Market Talks - บล.เอเซีย พลัส
กลยุทธ์การลงทุน ตลาดยังให้ความสำคัญกับการแถลงนโยบายการเงินในการประชุม FED ใน 27 เม.ย. นี้ ซึ่งกดดันให้ตลาดหุ้นโลกแกว่งตัว ขณะที่ตลาดหุ้นไทยยังได้รับแรงหนุนจากหุ้นรายตัวในกลุ่ม Real Sector ที่คาดมีผลประกอบการชนะเงินเฟ้อ แนะนำ BANPU, PTT, IRPC, PTTCH, BCP, TPIPL และ หุ้นอสังหาฯ ที่ยังเติบโตแม้ภาวะดอกเบี้ยขาขึ้น โดยมี PER ต่ำ/เงินปันผลสูง SPALI, PF, ROJNA SET Index 1,105.43 เปลี่ยนแปลง (จุด) 0.14 มูลค่าซื้อขาย (ล้านบาท) 23,994.46 ยอดซื้อ-ขายสุทธิ นักลงทุนแต่ละประเภท (ล้านบาท) นักลงทุนต่างชาติ 769.26 บัญชีบริษัทหลักทรัพย์ -114.07 นักลงทุนสถาบันในประเทศ -605.35 นักลงทุนรายย่อย -49.84 ปัญหาขาดแคลนพลังงานในญี่ปุ่น ฉุดการผลิต และเศรษฐกิจโลกชะลอตัว 3-6 เดือนข้างหน้า ทางการของประเทศญี่ปุ่นได้ออกมายอมรับว่าปัญหาภัยธรรมชาติในญี่อาจจะกดดันให้เศรษฐกิจของญี่ป่นหดตัวราว 2 ไตรมาส โดยปัญหาไม่ได้อยู่ที่ความต้องการ แต่ขึ้นกับปัญหาขาดแคลนสินค้าขั้นต้นและขั้นกลาง ที่จะไม่เพียงพอต่อความต้องการใช้ ทั้งในประเทศ และ ส่งออก ในหลายอุตสาหกรรมหลัก เช่น ชิ้นส่วนรถยนต์ และ ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ รวมถึงอุตสาหกรรมต่อเนื่อง เพราะนอกจากต้องใช้เวลาในการฟื้นฟูโรงงานที่ได้รับความเสียหายจากแผ่นดินไหว นับตั้งแต่ 11 มี.ค. 2554 แล้ว ยังขาดแคลนพลังงานที่ใช้ในขบวนการผลิต เนื่องจากการฟื้นฟูโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ (TEPCO) เพื่อให้กลับมาเดินเครื่องได้ตามปกติคาดว่าจะต้องใช้เวลาอีก 6-9 เดือนข้างหน้า หรือ ราวสิ้นปี 2554 ซึ่งถือเป็นอุปสรรคสำคัญต่ออุตสาหกรรมหลักในญี่ปุ่น โดยเฉพาะโรงงานผลิตรถยนต์โตโยต้าในญี่ปุ่น ขณะนี้ได้สั่งให้เดินเครื่องผลิตเพียง 50% ของกำลังการผลิต จนถึงก.ค. 2554 เช่นเดียวกับ โรงงานผลิตรถยนต์ที่มีฐานการผลิตในต่างประเทศจะผลิตเพียง 40% จนถึงเดือน ส.ค. 2554 ซึ่งทำให้คาดว่ายอดจำหน่ายรถยนต์ในญี่ปุ่นและทั่วโลก จะหดหายไปในช่วงจากนี้จนถึง สิ้นปีนี้ ซึ่งน่าจะว่ากดดันต่อเศรษฐกิจญี่ปุ่น และกระทบต่อเศรษฐกิจโลก รวมถึงไทย เพราะปัจจุบันแม้ว่าไทยจะส่งออกไปญี่ปุ่นเพียง 10% ของมูลค่าส่งออกรวม แต่หากพิจารณามูลค่าซื้อขายรวม ที่ญี่ปุ่นมีการค้าขายกับ ประเทศในภูมิภาคเอเซีย ซึ่งเป็นคู่ค้าของไทยเช่นกัน พบว่ามีสัดส่วนสูงเกือบ 46% ของมูลค้าค้าขายทั้งหมดของญี่ปุ่น ทำให้ผลกระทบต่อไทยน่าจะเกิน 10% หากมองโลกในด้านเลวร้าย ส่วนประเทศคู่ค้ากับญี่ปุ่นรองลงมา คือ สหรัฐ และ ยุโรป มีสัดส่วนใกล้เคียงกันคือราว 13% และ ตามมาด้วย ตะวันออกกลางราว 46% :ด้วยเชื่อว่าผลกระทบจะเกิดขึ้นกับประเทศไทยเช่นกัน ขณะนี้นักวิเคราะห์กลุ่มรถยนต์อยู่ระหว่างการทบทวนประมาณการและ Fair Value หุ้นรถยนต์ หลังจากที่ได้ลดน้ำหนักการลงทุนเป็นน้อยกว่าตลาดไปแล้ววานนี้ ติดตามหุ้นรถยนต์รายตัวที่จะออกมาเร็ว ๆ นี้ หากดอกเบี้ยใกล้ Peak จริงน่าจะเอื้อประโยชน์ต่อหุ้นอสังหา ฯ : PF, SPALI, ROJNA แนวโน้มเงินเฟ้อที่กำลังปรับตัวสูงขึ้นทั่วโลก กดดันให้ดอกเบี้ยนโยบายสู่ขาขึ้นทุกแห่งของโลก โดยเฉพาะตลาดหุ้นในแถบพัฒนาแล้ว คาดว่าน่าจะให้ความสำคัญกับ การประชุมของ ธนาคารกลางสหรัฐ ที่กำลังจะมาถึงในวันที่ 27-28 เม.ย. นี้ โดยคาดหมายว่า FED จะยืนดอกเบี้ยนโยบายที่เดิมคือ 0.25% ต่อ หลังจากที่ยืนมานานกว่า 2 ปี ขณะที่ ธนาคารกลางยุโรป (ECB) ได้นำร่องปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายไปแล้ว 0.25% สู่ระดับ 1.25% ในการประชุมครั้งหลังสุด และมีความเป็นไปที่อังกฤษ จะเป็นประเทศที่ 2 ในกลุ่มประเทศพัฒนา เนื่องจากแรงกดดันจากอัตราเงินเฟ้อที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น และ ดังที่ได้กล่าวมาตลอดว่าประเทศพัฒนาแล้ว เพิ่งเริ่มเข้าสู่วงจรขาขึ้น ขณะที่ประเทศไทย และ อีกหลายประเทศในแถบเอเซีย/กำลังพัฒนา ได้เดินหน้าปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย จนมาถึงจุดที่ใกล้จุดสูงสุดหรืออย่างมากจะเห็นการขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย ในประเทศไทยไม่เกิน 2 ครั้ง ซึ่งจะทำให้ปัจจัยดอกเบี้ยที่เคยกดดันตลาดอย่างมากในช่วงที่ผ่านมา เริ่มมีน้ำหนักน้อยลง โดยเฉพาะหุ้นที่เคยถูกกดดันจากดอกเบี้ย เช่นกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ เช่น พัฒนาบ้านขาย น่าจะค่อยๆ ขยับขึ้นต่อเนื่อง สะท้อนได้จากในวันศุกร์ ที่ผ่านมา นักวิเคราะห์กลุ่มอสังหาริมทรัพย์ของ ASP ได้ทยอยปรับน้ำหนักกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ จากเดิมที่ให้น้ำหนักน้อยกว่าตลาด เป็นเท่ากับ ตลาด โดยหุ้น Top picks เน้นหุ้นขนาดเล็ก PER ต่ำ แต่จ่ายเงินปันผลสูง คือ SPALI และ PF กล่าวคือในปี 2554 PER ต่ำสุดในกลุ่มฯ คืออยู่ที่ราว 6 เท่า และ 5.5 เท่า ตามลำดับ ขณะที่มีเงินปันผลสูงถึง 7.7% และ 8% ตามลำดับ นอกจากนี้ยังแนะนำหุ้นในกลุ่มนิคมอุตสาหกรรมอีกกลุ่มหนึ่ง ทั้งนี้เพราะภัยธรรมชาติในญี่ปุ่น แม้ส่งผลกระทบต่อภาพรวมเศรษฐกิจโลก แต่กลับกลายเป็นปัจจัยเร่งให้ การขายที่ดินในนิคมอุตสาหกรรมของไทย ปิดการขายเร็วขึ้น เนื่องจากความต้องการย้ายฐานการผลิต เช่น กรณีของ ROJNA ในเดือน เม.ย. นี้ คาดว่าจะ ทำการขายที่ดินให้แก่กลุ่มชิ้นส่วนรถยนต์ได้กว่า 100 ไร่ หลังจากที่ขายได้แล้ว 200 ไร่ในงวด 1Q54 โดยเป็นการขายให้กับ กลุ่มชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ อาหารและเครื่อง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวญี่ปุ่น โดย ที่ ROJNA เป็นหุ้นที่มี PER ต่ำเพียง 10 เท่า และมีเงินปันสูงถึง 5.7% นอกจากนี้ ROJNA ยังจัดสรร ROJNA ให้กับผู้ถือหุ้นเดิม 3 หุ้นเดิม ต่อ 1 ใบสำคัญแสดงสิทธิ โดยไม่คิดมูลค่า ขณะที่กำหนดราคาแปลงสภาพที่ราคาหุ้นละ 4 บาท ดังนั้นหลังจากพ้นวัน XW (ยังมิได้กำหนดวันอย่างเป็นทางการ) แล้ว คาดว่าราคา ROJNA จะปรับลดลงเหลือ 10 บาทต่อหุ้น ลุ้นผลประกอบการหุ้น Coca Cola คืนนี้ หากออกมาดีกว่าคาด หนุนตลาดหุ้นสหรัฐฯ ไปต่อ ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ยังคงอยู่ในช่วงการรายงานผลประกอบการงวด 1Q54 ของภาคการผลิต โดยวานนี้มี 6 บริษัท ขนาดกลาง-เล็ก ใน S&P500 รายงานผลประกอบการที่ใกล้เคียงกับนักวิเคราะห์คาด(บวกลบไม่เกิน 5%) คือ Kimberly-Clark Corp, Express Scripts Inc, Ameriprise Financial Inc, Netflix Inc, Plum Creek Timber Co Inc, RadioShack Corp ที่รายงานกำไรสุทธิออกมา 442 ล้านเหรียญฯ 350 ล้านเหรียญฯ 347 ล้านเหรียญฯ 60 ล้านเหรียญฯ 38 ล้านเหรียญฯ 37.6 ล้านเหรียญฯ ส่งผลให้กำไรสุทธิรวมของบริษัทจดทะเบียนใน S&P500 สูงถึง 88,224 ล้านเหรียญฯ (ทั้งสิ้น 132 บริษัท) สูงกว่านักวิเคราะห์คาดไว้ราว 7% และกว่า 78% ของทั้งหมดเป็นการรายงานกำไรที่ดีกว่าที่นักวิเคราะห์คาดไว้ สำหรับคืนนี้เตรียมจับตาผลประกอบการของบริษัทยักษ์ใหญ่ในกลุ่มอาหาร(Coca Cola) ที่นักวิเคราะห์ในสหรัฐฯประเมินว่าน่าจะมีกำไรสุทธิอยู่ที่ 2035 ล้านเหรียญฯ และมีโอกาสรายงานกำไรสูงกว่าที่นักวิเคราะห์ประเมินไว้ได้ น่าจะเป็นปัจจัยหนุนตลาดหุ้นสหรัฐฯ คืนนี้ และภาพรวมการลงทุนโลกให้ยังคงแกว่งตัวในเชิงบวก Fund Flow ไหลเข้าทั้งตลาดทุนและตลาดตราสารหนี้ หนุนบาทแข็งค่า วานนี้ตลาดไต้หวันและเกาหลีใต้ปิดทำการเนื่องจากเป็นวันหยุดเทศกาลอีสเตอร์ ดังนั้นหากพิจารณาข้อมูลจากที่มีการรายงานโดย Bloomberg 3 ประเทศ พบว่านักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิในตลาดภูมิภาคอีก 57.97 ล้านเหรียญฯ เป็นการซื้อติดต่อกันเป็นวันที่ 4 โดยตลาดหุ้นไทยมียอดซื้อสุทธิสูงสุดที่ 25.69 ล้านเหรียญฯ เพิ่มขึ้นจากวันก่อนหน้า 71.38% รองลงมาได้แก่ตลาดอินโดนีเซียที่มียอดซื้อสุทธิ 25.23 ล้านเหรียญฯ แต่กลับลดลงจากวันก่อนหน้าราว 46.55% ตามด้วยตลาดฟิลิปปินส์ที่มียอดซื้อสุทธิ 7.26 ล้านเหรียญฯ ลดลงจากวันก่อนหน้าเช่นกัน คือ ลดลงราว 33.1% ทั้งนี้เชื่อว่าปัจจัยหนุน fund flow ยังเป็นเรื่องของผลประกอบการงวด 1Q54 ของ Real Sector ที่มีแนวโน้มดีขึ้นมากจากงว 4Q53 และคาดว่ายังดีต่อเนื่องในงวด 2Q54 ขณะที่ตลาดตราสารหนี้ไทยพบว่า นักลงทุนต่างชาติ ยังซื้อสุทธิต่อเนื่อง โดยวานนี้ซื้อสุทธิราว 11,179.06 ล้านบาท (ยอดสะสมปี 2554 อยู่ที่ระดับ 408,306.01 ล้านบาท) โดยฝ่ายวิจัยยังเชื่อว่า Fund Flow ยังหนุนตลาดหุ้นไทยเช่นเดียวกันในเอเซีย แต่อย่างไรก็ตามต้องติดตามการเคลื่อนย้ายเงินทุนอีกครั้ง ทั้งนี้ขึ้นกับนโยบายการเงินของ สหรัฐ ซึ่งน่าจะมีความชัดเจนมากขึ้นหลังการประชุมในกลางสัปดาห์นี้ นักวิเคราะห์: ภรณี ทองเย็น, CISA เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146 เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132 กรภัทร วรเชษฐ์ ผู้ช่วยนักวิเคราะห์ โดย บมจ. หลักทรัพย์ เอเซีย พลัส ประจำวันที่ 26 เมษายน 255