ถึงเวลาจัดระเบียบดีเจหรือยัง!!
ถึงเวลานี้คงต้องยอมรับว่า ความเปลี่ยนแปลงบนหน้าปัดวิทยุเมืองไทยในขณะนี้ รวดเร็วจนน่าตกใจ!!
จากรูปแบบคอนเซปท์ของ รายการข่าว รายการกีฬา รวมถึงสิ่งที่ยืนพื้นอยู่คู่กับวิทยุมาช้านานอย่าง รายการเพลง ที่บอกได้เลยว่า น่าจะเป็นผู้นำแห่งการเปลี่ยนแปลงที่เห็นเด่นชัดที่สุด
นับจาก ไนท์สปอต เรดิโอ สร้างสรรค์ดีเจคลื่นลูกใหม่ปฏิวัติวงการวิทยุไทยอย่างถาวรเมื่อเกือบ 30 ปีก่อน รูปแบบการนำเสนอที่ทันสมัย น้ำเสียง ลีลา การพูดจาของดีเจล้วนน่าสนใจ หากแต่ในยุคสมัยนั้นก็ยังถือว่านั่นคือการประสบความสำเร็จ เป็นการก่อกำเนิดแง่งามของพฤติกรรมคนฟังที่ยังคงผูกพันกันต่อเนื่องมาจนถึงทุกวันนี้
ถัดมาอีกหนึ่งยุค คนวิทยุจากยุคของ ไนท์ สปอต เรดิโอ เติบโตและแข็งแรงขึ้น ต่อยอดไปสู่การสร้างสรรค์รูปแบบรายการที่ดูจะอิงความเป็นสากลมากขึ้น
เราขอข้ามมาสู่ยุคระหว่างช่วงปี 2530 - ปัจจุบัน ในอีกสมัยหนึ่งที่ สไมล์ เรดิโอ เกิดขึ้นเป็นทางเลือกใหม่ และค่ายเพลงยักษ์ใหญ่อย่าง จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ หรือ แกรมมี่ เอ็นเตอร์เทนเมนท์ สมัยนั้น ก็สยายปีกเข้าสู่วงการวิทยุ ก่อตั้ง เอไทม์ มีเดีย กจนลายเป็นผู้วางรากฐานและสร้างอิทธิพลให้เกิดในกลุ่มคนฟังรุ่นใหม่ กลุ่มที่ในทางการตลาดแล้วถือว่า เป็นกลุ่มผู้บริโภคที่ตอบสนองทุกการนำเสนอได้ชัดเจนที่สุด
แม้ปัจจุบัน สไมล์ เรดิโอ จะเหลือเพียงแต่ชื่อ แต่หลากหลายดีเจในยุคนั้น ก็เติบโตในแนวทางเดียวกันกับช่วงที่ ไนท์ สปอต โรยราไป นั่นคือการเดินหน้า หากแต่ประเด็นสำคัญที่หลายคนรู้สึก แต่อาจมองข้าม นั่นคือการเติบโตที่เร็วและแรงของคลื่นวิทยุ อิทธิพลที่มีต่อคนฟังยังคงอยู่ และทวีความเข้มข้นมากขึ้น จากรูปแบบของรายการที่หวือหวาวูบวาบขึ้นทุกที
แต่ไม่ว่าวงการวิทยุจะเติบโตหรือหยุดชะงัก ก็ยังไม่เคยมีใครออกมาตั้งคำถามแรงๆ ถึงจรรยาบรรณของสื่อวิทยุ ดังเช่นในตอนนี้ ที่ดูเหมือนว่าจะกลายเป็นวัฒนธรรมใหม่ที่หลายคนยอมรับว่าตื่นเต้นเร้าใจ แต่ไม่น่าอภิรมย์เหมือนในยุคที่ผ่านๆ มา
การมาเยือนของ Seed FM 97.5 เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2548 โดยการบุกเบิกของ ตุ้ย- ธีรภัทร์ สัจจกุล กับหมวกผู้บริหารคลื่นวิทยุ Seed FM 97.5 ภายใต้ร่มเงาของ อสมท. ได้สร้างกระแสความฮือฮาในกลุ่มวัยทีน ด้วยการคัดเลือกเด็กหนุ่มหน้าตาดีมานั่งจัดรายการวิทยุตลอด 24 ชม. ผลที่ตามมาคือเสียงวิจารณ์ของคนฟังตั้งแต่วัยทำงานขึ้นไปต่างไม่ชอบใจในการนำเสนอ เพราะดีเจหน้าตาดี แต่ขาดคุณสมบัติของการจัดรายการ มีคำหยาบหลุดออกอากาศบ้างในบางครั้ง อีกทั้งยังมีบางคนที่ใช้ภาษาไทยแบบผิดๆ พูดไม่ชัด ไม่มีอักขระวิธีหรือน้ำเสียงที่ชวนฟัง
สิ่งเหล่านี้ก่อให้เกิดกระแสระอุบนหน้าปัดอยู่เป็นเวลาพอสมควร แต่กระแสร้อนกระแสลบที่ถามโถมเข้าสู่รายการ ก็ดูเหมือนจะจางหายไป จากวัฒนธรรม เพลงป๊อปเกาหลี ที่เข้ามามีอิทธิพลอย่างสุดขีดในเวลาไล่เลี่ยกัน การยึดกลุ่มคนฟังวัยทีนรุ่นเล็กไปจนถึงวัยทำงาน ด้วยกิจกรรมโปรโมทรายการหลากหลาย ตีโจทย์ความต้องการของวัยรุ่นได้อยู่หมัด การตั้งคำถามถึงจรรยาบรรณและความเหมาะสมของดีเจคลื่นนี้ จึงค่อยๆ เบาบางลงไป ....แต่ก็ใช่ว่าสิ่งที่คนฟังรุ่นใหญ่เฝ้ามองด้วยความเป็นห่วงเหล่านี้จะจบลงเพียงเท่านั้น!!
เพราะรูปแบบรายการที่เน้นความบันเทิงเต็มขั้น กำลังหลั่งไหลสร้างปรากฏการณ์ใหม่ที่มีการนำเสนอน่าสนใจ แต่กลับน่าเป็นห่วงยิ่งกว่า
รายการประเภทเล่าข่าวบันเทิงแนวซุบซิบ หรือรายการแฉข่าวดารา คนดัง โผล่ขึ้นมาเป็นสีสันใหม่อีกครั้งเมื่อรายการ แฉแต่เช้า ของคลื่น 94 EFM ในเครือ เอไทม์มีเดีย โดยสองดีเจ กฤษณ์ ศรีภูมิเศรษฐ์ และ ดีเจ มดดำ- คชาภา ตันเจริญ เรียกเสียงฮือฮาทั้งในฐานะที่ดึงเอาไฮโซคนดังมานั่งหลังไมค์ เล่าข่าว เม้าท์ดาราด้วยลีลาการนำเสนอที่เผ็ดร้อน โดนใจชาวบ้านร้านตลาดจนติดรายการกันงอมแงม โหมกระพือความแรงด้วยกระแสในอินเทอร์เน็ต ทั้งแง่บวกและแง่ลบ ก่อให้เกิดคำถามตามมาว่าความเหมาะสมแค่ไหนที่จัดรายการประเภทนี้ไว้ในช่วงเช้า ซึ่งทั้งสองดีเจเคยออกมาให้สัมภาษณ์โต้กลับประเด็นดังกล่าวตามสไตล์ว่า รายการของพวกเขา ไม่ใช่รายการที่มีสาระ
"คุณฟังรายการของเรา คุณไม่ได้สอบได้นี่ เราคือรายการบันเทิง ความบันเทิงคือสิ่งจรรโลงใจ เวลาเครียด เช้าๆ ขับรถไปทำงาน จะสายหรือไม่สายวะ ฟังแฉแต่เช้ามันทำให้คุณสบาย ไม่งั้นคุณจะไปดูหนังทำไม ชีวิตคนเราไม่ได้มีสาระตลอด เราไม่สามารถดำรงอยู่ได้ด้วยสาระร้อยเปอร์เซ็นต์ ผมพูดถูกป่ะ สิ่งหนึ่งที่เราต้องการจากคนฟังตอนนี้คือรอยยิ้ม ก่อนจะเริ่มทำงาน หัวเราะวันละนิดดีไหม
สิ่งที่เราเอามาพูด มันอยู่ในสื่ออยู่แล้ว ไม่งั้นถ้าจะพูดแบบนี้ คุณต้องพาดพิงไปถึงรายการทีวีด้วยนะ จะรายการของคุณสรยุทธหรือรายการอื่นๆ เขาก็หยิบข่าวจากหนังสือพิมพ์มาพูด ถามว่า ใครชอบไหมที่เรื่องของตัวเองถูกเปิดเผยออกไป ไม่มีใครชอบหรอก แต่ถ้าคุณรู้สึกไม่โอเค คุณก็อย่าอยู่ในวงการบันเทิง"
หลายครั้งหลายคราที่มีดาราถูกพาดพิงจนกลายเป็นข่าวกระทบกระทั่งระหว่างดีเจและดาราที่ถูกแฉ นานวันเข้ากลายเป็นสิ่งที่คนฟังคุ้นชิน จนคิดว่าเป็นเพียงอีกหนึ่งความบันเทิง ตลอดจนถึงเชื่อว่าเป็นการช่วยโปรโมททั้งดาราและรายการ แฉแต่เช้า ให้ดังมากขึ้น
ถ้าจะมองอย่างเป็นกลางในแง่ว่าเป็นความบันเทิงที่ไม่ช่วยให้เกิดอะไรเลยกับสังคม อีกไม่นานกระแสต้านจากมุมมองของคนในสังคมที่แสดงความเป็นห่วง ก็คงเป็นเรื่องตลก น่าเบื่อ และคงจะถูกมองข้ามต่อไปเรื่อยๆ
นักการเมืองทำคนไทยเครียดมาพอแล้ว ..... ก็แค่อยากฟังอะไรที่ผ่อนคลายบ้าง เขาอ้างว่าอย่างนั้น
กับอีกประเภทหนึ่งที่กำลังมาแรงแซงทางโค้ง กับรายการเพลงลูกทุ่งอารมณ์ดี 24 ชม. ของคลื่น 88.5 ลูกทุ่งไทยแลนด์ ที่มีผู้บริหารหนุ่มไฟแรง ลูกกอล์ฟ- ฐิติพันธุ์ เกยานนท์ สร้างรายการภายใต้คอนเซปท์ลูกทุ่งอินเทรนด์ ปลุกกระแสคนรุ่นใหม่ให้หันมาฟังเพลงลุกทุ่งมากขึ้น และมีดีเจชูโรงอย่าง ดีเจเคนโด้- เกรียงไกรมาศ พจนสุนทร ที่สร้างกระแสฮอตด้วยการจัดรายการเพลงลูกทุ่ง ควบทั้งข่าวแฉดาราเสร็จสรรพในช่วง ลูกทุ่งปากลำโพง ทุกวันจันทร์- ศุกร์ เวลา 8.00- 11.00 น.
ในระยะแรกๆ ที่เปิดตัวจนถึงตอนนี้ กระแสของ ดีเจเคนโด้ นั้นก็ยังแรงไม่ตก ทั้งลีลา และภาษาที่ใช้จัดรายการทำให้คนฟังติดหูอย่างรวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็นภาษาอีสานอินเทรนด์ สำบัดสำนวนเหลือร้ายได้ใจคนฟัง แต่ก็ทวีความแรงของถ้อยคำมากขึ้นจนในที่สุดก็เริ่มมีการออกมาติติงถึงการจัดรายการของเขาจนได้ หลายครั้งมักจะมีคำที่ไม่เหมาะสมออกอากาศถึงขั้นติดเรทอาร์ และหลายครั้งที่บุคคลในข่าวถูกเหน็บแนมด้วยถ้อยคำรุนแรง แต่ด้วยความตลกเป็นพื้นฐาน รายการจึงจบลงในแต่ละวันอย่างไม่มีอะไรติดค้างใจคนฟังเท่าไรนัก
สิ่งที่ผู้หวังดีต่อเยาวชนหลายคนเป็นห่วงคือ หากความเกินเลยของดีเจกลายเป็นความเคยชิน ที่สุดแล้ววงการวิทยุต่อไปข้างหน้าก็คงไม่พ้นวังวนปลาใหญ่กินปลาเล็ก คลื่นใหญ่ก็คิดแต่หาหนทางว่าทำอย่างไรจะให้รายการติดตลาดมากที่สุดโดยไม่ต้องคำนึงถึงสิ่งจำเป็นที่ผู้ฟังควรได้รับ และรายการเพลงคุณภาพคงต้องเฟดตัวเองออกไปเป็นเพียงอินเตอร์เน็ท เรดิโอ อย่างกรณีที่หลายๆ รายการเพลงคุณภาพต้องถูกถอดออกจากผัง กลายสถานะเป็นเพียงวิทยุทมางเลือกบนเน็ต หรือล้มหายตายจากไป
เมื่อความผิดปกติเกิดขึ้นบนหน้าปัดวิทยุบ่อยครั้งเข้าอย่างนี้ บางทีคงถึงเวลาติดเบรคและหันกลับมามองอย่างจริงจังได้แล้วว่า ในแง่ของความบันเทิงที่ถูกส่งผ่านมาถึงคนฟังนั้น แท้จริงแล้วเป็นเพียงแค่กระแสนิยมที่ทำให้รายการน่าสนใจ หรือมีคุณค่าในแง่ใดอีกบ้างที่ควรแก่การพูดถึง
ถ้าดีเจยังยินดีที่จะมอบความบันเทิงแลกกับการถูกพูดถึงในแง่ลบ คงต้องย้อนกลับมามองสังคมจริงๆ จังๆ แล้วว่า นี่ถึงระยะโคม่าแล้วหรือยัง
จากรูปแบบคอนเซปท์ของ รายการข่าว รายการกีฬา รวมถึงสิ่งที่ยืนพื้นอยู่คู่กับวิทยุมาช้านานอย่าง รายการเพลง ที่บอกได้เลยว่า น่าจะเป็นผู้นำแห่งการเปลี่ยนแปลงที่เห็นเด่นชัดที่สุด
นับจาก ไนท์สปอต เรดิโอ สร้างสรรค์ดีเจคลื่นลูกใหม่ปฏิวัติวงการวิทยุไทยอย่างถาวรเมื่อเกือบ 30 ปีก่อน รูปแบบการนำเสนอที่ทันสมัย น้ำเสียง ลีลา การพูดจาของดีเจล้วนน่าสนใจ หากแต่ในยุคสมัยนั้นก็ยังถือว่านั่นคือการประสบความสำเร็จ เป็นการก่อกำเนิดแง่งามของพฤติกรรมคนฟังที่ยังคงผูกพันกันต่อเนื่องมาจนถึงทุกวันนี้
ถัดมาอีกหนึ่งยุค คนวิทยุจากยุคของ ไนท์ สปอต เรดิโอ เติบโตและแข็งแรงขึ้น ต่อยอดไปสู่การสร้างสรรค์รูปแบบรายการที่ดูจะอิงความเป็นสากลมากขึ้น
เราขอข้ามมาสู่ยุคระหว่างช่วงปี 2530 - ปัจจุบัน ในอีกสมัยหนึ่งที่ สไมล์ เรดิโอ เกิดขึ้นเป็นทางเลือกใหม่ และค่ายเพลงยักษ์ใหญ่อย่าง จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ หรือ แกรมมี่ เอ็นเตอร์เทนเมนท์ สมัยนั้น ก็สยายปีกเข้าสู่วงการวิทยุ ก่อตั้ง เอไทม์ มีเดีย กจนลายเป็นผู้วางรากฐานและสร้างอิทธิพลให้เกิดในกลุ่มคนฟังรุ่นใหม่ กลุ่มที่ในทางการตลาดแล้วถือว่า เป็นกลุ่มผู้บริโภคที่ตอบสนองทุกการนำเสนอได้ชัดเจนที่สุด
แม้ปัจจุบัน สไมล์ เรดิโอ จะเหลือเพียงแต่ชื่อ แต่หลากหลายดีเจในยุคนั้น ก็เติบโตในแนวทางเดียวกันกับช่วงที่ ไนท์ สปอต โรยราไป นั่นคือการเดินหน้า หากแต่ประเด็นสำคัญที่หลายคนรู้สึก แต่อาจมองข้าม นั่นคือการเติบโตที่เร็วและแรงของคลื่นวิทยุ อิทธิพลที่มีต่อคนฟังยังคงอยู่ และทวีความเข้มข้นมากขึ้น จากรูปแบบของรายการที่หวือหวาวูบวาบขึ้นทุกที
แต่ไม่ว่าวงการวิทยุจะเติบโตหรือหยุดชะงัก ก็ยังไม่เคยมีใครออกมาตั้งคำถามแรงๆ ถึงจรรยาบรรณของสื่อวิทยุ ดังเช่นในตอนนี้ ที่ดูเหมือนว่าจะกลายเป็นวัฒนธรรมใหม่ที่หลายคนยอมรับว่าตื่นเต้นเร้าใจ แต่ไม่น่าอภิรมย์เหมือนในยุคที่ผ่านๆ มา
การมาเยือนของ Seed FM 97.5 เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2548 โดยการบุกเบิกของ ตุ้ย- ธีรภัทร์ สัจจกุล กับหมวกผู้บริหารคลื่นวิทยุ Seed FM 97.5 ภายใต้ร่มเงาของ อสมท. ได้สร้างกระแสความฮือฮาในกลุ่มวัยทีน ด้วยการคัดเลือกเด็กหนุ่มหน้าตาดีมานั่งจัดรายการวิทยุตลอด 24 ชม. ผลที่ตามมาคือเสียงวิจารณ์ของคนฟังตั้งแต่วัยทำงานขึ้นไปต่างไม่ชอบใจในการนำเสนอ เพราะดีเจหน้าตาดี แต่ขาดคุณสมบัติของการจัดรายการ มีคำหยาบหลุดออกอากาศบ้างในบางครั้ง อีกทั้งยังมีบางคนที่ใช้ภาษาไทยแบบผิดๆ พูดไม่ชัด ไม่มีอักขระวิธีหรือน้ำเสียงที่ชวนฟัง
สิ่งเหล่านี้ก่อให้เกิดกระแสระอุบนหน้าปัดอยู่เป็นเวลาพอสมควร แต่กระแสร้อนกระแสลบที่ถามโถมเข้าสู่รายการ ก็ดูเหมือนจะจางหายไป จากวัฒนธรรม เพลงป๊อปเกาหลี ที่เข้ามามีอิทธิพลอย่างสุดขีดในเวลาไล่เลี่ยกัน การยึดกลุ่มคนฟังวัยทีนรุ่นเล็กไปจนถึงวัยทำงาน ด้วยกิจกรรมโปรโมทรายการหลากหลาย ตีโจทย์ความต้องการของวัยรุ่นได้อยู่หมัด การตั้งคำถามถึงจรรยาบรรณและความเหมาะสมของดีเจคลื่นนี้ จึงค่อยๆ เบาบางลงไป ....แต่ก็ใช่ว่าสิ่งที่คนฟังรุ่นใหญ่เฝ้ามองด้วยความเป็นห่วงเหล่านี้จะจบลงเพียงเท่านั้น!!
เพราะรูปแบบรายการที่เน้นความบันเทิงเต็มขั้น กำลังหลั่งไหลสร้างปรากฏการณ์ใหม่ที่มีการนำเสนอน่าสนใจ แต่กลับน่าเป็นห่วงยิ่งกว่า
รายการประเภทเล่าข่าวบันเทิงแนวซุบซิบ หรือรายการแฉข่าวดารา คนดัง โผล่ขึ้นมาเป็นสีสันใหม่อีกครั้งเมื่อรายการ แฉแต่เช้า ของคลื่น 94 EFM ในเครือ เอไทม์มีเดีย โดยสองดีเจ กฤษณ์ ศรีภูมิเศรษฐ์ และ ดีเจ มดดำ- คชาภา ตันเจริญ เรียกเสียงฮือฮาทั้งในฐานะที่ดึงเอาไฮโซคนดังมานั่งหลังไมค์ เล่าข่าว เม้าท์ดาราด้วยลีลาการนำเสนอที่เผ็ดร้อน โดนใจชาวบ้านร้านตลาดจนติดรายการกันงอมแงม โหมกระพือความแรงด้วยกระแสในอินเทอร์เน็ต ทั้งแง่บวกและแง่ลบ ก่อให้เกิดคำถามตามมาว่าความเหมาะสมแค่ไหนที่จัดรายการประเภทนี้ไว้ในช่วงเช้า ซึ่งทั้งสองดีเจเคยออกมาให้สัมภาษณ์โต้กลับประเด็นดังกล่าวตามสไตล์ว่า รายการของพวกเขา ไม่ใช่รายการที่มีสาระ
"คุณฟังรายการของเรา คุณไม่ได้สอบได้นี่ เราคือรายการบันเทิง ความบันเทิงคือสิ่งจรรโลงใจ เวลาเครียด เช้าๆ ขับรถไปทำงาน จะสายหรือไม่สายวะ ฟังแฉแต่เช้ามันทำให้คุณสบาย ไม่งั้นคุณจะไปดูหนังทำไม ชีวิตคนเราไม่ได้มีสาระตลอด เราไม่สามารถดำรงอยู่ได้ด้วยสาระร้อยเปอร์เซ็นต์ ผมพูดถูกป่ะ สิ่งหนึ่งที่เราต้องการจากคนฟังตอนนี้คือรอยยิ้ม ก่อนจะเริ่มทำงาน หัวเราะวันละนิดดีไหม
สิ่งที่เราเอามาพูด มันอยู่ในสื่ออยู่แล้ว ไม่งั้นถ้าจะพูดแบบนี้ คุณต้องพาดพิงไปถึงรายการทีวีด้วยนะ จะรายการของคุณสรยุทธหรือรายการอื่นๆ เขาก็หยิบข่าวจากหนังสือพิมพ์มาพูด ถามว่า ใครชอบไหมที่เรื่องของตัวเองถูกเปิดเผยออกไป ไม่มีใครชอบหรอก แต่ถ้าคุณรู้สึกไม่โอเค คุณก็อย่าอยู่ในวงการบันเทิง"
หลายครั้งหลายคราที่มีดาราถูกพาดพิงจนกลายเป็นข่าวกระทบกระทั่งระหว่างดีเจและดาราที่ถูกแฉ นานวันเข้ากลายเป็นสิ่งที่คนฟังคุ้นชิน จนคิดว่าเป็นเพียงอีกหนึ่งความบันเทิง ตลอดจนถึงเชื่อว่าเป็นการช่วยโปรโมททั้งดาราและรายการ แฉแต่เช้า ให้ดังมากขึ้น
ถ้าจะมองอย่างเป็นกลางในแง่ว่าเป็นความบันเทิงที่ไม่ช่วยให้เกิดอะไรเลยกับสังคม อีกไม่นานกระแสต้านจากมุมมองของคนในสังคมที่แสดงความเป็นห่วง ก็คงเป็นเรื่องตลก น่าเบื่อ และคงจะถูกมองข้ามต่อไปเรื่อยๆ
นักการเมืองทำคนไทยเครียดมาพอแล้ว ..... ก็แค่อยากฟังอะไรที่ผ่อนคลายบ้าง เขาอ้างว่าอย่างนั้น
กับอีกประเภทหนึ่งที่กำลังมาแรงแซงทางโค้ง กับรายการเพลงลูกทุ่งอารมณ์ดี 24 ชม. ของคลื่น 88.5 ลูกทุ่งไทยแลนด์ ที่มีผู้บริหารหนุ่มไฟแรง ลูกกอล์ฟ- ฐิติพันธุ์ เกยานนท์ สร้างรายการภายใต้คอนเซปท์ลูกทุ่งอินเทรนด์ ปลุกกระแสคนรุ่นใหม่ให้หันมาฟังเพลงลุกทุ่งมากขึ้น และมีดีเจชูโรงอย่าง ดีเจเคนโด้- เกรียงไกรมาศ พจนสุนทร ที่สร้างกระแสฮอตด้วยการจัดรายการเพลงลูกทุ่ง ควบทั้งข่าวแฉดาราเสร็จสรรพในช่วง ลูกทุ่งปากลำโพง ทุกวันจันทร์- ศุกร์ เวลา 8.00- 11.00 น.
ในระยะแรกๆ ที่เปิดตัวจนถึงตอนนี้ กระแสของ ดีเจเคนโด้ นั้นก็ยังแรงไม่ตก ทั้งลีลา และภาษาที่ใช้จัดรายการทำให้คนฟังติดหูอย่างรวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็นภาษาอีสานอินเทรนด์ สำบัดสำนวนเหลือร้ายได้ใจคนฟัง แต่ก็ทวีความแรงของถ้อยคำมากขึ้นจนในที่สุดก็เริ่มมีการออกมาติติงถึงการจัดรายการของเขาจนได้ หลายครั้งมักจะมีคำที่ไม่เหมาะสมออกอากาศถึงขั้นติดเรทอาร์ และหลายครั้งที่บุคคลในข่าวถูกเหน็บแนมด้วยถ้อยคำรุนแรง แต่ด้วยความตลกเป็นพื้นฐาน รายการจึงจบลงในแต่ละวันอย่างไม่มีอะไรติดค้างใจคนฟังเท่าไรนัก
สิ่งที่ผู้หวังดีต่อเยาวชนหลายคนเป็นห่วงคือ หากความเกินเลยของดีเจกลายเป็นความเคยชิน ที่สุดแล้ววงการวิทยุต่อไปข้างหน้าก็คงไม่พ้นวังวนปลาใหญ่กินปลาเล็ก คลื่นใหญ่ก็คิดแต่หาหนทางว่าทำอย่างไรจะให้รายการติดตลาดมากที่สุดโดยไม่ต้องคำนึงถึงสิ่งจำเป็นที่ผู้ฟังควรได้รับ และรายการเพลงคุณภาพคงต้องเฟดตัวเองออกไปเป็นเพียงอินเตอร์เน็ท เรดิโอ อย่างกรณีที่หลายๆ รายการเพลงคุณภาพต้องถูกถอดออกจากผัง กลายสถานะเป็นเพียงวิทยุทมางเลือกบนเน็ต หรือล้มหายตายจากไป
เมื่อความผิดปกติเกิดขึ้นบนหน้าปัดวิทยุบ่อยครั้งเข้าอย่างนี้ บางทีคงถึงเวลาติดเบรคและหันกลับมามองอย่างจริงจังได้แล้วว่า ในแง่ของความบันเทิงที่ถูกส่งผ่านมาถึงคนฟังนั้น แท้จริงแล้วเป็นเพียงแค่กระแสนิยมที่ทำให้รายการน่าสนใจ หรือมีคุณค่าในแง่ใดอีกบ้างที่ควรแก่การพูดถึง
ถ้าดีเจยังยินดีที่จะมอบความบันเทิงแลกกับการถูกพูดถึงในแง่ลบ คงต้องย้อนกลับมามองสังคมจริงๆ จังๆ แล้วว่า นี่ถึงระยะโคม่าแล้วหรือยัง