DSIไม่เห็นด้วยแยกสำนักคดีอาญาเป็นกรมใหม่
นายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือ ดีเอสไอ กล่าวในการเสวนาหัวข้อ "การติดตามบุคคลตามหมายจับในคดีอาญา การบังคับชำระค่าปรับ และยึดอายัดทรัพย์สินในคดีอาญา" ของสำนักบังคับคดีอาญาและบังคับใช้กฎหมาย (ไทยมาแชล) โดยเห็นว่า ไม่ควรตั้งสำนักบังคับคดีอาญาฯ ขึ้นเป็นกรมใหม่ เพราะสำนักบังคับคดีอาญาฯ ถือเป็นหน่วยงานที่เกิดขึ้นใหม่อย่างรวดเร็ว ไม่ผ่านการหารืออย่างชัดเจน ถึงทิศทางการทำงาน ซึ่งจะส่งผลให้เกิดปัญหาในอนาคต โดยเฉพาะภารกิจการจับกุมผู้ต้องหาตามหมายจับ ซึ่งมีหน่วยงานตรงที่รับผิดชอบอยู่แล้ว ทั้งสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) และ ดีเอสไอ อย่างไรก็ตาม สำนักบังคับคดีอาญาฯ ควรทำหน้าที่เป็นส่วนเสริมในส่วนที่ยังบกพร่องของหน่วยงานที่มีอยู่แล้ว และภารกิจการติดตามจับกุมผู้ต้องหาควรเป็นหน้าที่ของผู้ที่มีความเชี่ยวชาญ และมีความรู้เกี่ยวกับตัวผู้ต้องหาในคดีนั้นๆ จะทำให้เกิดประสิทธิภาพในการดำเนินการจับกุมมากที่สุด ทั้งนี้ จากสถิติย้อนหลัง 3 ปี ดีเอสไอออกหมายจับผู้ต้องหาไปแล้วกว่า 480 หมาย และสามารถจับกุมผู้ต้องหาได้ประมาณร้อยละ 70 ส่วนที่เหลืออยู่ระหว่างการสืบจับ
อธิบดี กรมสอบสวนคดีพิเศษ ยังเสนอว่า สำนักบังคับคดีอาญาฯ ควรทำหน้าที่เสริมการดำเนินงานในด้านที่ยังไม่มีหน่วยงานใดรับผิดชอบเป็นหลัก โดยเฉพาะ งานบังคับโทษปรับทางอาญา ภายหลังพบว่า ขณะนี้มีผู้ต้องหาที่ศาลสั่งให้ปรับแทนการกักขังจำนวนมาก แต่ผู้ต้องหาส่วนใหญ่ยอมถูกกักขังมากกว่าเสียค่าปรับ เนื่องจากโทษการกักขัง มีระยะเวลาสูงสุดไม่เกิน 2 ปี ประกอบกับสถานที่กักขังไม่ใช่เรือนจำ และปัจจุบัน ศาลเน้นโทษปรับมากขึ้น ขณะที่หน่วยงานที่รับผิดชอบเดิม ไม่สามารถดำเนินการบังคับโทษปรับได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ จึงถือเป็นช่องว่าง ที่สำนักบังคับคดีอาญาฯ ควรเข้าไปเสริมการทำงานด้านดังกล่าว
อธิบดี กรมสอบสวนคดีพิเศษ ยังเสนอว่า สำนักบังคับคดีอาญาฯ ควรทำหน้าที่เสริมการดำเนินงานในด้านที่ยังไม่มีหน่วยงานใดรับผิดชอบเป็นหลัก โดยเฉพาะ งานบังคับโทษปรับทางอาญา ภายหลังพบว่า ขณะนี้มีผู้ต้องหาที่ศาลสั่งให้ปรับแทนการกักขังจำนวนมาก แต่ผู้ต้องหาส่วนใหญ่ยอมถูกกักขังมากกว่าเสียค่าปรับ เนื่องจากโทษการกักขัง มีระยะเวลาสูงสุดไม่เกิน 2 ปี ประกอบกับสถานที่กักขังไม่ใช่เรือนจำ และปัจจุบัน ศาลเน้นโทษปรับมากขึ้น ขณะที่หน่วยงานที่รับผิดชอบเดิม ไม่สามารถดำเนินการบังคับโทษปรับได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ จึงถือเป็นช่องว่าง ที่สำนักบังคับคดีอาญาฯ ควรเข้าไปเสริมการทำงานด้านดังกล่าว