เภสัชฯจุฬาชี้อย่าตื่นเชื้ออีโคไลเกินไป

เภสัชฯจุฬาชี้อย่าตื่นเชื้ออีโคไลเกินไป

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
ผศ.ภญ.นิยดา เกียรติยิ่งอังศุลี ผู้จัดการแผนงานสร้างกลไกเฝ้าระวังและพัฒนาระบบยา (กพย.) คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ขอให้ คนไทย อย่าตระหนกกับข่าวการแพร่ระบาดของเชื้อแบคทีเรีย อีโคไล โอ 104 เพราะหากใครมีอาการท้องเสีย ยังไม่เข้าข่ายติดเชื้อสายพันธุ์ดังกล่าว เพราะอาการที่เข้าข่าย คือ ต้องท้องเสียโดยมีมูกเลือดปน และต้องมีประวัติเดินทางกลับมาจากประเทศในยุโรปเท่านั้น

อย่างไรก็ตาม หากประชาชนมีอาการท้องเสีย ลำไส้อักเสบ มีอาการปวดท้องร่วมด้วย ไม่ควรซื้อยาหยุดถ่ายมารับประทานเอง เพราะเสี่ยงเชื้อโรคสะสมและแทรกซึมเข้าสู่ร่างกายมากขึ้น ควรจะรีบไปพบแพทย์ทันที นอกจากนี้การใช้ยาพร่ำเพรื่อ ก็เป็นสาเหตุให้ปัจจุบัน ไทยประสบปัญหาเชื้อดื้อยาในอัตราสูงมาก จากการกระจายยาปฏิชีวนะในชุมชน ซึ่งสิ่งที่เป็นห่วงที่สุด คือ เชื้ออีโคไล โอ 104 ที่ กลายพันธุ์มาจากเชื้อแบคทีเรีย อีโคไล สายพันธุ์ทั่วไป ที่ยังไม่สามารถสรุปได้ถึงต้นตอการเกิด และอัตราการดื้อต่อยาปฏิชีวนะ หากเชื้อดังกล่าวเกิดดื้อยาจริง จนเกิดกลายเป็นซุปเปอร์บั๊ก หรือ เชื้อที่มีความรุนแรงสูง จนไม่มียาปฏิชีวนะใดที่มีอยู่ในปัจจุบันจะสามารถรักษาได้ จะเป็นอันตรายอย่างมากต่อประชากรทั่วโลก
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook