สรุปภาวะตลาดเงินและภาวะเศรษฐกิจ - ธนาคารกสิกรไทย

สรุปภาวะตลาดเงินและภาวะเศรษฐกิจ - ธนาคารกสิกรไทย

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

สรุปภาวะตลาดเงินและภาวะเศรษฐกิจ   สรุปภาวะตลาดเงิน           - USD/THB อยู่ที่ระดับ 30.29 ทั้งนี้เงินบาทปรับตัวในกรอบแคบๆ ในทิศทางอ่อนค่า หลังได้รับผลกระทบจากการเทขายของนักลงทุนต่างชาติในตลาดหุ้น วันนี้คาดปรับตัวขึ้นไปที่ 30.45           - EUR/USD อยู่ที่ระดับ 1.414 ทั้งนี้ยูโรปรับตัวลงกว่า 1% เทียบกับดอลลาร์สหรัฐฯ โดยได้รับแรงกดดันจากความกังวลต่อปัญหาหนี้ในยุโรปที่ดูย่ำแย่ลง หลังฟิทช์มีการปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือของกรีซลง 3 ขั้น วันนี้คาดปรับตัวลงไปที่ระดับ 1.405           - USD/JPY ดีดตัวขึ้นไปที่ระดับ 81.77 ในวันศุกร์ อันเป็นผลจากดอลลาร์สหรัฐฯ ที่ปรับแข็งค่าขึ้นหลังนักลงทุนมีการเทขายสินทรัพย์เสี่ยงและกลับเข้าซื้อดอลลาร์สหรัฐฯ วันนี้คาดปรับตัวขึ้นไปที่ระดับ 82.20   ตลาดสินค้าโภคภัณฑ์           - ราคาน้ำมันดิบ ตลาดล่วงหน้า NYMEX ส่งมอบเดือนมิ.ย. พุ่งขึ้น 1.05 ดอลลาร์สหรัฐฯ ปิดตลาดที่ 99.46 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อบาร์เรล โดยราคาน้ำมันปรับตัวลงในช่วงเช้าโดยได้รับแรงกดดันจากการแข็งค่าของดอลลาร์สหรัฐฯ ก่อนดีดตัวขึ้นหลังมีคำสั่งซื้อน้ำมันเข้ามาในช่วงบ่าย           - ราคาทองคำ ตลาด COMEX ส่งมอบเดือนมิ.ย. ปรับตัวขึ้นเหนือระดับ 1,500 อีกครั้ง โดยวันศุกร์ราคาทองคำพุ่งขึ้น 16.50 ดอลลาร์สหรัฐฯ สู่ระดับ 1,508.90 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อออนซ์ เนื่องจากมีแรงซื้อทองคำในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัยท่ามกลางความกังวลมากขึ้นเกี่ยวกับปัญหาหนี้สินในยุโรป   ข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญ           - ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ปรับตัวลงในวันศุกร์ โดยได้รับแรงกดดันจากความกังวลเรื่องหนี้สินของยุโรปจากการที่กรีซถูกปรับลดอันดับ   ความน่าเชื่อถือ และปัจจัยลบจากการร่วงลงของหุ้นในกลุ่มค้าปลีก หลังบริษัท Gap เผยแนวโน้มผลกำไรที่อ่อนแอ           - โดยวานนี้ดัชนีดาวโจนส์ปิดลดลง 93.28 จุด ปิดตลาดที่ 12,512.04 จุด ดัชนี S&P 500 ปิดลดลง 10.33 จุดที่ 1,333.27 จุดและดัชนี Nasdaq ปิดลบ 19.99 จุด ปิดตลาดที่ 2,803.32 จุด   อัตราดอกเบี้ย สหรัฐฯ        Fed Funds rate                    0-0.25%              Discount rate                       0.75% ไทย          ตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 วัน (Repo rate) 2.75%   ยอดซื้อสุทธิสะสมของนักลงทุนต่างชาติ           - ตลาดหุ้นไทย ปิดลบ 4.56 จุด ปิดตลาดที่ 1,072.94 จุด โดยมีแรงขายนำหุ้นในกลุ่มพลังงาน แบงก์และปิโตรเคมี ขณะที่นักลงทุนต่างชาติมีการขายสุทธิออกมากว่า 1.4 พันล้านบาท           - โดยนักวิเคราะห์มองว่า ตลาดหุ้นไทยปรับตัวลงแต่มูลค่าการซื้อขายไม่มากนักเนื่องจากไม่มีปัจจัยใหม่ๆ เข้ามาหนุนตลาด และนักลงทุนส่วนใหญ่ยังคงรอดูผลการเลือกตั้งทำให้นักลงทุนบางส่วนขายเพื่อ ลดความเสี่ยงออกมาบางส่วน   ตลาดสินค้าโภคภัณฑ์           - ราคาน้ำมันดิบ ตลาดล่วงหน้า NYMEX ส่งมอบเดือนมิ.ย. พุ่งขึ้น 1.05 ดอลลาร์สหรัฐฯ ปิดตลาดที่ 99.46 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อบาร์เรล โดยราคาน้ำมันปรับตัวลงในช่วงเช้าโดยได้รับแรงกดดันจากการแข็งค่าของดอลลาร์สหรัฐฯ ก่อนดีดตัวขึ้นในช่วงบ่ายหลังมีคำสั่งซื้อน้ำมันเข้ามาภายหลังมีข่าวว่าเครือข่ายอัล เคดาตั้งเป้าที่จะทำให้ราคาน้ำมันพุ่งขึ้นเพื่อส่งผลให้เกิดวิกฤตเศรษฐกิจในโลกตะวันตก           - ราคาทองคำ ตลาด COMEX ส่งมอบเดือนมิ.ย. ปรับตัวขึ้นเหนือระดับ 1,500 อีกครั้ง โดยวันศุกร์ราคาทองคำพุ่งขึ้น 16.50 ดอลลาร์สหรัฐฯ สู่ระดับ 1,508.90 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อออนซ์ เนื่องจากมีแรงซื้อทองคำในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัยท่ามกลางความกังวลมากขึ้นเกี่ยวกับปัญหาหนี้สินในยุโรป หลังฟิทช์ปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือของกรีซลง 3 ขั้นสู่ระดับ B+ และมีแนวโน้มในทางลบ   ตลาดเงินนิวยอร์ค           - EUR/USD อยู่ที่ระดับ 1.414 ทั้งนี้ยูโรปรับตัวลงกว่า 1% เทียบกับดอลลาร์สหรัฐฯ โดยได้รับแรงกดดันจากความกังวลต่อปัญหาหนี้ในยุโรปที่ดูย่ำแย่ลง หลังฟิทช์มีการปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือของกรีซลง 3 ขั้นและมีแนวโน้มเชิงลบ ตามด้วยนอร์เวย์มีการระงับการให้เงินช่วยเหลือแก่กรีซด้วย ทำให้นักลงทุนมีความกังวลมากขึ้นต่อความสามารถในการชำระหนี้ของกรีซในช่วงต่อไป   ดัชนีค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ           - USD/JPY ดีดตัวขึ้นไปที่ระดับ 81.77 ในวันศุกร์ อันเป็นผลจากดอลลาร์สหรัฐฯ ที่ปรับแข็งค่าขึ้นหลังนักลงทุนมีการเทขายสินทรัพย์เสี่ยงและกลับเข้าซื้อดอลลาร์สหรัฐฯ ในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัย ในช่วงที่สถานการณ์ในยุโรปส่อเค้าย่ำแย่ลง           - GBP/USD อยู่ที่ระดับ 1.6221 ในช่วงปลายสัปดาห์ โดยปอนด์มีแนวโน้มอ่อนค่าลงตามทิศทางสกุลเงินยูโร เนื่องจากนักลงทุนมีการปรับลดสถานการณ์ลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงและกลับเข้าซื้อสินทรัพย์ปลอดภัย อาทิ ดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นท่ามกลางความกังวลที่ว่ากรีซอาจต้องมีการปรับโครงสร้างหนี้           - ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ปรับตัวลงในวันศุกร์ โดยได้รับแรงกดดันจากความกังวลเรื่องหนี้สินของยุโรปจากการที่กรีซถูกปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือ และปัจจัยลบจากการร่วงลงของหุ้นในกลุ่มค้าปลีก หลังบริษัท Gap เผยแนวโน้มผลกำไรที่อ่อนแอ           - โดยวานนี้ดัชนีดาวโจนส์ปิดลดลง 93.28 จุด ปิดตลาดที่ 12,512.04 จุด ดัชนี S&P 500 ปิดลดลง 10.33 จุดที่ 1,333.27 จุดและดัชนี Nasdaq ปิดลบ 19.99 จุด ปิดตลาดที่ 2,803.32 จุด   ตลาดเงินเอเชีย            - สกุลเงินเอเชีย ปรับตัวไร้ทิศทางในช่วงปลายสัปดาห์ โดยริงกิตและวอนปรับแข็งค่าขึ้นนำสกุลเงินภูมิภาค อย่างไรก็ดีการเคลื่อนไหวของเงินเอเชียในช่วงปลายสัปดาห์ยังคงได้รับแรงกดดันจากการร่วงลงของตลาดหุ้นเนื่องจากนักลงทุนมีความกังวลมากขึ้นต่อปัญหาหนี้สินของกรีซและไม่แน่ใจต่อความต่อเนื่องต่อการแข็งค่าของเงินยูโร           - USD/THB อยู่ที่ระดับ 30.29 ทั้งนี้เงินบาทปรับตัวในกรอบแคบๆ ในทิศทางอ่อนค่าในช่วงปลายสัปดาห์ หลังได้รับผลกระทบจากการเทขายของนักลงทุนต่างชาติในตลาดหุ้นทำให้ขาดกระแสเงินทุนที่ จะมาหนุนการปรับตัวขึ้นของค่าเงินบาทและตลาดหุ้นไทย   ดัชนีค่าเงินบาท           - USD/IDR ปรับตัวลงต่อเนื่อง โดยอยู่ที่ระดับ 8,540 ในช่วงปลายสัปดาห์ โดยยังได้แรงหนุนจากการเข้าซื้อของนักลงทุนต่างชาติในตลาดหุ้นแม้ปัญหาหนี้ของกรีซยังคงกดดันภาวะการลงทุนก็ตาม           - USD/KRW ร่วงลง 0.30% สู่ระดับ 1,082.7 ในวันศุกร์ โดยมีแรงหนุนจากการปรับตัวขึ้นของตลาดหุ้น อย่างไรก็ดีการเคลื่อนไหวของเงินวอนในระยะนี้ค่อนข้างผันผวน เนื่องจากนักลงทุนต่างชาติยังมีการเทขายอย่างต่อเนื่องในตลาดหุ้นเกาหลีใต้           - USD/TWD ปรับตัวในกรอบแคบๆ ใกล้ระดับ 28.1 โดยการแข็งค่าของดอลลาร์ไต้หวันเป็นไปอย่างจำกัดท่ามกลางการปรับตัวลงของตลาดหุ้นเนื่องจากนักลงทุนมีความกังวลต่อสถานะการหนี้ของกรีซและภาวะเศรษฐกิจสหรัฐฯ           - USD/MYR ปรับตัวนำสกุลเงินภูมิภาค โดยร่วงลง 0.64% สู่ระดับ 3.010 โดยริงกิตปรับแข็งค่าขึ้นแตะระดับสูงสุดที่ 3.0030 ในช่วงระหว่างวันเนื่องจากมีแรงขายดอลลาร์สหรัฐฯ จากกลุ่มนักเก็งกำไรอินเตอร์แบงก์   หมายเหตุ: อัตราแลกเปลี่ยนที่ปรากฏอ้างอิงจาก Reuters ซึ่งอาจไม่ใช่ราคาทำการจริงในตลาด   ท่านสามารถรับฟังข้อมูลอัตราแลกเปลี่ยนผ่านระบบโทรศัพท์อัตโนมัติได้ที่ <โทร 0 2888 8822 หลังเลือกภาษา กด 711 ทิศทางค่าเงินวันนี้ .... กด 721 สรุปความเคลื่อนไหวอัตราแลกเปลี่ยนประจำวัน> หรือติดตามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่           www.twitter.com/KBankFX           www.facebook.com/KBankFX             วารุณี สิทธิถาวร           ผู้ชำนาญการงานวิจัยเศรษฐกิจและตลาดทุน           โทรศัพท์: 02 470 1031           E-mail: warunee.si@kasikornbank.com             โดย ธนาคารกสิกรไทย จำกัด ประจำวันที่ 23 พฤษภาคม 2554

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook