เมื่อใครๆ ก็แจกเพลงฟรี! อนาคตที่ใกล้ขึ้นเรื่อยๆ
อาจจะมีคนถามว่าแล้วศิลปินจะได้อะไรจากการแจกเพลงไปให้คนฟังฟรีๆ คำตอบก็ง่ายมาก ก็ในเมื่อไม่สามารถทำรายได้จากการขายอัลบั้มได้ ก็ต้องไปหารายได้จากช่องทางอื่นในที่นี้ก็คือการแสดงสด
เหตุการณ์ที่ทำให้วงการเพลงระส่ำระสาย ก่อนหน้านี้ไม่นานก็คือข่าวการฟุบของค่ายอย่าง อีเอ็มไอ ซึ่งต้องถอนการลงทุนของบริษัทในประเทศไทยออกไป ในขณะเดียวกันสถานการณ์ของค่ายต้นสังกัดก็ไม่ค่อยดีนัก ศิลปินใหญ่หลายกลุ่มหลายคนก็เริ่มตีจาก ศิลปินลูกหม้อเดิมอย่าง Radiohead ก็ออกอัลบั้ม In Rainbow ในแบบดิจิตอลให้คนไปดาวน์โหลดเอาเองได้ โดยสามารถใส่ราคาได้ตามใจชอบ ก่อนจะให้บริษัทจัดจำหน่ายอัลบั้มของตัวเองภายหลัง
แน่นอนว่าจะมีแฟนเพลงส่วนหนึ่งซึ่งดาวน์โหลดไปโดยใส่ราคา 0 ปอนด์ ก็มีไม่น้อยเหมือนกัน อย่างไรก็ตาม ผลที่ตามมาคืออัลบั้มนี้ก็ขึ้นชาร์ทอันดับหนึ่งของอังกฤษ ในเวลาอันรวดเร็วและง่ายดาย
อย่างไรก็ตาม ธอม ยอร์ค นักร้องนำของวงและแกนนำก็ได้ออกมาบอก นี่คงจะเป็นครั้งสุดท้ายที่จะมีการขายอัลบั้มของวงในรูปแบบนี้ เพราะว่าตอนที่ตัดสินใจขายเป็นการตอบสนองต่อสถานการณ์ของวงการเพลงในขณะนั้น
"ผมว่ามันคงไม่ได้เป็นปรากฏการณ์อะไรอีก ถ้าเราเลือกจะให้เพลงฟรีๆ กับแฟนเพลงอีกครั้ง" ธอม ยอร์ค ให้สัมภาษณ์กับนิตยสาร อี! เอ็นเตอร์เทนเม้นต์
เหตุผลหนึ่งที่เขาทำแบบนั้นเพราะว่าอัลบั้มหลังๆ ของวงอย่าง Kid A ก็รั่วออกมาทางอินเตอร์เน็ตก่อนที่จะวางแผนรวมไปถึง Eraser อัลบั้มเดียวของ ยอร์ค ด้วย เขาก็เลยตัดสินใจทำอัลบั้มตัวเองร่วมซะเอง โดยให้แฟนเพลงเลือกที่จะจ่ายเงินฟังหรือไม่จ่ายก็ได้ อย่างไรก็ตาม ทางวงคงไม่ตัดสินใจใช้วิธีนี้อีก แต่จะหาช่องทางอื่นๆ เพื่อใช้ในการจัดจำหน่ายอัลบั้มต่อๆ ไป
นี่ถือเป็นการสิ้นสุดของศิลปินที่ผลิตเพลงออกมาแจกให้กับแฟนเพลงฟรีๆ หรือเปล่า? คำตอบคือยังไม่น่าจะใช่ และยังมีโอกาสที่ใครจะทำอะไรแบบนี้อีก และรวมไปถึงอย่างอื่นๆ นอกจากเพลงในอนาคตด้วย
นิตยสาร Wired ฉบับเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ตีพิมพ์บทความที่เขียนโดย คริส แอนเดอร์สัน ซึ่งกำลังศึกษาข้อมูลของความเป็นไปได้ว่าหลายๆ อย่างจะฟรี อย่างเช่น เครื่องเล่นดีวีดี, เลขาส่วนตัว หรือของที่เราใช้กันฟรีๆ แล้วอย่าง อี-เมล ซึ่งสมัยก่อนผู้ใช้ต้องจ่ายเงินเพื่อแลกกับพื้นที่เก็บอี-เมลของตัวเอง จนไปถึงของอย่างตั๋วเครื่องบินก็มีแนวโน้มว่าจะฟรี และแน่นอนว่า ซีดีเพลงก็เป็นหนึ่งในที่น่าจะเป็นของฟรีในอนาคตด้วย จากแนวโน้มที่ศิลปินแต่ละคนออกมาทำงานเพลงกันเองเยอะขึ้น
โดย แอนเดอร์สัน ยกตัวอย่างกรณีของ ปริ๊นซ์ ซึ่งในอัลบั้มล่าสุดของเขา Planet Earth ซึ่งออกเมื่อช่วงนี้ของปีก่อน ปริ๊นซ์ ก็เอาอัลบั้มตัวเองสอดไส้ไปกับหนังสือพิมพ์ Daily Mail ฉบับวันอาทิตย์ของกรุงลอนดอนจำนวน 2.8 ล้านฉบับฟรีๆ ซึ่งอัลบั้มชุดหนึ่งของเขาถ้าไปขายตามร้านทั่วไปจะมีราคาประมาณ 19 ดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 600 บาท) ซึ่งถ้าขายตามปกติเขาจะได้เงินส่วนแบ่งประมาณ 2 ดอลลาร์ต่ออัลบั้มที่ขายได้ แต่เขายอมรับเงินแค่ 36 เซ็นต์ เท่านั้น
ฟังดูเหมือนจะแย่ แน่นอนว่า ปริ๊นซ์ ขาดทุนยับในเรื่องของเงินที่ได้จากยอดขาย และดิสทริบิวเตอร์ก็ไม่ชอบใจที่เขาทำแบบนี้จนไม่มีใครอยากจะจัดจำหน่ายอัลบั้มให้ แต่สิ่งที่ตามมาก็คืออัลบั้มของเขาได้รับความนิยมจากคนฟังจนเขาสามารถเล่นคอนเสิร์ตใหญ่ในสนามกีฬาถึง 21 รอบ ฟันรายได้ไป 23.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
ซึ่งก็ต้องถือว่าสมประโยชน์ทั้ง 2 ฝ่าย คือ ปริ๊นซ์ ก็ได้เงินจากคอนเสิร์ตมากขึ้น ส่วน Daily Mail ก็ได้ชื่อเสียงและยอดขายเพิ่มขึ้นจากการเอาอัลบั้มปริ๊นซ์แถมไปกับหนังสือพิมพ์ของตัวเอง
ล่าสุดวงอินดัสเทรียลร็อคอย่าง Nine Inch Nail (NIN) นำโดย เทรนซ์ เรซเนอร์ ก็ออกอัลบั้มใหม่ The Slip แล้วเปิดให้แฟนเพลงดาวน์โหลดได้ฟรีทางอินเตอร์เน็ตผ่านเว็บไซต์ หรือบิททอแรนซ์ ทั้งในแบบ mp3 และแบบรายละเอียดสูง ทั้ง 10 เพลงในอัลบั้ม รวมถึงอาร์ตเวิร์คปกอัลบั้ม ทั้งยังจดลิขสิทธิ์แบบเปิดให้ทุกคนสามารถนำเอาเพลงของเขาไปทำซ้ำ รีมิกซ์ ฯลฯ อะไรก็ได้ ตราบใดที่ไม่ได้เป็นไปเพื่อการค้า โดยให้ทิ้งอี-เมลไว้เท่านั้น ทั้งยังให้คนที่ดาวน์โหลดสามารถส่งต่อให้เพื่อนๆ ได้อีก
ที่สำคัญอัลบั้มดังกล่าวยังได้รับเสียงตอบรับที่ดี จากนักวิจารณ์เพลงในต่างประเทศอีกด้วย ซึ่งอัลบั้มนี้จะวางแผงในแบบซีดีในเดือนกรกฎาคมที่จะถึงนี้อีกด้วย
ยังไม่หมดแค่นั้น Coldplay วงบริทร็อคจากเกาะอังกฤษ ก็ให้ดาวน์โหลดเพลง Violet Hill จากอัลบั้มใหม่ Viva La Vida or Death and All His Friends แบบฟรีๆ อีกต่างหาก (แต่แค่เพลงเดียวนะ) ซึ่งแฟนๆ ก็เข้าไปดาวน์โหลดกันจนเว็บไซต์ของวงล่มเลยทีเดียว
จนสังเกตได้ว่านี่อาจจะเป็นกระแสใหม่ที่กำลังก่อตัวขึ้นเรื่อยๆ เพราะคนอย่าง ปริ๊นซ์, Radiohead, NIN หรือ Coldplay ต้องถือว่าเป็นวงดนตรีระดับแถวหน้าที่มีแฟนเพลงติดตามอย่างเหนียวแน่น จนนักวิจารณ์รายหนึ่งจากเว็บไซต์ข่าว ABC News พูดติดตลกว่ามันจะกลายเป็นสึนามิแน่ถ้าเกิด มารายห์ แคร์รี โดดลงมาร่วมอุดมการณ์นี้อีกคน แน่นอนว่าวันนั้นยังมาไม่ถึงแต่ก็ไม่แน่ว่ามันอยู่ไกลเกินไปนัก
อาจจะมีคนถามว่าแล้วศิลปินจะได้อะไรจากการแจกเพลงไปให้คนฟังฟรีๆ คำตอบก็ง่ายมาก ก็ในเมื่อไม่สามารถทำรายได้จากการขายอัลบั้มได้ ก็ต้องไปหารายได้จากช่องทางอื่นในที่นี้ก็คือการแสดงสด สินค้าพรีเมียมของวง และอัลบั้มลิมิเต็ดอิดิชั่น ซึ่งเป็นรายได้ของวงเท่านั้น ในประเทศไทยเองคนที่ทำแบบนี้มาแล้วก็อย่างค่าย สมอลรูม ที่แจกเพลง Minute of Love ของ ซูเปอร์เบเกอร์ ให้กับแฟนเพลงแบบฟรีๆ จนขึ้นอันดับหนึ่งยาวนานที่สุดในแฟตเรดิโอ บอย โกสิยพงษ์ ก็แจกอัลบั้ม ริธึ่มแอนด์บอย อีเลฟเว่น ฟรีๆ ทาง ทรูมิวสิค มาแล้วเหมือนกันและก็ได้รับเสียงตอบรับที่ดี
สมัยก่อนธุรกิจดนตรีเชื่อว่า ศิลปินเป็นสินค้าประเภทหมุนเวียนและยังไงก็ต้องพึ่งพาสังกัดให้ติดต่อกับคนฟังให้ แต่มันไม่ได้เป็นอย่างนั้นอีกต่อไปแล้ว เมื่อเทคโนโลยีนำคนฟังกับศิลปินเข้ามาใกล้ชิดกันเข้าไปเรื่อยๆ
อะไรจะเกิดขึ้นต่อไปก็เป็นสิ่งที่เราจะต้องจับตามอง
ขอบคุณเนื้อหาข่าวจาก
เหตุการณ์ที่ทำให้วงการเพลงระส่ำระสาย ก่อนหน้านี้ไม่นานก็คือข่าวการฟุบของค่ายอย่าง อีเอ็มไอ ซึ่งต้องถอนการลงทุนของบริษัทในประเทศไทยออกไป ในขณะเดียวกันสถานการณ์ของค่ายต้นสังกัดก็ไม่ค่อยดีนัก ศิลปินใหญ่หลายกลุ่มหลายคนก็เริ่มตีจาก ศิลปินลูกหม้อเดิมอย่าง Radiohead ก็ออกอัลบั้ม In Rainbow ในแบบดิจิตอลให้คนไปดาวน์โหลดเอาเองได้ โดยสามารถใส่ราคาได้ตามใจชอบ ก่อนจะให้บริษัทจัดจำหน่ายอัลบั้มของตัวเองภายหลัง
แน่นอนว่าจะมีแฟนเพลงส่วนหนึ่งซึ่งดาวน์โหลดไปโดยใส่ราคา 0 ปอนด์ ก็มีไม่น้อยเหมือนกัน อย่างไรก็ตาม ผลที่ตามมาคืออัลบั้มนี้ก็ขึ้นชาร์ทอันดับหนึ่งของอังกฤษ ในเวลาอันรวดเร็วและง่ายดาย
อย่างไรก็ตาม ธอม ยอร์ค นักร้องนำของวงและแกนนำก็ได้ออกมาบอก นี่คงจะเป็นครั้งสุดท้ายที่จะมีการขายอัลบั้มของวงในรูปแบบนี้ เพราะว่าตอนที่ตัดสินใจขายเป็นการตอบสนองต่อสถานการณ์ของวงการเพลงในขณะนั้น
"ผมว่ามันคงไม่ได้เป็นปรากฏการณ์อะไรอีก ถ้าเราเลือกจะให้เพลงฟรีๆ กับแฟนเพลงอีกครั้ง" ธอม ยอร์ค ให้สัมภาษณ์กับนิตยสาร อี! เอ็นเตอร์เทนเม้นต์
เหตุผลหนึ่งที่เขาทำแบบนั้นเพราะว่าอัลบั้มหลังๆ ของวงอย่าง Kid A ก็รั่วออกมาทางอินเตอร์เน็ตก่อนที่จะวางแผนรวมไปถึง Eraser อัลบั้มเดียวของ ยอร์ค ด้วย เขาก็เลยตัดสินใจทำอัลบั้มตัวเองร่วมซะเอง โดยให้แฟนเพลงเลือกที่จะจ่ายเงินฟังหรือไม่จ่ายก็ได้ อย่างไรก็ตาม ทางวงคงไม่ตัดสินใจใช้วิธีนี้อีก แต่จะหาช่องทางอื่นๆ เพื่อใช้ในการจัดจำหน่ายอัลบั้มต่อๆ ไป
นี่ถือเป็นการสิ้นสุดของศิลปินที่ผลิตเพลงออกมาแจกให้กับแฟนเพลงฟรีๆ หรือเปล่า? คำตอบคือยังไม่น่าจะใช่ และยังมีโอกาสที่ใครจะทำอะไรแบบนี้อีก และรวมไปถึงอย่างอื่นๆ นอกจากเพลงในอนาคตด้วย
นิตยสาร Wired ฉบับเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ตีพิมพ์บทความที่เขียนโดย คริส แอนเดอร์สัน ซึ่งกำลังศึกษาข้อมูลของความเป็นไปได้ว่าหลายๆ อย่างจะฟรี อย่างเช่น เครื่องเล่นดีวีดี, เลขาส่วนตัว หรือของที่เราใช้กันฟรีๆ แล้วอย่าง อี-เมล ซึ่งสมัยก่อนผู้ใช้ต้องจ่ายเงินเพื่อแลกกับพื้นที่เก็บอี-เมลของตัวเอง จนไปถึงของอย่างตั๋วเครื่องบินก็มีแนวโน้มว่าจะฟรี และแน่นอนว่า ซีดีเพลงก็เป็นหนึ่งในที่น่าจะเป็นของฟรีในอนาคตด้วย จากแนวโน้มที่ศิลปินแต่ละคนออกมาทำงานเพลงกันเองเยอะขึ้น
โดย แอนเดอร์สัน ยกตัวอย่างกรณีของ ปริ๊นซ์ ซึ่งในอัลบั้มล่าสุดของเขา Planet Earth ซึ่งออกเมื่อช่วงนี้ของปีก่อน ปริ๊นซ์ ก็เอาอัลบั้มตัวเองสอดไส้ไปกับหนังสือพิมพ์ Daily Mail ฉบับวันอาทิตย์ของกรุงลอนดอนจำนวน 2.8 ล้านฉบับฟรีๆ ซึ่งอัลบั้มชุดหนึ่งของเขาถ้าไปขายตามร้านทั่วไปจะมีราคาประมาณ 19 ดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 600 บาท) ซึ่งถ้าขายตามปกติเขาจะได้เงินส่วนแบ่งประมาณ 2 ดอลลาร์ต่ออัลบั้มที่ขายได้ แต่เขายอมรับเงินแค่ 36 เซ็นต์ เท่านั้น
ฟังดูเหมือนจะแย่ แน่นอนว่า ปริ๊นซ์ ขาดทุนยับในเรื่องของเงินที่ได้จากยอดขาย และดิสทริบิวเตอร์ก็ไม่ชอบใจที่เขาทำแบบนี้จนไม่มีใครอยากจะจัดจำหน่ายอัลบั้มให้ แต่สิ่งที่ตามมาก็คืออัลบั้มของเขาได้รับความนิยมจากคนฟังจนเขาสามารถเล่นคอนเสิร์ตใหญ่ในสนามกีฬาถึง 21 รอบ ฟันรายได้ไป 23.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
ซึ่งก็ต้องถือว่าสมประโยชน์ทั้ง 2 ฝ่าย คือ ปริ๊นซ์ ก็ได้เงินจากคอนเสิร์ตมากขึ้น ส่วน Daily Mail ก็ได้ชื่อเสียงและยอดขายเพิ่มขึ้นจากการเอาอัลบั้มปริ๊นซ์แถมไปกับหนังสือพิมพ์ของตัวเอง
ล่าสุดวงอินดัสเทรียลร็อคอย่าง Nine Inch Nail (NIN) นำโดย เทรนซ์ เรซเนอร์ ก็ออกอัลบั้มใหม่ The Slip แล้วเปิดให้แฟนเพลงดาวน์โหลดได้ฟรีทางอินเตอร์เน็ตผ่านเว็บไซต์ หรือบิททอแรนซ์ ทั้งในแบบ mp3 และแบบรายละเอียดสูง ทั้ง 10 เพลงในอัลบั้ม รวมถึงอาร์ตเวิร์คปกอัลบั้ม ทั้งยังจดลิขสิทธิ์แบบเปิดให้ทุกคนสามารถนำเอาเพลงของเขาไปทำซ้ำ รีมิกซ์ ฯลฯ อะไรก็ได้ ตราบใดที่ไม่ได้เป็นไปเพื่อการค้า โดยให้ทิ้งอี-เมลไว้เท่านั้น ทั้งยังให้คนที่ดาวน์โหลดสามารถส่งต่อให้เพื่อนๆ ได้อีก
ที่สำคัญอัลบั้มดังกล่าวยังได้รับเสียงตอบรับที่ดี จากนักวิจารณ์เพลงในต่างประเทศอีกด้วย ซึ่งอัลบั้มนี้จะวางแผงในแบบซีดีในเดือนกรกฎาคมที่จะถึงนี้อีกด้วย
ยังไม่หมดแค่นั้น Coldplay วงบริทร็อคจากเกาะอังกฤษ ก็ให้ดาวน์โหลดเพลง Violet Hill จากอัลบั้มใหม่ Viva La Vida or Death and All His Friends แบบฟรีๆ อีกต่างหาก (แต่แค่เพลงเดียวนะ) ซึ่งแฟนๆ ก็เข้าไปดาวน์โหลดกันจนเว็บไซต์ของวงล่มเลยทีเดียว
จนสังเกตได้ว่านี่อาจจะเป็นกระแสใหม่ที่กำลังก่อตัวขึ้นเรื่อยๆ เพราะคนอย่าง ปริ๊นซ์, Radiohead, NIN หรือ Coldplay ต้องถือว่าเป็นวงดนตรีระดับแถวหน้าที่มีแฟนเพลงติดตามอย่างเหนียวแน่น จนนักวิจารณ์รายหนึ่งจากเว็บไซต์ข่าว ABC News พูดติดตลกว่ามันจะกลายเป็นสึนามิแน่ถ้าเกิด มารายห์ แคร์รี โดดลงมาร่วมอุดมการณ์นี้อีกคน แน่นอนว่าวันนั้นยังมาไม่ถึงแต่ก็ไม่แน่ว่ามันอยู่ไกลเกินไปนัก
อาจจะมีคนถามว่าแล้วศิลปินจะได้อะไรจากการแจกเพลงไปให้คนฟังฟรีๆ คำตอบก็ง่ายมาก ก็ในเมื่อไม่สามารถทำรายได้จากการขายอัลบั้มได้ ก็ต้องไปหารายได้จากช่องทางอื่นในที่นี้ก็คือการแสดงสด สินค้าพรีเมียมของวง และอัลบั้มลิมิเต็ดอิดิชั่น ซึ่งเป็นรายได้ของวงเท่านั้น ในประเทศไทยเองคนที่ทำแบบนี้มาแล้วก็อย่างค่าย สมอลรูม ที่แจกเพลง Minute of Love ของ ซูเปอร์เบเกอร์ ให้กับแฟนเพลงแบบฟรีๆ จนขึ้นอันดับหนึ่งยาวนานที่สุดในแฟตเรดิโอ บอย โกสิยพงษ์ ก็แจกอัลบั้ม ริธึ่มแอนด์บอย อีเลฟเว่น ฟรีๆ ทาง ทรูมิวสิค มาแล้วเหมือนกันและก็ได้รับเสียงตอบรับที่ดี
สมัยก่อนธุรกิจดนตรีเชื่อว่า ศิลปินเป็นสินค้าประเภทหมุนเวียนและยังไงก็ต้องพึ่งพาสังกัดให้ติดต่อกับคนฟังให้ แต่มันไม่ได้เป็นอย่างนั้นอีกต่อไปแล้ว เมื่อเทคโนโลยีนำคนฟังกับศิลปินเข้ามาใกล้ชิดกันเข้าไปเรื่อยๆ
อะไรจะเกิดขึ้นต่อไปก็เป็นสิ่งที่เราจะต้องจับตามอง
ขอบคุณเนื้อหาข่าวจาก