที่ทำการบันทึกเสียงด้วยระบบอนาล็อกแล้วไม่เวิร์ค เนลสัน  โคโปรดิวเซอร์ของวง ก็เลยใช้โปรแกรม Pro Tools บันทึกเสียงลงคอมพิวเตอร์แล้วจึงค่อยบันทึกลงเทปรีล 2 นิ้วทีหลัง ซึ่งปรากฏว่ามันเป็นเสียงแบบที่ทางวงต้องการเลย ใช่เลย

 

4. เพลงนี้มีมิวสิควีดิโอที่เรียบง่ายแต่ไม่ธรรมดา

 yellow-mv

 

มิวสิควีดิโอเพลงนี้ถ่ายทำกันที่อ่าวสตุ๊ดแลนด์ (Studland Bay) ทางตะวันตกเฉียงใต้ของอังกฤษ ตัวเอ็มวีเรียบง่ายมาก มีแค่คริส มาร์ติน เดินใส่เสื้อกันฝนหัวเปียกเดินร้องไลน์ซิงค์ไปเรื่อยๆคนเดียวริมหาดแบบสโลว์โมชั่น ลองเทคไร้การตัดต่อใดๆ และเพิ่มความคูลด้วยการเปลี่ยนสีของบรรยากาศจากมืดจนค่อยๆสว่างขึ้น จนพบแสงตะวันสดใสในตอนท้ายเพลง

ไอเดียของเอ็มวีนี้มาจากทางวงเอง แต่ตอนแรกทางวงตั้งใจจะถ่ายสมาชิกทุกคนแต่ว่า คุณแม่ของวิล มือกลองท่านเพิ่งเสียและในวันนั้นก็มีการจัดพิธีศพขึ้น ทีมงานก็นัดมาแล้ว จ้างมาแล้วจะเลิกกองเฉยๆก็ไม่ได้ ทางวงก็เลยตัดสินใจให้คริสอยู่ ส่วนสมาชิกคนอื่นๆก็ไปร่วมพิธีกัน

ส่วนสไตล์ของเอ็มวีที่ให้ค่อยๆเปลี่ยนจากมืดไปสว่างนั้นเป็นความตั้งใจของวง ตอนแรกจะให้มี time-lapse ท้องฟ้าด้วย แต่พวกเขารู้สึกว่ามันจะไปแย่งความสนใจจากคริส (ดีแล้วที่ไม่ทำ) ส่วนขั้นตอนของการแปรบรรยากาศจากมืดไปสว่างนั้นแท้จริงแล้วเกิดจากการปรับแก้ในขั้นตอนเทเลซีนนั่นเอง โดยในขณะที่กำลังแปลงจากฟิล์มลงม้วนเทปนั้น ได้มีการแก้สีแก้แสงให้เป็นสีฟ้า เหมือนตอนเช้ามืด ตอนกลางเพลงแก้เป็นสีแดง และเป็นสีเหลืองในตอนท้าย (ตามชื่อเพลง) นั่นเอง

เอ็มวีตัวนี้กำกับโดยคู่ดูโอ James Frost & Alex ถ่ายทำด้วยความเร็ว 50 ภาพต่อวินาที ซึ่งเป็น 2 เท่าของความเร็วปกติ (ระบบ PAL 25 ภาพต่อวินาที) ซึ่งคริส มาร์ตินก็ต้องร้องตามเสียงตัวเองที่ทำการเร่งให้เร็วขึ้นเป็นสองเท่า ในขั้นตอนตัดต่อก็ปรับความเร็วเป็น 25 ภาพต่อวินาที มันก็จะได้ภาพที่เป็นสโลว์โมชั่น และปากของคริสก็จะตรงกับเสียงเพลงพอดี

 

5. ด้วยความดังจึงมีหลายเวอร์ชั่น

เพลงนี้ถูกนำไปคัฟเวอร์และเรียบเรียงใหม่ในหลากหลายเวอร์ชั่น และนี่ก็คือ ตัวอย่างเด็ดๆของ Yellow ในเวอร์ชั่นต่างๆ

Yellow จีน ขับร้องโดย ร็อคเกอร์หนุ่มจีน Zheng Jun

 1

 

Yellow สิงคโปร์ ขับร้องโดย นักร้องสาว Tanya Chua

2

 

ออเครสตร้า เวอร์ชั่น เรียบเรียงและบรรเลงโดย  Royal Philharmonic Orchestra

3

 

เวอร์ชั่นเพลง Lounge โดย  Richard Cheese and Lounge Against the Machine

4

 

เวอร์ชั่นของ  Boyce Avenue คัฟเวอร์แบนด์ที่โด่งดังจนมีเพลงเป็นของตัวเองและได้ออกทัวร์คอนเสิร์ต

5

 

Alex Turner นักร้องนำ Arctic Monkeys ร้องท่อน Look at the stars ก่อนจะเข้าเพลง Cornerstone

6

 

ในแบบของ Ed Sheeran

7

 

ถูกใช้ในซีนเปิดของภาพยนตร์เรื่อง Boyhood หนังที่ถ่ายทอดภาพชีวิตของมนุษย์ได้อย่างงดงามแบบเรียลไทม์หนังใช้เวลาถ่ายทำถึง 12 ปี ตัวแสดงโตจริง แก่จริง ตามเวลา

8

 

และนี่ก็คือเรื่องราวน่ารู้ของบทเพลงนี้ เพลงที่ไม่ว่าเราจะฟังกี่ครั้งก็รู้สึกพองโตไปด้วยพลังแห่งความหวัง เพลงที่ทำให้เรายิ้มได้และมีพลังในการก้าวเดินต่อไป เป็นบทเพลงที่มีอายุครบ 17 ปีแล้ว แต่ก็ยังน่าประทับใจไม่เสื่อมคลาย

 

 

อ้างอิง : Wikipedia, Songfacts, Songmeanings, Quora

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook