Mozart อัจฉริยะทางดนตรีที่แม้แต่วงการ K-POP ก็ต้องยอมรับ | Sanook Music

Mozart อัจฉริยะทางดนตรีที่แม้แต่วงการ K-POP ก็ต้องยอมรับ

Mozart อัจฉริยะทางดนตรีที่แม้แต่วงการ K-POP ก็ต้องยอมรับ
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

หากพูดถึงดนตรีคลาสสิก ชื่อที่ใครๆ ก็รู้จักก็คงจะหนีไม่พ้น Wolfgang Amadeus Mozart นักแต่งเพลงชาวออสเตรียผู้มีผลงานมากกว่า 600 ชิ้นด้วยอายุแค่เพียง 35 ปีเท่านั้น ถึงแม้โมสาร์ทจะเสียชีวิตไปมากกว่า 230 ปีแล้วแต่ผลงานของเขายังคงมีชื่อเสียง ถูกนำออกแสดง ถูกนำไปใช้ประกอบในสื่อต่างๆ ไม่เว้นแม้แต่การนำมาผสมรวมและปรับปรุงให้เข้ากับดนตรีสมัยใหม่

K-POP ยุคบุกเบิกหลังจากช่วงสงครามได้รับอิทธิพลจากญี่ปุ่นและสหรัฐอเมริกาเป็นอย่างมาก ดนตรีตะวันตกก็ถูกนำไปเผยแพร่จนเป็นที่รู้จักในสังคมเกาหลีใต้ นั่นทำให้เพลงป็อปที่ถูกสร้างโดยชาวเกาหลีใต้ที่ถูกปล่อยออกมาสู่สาธารณชนในช่วงแรกนั้นมีการผสมผสานของหลากหลายวัฒนธรรมเข้าด้วยกัน การนำดนตรีคลาสสิกที่มีชื่อเสียงและมีทำนองติดหูคนอยู่แล้วมาใส่ในเพลง K-POP จึงเป็นสิ่งที่พบได้บ่อยในช่วงแรก …โดยเฉพาะบทเพลงของโมสาร์ท

istock-1147071009

ในปี 1998 ไอดอลยุคแรกอย่าง H.O.T. ได้สร้างตำนานไว้ในเพลง "Hope" ซึ่งในปัจจุบันได้กลายไปเป็นเพลงประจำค่าย SM Entertainment อันแสนโด่งดัง เพลงนี้ได้นำทำนองจากบทเพลง "Symphony หมายเลข 9 (Ode to Joy)" ของ Ludwig van Beethoven อีกนักแต่งเพลงคลาสสิกชื่อดังก้องโลกมาปรับเปลี่ยนเล็กน้อยแต่ยังคงกลิ่นอายแบบบีโธเฟนเอาไว้

ตัวอย่างเพลง H.O.T. - Hope

H.O.T. '빛 (Hope)' MV

 

ตัวอย่างเพลง Ludwig van Beethoven - Ode an die Freude (Ode to Joy) Symphony No.9

Flashmob Flash Mob - Ode an die Freude ( Ode to Joy ) Beethoven Symphony No.9 classical music

ก่อนที่ในปีถัดมาจะได้ปล่อยเพลง "I Yah" ที่ได้นำเอาทำนองจากเพลง "Moonlight Sonata" ของบีโธเฟนมาใส่ในท่อน Bridge แต่ที่โดดเด่นที่สุดก็คือทำนองตั้งแต่เริ่มต้นด้วยเสียงของเครื่องสาย ตามมาด้วยกีตาร์ไฟฟ้า ซึ่งทำนองนี้มาจากบทเพลง Symphony หมายเลข 25 ของโมสาร์ทที่มีชื่อเล่นว่า "The Little G Minor"

ตัวอย่างเพลง H.O.T. - I Yah ตอนต้นทำนองจาก Symphony หมายเลข 25 ของโมสาร์ท และนาทีที่ 3:05 จากเพลง Moonlight Sonata ของบีโธเฟน

H.O.T - I yah!

ตัวอย่างเพลง Wolfgang Amadeus Mozart - Symphony no.25

Mozart: Sinfonie g-Moll KV 183 ∙ hr-Sinfonieorchester ∙ François Leleux

 

ตัวอย่างเพลง Ludwig van Beethoven - Moonlight Sonata เล่นโดยนักเปียโนชาวเกาหลีใต้ โชซองจิน

[ #DG120 갈라 콘서트 조성진 DG 120 Gala Concert in Seoul - Seong-Jin Cho] (Encore) Moonlight, Happy Birthday



นอกจากเพลงของ H.O.T. ที่มีการนำเพลง "The little G Minor" ไปใส่แล้ว วง XENO-T (ToppDogg) วงบอยแบนด์จากค่าย HUNUS Entertainment เองก็ได้นำทำนองจากเพลงเดียวกันนี้ไปใส่ในเพลงของพวกเขาที่มีชื่อว่า Top Dog อีกด้วย

ตัวอย่างเพลง XENO-T (ToppDogg) - Top Dog

[MV] 탑독 (ToppDogg) - TOPDOG

ซิมโฟนีหมายเลข 25 ของโมสาร์ทเป็นหนึ่งในผลงานชิ้นโบว์แดงที่ถูกนำออกแสดงบ่อยมากแม้กระทั่งในปัจจุบันนี้ เนื่องจากเพลงนี้มีความแตกต่างจากซิมโฟนีบทอื่นๆ ของเขาที่มักจะอยู่ในคีย์ Major ที่บรรยายภาพความสดใส มีสีสัน เต็มไปด้วยความสุข สนุกสนาน แต่เพลงนี้กลับอยู่ในคีย์ G Minor ที่ให้ความรู้สึกหม่น ดาร์ก เต็มไปด้วยอารมณ์ที่รุนแรงและมีความดุดัน

unnamed

เจ้าหนูอัจฉริยะโมสาร์ทมีชีวิตวัยเด็กที่น่าอิจฉาในสายตาของใครหลายคน เขาเกิดมาในครอบครัวนักดนตรีอย่างแท้จริง ใช้ชีวิตอยู่ท่ามกลางเสียงเพลงตั้งแต่ยังอยู่ในท้อง จนทำให้เขาสามารถซึมซับและเริ่มเริ่มแต่งเพลงได้ตั้งแต่ยังอายุแค่ 6 ขวบเท่านั้น ได้เริ่มออกทัวร์คอนเสิร์ตกับพ่อของตัวเองตั้งแต่ยังอายุน้อย เป็นที่ต้องการของราชสำนัก วัง และโบสถ์ทั่วอาณาจักรยุโรป

แต่แน่นอนว่ายิ่งเก่งยิ่งโด่งดังก็จะยิ่งมีคนหมั่นไส้ นักดนตรีหลายคนไม่ชอบใจในตัวโมสาร์ทนัก พออายุมากขึ้นการใช้ชีวิตก็ลำบากขึ้น การทำงานแต่งเพลงไม่ได้ช่วยให้สถานะทางการเงินของเขาดีขึ้นกลับมีแต่จะย่ำแย่ลงทุกวัน… และในท้ายที่สุดโมสาร์ทก็จากโลกใบนี้ไปด้วยวัยเพียง 35 ปีเท่านั้นด้วยโรคร้าย น่าทึ่งมากว่าอายุแค่ 35 ปีแต่โมสาร์ทกลับแต่งเพลงทั้งสำหรับเล่นเดี่ยว เล่นกลุ่มเล็ก วงใหญ่ อุปรากร และอีกสารพัดรูปแบบไว้มากมายเต็มไปหมด มีซิมโฟนีที่ได้รับการตีพิมพ์ถึง 41 บทเลยด้วย

แต่ที่น่าแปลกใจคือจากซิมโฟนีทั้งหมด 41 บทมีแค่เพียง 2 บทเท่านั้นที่อยู่ในคีย์ Minor หนึ่งในนั้นคือหมายเลข 25 ที่เราได้กล่าวถึงไป และอีกบทหนึ่งคือหมายเลข 40 ที่ได้รับฉายาว่า The Great G Minor อ้าว คีย์เดียวกันเป๊ะเลย แต่ที่เป็น the Great เพราะเป็นเพลงที่ใช้วงขนาดใหญ่กว่า มีความยาวมากกว่านั่นเอง แล้วเชื่อหรือไม่ว่าถ้าคุณได้ฟังแค่เพียงไม่กี่วินาทีก็จะต้องร้องอ๋อ ไม่น่าจะมีใครในโลกนี้ไม่เคยได้ยินทำนองนี้มาก่อน

ตัวอย่างเพลง Wolfgang Amadeus Mozart - Symphony no.40

Mozart: Symphony No. 40 / Rattle · Berliner Philharmoniker

ยูยองจิน นักแต่งเพลงคู่บุญของค่าย SM Entertainment เองก็ไม่พลาดที่จะหยิบยกเอาเพลงที่มีชื่อเสียงนี้มาใส่ในเพลงที่เขาแต่งให้กับวง TVXQ หรือดงบังชินกิอย่างเพลง "Tri-Angle" ที่ได้ร่วมร้องกับ BoA และ Trax ศิลปินร่วมค่ายในปี 2004

ตัวอย่างเพลง TVXQ - Tri-Angle

TVXQ! 동방신기 'Tri-Angle (Extended Ver.) (Feat. BoA & TRAX)' MV



หากคุณคิดว่ามีแค่วงไอดอลใน Gen แรกเท่านั้นที่สนใจในเพลงคลาสสิก คุณคิดผิดแล้ว เพราะไอดอลตัวแทนจาก Gen 4 ยุคปัจจุบันอย่าง Stray Kids เด็กหลงแห่งค่าย JYP Entertainment ก็ได้มีการนำเสนอเพลงที่ได้รับแรงบันดาลใจจากนักประพันธ์ท่านนี้ด้วย

อย่างในรายการแข่งขัน Kingdom: Legendary War พวกเขาได้มีการนำเอาทำนองจาก Symphony หมายเลข 40 ของโมสาร์ทมาใส่ผสมไปกับท่อน Pre-chorus ของเพลง "God’s Menu" ได้อย่างเหลือเชื่อ

ตัวอย่าง Stray Kids - Side effect + God’s Menu นาทีที่ 2:35

 

บังชาน ฮันจีซอง และ ซอชางบิน สามหนุ่มนักแต่งเพลงจากยูนิต 3Racha ของวง Stray Kids เคยให้สัมภาษณ์ไว้ว่าพวกเขาได้รับแรงบันดาลใจจากชื่อ Wolfgang Amadeus Mozart และนำมาแต่งเป็นเพลงที่ชื่อว่า "Wolfgang" ซึ่งกล่าวถึงทั้งนักดนตรีอัจฉริยะอย่างโมสาร์ทรวมไปถึงฝูงหมาป่าที่สร้างสรรค์ดนตรีอีกด้วย (Wolf gang)

ตัวอย่างเพลง Stray Kids - Wolfgang

และที่ไม่พูดถึงไม่ได้เลยก็ต้องขอยกให้สเตจจากรอบไฟนอลของรายการ Kingdom ที่ทำให้พวกเขาได้ชนะการแข่งขันจนกลายเป็นคิง เรียกได้เลยว่าองค์โมสาร์ทอาจจะลงมาจุติ ณ เวทีนี้ที่ได้นำเสนอบทเพลงของเขาถึง 2 เพลงในช่วง Intro นั่นคือ "Fantasia in D Minor" เพลงสำหรับเดี่ยวเปียโนยอดนิยม และ "The Great G Minor" ก่อนที่จะตามด้วยเพลง "Wolfgang" ยิ่งใหญ่ อลังการ สมศักดิ์ศรีนักประพันธ์อัจฉริยะแห่งวงการเพลงและศิลปินบอยแบนด์ที่คับแน่นไปด้วยคุณภาพอย่าง Stray Kids

ตัวอย่าง Wolfgang Amadeus Mozart - Fantasia in D Minor, K397 บรรเลงโดยโชซองจิน

Seong-Jin Cho : Mozart Fantasia in D minor K.397 (20191011 RSO Festival, Helsinki Recital)

 

ตัวอย่าง Stray Kids - Wolfgang (Kingdom)

[최초공개] ♬ WOLFGANG - 스트레이 키즈(Stray Kids)ㅣ파이널 경연#KINGDOM EP.10 | Mnet 210603 방송



ยังมีเพลงคลาสสิกอีกมากมายที่กลายมาเป็นแรงบันดาลใจให้กับโปรดิวเซอร์สมัยใหม่ในการสร้างผลงานสำหรับวงการ K-POP แต่ที่ปฏิเสธไม่ได้เลยคือบทเพลงของโมสาร์ทนั้นยังคงได้รับการยอมรับและความสนใจไม่ว่าจะผ่านไปกี่ร้อยปี บทเพลงของเขาจะยังคงความคลาสสิกและอยู่คู่กับโลกของเราไปอีกนานแสนนาน

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook