"เทป" จะครองตลาด เมื่อวงการเพลงผันผวนตามตลาดโลก โดย อนุสรณ์ สถิรรัตน์ | Sanook Music

"เทป" จะครองตลาด เมื่อวงการเพลงผันผวนตามตลาดโลก โดย อนุสรณ์ สถิรรัตน์

"เทป" จะครองตลาด เมื่อวงการเพลงผันผวนตามตลาดโลก โดย อนุสรณ์ สถิรรัตน์
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ถ้าหัวเรื่องครั้งนี้ขึ้นหน้า 1 เป็นหัวยักษ์ของหนังสือพิมพ์ยอดขายระดับต้นๆของประเทศคงชวนตกใจไม่น้อย แต่อย่าเพิ่งตกใจจนเกินงามครับ เทปครองตลาดจริงครับ แต่มันเป็นเพียงแค่กระแสครับ เพราะตลาดของคนยุคหลังปี 2000 มานี้รู้จักเทปคาสเซ็ตต์กันน้อยมาก หรือแทบไม่รู้จักกันเลย เมื่อได้ลองสัมผัส ลองฟัง หรือเห็นจากคนรอบตัวก็เกิดความรู้สึกว่ามัน "คูล" ขึ้นมาทันที นี่เป็นเพียงวัฏจักรของเทปที่วนครบรอบของมันเท่านั้นครับ

อย่างที่เราทราบกันว่า ทุกวันนี้คนส่วนใหญ่ฟังเพลงจากสมาร์ตโฟนเป็นหลัก รวมทั้งเสียบสมาร์ตโฟนกับอุปกรณ์ในรถ คล้ายกับใช้ iPod เพื่อฟังเพลง ขณะเดียวกัน ซีดีและเทปก็ยังเป็นซอฟต์แวร์หลักในการฟังเพลงอยู่ และเมื่อมองลึกลงไปอีก ความคลาสสิกของเทปนั้นมีมากมายเสียจนบดบังรัศมีความสะดวกสบายของซีดีไปเลย อย่างประโยคที่ว่า "รักจะฟังเทป ต้องพกปากกาหรือดินสอติดตัวไว้" คนอายุ 30-40 ปีขึ้นไปคงอดขำไม่ได้เมื่อนึกถึงอดีตตอนที่ตัวเองฟังเทป

ด้วยเหตุนี้ บริษัทที่ก้าวไปตามกระแสตลาดและไม่ยอมตกเทรนด์จึงพยายามผลิตฮาร์ดแวร์มาตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคตลอดเวลา เราจึงได้เห็น ได้ใช้งานของบางอย่างที่ก่อนนี้ไม่คิดว่าจะมีขึ้นในโลกด้วยซ้ำ ในครั้งนี้จึงนำบทความของญี่ปุ่นมาถ่ายทอดให้อ่านกันครับ เพราะญี่ปุ่นเป็นประเทศที่ก้าวหน้าตลอดเวลา เพื่อนบ้านเดินช้า ญี่ปุ่นก็ก้าวไปข้างหน้าด้วยความเร็วปกติ ไม่มีก้าวช้ารอเพื่อนฝูงหรอกครับ อย่างเมื่อ 40 ปีก่อน เครื่องเล่นเทปแบบพกพาหรือที่เราเรียกกันซาวน์ดอะเบาต์ หรือเรียกวอล์คแมน จนเมื่อซีดีครองตลาด เทปมีบทบาทน้อยลง จนบ้านเราเลิกผลิตเทปไปราวช่วยก่อนปี 2000 แล้วไฟล์ MP3 ก็เข้ามาแทนที่และเติบโตอย่างรวดเร็ว

แต่เรื่องน่าประหลาดใจก็เวียนเข้ามาอย่างต่อเนื่องตามวัฏจักรของการฟังเพลง เทปได้รับความนิยมอย่างเงียบๆและมาโดดเด่นเอาในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา และมาพีคเอาในช่วง 5 ปีหลังสุดนี้ มันไม่ได้แค่มีค่ายเพลงเล็กๆ บางค่ายผลิตเทปออกมาขายควบคู่กับซีดี ตัวศิลปินเองที่อยู่ในระดับอินดี้ฯ นอกจากผลิต CD-R ผลงานตัวเองมาขายแล้ว ยังผลิตเทปออกมาขายอีกด้วย แต่ด้วยข้อจำกัดหลายๆอย่าง ทำให้เทปยังไม่เป็นที่นิยมแพร่หลายเหมือนในอดีต เริ่มด้วยโรงงานผลิตและรับอัดเทปน้อยลง บ้านเราไม่มีแล้ว อีกทั้งต้นทุนในการผลิตก็แตกต่างกันตามความยาวเทป ที่มีตั้งแต่ 30 นาทีถึง 60 นาทีเป็นหลัก ขณะที่ซีดีแผ่นเดียวจุเพลง 30 นาทีหรือ 74 นาที ต้นทุนโรงงานก็เท่าเดิม เพราะจำนวนเพลงและความยาวที่เพิ่มขึ้น เป็นสิ่งที่ค่ายเพลงแบกรับไว้เองตั้งแต่ตอนลงมือทำงานบันทึกเสียงแล้ว

