รมว.กษิต นัดถกประธานอาเซียน14.00 น.
นายกษิต ภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ กล่าวก่อนการเดินทางไปยัง ประเทศอินโดนีเซีย เพื่อเข้าร่วมประชุมคณะมนตรีประชาสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน ว่า ในวันนี้เวลาประมาณ 14.00 น. ตนได้นัดหารือกับ นายมาร์ตี นาตาเลกาวา รัฐมนตรีต่างประเทศอินโดนีเซีย ก่อนที่จะมีการเข้าประชุมหารือจริง ในวันพรุ่งนี้ ถึงเรื่องร่างข้อกำหนดหน้าที่ของคณะผู้สังเกตการณ์จากอินโดนีเซีย หรือ TOR ที่จะเข้ามายังบริเวณจุดปะทะชายแดนไทย-กัมพูชา ซึ่งยังคงมีเรื่องถ้อยคำที่ยังไม่เหมาะสมของการคุ้มครองสิทธิ์ผู้สังเกตการณ์ ที่จะเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในสถานทูตอินโดนีเซีย ประจำประเทศไทย ทั้งนี้ อาจมีการพูดคุยถึงเหตุปะทะกันบริเวณชายแดนไทย-กัมพูชา ในขณะนี้ด้วย
ส่วนท่าทีที่แข็งกร้าวของ สมเด็จฮุนเซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชา ที่มีต่อนายกรัฐมนตรีของไทยนั้น นายกษิต กล่าวว่า ในเรื่องนี้ไม่ขอวิพากษ์วิจารณ์การเมืองของประเทศใด เพราะโครงสร้างของการเมืองมีความแตกต่าง และขึ้นอยู่กับความรู้ความสามารถของผู้วิพากษ์วิจารณ์ ซึ่งในส่วนของไทย ก็มีความภาคภูมิใจในประชาธิปไตยของเรา อย่างไรก็ตาม ไทยยังยืนยันความพร้อมที่จะเดินหน้าสู่การเจรจา
ทั้งนี้ รมว.ต่างประเทศ กล่าวยืนยันถึงท่าทีของไทยที่ต่อเนื่อง ในการเจรจากับกัมพูชา แบบทวิภาคี ถึงกรณีข้อพิพาทต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ปัญหาเรื่องเขตแดนบริเวณปราสาทเขาพระวิหาร หรือ เหตุปะทะตามแนวชายแดนไทย - กัมพูชา เพราะที่ผ่านมา ไทยต้องปกป้องอธิปไตยและป้องกันประเทศเพื่อรักษาอธิปไตย และไม่เคยรุกราน หรือ อยากทำสงครามกับกัมพูชา สวนท่าทีของผู้นำกัมพูชา ที่ต้องการดึงให้นานาชาติเข้ามาช่วยแก้ไขปัญหา โดยเฉพาะอาเซียนนั้น ในส่วนของอาเซียนก็เข้ามาทำหน้าที่ในฐานะพี่เลี้ยง ตามมติของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ หรือ UNSC แต่หลักปฏิบัติ หรือ กลไกที่แท้จริง เป็นเรื่องที่ 2 ประเทศหารือกัน และไม่มีเหตุผลจำเป็นที่จะต้องสร้างภาระให้กับสังคมโลก
อย่างไรก็ตาม นายกษิต กล่าวอีกว่า หากไม่ต้องการให้เหตุปะทะยืดเยื้อ ต้องเรียกร้องไปยังฝ่ายผู้นำของกัมพูชาและรัฐบาลกัมพูชา ให้ยุติการสู้รบ อีกทั้งเห็นว่า กัมพูชาเป็นประเทศที่ยากจน ไม่ควรนำเงินมาใช้ในทางสงคราม เพราะจะทำให้เสียทรัพยากรโดยเปล่าประโยชน์
นอกจาก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เปิดเผยว่า ขณะนี้ตนได้รับรายงานว่ากัมพูชาได้นำอาวุธสงครามแบบจรวดไปติดไว้ที่บริเวณชุมชนของฝั่งกัมพูชา ซึ่งถือเป็นเรื่องที่ต้องประณาม เพราะเปรียบเสมือนการนำประชาชนมาเป็นเกราะกำบังในการสู้รบ และเป็นเรื่องที่ละเมิดสิทธิมนุษยชน นอกจากนี้ นายกษิต ยังกล่าวอีกว่า อยากให้หลายประเทศที่ให้ความช่วยเหลือกัมพูชา อย่าง สหรัฐอเมริกา นิวซีแลนด์ จีน แคนาดา และอีกหลายประเทศ ให้การทบทวนว่า การให้ความช่วยเหลือกัมพูชาถูกต้องหรือไม่ เพราะกัมพูชากำลังนำเงินมาซื้ออาวุธสงคราม มิได้นำเงินมาเพื่อพัฒนาประเทศ
ขณะเดียวกัน ไทยก็มีมติจากที่ประชุมคณะรัฐมนตรีให้กระทรวง ทบวง กรม กลับไปทบทวนการให้ความช่วยเหลือ
กัมพูชา ด้วยเช่นกัน
ส่วนท่าทีที่แข็งกร้าวของ สมเด็จฮุนเซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชา ที่มีต่อนายกรัฐมนตรีของไทยนั้น นายกษิต กล่าวว่า ในเรื่องนี้ไม่ขอวิพากษ์วิจารณ์การเมืองของประเทศใด เพราะโครงสร้างของการเมืองมีความแตกต่าง และขึ้นอยู่กับความรู้ความสามารถของผู้วิพากษ์วิจารณ์ ซึ่งในส่วนของไทย ก็มีความภาคภูมิใจในประชาธิปไตยของเรา อย่างไรก็ตาม ไทยยังยืนยันความพร้อมที่จะเดินหน้าสู่การเจรจา
ทั้งนี้ รมว.ต่างประเทศ กล่าวยืนยันถึงท่าทีของไทยที่ต่อเนื่อง ในการเจรจากับกัมพูชา แบบทวิภาคี ถึงกรณีข้อพิพาทต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ปัญหาเรื่องเขตแดนบริเวณปราสาทเขาพระวิหาร หรือ เหตุปะทะตามแนวชายแดนไทย - กัมพูชา เพราะที่ผ่านมา ไทยต้องปกป้องอธิปไตยและป้องกันประเทศเพื่อรักษาอธิปไตย และไม่เคยรุกราน หรือ อยากทำสงครามกับกัมพูชา สวนท่าทีของผู้นำกัมพูชา ที่ต้องการดึงให้นานาชาติเข้ามาช่วยแก้ไขปัญหา โดยเฉพาะอาเซียนนั้น ในส่วนของอาเซียนก็เข้ามาทำหน้าที่ในฐานะพี่เลี้ยง ตามมติของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ หรือ UNSC แต่หลักปฏิบัติ หรือ กลไกที่แท้จริง เป็นเรื่องที่ 2 ประเทศหารือกัน และไม่มีเหตุผลจำเป็นที่จะต้องสร้างภาระให้กับสังคมโลก
อย่างไรก็ตาม นายกษิต กล่าวอีกว่า หากไม่ต้องการให้เหตุปะทะยืดเยื้อ ต้องเรียกร้องไปยังฝ่ายผู้นำของกัมพูชาและรัฐบาลกัมพูชา ให้ยุติการสู้รบ อีกทั้งเห็นว่า กัมพูชาเป็นประเทศที่ยากจน ไม่ควรนำเงินมาใช้ในทางสงคราม เพราะจะทำให้เสียทรัพยากรโดยเปล่าประโยชน์
นอกจาก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เปิดเผยว่า ขณะนี้ตนได้รับรายงานว่ากัมพูชาได้นำอาวุธสงครามแบบจรวดไปติดไว้ที่บริเวณชุมชนของฝั่งกัมพูชา ซึ่งถือเป็นเรื่องที่ต้องประณาม เพราะเปรียบเสมือนการนำประชาชนมาเป็นเกราะกำบังในการสู้รบ และเป็นเรื่องที่ละเมิดสิทธิมนุษยชน นอกจากนี้ นายกษิต ยังกล่าวอีกว่า อยากให้หลายประเทศที่ให้ความช่วยเหลือกัมพูชา อย่าง สหรัฐอเมริกา นิวซีแลนด์ จีน แคนาดา และอีกหลายประเทศ ให้การทบทวนว่า การให้ความช่วยเหลือกัมพูชาถูกต้องหรือไม่ เพราะกัมพูชากำลังนำเงินมาซื้ออาวุธสงคราม มิได้นำเงินมาเพื่อพัฒนาประเทศ
ขณะเดียวกัน ไทยก็มีมติจากที่ประชุมคณะรัฐมนตรีให้กระทรวง ทบวง กรม กลับไปทบทวนการให้ความช่วยเหลือ
กัมพูชา ด้วยเช่นกัน