ส.โทรคมนาคมฯ จัดดีเบตนโยบายไอที
นายวิชัย เบญจรงคกุล นายกสมาคมโทรคมนาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้ตั้งคำถามให้ตัวแทนนักการเมืองทั้ง 4 พรรค ซึ่งประกอบไปด้วย พรรคประชาธิปัตย์ พรรคเพื่อไทย พรรคภูมิใจไทย และ พรรคกิจสังคม ซึ่ง น.พ.บุรณัชย์ สมุทรักษ์ จากพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า ในปี 2015 ซึ่งเป็นปีของสมาคมอาเซียน จะมียุทธศาสตร์ ในการให้รัฐมีส่วนร่วมกับภาคเอกชน ซึ่งการลงนาม MOU กับภาคเอกชน 4 ราย และรัฐวิสาหกิจ 2 ราย เพื่อเป็นการขยายการใช้ทรัพยากรร่วมกัน
ซึ่งในส่วนของ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) หรือ TOT สามารถลงทุนเป็นเครือข่ายพื้นฐาน เพื่อนำร่องการใช้ 3G ได้ และให้ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) หรือ CAT ร่วมกับต่างชาติและเอกชน พัฒนาเพื่อรองรับระบบในอนาคต และพัฒนาระบบโครงข่ายใยแก้ว ซึ่งทั้งหมด เอกชนทุกราย สามารถใช้โครงข่ายเหล่านี้ร่วมกันได้
ด้าน นายธนวัฒน์ วศินสังวรณ์ วศินสังวร จากพรรคเพื่อไทย กล่าวว่า ที่ผ่านมา สะท้อนให้เห็นถึงความไม่เท่าเทียมของคู่สัญญา ซึ่งรัฐจะไม่มีหน้าที่ในการเข้าไกล่เกลี่ยข้อพิพาทของเอกชน แต่รัฐวิสาหกิจ 2 แห่ง ทั้ง CAT และ TOT ต้องให้ความเท่าเทียมกับผู้ประกอบการทุกราย ไม่ผูกขาดเพียงรายเดียว
อย่างไรก็ตาม ด้าน นายศุภชัย ใจสมุทร พรรคภูมิใจไทย กล่าวว่า การเข้าแทรกแซงของการเมือง ต้องมีน้อยที่สุด ในคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.)
ซึ่งในส่วนของ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) หรือ TOT สามารถลงทุนเป็นเครือข่ายพื้นฐาน เพื่อนำร่องการใช้ 3G ได้ และให้ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) หรือ CAT ร่วมกับต่างชาติและเอกชน พัฒนาเพื่อรองรับระบบในอนาคต และพัฒนาระบบโครงข่ายใยแก้ว ซึ่งทั้งหมด เอกชนทุกราย สามารถใช้โครงข่ายเหล่านี้ร่วมกันได้
ด้าน นายธนวัฒน์ วศินสังวรณ์ วศินสังวร จากพรรคเพื่อไทย กล่าวว่า ที่ผ่านมา สะท้อนให้เห็นถึงความไม่เท่าเทียมของคู่สัญญา ซึ่งรัฐจะไม่มีหน้าที่ในการเข้าไกล่เกลี่ยข้อพิพาทของเอกชน แต่รัฐวิสาหกิจ 2 แห่ง ทั้ง CAT และ TOT ต้องให้ความเท่าเทียมกับผู้ประกอบการทุกราย ไม่ผูกขาดเพียงรายเดียว
อย่างไรก็ตาม ด้าน นายศุภชัย ใจสมุทร พรรคภูมิใจไทย กล่าวว่า การเข้าแทรกแซงของการเมือง ต้องมีน้อยที่สุด ในคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.)