ขณะนี้เทปเปรียบเสมือนตัวกลางในการฟังเพลงไปแล้ว จะฟังเพลงที เปิดเทป อยากอัดเพลงโปรดไว้ฟัง อัดลงเทป และมีอุปกรณ์แสนสะดวกช่วยให้คุณนำเทปมาเปิดฟัง แล้วยังแปลงสัญญาณจากเทปเป็นไฟล์ MP3 บันทึกลง microSD เพื่อนำไปเปิดกับเครื่องเล่นอื่นๆเช่น คอมพิวเตอร์ PC หรือเครื่องเล่น MP3

greenhouse


แนะนำของเล่นใหม่นักเล่นเทป

เพียงมีเครื่องนี้ คุณก็สามารถเอาเทปศิลปินคนโปรดมาฟังได้ในแบบดิจิตอลครับ

มันทำให้คุณเลือกฟังเพลงได้หลายหลากขึ้น และช่วยให้อยากสะสมเทปยิ่งขึ้นไปด้วย

ข้อควรระวัง: ไม่สามารถบันทึกจากหน่วยความจำภายนอกไปยังเทปคาสเซ็ตต์ได้

 

สเป็คของ Green House Cassette Tape Player GE-CTPB-BK MicroSD Type

  • ขนาด 112x32x84 mm
  • หนัก 185 g
  • วางขายเมื่อ 30 เม.ย. 2015
  • ราคา 5,500 เยน (ประมาณ 1,700 บาท)
  • เมโมรี่ในการเล่นไฟล์จากเครื่องเล่นอื่น: ใช้ microSD card (2GB) microSDHC card (32GB)
  • เล่นไฟล์ MP3 (32kbps-320kbps)
  • บันทึกไฟล์ MP3 (128kbps)
  • ไม่ต้องใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ PC ใช้ microSD เสียบตรงได้เลย
  • ไฟล์ที่ถ่ายจากเทปมาลงเครื่อง เมื่อต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์, เครื่องเล่น MP3 และสมาร์ตโฟนก็สามารถเล่นเพลงได้เป็นปกติ
  • มีโหมดอัตโนมัติและโหมดปกติ(ใช้นิ้วกด)
  • ใช้เป็นเครื่องเล่นเทปแบบพกพาได้
  • เล่นออโต้รีเวิร์สได้เหมือนเครื่องเล่นเทปยุคเก่า
  • ใช้เวลาในการบันทึก (กรณีไฟล์ 4GB) ใช้เวลาประมาณ 65 ชม. (บันทึกได้ราว 1MB ใน 1 นาที)
  • ใช้ถ่าน AAA 2 ก้อน หรือต่อสาย USB DC 5V เล่นด้วยถ่านได้นานประมาณ 5 ชม.(เมื่อบันทึกเสียงจากเทปลง microSD)
  • ไม่มีช่องเสียบแฟลชไดรฟ์
  • เก็บไฟล์ไว้ได้นาน 6 เดือน
  • สิ่งที่ให้มากับเครื่องคือ สาย USB เฉพาะรุ่นยาว 75 ซม., เอียร์โฟนเฉพาะรุ่นยาว 90 ซม. และคู่มือการใช้

สมรรถนะและข้อควรระวังในการใช้:

  • ออโต้รีเวิร์ส
  • ใช้ไฟจากสายต่อ USB พร้อมกับไฟแบตเตอรีไม่ได้
  • เสียงอาจมีปัญหาเนื่องจากสภาพไม่สมบูรณ์ของม้วนเทปหรือเทปเก่าเกินไป
  • อ่านเทปไทป์ปกติ(normal)ได้ แต่ไม่อ่านเทป high opsition/chrom (typeII) เทป ferrichrome (typeIII) และ metal (typeIV) ตลอดจนไม่สามารถเล่นที่มีความยาวเกิน 90 นาทีได้
  • ควรทำความสะอาดหัวอ่านให้สม่ำเสมอ
  • อ่านฟอร์แมตจากฮาร์ดแวร์อื่นๆได้ คือ FAT หรือ FAT32
  • เนื่องจากเครื่องค่อนข้างเปราะบางและน้ำหนักเบา ควรใช้อย่างระมัดระวัง

มองไปในอนาคต เราคงได้เห็นฮาร์ดแวร์ที่เหมาะมือ น้ำหนักเบา และราคาถูกออกมาตอบสนองการฟังเพลงของเรามากขึ้นอย่างแน่นอนครับ

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook